วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ธรรมะวันละนิด ๑๐

พระครูบวรวีรวงศ์ ครรชิต อภิญจโน
ความแตกต่างของอิริยาบถ
https://youtu.be/zt3iYv-_-mc









********

********




ธรรมะวันละนิด ๙ ..วาสนา..


ผู้มีวาสนาต่อกันเท่านั้น จึงจะผูกพันต่อกัน

คุณเชื่อเรื่องวาสนาต่อกันไหมคะ ทำไมคนบางคนจึงได้เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ชี้ชวน
แนะนำกันไปทำความดี ชวนได้โดยง่ายดายแต่กับอีกหลายคนชวนเท่าไรก็ไม่ไป สอนกล่าวตักเตือนก็ไม่ฟัง ดีกับเขาเขาก็ไม่มีวันดีตอบ กลับคิดว่าเราประสงค์ร้าย ไม่เห็นความหวังดีของเรา

ไม่ต้องกังวลเดือดร้อนใจไปค่ะ ทุกคนมีบุพกรรมของตนเอง ต้องเคยมีปัจจัยผูกฝ่ายกุศลต่อกัน ก็จะเป็นกัลยาณมิตรกัน
พระพุทธเจ้าก็มีสิ่งที่แม้พระองค์ก็ทำไม่ได้3อย่างที่บันทึกไว้ในมหายาน
.
แต่ในทางเถรวาทมีกล่าวไว้ว่า4อย่าง 3ประการที่ว่า
1. คือ ไม่สามารถโปรดสัตว์ที่ไม่มีวาสนาต่อพระองค์
2. ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกรรมของสัตว์ 
3. ไม่สามารถโปรดสัตว์ให้สิ้นได้
.
วันหนึ่งพระศากมุนีพุทธเจ้า กำลังแสดงธรรมอยู่ แล้วทันใดนั้นพระพุทธองค์กล่าวแก่พระอานนท์ว่า “อานนท์เธอเอาถังน้ำไปหนึ่ง ไปเบื้องหน้าตามทางจะมีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีหญิงชรานางหนึ่งกำลังซักเสื้อผ้าอยู่ ขอน้ำนางกลับมาถังหนึ่ง แต่จำไว้ ต้องแสดงกิริยาสุภาพกับนางด้วย”
.
พระอานนท์รับคำ แล้วก็นำถังน้ำเปล่า เดินไปทางที่พระพุทธองค์ทรงบอก คิดในใจว่า เรื่องเล็กน้อยแค่นี้ ไม่ยากเย็นอะไร ก็ไปถึงหมู่บ้านแห่งนั้น เห็นสตรีชราผมขาวนางหนึ่งกำลังซักผ้าอยู่จริงๆ พระอานนท์จึงกล่าวปิยวาจา ขอน้ำจากหญิงชรานั้นอย่างสุภาพ
“แม่เฒ่า แม่เฒ่า ข้าอยากจะขอน้ำสักถังจะได้ไหม”
.
หญิงชรานั้น เมื่อได้เห็นพระอานนท์ เหมือนไม่รู้ไปโกรธใครมา “ไม่ได้หรอก น้ำในบ่อนี้ ใช้ได้แต่คนที่ในหมู่บ้านนี้เท่านั้น คนอื่นห้ามตักเชียวนะ ไม่ให้ๆ” แถมยังไล่พระอานนท์อีกเสียอย่างนั้น พระอานนท์จะอ้อนวอนขอนางอย่างไรก็ไม่เป็นผล  พระอานนท์สิ้นหนทาง ก็เดินถือถังเปล่ากลับไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ แล้วแจ้งความตามที่เกิด พระพุทธองค์ทรงพยักหน้ารับ แล้วบอกให้พระอานนท์นั่งลง แล้วขอให้พระสารีบุตรไปทำแทน
.
พระสารีบุตรก็กล่าวเช่นเดียวกัน “แม่เฒ่า แม่เฒ่า ข้าอยากจะขอน้ำสักถังจะได้ไหม”  ก็น่าแปลกใจ สตรีชรานางนั้นเมื่อได้เห็นพระสารีบุตร ก็ทำหน้าเหมือนได้พบกับญาติที่ไม่ได้เจอกันเนิ่นนาน ไม่โกรธ ไม่โวยวาย แถมยังกล่าวตอบด้วยดีๆ “ได้ๆๆ เอาเลย ตามสบายเลยพระคุณเจ้า มาๆ ข้าช่วยท่านตักน้ำดีกว่า” ก่อนที่พระสารีบุตรจะกลับ นางก็กุลีกุจอกลับบ้าน รีบกลับไปเอาสิ่งของมาถวายพระสารีบุตรให้พระสารีบุตรนำกลับไปอีก เมื่อพระสารีบุตรรับน้ำมาถวายพระพุทธเจ้าแล้ว ก็บอกให้พระสารีบุตรนั่งลง
.
พระอานนท์สงสัยเป็นกำลัง จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า “ด้วยเหตุอะไร จึงเป็นเช่นนี้พระพุทธเจ้าข้า”
.
"ที่นางปฏิบัติกับเจ้าทั้งสองแตกต่างกันเช่นนี้ เพราะในชาติอันล่วงมาแล้ว สตรีชรานางนี้มีสภาพเป็นเดรัจ-
ฉาน เกิดเป็นหนูตัวหนึ่ง แล้วนางก็ตายอยู่บนถนน พระอานนท์ในชาตินั้นเป็นพ่อค้าผ่านทางมา เมื่อได้เห็นซากของหนูตัวนั้นตายอยู่ ในใจของพระอานนท์ก็เกิดความรู้สึกสะอิดสะเอียน เดินเอามือปิดจมูกแล้วจากไป แต่ตรงกันข้ามกับพระสารีบุตร เมื่อพระสารีบุตรได้เห็นซากหนูตัวนั้น ก็ให้บังเกิดจิตเวทนาสงสาร ซ้ำยังเอาซากหนูตัวนั้นไปฝังกลบอย่างดี เมื่อชาตินี้พวกเจ้าได้พบกันอีกครั้ง สิ่งที่นางปฏิบัติต่อเจ้าทั้งสองจึงมีความแตกต่างกันเช่นนี้"
.
จิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราต้องรอบคอบ ไม่ก้าวล่วงผู้อื่นแม้ความคิด
.
จากมหาปรัชญาปารมิโตปเทศน์ มีบันทึกไว้ว่า พระ- พุทธเจ้าพร้อมพระอานนท์ เดินบิณฑบาตในเมืองไวศาลี พระอานนท์มองเห็นสตรีนางหนึ่งยากจนค่นแค้นเป็นที่น่าสงสาร พระอานนท์ทูลขอให้พระพุทธองค์ไปโปรดนาง พระพุทธองค์ตรัสว่า “เรากับนางไม่มีเหตุปัจจัยผูกต่อกัน ดังนั้นนางก็จะไม่ศรัทธาในเรา เราก็ไม่สามารถที่จะโปรดนางได้”

