“ ...เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกลับมาจากเมืองแครงนั้น ได้มีชาวมอญนำโดยพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรติและพระยารามติดตามมาด้วย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาเถรคันฉ่องมาจำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุส่วน พระยาเกียรติ และ พระยาราม ให้อยู่ ตำบลบ้านขมิ้น วัดขุนแสน ....” (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา).....
#ตามรอยวิชาประวัติศาสตร์ #วัดขุนแสน #พระนครศรีอยุธยา #เล่าสู่กันฟัง
วัดขุนแสน ตั้งอยู่ริมถนนอู่ทอง
ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้างสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานสันนิษฐานว่าน่าจะมีมาก่อนรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา(พ.ศ.๒๑๑๒
) แห่งกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๑๒๗
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง
และเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา ได้มีชาวมอญนำโดยพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรติและพระยารามติดตามมาด้วย
ชาวมอญได้อยู่บริเวณวัดขุนแสน
ซึ่งใกล้กับวังจันทรเกษมซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เมื่อครั้งยังทรงเป็นพระมหาอุปราช และมีตำนานจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้วัดเล่าว่า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๔ เสด็จมาประทับที่วังจันทรเกษม
พระองค์ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างปรากฏที่บริเวณวัดขุนแสน พระองค์จึงทรงโปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดขุนแสน
และปรากฏหลักฐานการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ ๔ ปรากฏในประชุมพงศาวดาร
ความว่า “วัดขุนแสนนั้น
ทรงพระราชดำริว่า พระบุรพการีของพระบรมจักรีวงศ์ได้ตั้งนิวาสถานอยู่ใกล้เคียง
เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้พระยาราชสงครามเป็นนายงานสถาปนาอีกพระอาราม
๑ ได้ก่อพระเจดีย์ใหญ่สวมเจดีย์ของเดิม
และสร้างพระวิหารหลวง ยังไม่ได้ยกเครื่องบนคงค้างอยู่เพียงนั้น”
โบราณสถานที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน คือ เจดีย์ ๒
องค์ เจดีย์ประธาน เจดีย์บริวาร ซากฐานวิหารหน้าเจดีย์ประธาน
นอกจากนี้ยังมีศาลพ่อขุนแสน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์ประธาน
เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่สร้างทับซ้อนกัน ๒ ชั้น เจดีย์องค์ในเป็นเจดีย์สมัยอยุธยาตอนกลาง องค์นอก สร้างพอกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ และมีเจดีย์บริวารหนึ่งองค์ ริมถนนอู่ทอง.....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น