วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566

Try this to clear your mind


 

เราไม่แตกต่างกันเลย


Whether one is
rich or poor, educated or illiterate, religious or nonbelieving, man or woman, black, white, or brown, we are all the same. Physically, emotionally, and mentally, we are all equal. We all share basic needs for food, shelter, safety, and love.

We all aspire to happiness and we all shun suffering. Each of us has hopes, worries, fears, and dreams. Each of us wants the best for our family and loved ones.

We all experience pain when we suffer loss and joy when we achieve what we seek.
On this fundamental level, religion, ethnicity, culture, and language make no differences.
~His Holiness The 14th Dalai Lama

ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
รวยหรือจน มีการศึกษาหรือไม่รู้หนังสือ เคร่งศาสนาหรือไม่เชื่อ ชายหรือหญิง ดำ ขาว หรือผิวสี เราก็เหมือนกัน  ทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ เราทุกคนเท่าเทียมกัน  เราทุกคนมีความต้องการขั้นพื้นฐานเหมือนกันในเรื่องอาหาร ที่พักอาศัย ความปลอดภัย และความรัก

เราทุกคนปรารถนาที่จะมีความสุขและเราทุกคนก็หลีกเลี่ยงความทุกข์  เราแต่ละคนมีความหวัง ความกังวล ความกลัว และความฝัน  เราแต่ละคนต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับครอบครัวและคนที่เรารัก

เราทุกคนประสบความเจ็บปวดเมื่อเราประสบกับการสูญเสีย และมีความสุขเมื่อเราบรรลุสิ่งที่เราแสวงหา
ในระดับพื้นฐานนี้ ศาสนา ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และภาษาไม่มีความแตกต่างกัน
~องค์ทะไลลามะที่ 14

*******

Cr.https://www.facebook.com/groups/569199523892145/permalink/1503092793836142/?mibextid=Nif5oz

 

อาสาสมัครจากต่างแดน ฮาลีม่า และแอสวิน



Halimah จาก UK
Aswyn จาก USA
 

Cr.โครงการสอนพูดภาษาอังกฤษโดยอาสาสมัครจากต่างประเทศ
"ทานบารมี" บ้านเรือนธรรม


วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566

อาสาสมัครจากต่างแดน ฮาลีม่า และ คาลีน่า


ฮาลีม่า จากอังกฤษ



คาลีน่า จากสาธารณรัฐเชก


โครงการสอนพูดภาษาอังกฤษโดยอาสาสมัคร
จากต่างประเทศ









*******
Cr."ทานบารมี"...บ้านเรือนธรรม



 

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566

ยอมรับในเพศสภาพ


 Thich Nhat Hanh answers a practitioner's question about living up to the expectations for your gender. Having been told by an advisor that she and her husband need to learn to be a "real woman" and a "real man," she asks Thay, "What makes a man, a man? What makes a woman, a woman?" and, "Is it important to know the difference in a loving relationship?"


In his answer, Thay tells her:


"Be beautiful, be yourself. We have to accept what we are. A lotus is beautiful as a lotus, she doesn't have to become a rose in order to be beautiful. To be a gay or a lesbian is equally beautiful. And we should not be caught by words and notions. Everything that we see manifests the wonder of God, of the ultimate reality. And we have to deal with everyone, everything, with the deepest kind of respect. People say that I am a man, but I am not sure. Because I behave very often like a mother. My disciples see in me a father, a teacher, and a mother at the same time. And I enjoy being a mother. So let us not be caught by words and concepts."


You can view the full question and answer here: https://youtu.be/G9kHeCUgdm4

*****

Cr.https://fb.watch/n9VeXeurG5/?mibextid=Nif5oz



อานิสงส์...จิตเลื่อมใส


อานิสงส์..ของจิตที่เลื่อมใสในองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า..