พระอานนท์รบเร้าอยู่ถึงสามครั้ง พระพุทธเจ้าจึงดำเนินไปหานาง เมื่อยืนต่อหน้านาง สตรีนางนั้นก็กลับหันหลัง ไม่สนใจพระพุทธเจ้า ไม่ว่าพระองค์จะเดินไปต่อหน้านางกี่ครั้ง นางก็จะหันหลังให้กับพระองค์ทุกครั้ง แม้พระพุทธองค์จะใช้ฤทธิ์ให้พระกายปรากฏขึ้นทั้งสี่ทิศพร้อมกัน สตรีนางนั้นก็ปิดตาเสีย ไม่มอง ไม่สนใจพระองค์ พระอานนท์จังได้ประจักษ์แก่คำพูดของพระพุทธเจ้าที่ว่า “หากไร้วาสนา ไร้ปัจจัยผูกพันต่อกัน ไม่สามารถโปรดกันได้”
แม้กับพระพุทธเจ้าเองก็ไม่มียกเว้น...

Cr.มหาปรัชญาปารมิโตปเทศน์
.

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Bangkok Thailand


Cr.ภาพจาก Fwd.Twitter ขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกท่าน
                       *****

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ธรรมะวันละนิด ๔

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

กรรมเก่า


ความเพียรของมนุษย์ เทวดาก็กีดกันไม่ได้


สุขที่เป็นอิสะ สุขเหนือปรุงแต่ง


"ทุกข์" สำหรับ"รู้" "สุข" สำหรับ"เป็น"


**************


*************

***********

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ธรรมะวันละนิด ๒

แก่นของพระพุทธศาสนา
พระภาวนาเขมคุณ วิ.(สุรศักดิ์ เขมรังสี)


ขันธ์ ๕ 
พระอาจารย์ อำนาจ โอภาสี


ความแตกต่างระหว่างสมถะกับวิปัสสนา
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)




************

**********

*********


**********




วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กัมมาสธัมมะนิคม กุรุรัฐ


พุทธสถานที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตร
      พุทธสถานกัมมาสธัมมะนิคมแห่งนี้ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตไกรลาสตะวันออก(Greater Kailas) กรุงนิวเดลี มีหลักฐานที่ปรากฏว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยเสด็จมาที่นครอินทรปัตถ์อันเป็นเมืองหลวงของกุรุประเทศเพื่อทรงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตร ให้แก่ชาวกุรุ ณ นิคมในชนบทแห่งแคว้นกุรุที่เรียกว่า "กัมมาสธัมมะนิคม"


