วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เก็บมาฝาก..ประวัติพระแก้วมรกต

Cr.Fwd.line
ประวัติพระแก้วมรกตที่อยากให้คนไทยได้รู้

ถ้าย้อนกลับไป เมื่อ 5 ปีที่แล้วเป็นวันที่ผมกำลังเดินทางในประเทศอินโดนีเชีย ผมได้มีโอกาสเจอ นักโบราณคดีท่านหนึ่ง และผมได้บอกท่านว่า ผมเป็นคนไทย ท่านได้ถามผมว่ารู้จัก พระแก้วมรกต ไหม ผมบอกว่ารู้จัก

คำถามต่อมาผมตอบไม่ได้เลยทั้งๆที่ผมเป็นคนไทย นั้นก็คือ รู้ไหม พระแก้วมรกตมาจากที่ไหน และ 21 เมษายน คือวันอะไร

ผมนิ่งไปสักพัก แล้ว บอกท่านว่า ผมอยากทราบเรื่องราวเหล่านี้ครับ ท่านเริ่มอธิบายให้ผมฟังว่า 21 เมษายน คือ วันสถาปนา กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 21 เมษายน 2325 คือ วันแรก ของการเริ่มกรุงเทพมหานคร และรู้ไหมว่า กรุงเทพมหานครชื่อจริงคืออะไร คือคำถามที่ อาจารย์ปิดท้าย

อันนี้ผมรู้ว่าเป็นเพลงของ อัสณี วสันต์ แต่จำได้ไม่หมด ก็ดำน้ำไป  อาจารย์ชมกลับมาว่าถูกต้องแล้วรู้ความหมายของ ชื่อนี้ไหม ผมได้แต่งง เหมือนไก่ตาแตกพร้อมคิดในใจว่า มันมีคำแปลด้วยเหรอ

สีหน้าผมคงสื่อออกมาว่า มันมีคำแปลด้วยเหรอ อาจารย์จึงแปลให้ฟังว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยามหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ซึ่งแปลว่า เป็นราชธานีที่ประดิษฐานพระพุทธรัตนปฏิมากร ซึ่งแกะสลักขึ้นจากหยกอันงดงามที่สุดและวิจิตรบรรจงที่สุด  นั้นก็คือพระแก้วมรกต นั้นเอง คำถามต่อมาคือ แล้วผมรู้ประวัติพระแก้วมรกตไหม ?

พระแก้วมรกตมาจากไหนเหรอครับ ?

ลาว คือคำตอบของผม อาจารย์แค่ยิ้มแล้วถามกลับมาว่า เพราะเคยไปวัดพระแก้วที่ประเทศลาว แล้ว เห็นว่าสร้างมานานกว่า วัดพระแก้วที่กรุงเทพใช่ไหม ผมตอบกลับมาว่าใช่ครับ
อาจารย์จึงบอกว่าตามบันทึก พงศาวดารที่บันทึกของไทย เชียงใหม่ กล่าวตรงกันไว้ว่าพระแก้วมรกตนั้นถูกค้นพบครั้งแรกที่เชียงราย ในปี พ.ศ 1977 หรือเมื่อ 585 ปีที่แล้ว พระแก้วมรกตซ่อนอยู่ภายในเจดีย์ขนาดใหญ่ เมื่อเจดีย์องค์นั้นถูกฟ้าผ่าจนยอดหักลง ก็มีพระสงฆ์รูปหนึ่งพบพระพุทธรูปปิดทองซ่อนอยู่ภายในเจดีย์ปูนที่ถูกฟ้าผ่า พระในวัดนั้นคิดว่าเป็นเพียงแค่พระพุทธรูปที่สร้างจากหินทั่วไปธรรมดาๆ จึงได้นำพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ภายในวิหารเรียงรายคู่กับพระพุทธรูปองค์อื่นๆ สองสามเดือนต่อมา ปูนที่ฉาบบริเวณปลายพระนาสิก (จมูก) ของพระแก้วมรกต หลุดออกมา เจ้าอาวาสจึงสังเกตเห็นว่าแท้ที่จริงแล้วภายในเป็นพระพุทธรูปซึ่งแกะสลักจากหยกสีเขียวงดงาม ดังนั้น เจ้าอาวาสจึงกะเทาะปูนทั้งหมดที่ฉาบทับอยู่ จึงเป็นที่ปรากฏต่อทุกสายตาว่าแท้ที่จริงพระพุทธรูปองค์นี้แกะสลักจากหยกเขียวเพียงชิ้นเดียวทั้งองค์

ผมจึงเกิดความสงสัยต่อด้วยความอยากรู้ว่าแสดงว่าพระแก้วมรกตมีมานานแล้ว และทำไม จึงเอาไปใส่ไว้ในเจดีย์ อาจารย์ได้ตอบคำถามผมว่า ท่านถูกสร้างมาโดยใครและเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้แน่ชัด แต่การถูกซ่อนไว้ในปูนและพระเจดีย์อีกที่หนึ่งน่าจะเพราะว่า ในพระพุทธศาสนา กล่าวไว้ว่าพระพุทธศาสนาจะมีอยู่เพียง 5,000 ปี ดังนั้น หลังจากหมดยุคนี้ไป การค้นพบพระแก้วมรกตในอนาคตจะทำให้ศาสนารุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง “แล้วพระพุทธรูปทำมาจากหยกแล้วทำไมเรียกมรกตครับ” ผมถามคำถามที่ไม่เกี่ยวกับประวัติ แต่อาจารย์ก็ยังตอบด้วยรอยยิ้มว่า เพราะสีหยกที่เขียวเหมือนมรกต” แล้วท่านมาอยู่ที่ กรุงเทพได้ยังไงครับคือคำถามต่อมา อาจารย์เริ่มเครียด กับคำถามผม และตอบว่าเอารวบรัดเลยไหม จะได้ตอบให้เลย