Cr.https://fb.watch/n9TvhA8k0F/?mibextid=Nif5oz



 

วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566

สมาธิ

นักภาวนาส่วนใหญ่อยากให้จิตสงบ ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักความสงบ นึกเอาเองว่าความสงบคืออาการผ่อนคลาย ไม่คิดอะไร  ความสงบแบบนี้ก็มีเหมือนกัน หลวงปู่มั่นเรียกว่า สมาธิหัวตอ  ไม่ใช่สัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้า


ในการภาวนาสิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัวรู้  ในการภาวนาเราจึงต้องมุ่งพัฒนาตัวรู้คือจิต ให้พ้นจากการรู้ผิดรู้ถูกอย่างลูบๆ คลำๆ  เป็นผู้รู้ตามความเป็นจริง สมาธิไม่ใช่อาการเฉยเพราะไม่รับรู้สิ่งใดเลย  สมาธิคือเฉยเพราะรู้เท่าทันอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง มั่นคง เพราะรู้ ตื่น เบิกบาน


พระอาจารย์ชยสาโร

*****

Cr.https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02ie5J3psoyvkMrViBwaBgVB48j2fyEaTWoYkQgT9nQzXGZt6F65UAAt7UbMvmenLCl&id=100064337808864&mibextid=Nif5oz

 

วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566

Breathing


 Our breathing has the function of helping our body and mind to calm down. We can say, "Breathing in, I calm my body. Breathing out, I bring peace into my body." Calming the breath calms the body and reduces any pain and tension. 

 

- Calligraphy by Thich Nhat Hanh

******

Cr.https://www.facebook.com/thichnhathanh?mibextid=ZbWKwL

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2566

สัมมาทิฐิ





เราอาจคิดแหวกแนว (think outside the box) ได้บางอย่างก็จริง แต่ก็เป็นไปโดยคิดอยู่ในกล่องหรือภายใต้แนวทางอื่นๆ อยู่ดี ที่จริงแล้ว การยกคำอุปมาเรื่องกล่องหรือแนวทาง (boxes) อาจไม่ใช่วิธีคิดที่ดีที่สุดเกี่ยวกับความคิด การพิจารณาในแง่ของกรอบความคิดอาจจะมีประโยชน์กว่า การคิดอย่างมีระบบไม่ว่าจะในลักษณะใดล้วนอยู่ภายใต้กรอบของค่านิยม ความเชื่อ ฐานคิดและขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมทั้งสิ้น มีความคิดประเภทเดียวที่ไม่ดำรงอยู่ในกรอบใดๆ นั่นคือความคิดฟุ้งซ่านสะเปะสะปะ เมื่อคิดด้วยปัญญา เราไม่จำเป็นต้องหาวิธีคิดแหวกแนว แต่เราจะพิจารณาทบทวนกรอบความคิดของเรา
ในการปฏิบัติธรรม สัมมาทิฏฐิหรือความเห็นชอบเอื้อให้เรามีกรอบความคิดที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ช่วยกำหนดเงื่อนไขว่าเราควรจะให้ความสำคัญกับสิ่งใดในชีวิตบ้าง ควรให้ความสำคัญอย่างไร และความหมายอย่างใดที่เราจะได้จากสิ่งนั้น หลวงปู่มั่นสอนว่าทุกสิ่งที่เรารู้เห็นนั้นสอนธรรมะให้เราอยู่เสมอ ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะเรียนรู้สม่ำเสมอจากสิ่งที่สอนเราอยู่เสมอได้อย่างไร สัมมาทิฏฐิเป็นเสมือนนั่งร้านที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้นั้น
การยอมรับในศักยภาพแห่งการบรรลุธรรม รวมถึงหลักไตรลักษณ์และอริยสัจ ๔ ทำให้เราเป็นนักศึกษาแห่งชีวิตอย่างแท้จริง หากไม่มีสัมมาทิฏฐิ การเจริญสติอาจให้ผลเป็นความเข้าใจลึกซึ้งบางอย่างได้ แต่ไม่อาจจะซึมซับเป็นความเข้าใจแจ้งในระดับที่จะเอื้อต่อการหลุดพ้นได้
ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ

********
Cr.https://www.facebook.com/jayasaro.panyaprateep.org/posts/pfbid0f9vgCyCjeWcofU1wGevU7XMwuuPqEw3jnvGguttC4MUTtiqi4ods7qg8ZexwQubwl