          (ภาพจาก https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=sdayoo&month=04-2016&date=18&group=132&gblog=159)
         
               กุรุประเทศ เป็นหนึ่งในมหาชนบท(ชนบทใหญ่ ๑๖ แห่ง) ของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล อุโบสถสูตรได้กล่าวถึงแคว้นทั้ง ๑๖ และเมืองหลวงของแต่ละแคว้นไว้ดังนี้ คือ
        *อังคะ(จามปา)*มคธ(ราชคฤห์-ปาฏลีบุตร)*กาสี(พาราณสี)*โกศล(สาวัตถี)*วัชชี(เวสาลี)*มัลละ(ปาวา-กุสินารา)                         *เจตี(โสตถิตถิวดี)*วังสะ(โกสัมพี)*กุรุ(อินทรปัตถ์)*ปัญจาละ(กัมปิละ-กัยากุพย์-สังกัสสะ)*มัจฉะ(สาคละ)*สุระเสนะ(มถุรา)*อัสสกะ(โปตนะ)*อวันตี(อุชเชนี)*คันธารราฐ(ตักสิลา)  *กัมโพชะ(ทวารกะ)
         ตรงจุดที่องค์สัมมาสัมพทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนามหาสติปัฏฐานสูตรนี้ ปัจจุบันเป็นกองหินสีแดงขนาดย่อมและมีแผ่นหินก้อนหนึ่งบริเวณยอดกองหิน ซึ่งมีข้อความจารึกด้วยอักษรพรหมมี(พรม-มี)เชื่อกันว่าพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงเป็นผู้จารึกไว้ เพื่อแสดงเป็นหลักฐานให้ทราบว่า เป็นสถานที่ที่พระศาสดาได้ทรงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งถือว่าเป็นพระสูตรที่สูงสุดในพระพุทธศาสนา ว่าด้วยการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นพระสูตรที่พระศาสดาทรงตรัสว่า เป็นทางสายเดียวเป็นทางที่ไปอันเอก เพื่อความหลุดพ้นของสัตว์ทั้หลาย

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร พระสุตตันตปิฎก ฆีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ (หน้า ๒๕๙)กล่าวไว้ว่า
"...เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียว
      ก็เพราะชนชาวแคว้นกุรุสามารถรับเทศนาที่ลึกซื้งได้ เล่ากันว่าชาวแคว้นกุรุ ไมว่าเป็นภิกษุ ภิกษุณี และอุบาสก อุบาสิกา มีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์อยู่เป็นนิจ ด้วยเสพปัจจัยคือฤดูเป็นที่สบาย เพราะแคว้นนั้นสมบูรณ์ด้วยสัปปายะ มีอุตุสัปปายะ เป็นต้น ชาวกุรุนั้นมีกำลังปัญญาอันร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์อุดหนุนแล้ว จึงสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งนี้ได้
       เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นความเป็นผู้สามารถรับเทศนาที่ลึกซื้งอันนี้ จึงยกกัมมัฏฐาน ๒๑ ฐานะ ใส่ลงในพระอรหัตตรัสมหาสติปัฏฐานสูตรที่มีอรรถลึกซื้งนี้แก่ชาวกุรุเหล่านั้น เปรียบเสมือนบุรุษได้ผอบทองแล้ว พึงใส่รัตนะ ๗ ลงฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้น ทรงได้บริษัทชาวกุรุแล้ว จึงทรงวางเทศนาที่ลึกซื้ง ด้วยเหตุนั้นแล..."
"...ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรอื่นๆ อีก มีอรรถอันลึกซึ้ง ในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้ ก็คือ มหานิทานสูตร ในคัมภัร์มัชฌิมนิกายก็คือ สติปัฏฐานสูตร สาโรปมสูตร รุกโขปมสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคัณฑยสูตร อาเนญชสัปปายสูตร..."
"...อนึ่ง บริษัทสี่ในแคว้นกุรุนั้น ต่างประกอบเนืองๆ ในการเจริญสติปัฏฐานอยู่โดยปกติ โดยที่สุดคนรับใช้และคนงานทั้งหลายก็พูดกันแต่เรื่องที่เกี่ยวด้วยสติปัฏฐานกันทั้งนั้น แม้แต่ในที่ท่าน้ำ ที่กรอด้าย เป็นต้น ก็ไม่มีการพูดกันถึงเรื่องที่ไร้ประโยชน์เลย
       ถ้าสตรีบางท่านถูกถามว่า คุณแม่จ๊ะ คุณแม่ใส่ใจสติปัฏฐานข้อไหน นางจะไม่ตอบว่าอะไร ชาวกุรุจะติเตียนเขาว่า น่าตำหนิชีวิตของเจ้าจริงๆ เจ้าถึงเป็นอยู่ ก็เหมือนตายแล้ว ต่อนั้นก็จะสอนเขาว่า อย่าทำอย่างนี้อีกต่อไปนะ แล้วให้เขาเรียนสติปัฏฐานข้อใดข้อหนึ่ง
       แต่สตรีผู้ใดพูดว่า ดิฉันใส่ใจสติปัฏฐานข้อโน้นเจ้าค่ะ ชาวกุรุก็จะกล่าวรับรองว่า สาธุ สาธุ แก่นาง สรรเสริญด้วยถ้อยคำต่างๆ เป็นต้นว่า ชีวิตของเจ้าเป็นชีวิตที่ดีสมกับเจ้าที่เกิดมาเป็นมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าแท้ๆ..."

       "กัมมาสธัมมะนิคม" ในปัจจุบัน
        เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในนิวเดลีในปัจจุบัน ที่พุทธศาสนิกชนแวะเวียนไปสักการะ โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอันมีสติปัฏฐานสี่เป็นข้อปฏิบัติ
        กัมมาสธัมมะนิคม ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกองโบราณคดี กระทรวงวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งได้ประกาศไว้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๑ ว่า สถานที่นี้เป็นอนุสรณ์สถานที่มีความสำคัญระดับชาติ ปัจจุบันกองโบราณคดีได้สร้างรั้วเหล็กล้อมรอบกองหินไว้เพื่อเป็นการอนุรักษ์เป็นอย่างดี

                                  ****************
Cr.ภาพ/เรื่อง จาก บทสวดมหาสติปัฏฐานสูตร(บาลี-ไทย) วัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา

************
สิบสองวันในอินเดีย (คลิก)
************
      

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

โพธิปักขิยธรรม ๓๗

ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้
คือ
เกื้อกูลแก่การตรัสรู้,เกื้อหนุนแก่อริยมรรค
*******
ธรรมบรรยายของ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
สติปัฏฐาน ๔


สัมมัปปธาน ๔


อิทธิบาท ๔ 


อินทรีย์ ๕ พละ ๕


โพชฌงค์ ๗


มรรคมีองค์ ๘


ปกิณกะ


**********

************

Cr.ซีดีธรรมะบรรยายชุด 
หลักพระพุทธศาสนาต้องศึกษาให้ชัด
เรื่องที่ ๑๒ โพธิปักขิยธรรม
**********

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เวลา..


เวลาของเราไม่เท่ากัน ไอนสไตน์บอกไว้ว่า เวลาเป็นสิ่งสัมพัทธ์ เวลาของความทุกข์มักจะเนิ่นนาน และเวลาแห่งความสุขมักจะผ่านไปเร็วเสมอ เวลาจึงอาจจะเป็นสิ่งที่เราให้ความหมายไม่เหมือนกัน
.
บางครั้งชีวิตก็ต้องรอเวลาที่เหมาะสม และมีเวลาเรียนรู้ความผิดพลาด
.
บางครั้งการให้ที่ดีที่สุดคือการให้เวลา ไม่ใช่เวลาที่ให้กับคนอื่นเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการให้เวลากับความรู้สึกของตัวเอง
.
บางครั้งการใช้เวลากับคนที่บ้านมีความสำคัญไม่แตกต่างจากเวลางาน
.
บางครั้งเวลาที่มีคุณค่าคือการได้กลับมาทบทวนความเป็นจริง ความหมายของการใช้ชีวิต และเหตุผลของการมีชีวิตอยู่
.
บางครั้งการมีเวลาอยู่กับใครสักคนก็คุ้มค่าที่ได้เรียนรู้ความรู้สึก ความคิด และชีวิตของกันและกัน
.
บางครั้งการใช้เวลาวางแผนก็สำคัญเท่ากับการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้พบกับความท้าทาย และความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของชีวิต
.
บางครั้งการใช้เวลาของชีวิตให้ช้าลงบ้างก็เป็นความดีงาม
.
บางครั้งการจัดสรรเวลาให้ทำอะไรด้วยความพอดี เดินทางสายกลาง ก็ทำให้ชีวิตอ่อนโยนลง
.
และบางครั้งการตัดสินใจบางเรื่องที่สำคัญของชีวิตก็อาจจะใช้เวลาเพียงชั่วขณะของลมหายใจ
.
ไม่ว่าเราจะมองเวลาเป็นสิ่งสัมบูรณ์หรือสิ่งสัมพัทธ์ แต่สุดท้ายแล้วเวลาของ (ชีวิต) เราก็ไม่เท่ากัน
.
#เวลา #time #ความลับของเวลา #tuesdayvibe
*******
Cr.Fwd line :Supamonta Supanan