วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

" อนัตตา "

เนรัญชรา พุทธคยา อินเดีย
*****
.... ฯลฯ ......
     พระพุทธเจ้า เสด็จไปแสดง " อนัตตา " โปรดชฏิลตระกูลกัสสปะ
      เวลาตอนพลบค่ำของวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ พระพุทธองค์เสด็จถึงอุรุเวลาเสนานิคมอันเป็นที่อยู่ของชฏิล ๓ พี่น้อง แล้วตรัสว่า  " อุรุเวลกัสสปะ เราขอพักแรม ณ ที่นี้ด้วย "
      ท่านอุรุเวลกัสสปะกล่าวว่า " ใครหรือบังอาจมาเรียกเราด้วยชื่อ ไม่เคยมีใครเรียกเราอย่างนี้มาก่อนเลย มีแต่เรียกเราว่า ท่านเจ้าคะ ท่านพระคุณเจ้า ท่านอาจารย์ อย่างนี้เท่านั้น "
       "ท่านนี้เย่อหยิ่งด้วยมานะเสียเหลือเกิน ท่านต้องการอะไร" 
       "ต้องการที่จะขอพักแรมที่นี่"
       " ที่นี่ไม่มีกุฏิที่พัก"
       " หากไม่มีกุฏิที่พัก จะขอพักในโรงบูชาไฟได้ใหม"
       " ได้อยู่ หากท่านไม่กลัวตาย เพราะว่าในโรงไฟนี้มีพญานาคตัวหนึ่ง ชอบเข้ามาในตอนกลางคืน เกรงว่ามันจะฉกกัดท่านตายเสียเท่านั้นแหละ "
       " นั่นไม่สำคัญ ขอเพียงท่านอนุญาตให้พักก็พอ "
       " อยากจะตายก็เชิญ "
      เมื่อได้รับอนุญาตให้พักแล้ว พระพุทธองค์ทรงสรงน้ำเสร็จแล้วก็เข้าไปในโรงไฟ ประทับนั่นเข้าผลสมาบัติอยู่ เวลา ๒๒ นาฬิกา พอพญานาคเข้ามาเห็นก็กระโจนพุ่งใส่พระพุทธองค์ทันที กระโจนพุ่งกี่ครั้งกี่หนก็ไม่ถึง กระโจนจนหมดแรงไปเอง เมื่อไม่สามารถทำร้ายพระพุทธองค์ จึงน้อมตัวลงถวายบังคม 
       รุ่งเช้าท่านอุรุเวลกัสสปะหัวหน้าชฏิลจึงเข้ามาตรวจดูโดยเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าถูกพญานาคฆ่าตายแล้ว  เมื่อมาถึงก็เห็นพญานาคนอนขดตัวหันหัวไปทางพระพุทธองค์ จึงกล่าวว่า " ท่านนี้มีอนุภาพไม่เบา แต่ว่ายังไม่เป็นพระอรหันต์เช่นเรา ท่านจงเพียรปฏิบัติให้บรรลุเป็นพระอรหันต์ด้วยเถิด"
        ในคืนที่สอง พระพุทธองค์ทรงย้ายไปพักตรงเชิงเขาใกล้กุฏิท่านอุรุเวลปัสสปะ ค่ำคืนนั้นมีเทวดาพากันมาฟัง อนัตตา รัศมีของเทวดาทำให้บริเวณนั้นสว่างไสวไปหมด ท่านอุรุเวลปัสสปะจึงว่า " เรามาอยู่ที่นี่ตั้ง ๓๐ ปี แล้ว ไม่เคยมีเทวดามาเฝ้าอย่างนี้สักครั้ง ท่านมีอนุภาพมาก แต่ว่ายังไม่เป็นพระอรหันต์เช่นเรา ท่านจงเพียรปฏิบัติให้บรรลุเป็นพระอรหันต์เหมือนเราเถิด"
         พระพุทธองค์ทรงใช้วิธีมากมายหลายอย่าง เพื่อกำจัดทำลายทิฐิมานะของท่านอุรุเวลปัสสปะ จนไม่สามารถจะนำมากล่าวให้หมดสิ้นในที่นี้ได้
........