 

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566

ละตัณหา


 ทุกข์เมื่อไร เราต้องค้นหาสมุทัย คือ เหตุของทุกข์นั้น ซึ่งเรียกว่าตัณหา

ตัณหา คือ อยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น


อาการของตัณหามีมากมายก่ายกอง เช่น อยากได้ความสุขจากการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้รส การได้สัมผัส การคิดปรุงแต่ง อยากได้ส่ิงที่ชอบให้มาก อยากได้คนเดียว อยากได้มากกว่าคนอื่น อยากได้เร็ว อยากได้ทันใจ อยากได้ยศ อยากได้เกียรติ อยากได้ชื่อเสียง อยากได้สิ่งที่เกินกำลังที่จะหามาได้ อยากได้สิ่งที่เกินวิสัยของมนุษย์ที่จะหามาได้หรือครอบครองได้ เช่น กายที่ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย ไม่อยากต้องมีสิ่งที่มีแล้ว ไม่อยากคบคนที่จำเป็นต้องคบ ไม่อยากอยู่ในชุมชนในสิ่งแวดล้อมของตน ไม่อยากให้ชีวิตเป็นอย่างที่มันเป็น อยากให้มันเป็นอย่างอื่น ไม่อยากให้คนรอบข้างทำอย่างนี้ พูดอย่างนี้ มองเราอย่างนี้ อยากให้เขาเป็นเหมือนที่เราคาดหวังเอาไว้ เหมือนที่เราชอบ


เราไม่ต้องกลัวว่าละตัณหาได้ชีวิตจะจืดชืด เพียงความอยากที่เร่าร้อนจางไปแล้ว ความอยากที่เป็นบุญเป็นกุศลสามารถเกิดขึ้น ทำหน้าที่ดลบันดาลใจแทนมันได้


พระอาจารย์ชยสาโร

*****

Cr.https://www.facebook.com/photo.php?fbid=689767469844507&set=a.410133041141286&type=3&mibextid=Nif5oz

ความรักจักรวาล


 

มรรค 8



 

สติคือประตูสู่สมาธิ


 

พระเมธีวัชรบัณฑิต (หรรษา ธมฺมหาโส)

ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


อนาคตขงเรา



 ไม่นานมานี้ อาตมาเจอคำศัพท์ฮอตฮิตที่ใช้ปลุกใจคนให้พ้นจากความกลัวและความลังเลสงสัย แล้วมุ่งมั่นทำอะไรให้สำเร็จ  นั่นคือคำว่า “YOLO” ที่ย่อมาจาก “You only live once!” แปลว่า “คนเราเกิดมาชาติเดียวเท่านั้น”  ชาวพุทธเราย่อมไม่อาจเห็นพ้องกับความเชื่อแบบนี้  แต่อาจจะดัดแปลงได้ว่า  “ชาตินี้มีครั้งเดียวเท่านั้น”


วันนี้ถือเป็นวันพิเศษในประวัติศาสตร์  เราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารมาเป็นเวลานานนับอสงไขย  ดังพระพุทธองค์ตรัสสอนว่า หากเรารวบรวมน้ำตาที่เคยหลั่งในอดีตชาติทั้งมวล จะมีมากเท่ากับมหาสมุทรอันไพศาล  ทว่า ตลอดระยะเวลาชั่วกัปชั่วกัลป์ซึ่งรวมถึงการเกิดบิ๊กแบง (Big Bang) มานับครั้งไม่ถ้วน วันนี้เกิดขึ้นเพียงครั้งแรกและครั้งเดียวในวันที่ ๑๑ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖  ไม่ว่าเราจะอ่านคำสอนนี้ในเวลากี่โมง พึงระลึกว่าชั่วโมงนี้เป็นเวลาพิเศษอย่างยิ่งที่จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว  


ลมหายใจในปัจจุบันขณะอาจคล้ายกับลมหายใจอื่นๆ ที่เกิดก่อนหน้า และลมหายใจอื่นๆ ที่จะตามมา  แม้กระนั้น ลมหายใจนี้ก็มีความพิเศษเป็นหนึ่งเดียว  ลมหายใจเข้าออกในขณะนี้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ชีวิตเรา เกิดขึ้นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษยชาติ และเกิดขึ้นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์แห่งจักรวาล


คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าชีวิตตัวเองน่าเบื่อซ้ำซาก  อยากจะได้ความพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง และรู้สึกรันทดหดหู่เมื่อชีวิตไม่เป็นไปอย่างที่ต้องการ   อันที่จริง สิ่งที่ควรทำมีเพียงหยุดตะเกียกตะกายไปข้างหน้า แล้วหันมามองประสบการณ์ชีวิตด้วยสายตาใหม่  ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความหมาย  ประการแรก เพราะทุกๆ ขณะเป็นขณะพิเศษที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว  แต่ที่สำคัญที่สุด ทุกขณะของชีวิตมีความหมาย เพราะท่าทีที่เราสัมพันธ์กับขณะนั้นๆ จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของเรา


ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร

แปลถอดความ โดย ศิษย์ทีมสื่อดิจิทัลฯ

*****

Cr.https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0gGuREHrUTvKE6RPFemJu9MU6QEngB8YFu2b1poTNtapkqMmMYjyLWXyg8N5EFPBVl&id=100064337808864&mibextid=Nif5oz

วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2566

วัดราชบรรทม



    วัดราชบรรทม ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอีกวัดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีตำนานเรื่องเล่าจากท้องถิ่นว่า "ตำบลบ่อโพงในสมัยกรุงศรีอยุธยายังมีปรากฏในจดหมายเหตุกรุงศรีว่าก่อนจะทำสงครามหรือเสด็จไปที่ใด พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จะเสด็จทางชลมารถมาตามแม่น้ำป่าสัก มาจอดเรือที่พระที่นั่งที่ตรงวัดราษฏร์บำเพ็ญ ในปัจจุบัน (แต่ก่อนยังไม่มีวัด) และเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่งเพื่อไปทรงทำความคุ้นเคยกับช้างหรือม้าที่จะใช้เป็นช้าง ม้า พระที่นั่ง โดยประทับอยู่ตรงวัดราชบรรทม (แต่ก่อนยังไม่มีวัด) จากนั้นผู้ดูแลช้าง ม้า จะนำช้าง ม้า พระที่นั่งมาถวายให้ทอดพระเนตร และให้คุ้นเคย บางครั้งก็ต้องทรงค้างคืนอยู่หลายวัน ต่อมาเมื่อสร้างวัด จึงใช้ชื่อว่า วัดราชบรรทมซึ่งน่าจะสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชถึงสมเด็จพระเอกาทศรถ และเรียกว่าบ้านท่าวัดในเวลาต่อมา"



ประวัติความเป็นมาวัดราชบรรทม 
พ.ศ.๒๑๒๖ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
ทรงเตรียมทัพเพื่อยกไปช่วยพระเจ้านันทบุเรง
ปราบกบฏเมืองอังวะ 
และต่อมา พ.ศ.๒๑๒๗ พระองค์ได้ประกาศอิสรภาพ
ที่เมืองแครง








**********

Cr.ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

*******
















 

รีน่า..กัลยาณมิตรจากแคนาดา










*******



พระอรหันต์


อุปนิสัยเดิมของพระอรหันต์เหมือนเนื้อไม้


ครูบาอาจารย์ที่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว อุปนิสัยดั้งเดิมที่ไม่มีรากของกิเลสก็ยังคงอยู่ เช่น แต่เดิมเป็นคนร่าเริง ก็เป็นพระอรหันต์ที่ร่าเริง เดิมเป็นคนเงียบขรึม ก็เป็นพระอรหันต์ที่เงียบขรึม หรือเดิมเป็นคนที่พูดอธิบายเก่ง ก็เป็นพระอรหันต์ที่พูดอธิบายธรรมเก่ง แต่ความเป็นพระอรหันต์ไม่แตกต่างกัน เหมือนท่อนไม้ที่นำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป เมื่อแกะเสร็จแล้ว ก็มีความเป็นพระพุทธรูปเหมือนกัน แต่เนื้อไม้ย่อมมีลวดลายและสีสันต่างกัน


พระอาจารย์ชยสาโร

*****

Cr.https://www.facebook.com/photo.php?fbid=689764786511442&set=a.410133041141286&type=3&mibextid=Nif5oz

 

Deep listening


 Buddhist monk Thich Nhat Hanh says listening can help end the suffering of an individual. 


Deep listening is the kind of listening that can help relieve the suffering of another person. You can call it compassionate listening. 


You listen with only one purpose: to help him or her to empty his heart. Even if he says things that are full of wrong perceptions, full of bitterness, you are still capable of continuing to listen with compassion. 


Because you know that listening like that, you give that person a chance to suffer less. If you want to help him to correct his perception, you wait for another time. 


For now, you don't interrupt. You don't argue. If you do, he loses his chance. 

You just listen with compassion and help him to suffer less. 


One hour like that can bring transformation and healing. 


~ Thích Nhất Hạnh

******

Cr.https://www.facebook.com/groups/569199523892145/permalink/1490807745064647/?mibextid=Nif5oz

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2566

วัดลอดช่อง

 



สวัสดีครับ ขอพาท่านไปไหว้พระที่วัดซึ่งมีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพระนเรศวรมหาราชอีกวัดหนึ่ง  คือ วัดลอดช่อง ซึ่งสันนิษฐานว่า พระมหาเถรคันฉ่อง พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหารเป็นผู้สร้าง....

 #วัดลอดช่อง   #วัดมหาเถรคันฉ่อง   #พระนครศรีอยุธยา  #ตามรอยประวัติศาสตร์  

วัดลอดช่อง เดิมชื่อ “วัดมหาเถรคันฉ่อง” สร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง  ตามตำนานกล่าวว่า พระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระมอญ จำพรรษาอยู่ ในเมืองแครง อยู่ทางทิศเหนือของกรุงหงสาวดี ใกล้ด่านเจดีย์สามองค์ คุ้นเคยและเมตตาพระนเรศวร ครั้งที่ยังทรงเป็นเชลยศึกอยู่ที่หงสาวดี เป็นพระอาจารย์ของพระยาเกียรติ์ พระยาราม ผู้นำชาวมอญ เมื่อกษัตริย์พม่าสั่งให้พระยาเกียรติ์ พระยาราม กำจัดพระนเรศวร รู้ถึงพระมหาเถรคันฉ่อง ท่านจึงบอกพระนเรศวร พระนเรศวรจึงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง โดยมีพระมหาเถรคันฉ่องเป็นสักขีพยาน  และเมื่อพระองค์ทรงยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา  พระองค์ทรงอาราธนาพระมหาเถรคันฉ่อง และพาพระยาเกียรติ์ พระยาราม พร้อมครอบครัวชาวมอญอพยพมากรุงศรีอยุธยา และพระราชทานที่ดินให้กับชุมชนชาวมอญตั้งบ้านเรือนบริเวณริมวัดขุนแสน ใกล้พระราชวังจันทรเกษม ส่วนพระมหาเถรคันฉ่อง ทรงแต่งตั้งเป็นสมเด็จพนรัตน์ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชผู้ปกครองสงฆ์ฝ่ายเหนือ (อรัญวาสี) ประทับอยู่วัดป่าแก้ว

 วัดลอดช่องสันนิษฐานว่า พระมหาเถรคันฉ่องเป็นผู้สร้าง จากคำบอกเล่า วัดนี้เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านแถวนี้ยังมีตำนานเล่าว่าวัดนี้เป็นหนึ่งในสามวัดที่ใช้ในการสวดคุ้มครองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งประกอบด้วยวัดวรเชษฐ์ วัดลอดช่อง(มหาเถรคันฉ่อง) และวัดเจ้าชาย ซึ่งทั้งสามวัดตั้งในตำแหน่งรูปสามเหลี่ยม เมื่อสวดมนต์จากวัดทั้งสามวัดพร้อมกันจะเกิดพลังคุ้มครองเมืองให้แคล้วคลาดปลอดภัย                                                                                     

 สถานที่สำคัญภายในวัด มีพระอุโบสถ วิหารหลวงพ่อขาว วิหารพระพุทธโคดม พระพรหมไตรลักษณ์ และรูปปั้นพระมหาเถรคันฉ่อง....ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ..






หลวงพ่อขาว




พระมหาเถรคันฉ่อง


Cr.ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช



*********









ฉลาดในทุกข์..


 ถ้าฝึกตนให้ฉลาดทางโลก แต่ละเลยการทำความรู้เกี่ยวกับตัวเราเอง ก็คงทำให้ประสบความสำเร็จทางด้านทรัพย์สมบัติเงินทอง ชื่อเสียง และอำนาจได้  แต่อาจล้มเหลวในงานชีวิตที่สำคัญที่สุด คือการนำจิตใจออกจากกองทุกข์  ตัวอย่างในสังคมมีให้เห็นเกลื่อนกลาด  ถ้าใครขาดความรู้ความเข้าใจในตัวเอง ไม่เคยฝึกจิตให้มีสติ ให้มีวินัย ความฉลาดแบบไอคิวมักจะนำไปสู่การหลอกตัวเอง หรือคิดเข้าข้างตัวเอง  คนที่ฉลาดไอคิวสูงๆ เวลาเขาคิดเข้าข้างตัวเองนี่มีเหตุมีผลพร้อมหมด ฟังแล้วน่าเชื่อถือ  คนที่ฉลาดในทางที่ขาดคุณธรรมกำกับ มักกลายเป็นอันตรายทั้งต่อตัวเองและต่อสังคม


พระอาจารย์ชยสาโร

*****

Cr.https://www.facebook.com/photo.php?fbid=689760956511825&set=a.410133041141286&type=3&mibextid=Nif5oz

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2566

วัดขุนแสน



“ ...เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกลับมาจากเมืองแครงนั้น ได้มีชาวมอญนำโดยพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรติและพระยารามติดตามมาด้วย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาเถรคันฉ่องมาจำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุส่วน พระยาเกียรติ และ พระยาราม ให้อยู่ ตำบลบ้านขมิ้น วัดขุนแสน ....” (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา)..... 

#ตามรอยวิชาประวัติศาสตร์  #วัดขุนแสน  #พระนครศรีอยุธยา  #เล่าสู่กันฟัง

วัดขุนแสน ตั้งอยู่ริมถนนอู่ทอง ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้างสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานสันนิษฐานว่าน่าจะมีมาก่อนรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา(พ.ศ.๒๑๑๒ ) แห่งกรุงศรีอยุธยา  พ.ศ.๒๑๒๗ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา  ได้มีชาวมอญนำโดยพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรติและพระยารามติดตามมาด้วย ชาวมอญได้อยู่บริเวณวัดขุนแสน ซึ่งใกล้กับวังจันทรเกษมซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยังทรงเป็นพระมหาอุปราช   และมีตำนานจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้วัดเล่าว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๔ เสด็จมาประทับที่วังจันทรเกษม พระองค์ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างปรากฏที่บริเวณวัดขุนแสน พระองค์จึงทรงโปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดขุนแสน และปรากฏหลักฐานการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ ๔ ปรากฏในประชุมพงศาวดาร  ความว่า วัดขุนแสนนั้น ทรงพระราชดำริว่า พระบุรพการีของพระบรมจักรีวงศ์ได้ตั้งนิวาสถานอยู่ใกล้เคียง เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้พระยาราชสงครามเป็นนายงานสถาปนาอีกพระอาราม ๑ ได้ก่อพระเจดีย์ใหญ่สวมเจดีย์ของเดิม และสร้างพระวิหารหลวง ยังไม่ได้ยกเครื่องบนคงค้างอยู่เพียงนั้น

โบราณสถานที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน คือ เจดีย์ ๒ องค์  เจดีย์ประธาน  เจดีย์บริวาร ซากฐานวิหารหน้าเจดีย์ประธาน นอกจากนี้ยังมีศาลพ่อขุนแสน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์ประธาน

เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่สร้างทับซ้อนกัน ๒ ชั้น เจดีย์องค์ในเป็นเจดีย์สมัยอยุธยาตอนกลาง องค์นอก สร้างพอกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ และมีเจดีย์บริวารหนึ่งองค์ ริมถนนอู่ทอง..... 









*********


"พระยาเกียรติ พระยาราม นำชาวมอญตามเสด็จมาอยุธยาหลังประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง.."
Cr.ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

..............................


วัดราชบรรทม (คลิก)

































มุทิตา


*****




 

ธรรมะจากแม่ชีศันสนีย์


เราจะทำอย่างไรกับคนที่นั่งนินทา 
คนขี้นินทา คือ.. คนที่มีความทุกข์

Cr.แม่ชีศันสนีย์   เสถียรสุต
https://fb.watch/mVy-hqdJN7/?mibextid=Nif5oz
******


ทุกข์มีไว้แค่ให้เห็น ยืนดู ยืนรู้ 
และปล่อยวาง วางมันลงกันนะ

Cr.อาจารย์จารุช ตาทิพย์
*******


 #ธรรมะสอนใจ!! เกลียดใคร ก็ต้องให้อภัย 

มีเมตตา ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกันนะ


Cr. แม่ชีศันสนีย์   เสถียรสุต

******

Cr.https://www.facebook.com/Wat4G?mibextid=ZbWKwL

วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2566

สติ


 สติไม่ใช่คุณธรรมที่ฝึกแยกออกมาต่างหากและไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการรับรู้เฉยๆ  ต้องมีคุณธรรมอื่นๆ ประกอบกันไปด้วย นั่นคือ ปัญญาและความเพียร   คุณธรรมทั้งสองนี้มีชื่อในภาษาบาลีต่างกันไปแล้วแต่บริบทและหน้าที่ในการนั้นๆ  อย่างการเจริญสติปัฏฐาน คุณธรรมทั้งสองนี้จะเรียกว่า สัมปชัญญะ (มักแปลกันว่า ‘ความรู้ชัด ความเข้าใจชัด’) และ อาตาปี (‘ความเพียร’​)  ดังในสติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์ทรงสอนว่า ด้วยการรู้ชัด (ด้วยสัมปชัญญะ) ถึงความละโมบโลภหลงในโลกว่าเป็นอกุศลธรรม และด้วยการเจริญความเพียร (อาตาปี) เพื่อจะละอกุศลธรรมนั้น  ผู้ปฏิบัติย่อมพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรมอย่างมีประสิทธิผล


ในอีกแห่ง คุณธรรมอันเชื่อมโยงกันสองประการนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิและสัมมาวายามะ  ในมหาจัตตารีสกสูตร  สัมมาสติมีความหมายตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘   ทรงอธิบายสัมมาทิฏฐิว่าคือความรู้ในสัมมาทิฏฐิว่าเป็นสัมมาทิฏฐิและรู้ว่ามิจฉาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ  รู้ในสัมมาสังกัปปะว่าเป็นสัมมาสังกัปปะและมิจฉาสังกัปปะว่าเป็นมิจฉาสังกัปปะ เป็นต้น  และทรงอธิบายสัมมาวายามะว่าเป็นเพียรในการละธรรมในฝ่าย ‘มิจฉา’ ๘ ประการ และเจริญในธรรมในฝ่าย ‘สัมมา’ ๘ ประการ  ส่วนสัมมาสตินั้นทรงหมายถึงการมีสติในการละธรรมฝ่าย ‘มิจฉา’ ๘ ประการ และมีสติในการเข้าถึงและทรงไว้ซึ่งธรรมอันเป็นฝ่าย ‘สัมมา’ ๘ ประการ


ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร

แปลถอดความ โดย ศิษย์ทีมสื่อดิจิทัลฯ

******

Cr.https://www.facebook.com/100064337808864/posts/pfbid0d1rigMeguEH5VbvsZiRKLSCXvaQdH31K9xUJGDoxiPyhSdUGymi8KKWGoFkpCKVAl/?mibextid=Nif5oz