ผมรีบเบรคอาจารย์แล้วบอกว่าผมมีเวลาและคำถามเยอะครับ อาจารย์ช่วยกรุณาเล่าให้ผมฟังหน่อยครับ

เรื่องราวของพระแก้วมรกตที่ถูกคนเผยแพร่ออกอย่างกว้างขวาง ทำให้คนมากมายอยากเข้าไปกราบไหว้สักครั้งเพื่อเป็นศิริมงคล จนเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ กลัวว่าประเทศพม่าจะมาเอาไปเพราะเมืองเชียงรายอยู่ติดประเทศพม่าเกินไป

เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่จึงไปอันเชิญพระแก้วมรกตเพื่อมายังเมืองเชียงใหม่ แต่ระหว่างทาง ช้างที่อัญเชิญ เกิดตระหนกตกใจ วิ่งไปยังเมืองลำปาง ไม่ยอมมายังเมืองเชียงใหม่ เจ้าผู้ครองเมืองจึง ส่งช้างตัวใหม่ไป ผลกลับเป็นเช่นเดิม คือช้างที่อัญเชิญ จะเดินไปทางลำปางอย่างเดียว เจ้าเมืองเชียงใหม่ผู้เชื่อเรื่องพลังเหนือธรรมชาติ จึงทรงคิดว่า พระแก้วมรกตคง มีความประสงค์ที่จะอยู่เมืองลำปาง และเมืองลำปางก็ไม่ห่างจากเชียงใหม่มาก จึงให้พระแก้วมรกต มาประดิษฐานที่เมืองลำปาง โดยสร้างวันพระแก้วขึ้นโดยชาวลำปางต่างบริจาคเงินเพื่อสร้างวัดพระแก้วขึ้น

ผมฟังด้วยความตื่นเต้น เพราะมันคือความรู้ที่ผมไม่รู้ว่าก่อนเลยทั้งๆที่ พระแก้วมรกตคือพระพุทธรูปประจำรัตนโกสินทร์  อาจารย์เล่าให้ผมฟังต่อว่า พระแก้วมรกต ประดิษฐาน อยู่ลำปางเป็นเวลากว่า 32 ปี เจ้าเมืองเชียงใหม่ พระองค์ใหม่ เมือขึ้นครองเมืองแล้วจึงมีความประสงค์ที่จะอันงเชิญ พระแก้วมรกตให้มาอยู่ที่เชียงใหม่แทนลำปาง “ครั้งนี้สำเร็จไหมครับ” ผมถามอาจารย์ขึ้น อาจารย์พยักหน้าแล้วบอกว่า พระแก้วมรกตย้ายมาประดิษฐานที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ แต่นานๆทีจะเอาออกมาให้ประชาชนกราบสักการะ และ อยู่ที่เชียงใหม่นานถึง 84 ปี ผมถามดักขึ้นทันทีว่า แล้วย้ายมาอยู่ กรุงเทพเหรอครับ

อาจารย์ได้แต่หัวเราะและบอกว่าตอนนั้นกรุงเทพยังไม่มีเลย ผม ได้แต่เขินแล้วคิดในใจว่าช่วงนั้นน่าจะช่วงอยุธยาอยู่เลยมั้ง และถามอาจารย์ว่าแล้วพระแก้วมรกต ไปที่ไหนต่อครับ ?

หลวงพระบาง คือคำตอบของอาจารย์และอาจารย์ยังบอกว่าตั้งใจฟังดีๆนะว่ามาได้ยังไง เดี๋ยวจะงง ผมได้แต่พยักหน้า แล้วตั้งใจสิ่งที่อาจารย์กำลังจะอธิบาย เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ มีธิดาอยู่องค์หนึ่งชื่อยอดคำ ได้ส่งธิดาของพระองค์ไปสมรสกับเจ้าเมืองหลวงพระบาง ซึ่งต่อมาเจ้าเมืองหลวงพระบางและนางยอดคำมีบุตรชายชื่อพระไชยเชษฐ์ ดังนั้นหากนับญาติ เจ้าเมืองเชียงใหม่ คือพระเจ้าตา ของพระไชยเชษฐ์ ต่อมาพระเจ้าเมืองเชียงใหม่เสด็จสวรรคต และไม่มีทายาทสืบทอด จึงไปขอพระไชยเชษฐ์ซึ่งตอนนั้นมีพระชนม์ 15 พรรษามา เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ต่อจากพระเจ้าตา งงไหม?

ไม่งงครับ

อาจารย์เล่าต่อว่าตามพงศาวดารเชียงใหม่บันทึกไว้ว่า เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐ์ครองเมืองเชียงใหม่ไม่นาน พระบิดาของพระองค์ที่ครองเมืองหลวงพระบางก็เสด็จสวรรคต ท่านจึงเดินทางกลับไปที่หลวงพระบางพร้อมนำพระแก้วมรกต กลับไปด้วยเพราะอยากให้ พระประยูรญาติของพระองค์จะได้มีโอกาสสักการบูชาพระแก้วมรกต แต่การไปครั้งนี้ท่านไม่กลับมาเชียงใหม่อีกเลย

อาจารย์ครับ วัดพระแก้วที่ลาวผมเคยไปอยู่เวียงจันทร์ไม่ใช่เหรอครับแสดงว่าท่านต้องมีเดินทางต่อใช่ไหมครับ อาจารย์ยิ้มกลับมาแล้วบอกว่าถูกต้อง พระแก้วมรกตประดิษฐาน ณ หลวงพระบางเป็นเวลา 12 ปี แล้วช่วงนั้นพระเจ้าบุเรงนองแข็งแกร่งมาก รบที่ไหนชนะทุกที่ พระเจ้าไชยเชษฐ์ จึงคิดว่าเมืองหลวงพระบางนั้นอยู่ใกล้พม่าเกินไป จึงตัดสินใจย้ายจากหลวงพระบางมายังเมืองเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกต และ พระบาง มาประดิษฐานที่เวียงจันทน์ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จากปีเป็นหลายสิบปี จากหลายสิบปีเป็น 215 ปี ที่พระแก้วมรกตประดิษฐาน ที่เวียนจันทร์ คือตั้งแต่ พ.ศ 2103 ถึง พ.ศ 2321

นานมากกกก ผมพูดขึ้น อาจารย์จึงบอกต่อว่า 215 ปีที่เวียงจันทร์ 12 ปีที่หลวงพระบาง รวมกันคือ 227 ปี ถ้านับช่วงอายุคนก็ประมาณ 3 ช่วงอายุคน นี้คือสาเหตุ ที่คนส่วนใหญ่คิดว่าพระแก้วมรกตมาจากประเทศลาว ผมจึงถึงบางอ้อ แล้วท่านมาอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร ได้อย่างไรครับ

อาจารย์ย้อนกลับมายัง ประเทศไทย ในช่วง อยุธยา ประมาณ พ.ศ 2310 พม่าบุกกรุงศรีอยุธยา มีทหารหนุ่มชื่อตากสิน บุกฝ่ากองกำลังพม่าออกมาพร้อมทหารคู่ใจของพระองค์นามว่าพระยามหากษัตริย์ศึก ผมคิดว่าชื่อนี้เหมือนชื่อถนนในกรุงเทพเลย น่าจะมีอะไรแน่ๆใช่ไหมครับอาจารย์

ถูกต้อง พระยามหากษัตริย์ศึก นี้รบเก่งมาก และอายุยังน้อย มีช่วงหนึ่ง หลังจากพระเจ้าตากสินมหาราชได้รวบรวมประเทศได้แล้ว แต่ตอนนั้นกรุงศรีอยุธยาพังหมดสินแล้ว ท่านจึงย้ายมาสร้างเมืองหลวงขึ้นมาใหม่ชื่อกรุงธนบุรี โดยมีพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นผู้นำทหาร ในปี พ.ศ. 2321 พระยามหากษัตริย์ศึกได้ไปรบที่เวียงจันทน์และได้นำพระแก้วมรกตกลับมายังประเทศไทย ในคราวนั้นได้นำพระบาง กลับมาด้วย แต่ภายหลังเกิดบ้านเมืองเดือดร้อน ประชาชนต่างพากันเข้าใจว่าเพราะพระแก้วกับพระบางไม่ถูกกัน พระบางจึงได้ถูกอัญเชิญกลับไปยังเวียนจันทร์เหมือนเดิม.

พระเจ้าตากสินได้พระแก้วมรกต ประดิษฐานอยู่ในกรุงธนบุรีจวบจนกระทั่งพระเจ้าตากสินเสด็จสวรรคต ต่อมาเจ้าพระยากษัตริย์ศึกจึงเสด็จขึ้นครองราชย์แทน และปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1

รัชกาลที่ 1 ทรงเปลี่ยนชื่อราชธานีใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับพระนามของพระแก้วมรกตซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าพระพุทธรัตนปฏิมากร โดยเปลี่ยนชื่อราชธานีเป็นกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยามหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ซึ่งเป็นราชธานีที่ประดิษฐานพระพุทธรัตนปฏิมากร ซึ่งแกะสลักขึ้นจากหยกอันงดงามที่สุดและวิจิตรบรรจงที่สุด

อาจารย์เสริมตบท้ายด้วยว่า น่าเสียดายที่คนไทยทุกคนรู้จักพระแก้วมรกต แต่ส่วนน้อยเหลือเกินรู้ว่ามาจากที่ใด ผมตอบอาจารย์กลับไปว่าตอนนี้ผมกลายเป็นส่วนน้อยแล้วครับ  อาจารย์ถามผมว่าอยากฟังต่อไหม ผมบอกยังมีอีกเหรอครับ

อาจารย์ยิ้มแล้วถามผมว่า เคยไป วัดพระแก้วหรือยัง ผมตอบว่าเคยไปครับ คำถามต่อมาคือ เห็นพระพุทธรูป ยืนอยู่ซ้ายและขวาของพระแก้วมรกต หรือไหม ผมตอบว่าเห็นครับ ใช่พระพุทธรูปของพระสารีบุตร และ พระโมคัลลานะไหมครับ อาจารย์ตอบกลับทันที ผิดครับ แล้วอาจารย์ก็เล่าต่อว่า พระมหากษัตริย์ไทยเราเมื่อสมัยก่อนนั้น ไม่มีชื่อ ทุกคนต่างเรียกพระองค์ว่า พระมหากษัตริย์ หรือ พระเจ้าอยู่หัว เมื่อรัชกาลที่ 1 เสด็จสวรรคต และ รัชกาลที่ 2 ก็ขึ้นครองราชย์ และเสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 3 ก็ขึ้นครองราชย์ แต่ผู้คนสมัยนั้น ไม่รู้จักชื่อของรัชกาลที่ 1 และ 2 จึงเรียกยุคของแต่พระองค์ว่า ราชวงศ์ตอนต้น และ ราชวงศ์ตอนกลาง รัชกาลที่ 3 ไม่ยากให้คนเรียกยุคของท่านว่า รัชวงศ์ตอนปลาย พระองค์จึงโปรดเกล้าตั้งชื่อ ให้พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ โดยสร้างพระพุทธรูป 2 รูป ขึ้น ตั้งอยู่ซ้ายขวาของพระแก้วมรกต พระพุทธรูปทั้ง 2 นิ้วทุกนิ้ว จะมีแหวนเพชรนิจจินดาอยู่ทุกนิ้ว แล้วรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้า ตั้งชื่อ องค์ขวาว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และองค์ซ้าย ชื่อว่า สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าธิภาลัย ( ภายหลังรัชกาลที่ 4 เปลี่ยนเป็น สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) อาจารย์ยังเสริมให้ผมว่า ถ้าลองสังเกต ดูจะเห็นว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ จะมีเพียง 2 พระองค์นี้ที่มีคำขึ้นต้นด้วยคำว่า “พระพุทธ”

ผมได้แต่อ้าปากค้างแล้วตอบอาจารย์กลับไปว่า ขอบคุณอาจารย์มากครับสำหรับความรู้ที่ควรรู้นี้

ธรรมทาน
Instagram: dhammatan

#ถ้าฉันฝันดีตื่นมาจะเล่าให้เธอฟัง
#กราบขออภัยทุกท่านถ้าผมใช้คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้องครับ

****************
Cr.Fwd Line

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ครูโรงเรียนวัดหัวอิฐ


วันนี้ เด็กๆ ในชุมชนมารับใบความรู้สำหรับทำกิจกรรม การเรียนการสอนที่บ้าน หน้าตาเบิกบานสดใสกันทุกคน
😊ปิดเทอมไปนาน คงคิดถึงเพื่อนๆ คิดถึงโรงเรียน คิดถึงคุณครู
😊ใครไม่สะดวกมารับ คุณครูก็นำไปส่งให้ที่บ้าน นักเรียนที่ไปอยู่ต่างจังหวัด ครูก็ส่งให้ทางไปรษณีย์
#นักเรียนได้เรียนรู้กันครบทุกคนทุกชั้นเรียน
#นัดแรกของเรา พร้อมมากทั้งครู นักเรียนและผู้ปกครอง
#ขอบคุณผู้ปกครองในชุมชน ที่ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเป็นอย่างดีทุกท่าน

















******************


วิปัสสนากรรมฐาน




รูปนาม ปรมัตถ์สัจจะ


บัญญัติ ปรมัตถ์



กำหนดรู้

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ....นีวรณบรรพ

   ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน            
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๖ วิธี อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสธัมมานุปัสสนา ๕ วิธี จึงตรัสว่า
               กถญฺจ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธัมมานุปัสสนาเป็นอย่างไรเล่า เป็นต้น.
               อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดรูปกัมมัฏฐานล้วนด้วยกายานุปัสสนา ตรัสการกำหนดอรูปกัมมัฏฐานล้วนๆ ด้วยเวทนานุปัสสนาและจิตตานุปัสสนา. บัดนี้ เพื่อจะตรัสการกำหนดรูปกัมมัฏฐานกับอรูปกัมมัฏฐานผสมกัน จึงตรัสว่า
               กถญฺจ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธัมมานุปัสสนาเป็นอย่างไรเล่า เป็นต้น.
               อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดรูปขันธ์ด้วยกายานุปัสสนา ตรัสการกำหนดเวทนาขันธ์ด้วยเวทนานุปัสสนา ตรัสการกำหนดวิญญาณขันธ์ด้วยจิตตานุปัสสนา. บัดนี้ เพื่อจะตรัสแม้การกำหนดสัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ จึงตรัสว่า
               กถญฺจ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธัมมานุปัสสนาเป็นอย่างไรเล่า เป็นต้น.

               นีวรณบรรพ            
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ มีอยู่ คืออยู่พร้อมด้วยอำนาจฟุ้งขึ้นเนืองๆ.
               บทว่า อสนฺตํ ไม่มีอยู่ คือไม่มีอยู่พร้อม เพราะไม่ฟุ้งขึ้น หรือเพราะละได้แล้ว.
               บทว่า ก็โดยประการใด ความว่า กามฉันท์เกิดขึ้นเพราะเหตุใด.
               บทว่า ตญฺจ ปชานาติ ก็รู้ชัดประการนั้น คือรู้ชัดเหตุนั้น.
               ทุกๆ บท พึงทราบความโดยนัยนี้นี่แล.

               เหตุเกิดกามฉันท์            
               ในนิมิตทั้งสองนั้น กามฉันท์ย่อมเกิดขึ้น เพราะมนสิการโดยไม่แยบคายในสุภนิมิต. สิ่งที่งามก็ดี อารมณ์ที่งามก็ดี ชื่อว่าสุภนิมิต. การใส่ใจโดยไม่มีอุบาย การใส่ใจนอกทาง การใส่ใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุข ในสิ่งที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน หรือในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ชื่อว่าอโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจโดยไม่แยบคาย).
               เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ ในสุภนิมิตนั้น กามฉันท์ย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุภนิมิตมีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกามฉันท์ที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทำให้กามฉันท์ที่เกิดแล้วให้กำเริบยิ่งขึ้นดังนี้.

               เหตุละกามฉันท์            
               ส่วนกามฉันท์นั้นจะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจโดยแยบคาย) ในอสุภนิมิต. สิ่งที่ไม่งามก็ดี อารมณ์ที่ไม่งามก็ดี ชื่อว่าอสุภนิมิต. การใส่ใจโดยอุบาย การใส่ใจถูกทาง การใส่ใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าทุกข์ ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าไม่ใช่ตัวตน หรือในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม ชื่อว่าโยนิโสมนสิการ.
               เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ ในอสุภนิมิตนั้น ย่อมละกามฉันท์เสียได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภนิมิตมีอยู่ การทำให้มากๆ ซึ่งโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิตนั้นๆ นี้เป็นอาหาร เพื่อความไม่เกิดแห่งกามฉันท์ที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละกามฉันท์ที่เกิดแล้ว.

               ธรรมสำหรับละกามฉันท์            
               อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์ คือ
                         ๑. การถืออสุภนิมิตเป็นอารมณ์
                         ๒. การประกอบเนืองๆ ซึ่งอสุภภาวนา
                         ๓. การรักษาทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
                         ๔. ความรู้จักประมาณในโภชนะ
                         ๕. ความมีกัลยาณมิตร
                         ๖. พูดแต่เรื่องที่เป็นสัปปายะ (เป็นที่สบาย).
               จริงอยู่ เมื่อภิกษุกำหนดอสุภนิมิต ๑๐ อย่างอยู่ ก็ละกามฉันท์ได้. เมื่อเจริญอสุภ ๑๐ ก็ดี เมื่อปิดทวารในอินทรีย์ทั้งหลายก็ดี รู้จักประมาณในโภชนะ เพราะเมื่อมีโอกาสจะบริโภค ๔-๕ คำมีอยู่ ก็ดื่มน้ำ ยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ ก็ย่อมละกามฉันท์ได้.
               เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ (ในขุททกนิกาย เถรคาถา) ว่า
                          จตฺตาโร ปญฺจ อาโลเป     อภุตฺวา ปิเว
                          อลํ ผาสุวิหาราย     ปหิตตฺตสฺส ภิกฺขุโน
                                  ภิกษุพึงเว้นคำข้าวเสีย ๔-๕ คำ เลิกฉันแล้ว
                          ดื่มน้ำเสีย นี้เป็นข้อปฏิบัติอันสมควรสำหรับภิกษุ
                          ผู้มีตนอันส่งไปแล้ว.

               แม้ภิกษุผู้เสพกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นผู้ยินดีในการเจริญอสุภ เช่นพระติสสเถระ ผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐานก็ย่อมละกามฉันท์ได้. แม้ด้วยการเจรจาปรารภเรื่องเป็นที่สบาย อันอาศัยอสุภ ๑๐ ในอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น ก็ย่อมละกามฉันท์ได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์ดังนี้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็กามฉันท์ที่ละได้แล้วด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมไม่เกิดอีกต่อไปด้วยอรหัตมรรค.

               เหตุเกิดพยาบาท            
               ส่วนพยาบาทย่อมเกิด เพราะอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิต.
               ปฏิฆะ (ความขุ่นใจ) ก็ดี อารมณ์อันช่วยให้เกิดปฏิฆะก็ดี ชื่อว่าปฏิฆนิมิต ในคำว่า ปฏิฆนิมิต เป็นต้นนั้น.
               อโยนิโสมนสิการ มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันในธรรมทั้งปวง.
               เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ ใน (ปฏิฆะ) นิมิตนั้น พยาบาทย่อมเกิด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทำให้พยาบาทที่เกิดแล้ว กำเริบเสิบสานขึ้น ดังนี้.

               เหตุละพยาบาท            
               แต่พยาบาทนั้นจะละได้ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคายในเมตตาเจโตวิมุตติ. ในคำว่า เมตตาเจโตวิมุตินั้น เมื่อพูดกันถึงเมตตา ย่อมควรทั้งอัปปนาทั้งอุปจาระ.
               บทว่า เมตตาเจโตวิมุตติ ได้แก่อัปปนาโยนิโสมนสิการมีลักษณะดังกล่าวแล้ว. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ย่อมละพยาบาทได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละพยาบาทที่เกิดแล้ว ดังนี้.

               ธรรมสำหรับละพยาบาท            
               อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาท คือ
                         ๑. การกำหนดนิมิตในเมตตาเป็นอารมณ์
                         ๒. การประกอบเนืองๆ ซึ่งเมตตาภาวนา
                         ๓. การพิจารณาถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน
                         ๔. การทำให้มากซึ่งการพิจารณา
                         ๕. ความมีกัลยาณมิตร
                         ๖. การพูดแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
               จริงอยู่ แม้เมื่อภิกษุกำหนดเมตตากัมมัฏฐาน ด้วยการแผ่เมตตาไปทั่วทิศโดยเจาะจง หรือไม่เจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมละพยาบาทได้. เมื่อภิกษุเจริญเมตตาโดยแผ่ไปทั่วทิศโดยเจาะจง ไม่เจาะจงก็ดี
               เมื่อพิจารณาถึงความที่ตนและคนอื่นมีกรรมเป็นของๆ ตนอย่างนี้ว่า
               ท่านโกรธคนนั้น จะทำอะไรเขาได้
               ท่านอาจจักทำศีลเป็นต้นของเขาให้พินาศได้หรือ
               ท่านมาแล้วด้วยกรรมของตน จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแล
               ขึ้นชื่อว่าการโกรธผู้อื่น ก็เป็นเช่นเดียวกับผู้ปรารถนาจะจับถ่านไฟที่คุโชน ซี่เหล็กอันร้อนจัดและอุจจาระเป็นต้น ประหารผู้อื่นฉะนั้น
               หรือถึงคนนั้นโกรธท่าน จักทำอะไรได้
               เขาจักอาจทำศีลเป็นต้นของท่านให้พินาศได้หรือ
               เขามาด้วยกรรมของตน ก็จักไปตามกรรมของเขานั่นแหละ
               ความโกรธนั้นจักตกลงบนกระหม่อมของเขานั่นเอง เหมือนประหารผู้ไม่ประหารตอบ และเหมือนนำธุลีซัดไปในที่ทวนลมฉะนั้น ดังนี้ก็ดี
               เมื่อพิจารณากัมมัสสกตาทั้งสองหยุดอยู่ในการพิจารณาก็ดี
               คบกัลยาณมิตรผู้ยินดีในการเจริญเมตตา เช่นท่านพระอัสสคุตตเถระก็ดี ย่อมละพยาบาทได้.
               แม้ด้วยการเจรจาเรื่องที่เป็นที่สบายซึ่งอาศัยเมตตา ในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้น ก็ละพยาบาทได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาทดังนี้.
               ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็พยาบาทที่ละได้แล้วด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค.

               เหตุเกิดถีนมิทธะ            
               ถีนมิทธะย่อมเกิดด้วยอโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลาย มีอรติ เป็นต้น. ความไม่ยินดีด้วยกับเขา (ริษยา) ชื่อว่าอรติ. ความคร้านกาย ชื่อว่าตันที. ความบิดกาย (บิดขี้เกียจ) ชื่อว่าวิชัมภิตา. ความมึนเพราะอาหาร ความกระวนกระวายเพราะอาหาร ชื่อว่าภัตตสัมมทะ. อาการ คือความย่อหย่อนแห่งจิต ชื่อว่าความย่อหย่อนแห่งจิต.
               เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในอรติ เป็นต้นนี้ ถีนมิทธะย่อมเกิด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความคร้านกาย ความบิดกาย ความเมาอาหาร ความหดหู่แห่งจิต มีอยู่. การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านี้ นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทำถีนมิทธะที่เกิดแล้วให้กำเริบเสิบสานยิ่งขึ้น ดังนี้.

               เหตุละถีนมิทธะ            
               แต่ถีนมิทธะนั้น จะละได้ด้วยโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลายมีอารภธาตุเป็นต้น. ความเพียรเริ่มแรก ชื่อว่าอารภธาตุ. ความเพียรที่มีกำลังกว่าอารภธาตุนั้น เพราะออกไปพ้นจากความเกียจคร้านแล้ว ชื่อว่านิกกมธาตุ. ความเพียรที่มีกำลังยิ่งกว่านิกกมธาตุแม้นั้น เพราะล่วงฐานอื่นๆ ชื่อว่าปรักกมธาตุ (ก้าวไปข้างหน้า, บากบั่น).
               เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในความเพียร ๓ ประเภทนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุคือความเริ่มความเพียร ธาตุคือความออกพ้นไปจากความเกียจคร้าน ธาตุคือความก้าวไปข้างหน้ามีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละถีนมิทธะที่เกิดแล้ว ดังนี้.

               ธรรมสำหรับละถีนมิทธะ            
               อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ
                         ๑. การกำหนดนิมิตในโภชนะส่วนเกิน
                         ๒. การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
                         ๓. การใส่ใจถึงอาโลกสัญญา (คือความสำคัญว่าสว่างๆ)
                         ๔. การอยู่กลางแจ้ง
                         ๕. ความมีกัลยาณมิตร
                         ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย
               เพราะว่า เมื่อภิกษุบริโภคโภชนะ เหมือนพราหมณ์ที่ชื่ออาหารหัตถกะ ที่ชื่อตัตรวัฏฏกะ ที่ชื่ออลังสาฏกะ ที่ชื่อกากมาสกะ และที่ชื่อภุตตวมิตกะ นั่งในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน กระทำสมณธรรมอยู่ ถีนมิทธะย่อมมาท่วมทับได้เหมือนช้างใหญ่
               แต่ถีนมิทธะนั้นจะไม่มีแก่ภิกษุที่เว้นโอกาสบริโภค ๔-๕ คำแล้ว ดื่มน้ำดื่มยังอัตตภาพให้เป็นไปเป็นปกติ เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุกำหนดนิมิตในโภชนะส่วนเกินอย่างนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้
               เมื่อภิกษุเข้าสู่ถีนมิทธะในอิริยาบถใด เปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้นเสีย ก็ละถีนมิทธะได้.
               เมื่อภิกษุใส่ใจแสงจันทร์ แสงประทีป แสงคบเพลิง ในเวลากลางคืน แสงอาทิตย์เวลากลางวันก็ดี อยู่ในที่กลางแจ้งก็ดี เสพกัลยาณมิตรผู้ละถีนมิทธะได้ เช่นท่านพระมหากัสสปเถระก็ดี ก็ละถีนมิทธะได้.
               แม้ด้วยการเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย ที่อาศัยธุดงค์ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่งเป็นต้น ก็ละถีนมิทธะได้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ.
               ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะที่ละได้ด้วยธรรม ๖ ประการ จะไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตมรรคดังนี้.

               เหตุเกิดอุทธัจจกุกกุจจะ            
               อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิดด้วยอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบแห่งใจ. อาการที่ไม่สงบ ชื่อว่าความไม่สงบ. คำนี้โดยอรรถ ก็คืออุทธัจจกุกกุจจะนั่นเอง.
               เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในความไม่สงบแห่งใจนั้น อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบแห่งใจมีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบแห่งใจนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทำอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดแล้ว ให้กำเริบเสิบสานยิ่งขึ้น ดังนี้.

               เหตุละอุทธัจจกุกกุจจะ            
               แต่อุทธัจจกุกกุจจะนั้นจะละได้ ก็ด้วยโยนิโสมนสิการในความสงบแห่งใจ กล่าวคือสมาธิ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสงบแห่งใจมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความสงบแห่งใจนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดแล้ว ดังนี้.

               ธรรมสำหรับละอุทธัจจกุกกุจจะ            
               อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ คือ
                         ๑. ความสดับมาก
                         ๒. ความสอบถาม
                         ๓. ความชำนาญในวินัย
                         ๔. ความคบผู้เจริญ
                         ๕. ความมีกัลยาณมิตร
                         ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
               จริงอยู่ เมื่อภิกษุแม้ร่ำเรียนทั้งบาลี ทั้งอรรถกถานิกายหนึ่ง สอง-สาม-สี่นิกาย หรือห้านิกาย ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. แม้ด้วยความเป็นพหูสูต (พาหุสัจจะ ความเป็นผู้สดับมาก).
               ภิกษุผู้มากด้วยการสอบถามสิ่งที่ควรและไม่ควรก็ดี ผู้ชำนาญเพราะมีความชำนาญอันสั่งสมไว้ในวินัยบัญญัติก็ดี ผู้เข้าหาพระเถระผู้แก่ผู้เฒ่าก็ดี คบกัลยาณมิตรผู้ทรงวินัย เช่น ท่านพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้.
               แม้ด้วยการเจรจา แต่เรื่องที่เป็นที่สบาย อันอาศัยสิ่งที่ควรและไม่ควร ในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้น ก็ละอุทธัจจกุกกุจจะได้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ.
               ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะละได้แล้วด้วยธรรม ๖ ประการนี้ อุทธัจจะจะไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตมรรค กุกกุจจะไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค.

               เหตุเกิดวิจิกิจฉา            
               วิจิกิจฉาย่อมเกิดได้ด้วยอโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา. ความเคลือบแคลง เพราะเป็นเหตุแห่งความสงสัยบ่อยๆ ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา.
               เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉานั้น วิจิกิจฉาย่อมเกิด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉานั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทำวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วให้กำเริบเสิบสานยิ่งขึ้น ดังนี้.

               เหตุละวิจิกิจฉา            
               แต่วิจิกิจฉานั้นจะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการในธรรมมีกุศลเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมที่มีโทษ ไม่มีโทษ ธรรมที่ควรเสพ ไม่ควรเสพ ธรรมที่ทรามประณีต ธรรมที่เทียบด้วยของดำของขาว มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว ดังนี้.

               ธรรมสำหรับละวิจิกิจฉา            
               อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา คือ
                         ๑. ความสดับมาก
                         ๒. ความสอบถาม
                         ๓. ความชำนาญในวินัย
                         ๔. ความมากด้วยความน้อมใจเชื่อ
                         ๕. ความมีกัลยาณมิตร
                         ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
               จริงอยู่ แม้เมื่อภิกษุร่ำเรียนทั้งบาลี ทั้งอรรถกถานิกายหนึ่ง สอง-สาม-สี่ หรือห้านิกาย ย่อมละวิจิกิจฉาได้ ด้วยความเป็นพหูสูต.
               เมื่อภิกษุมากด้วยการปรารภพระรัตนตรัย สอบถามก็ดี มีความชำนาญอันสั่งสมไว้ในวินัยก็ดี มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ กล่าวคือศรัทธาที่ยังกำเริบได้ในพระรัตนตรัยก็ดี คบกัลยาณมิตร เช่นท่านพระวักกลิ ผู้น้อมใจไปในศรัทธาก็ดี ย่อมละวิจิกิจฉาได้.
               แม้ด้วยการเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย อันอาศัยคุณของพระรัตนตรัย ในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้น ก็ละวิจิกิจฉาได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา.
               ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาที่ละได้ด้วยธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่เกิดต่อไปด้วยโสดาปัตติมรรค ดังนี้.
               คำว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายของตน ในธรรมทั้งหลายของคนอื่น หรือในธรรมทั้งหลายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกำหนดนีวรณ์ ๕ อย่างนี้อยู่.
               ก็ความเกิดและความเสื่อม ในคำว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดและความเสื่อม นี้ ที่กล่าวแล้วในนีวรณ์ ๕ ด้วยอำนาจอโยนิโสมนสิการและโยนิโสมนสิการ ในสุภนิมิตและอสุภนิมิตเป็นต้น บัณฑิตพึงนำมาเทียบเคียง.
               ข้อต่อไปนี้ ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั้นแล.

               สติกำหนดนีวรณ์เป็นอริยสัจ ๔            
               แต่ในนีวรณบรรพนี้มีต่างกันอย่างเดียว คือพึงประกอบความว่า สติอันกำหนดนีวรณ์เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ พึงทราบว่าเป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดนีวรณ์เป็นอารมณ์. คำที่เหลือก็เช่นนั้นนั่นแล.
               จบนีวรณบรรพ          
*******************
Cr.https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=4


 

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เก็บมาฝาก..เผชิญความตายอย่างสงบ..

Cr.Fwd Line
ธรรมะจากพระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล


*****




*********
แบ่งปันเป็นธรรมทาน

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เก็บมาฝาก

ภาพยนต์โฆษณา
เพื่อสร้างคุณค่าให้ชีวิต






















**************
ขอขอบคุณผู้สร้างสรรผลงาน...แบ่งปันเป็นวิทยาทาน...

**************

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

โควิด19


📊  สถิติสำคัญ เกี่ยวกับโรคโควิดในแต่ละประเทศทั่วโลก 
ข้อมูล ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2563

-จำนวนผู้ติดเชื้อรวม และต่อประชากร  
-จำนวนผู้เสียชีวิตรวม และต่อประชากร
-จำนวนผู้รักษาหายแล้วต่อผู้ติดเชื้อ
-อัตราการเสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อ

วิเคราะห์และประมวลข้อมูลโดย วช. กระทรวง อว. https://t.co/ycRPIVQYgO





Cr. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) (@NRCTofficial): https://twitter.com/NRCTofficial?s=09

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ๑๐

พระนางปชาบดีโคตรมีทูลขอบรรพชา






Cr.ซีรีส์พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก  

*********
สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ   ชินาติ 
สพฺพํ    รสํ    ธมฺมรโส   ชินาติ 
สพฺพํ  รตึ  ธมฺมรตี  ชินาติ ตณฺหกฺขโย  
 สพฺพทุกฺขํ  ชนาติ.
 " ธรรมทาน   ย่อมชนะทานทั้งปวง, 
รสแห่ง ธรรม  ย่อมชนะรสทั้งปวง, 
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง,  
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง."

*****************



พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ๙

 พระเจัาสุทโธทนะประชวร









Cr.ซีรีส์พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก
************
สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ   ชินาติ 
สพฺพํ    รสํ    ธมฺมรโส   ชินาติ 
สพฺพํ  รตึ  ธมฺมรตี  ชินาติ ตณฺหกฺขโย  
 สพฺพทุกฺขํ  ชนาติ.
 " ธรรมทาน   ย่อมชนะทานทั้งปวง, 
รสแห่ง ธรรม  ย่อมชนะรสทั้งปวง, 
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง,  
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง."
**************


***********



วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ๘

พุทธกิจที่แคว้นมคธ












Cr.:ซีรีส์พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก

สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ   ชินาติ 
สพฺพํ    รสํ    ธมฺมรโส   ชินาติ 
สพฺพํ  รตึ  ธมฺมรตี  ชินาติ ตณฺหกฺขโย  
 สพฺพทุกฺขํ  ชนาติ.
 " ธรรมทาน   ย่อมชนะทานทั้งปวง, 
รสแห่ง ธรรม  ย่อมชนะรสทั้งปวง, 
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง,  
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง."

***********






พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ๗

เสด็จโปรดพระญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์









Cr.ซีรีส์พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก


สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ   ชินาติ 
สพฺพํ    รสํ    ธมฺมรโส   ชินาติ 
สพฺพํ  รตึ  ธมฺมรตี  ชินาติ ตณฺหกฺขโย  
 สพฺพทุกฺขํ  ชนาติ.
 " ธรรมทาน   ย่อมชนะทานทั้งปวง, 
รสแห่ง ธรรม  ย่อมชนะรสทั้งปวง, 
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง,  
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง."

***********