         " ทิฐิ และมานะ" มีความหมายดังนี้ มานะคือความเห็นผิดว่า กูมี กูเป็น เช่น กูมีการเรียนรู้มามาก มีอายุมาก มีพรรษามาก มีลูกศิษย์มาก มีบริวารมาก มียศ มีตำแหน่ง กูมีคนนับหน้าถือตา กูเป็นพระ กูเป็นอาจารย์ เป็นต้น ทิฐิ ได้แก่อัตตา เป็นความมเห็นผิดว่าเป็นกู มีกู โลภะคือความอยากได้ " อัตตา โลภะ และมานะ " รวมเรียกว่า ตัณหา
........
        ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เกิดพายุฝนตกลงมาอย่างหนัก จนน้ำท่วม  ชฏิล ๕๐๐ ท่านต้องใช้เรือพายในการเดินทาง ส่วนพระพุทธองค์เสด็จบนน้ำได้ เมื่ออุรุเวลกัสสปะเห็นเข้าจึงกล่าวแก่พระพุทธองค์ว่า " ท่านยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนกับเรา จงพยายามปฏิบัติให้บรรลุเป้นพระอรหันต์ให้ได้ด้วยเถิด "                      พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า
          ๑. หา เห็นอะไรจึงเรียกว่า "เป็นพระอรหันต์
          ๒. เอาอะไรมาทำเป็น(มาวัด)ว่า "เป็นพระอรหันต์"
          ๓. จิตพระอรหันต์มีกี่ดวง
          ๔.งานของพระอรหันต์มีอะไรบ้าง
         ท่านอุรุเวลปัสสปะถูกถามด้วยคำถามอย่างนี้ก็ได้แต่นิ่งไป เพราะว่าไม่หา ไม่เห็นมาด้วยตนเองจึงตอบไม่ได้ เมื่อสำนึกได้จึงทิ้งมานะทางกาย ที่เย่อหยิ่งว่าตนมีอายุมาก มีพรรษามาก มีลูกศิษย์บริวารมาก แล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า ทิ้งมานะทางวาจา ที่เย่อหยิ่งไม่ยอมพูดจา แล้วหยิบยกนำเอาคำถามของพระพุทธเจ้าทูลถามกลับคืน
..........
         ฯลฯ
        ......จิต เจตสิก รูป และนิพพาน เรียกว่า " ปรมัตถธาตุ " แปลว่าธาตุไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ รูป วิญญาณ เวทนา สุญญตะ  เป็นสภาวะอนัตตา...
        ฯลฯ
...........
        เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอธิบายให้เห็นแจ่มชัดถึงอนัตตาจบลง ท่านอุรุเวลปัสสปะพร้อมด้วยบริวาร ๕๐๐ คน รับธรรมศรัทธา(เชื่ออนัตตา) แล้วต้ดวิจิกิจฉา(ความเชื่อผิด)ตาย อัตตาก็ดับลงพร้อมกัน ในทันใดนั่นเองสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหันตมรรค ก็เกิดขึ้นมากำจัดตัดกิเลสที่เหลือทั้งหมดแล้วก้าวสู่ความเป็นพระอรหันต์ (คำว่า อรหันต์ แปลว่า ผู้ตัดกิเลสตายหมดแล้ว) พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่า " เอหิ ภิกขุ" แปลว่า เป็นภิกขุแล้วมาเถิด (คำว่า ภิกษุแปลว่า ตัดทำลายกิเลสแล้ว) ดังนี้ ๓ ครั้ง ทันใดนั้น ผม หนวด เคราก็เกลี้ยงเกลาไปเอง จีวร บาตรก็สำเร็จด้วยฤทธิ์ ขณะนั้น พระอรหันต์เกิดขึ้นมาในโลกอีก ๕๐๐ องค์แล้ว.....
..........
จาก หนังสือ  อนัตตาสุดยอด หลวงพ่อธี วิจิตฺตธัมโม เขียน  พระมหายาจินต์ ธมฺมธโร ป.ธ.๙ สส.ม.แปล
******        

     

*********
ขนสมบัติ...ลอยน้ำทิ้ง (คลิก)

2 ความคิดเห็น: