วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทพระธาตุกะถา



๓.ธาตุกถา
สงฺคโห  การสงเคราะห์ คือรวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นรูปธรรมด้วยกัน
อสงฺคโห  การไม่สงเคราะห์ คือไม่รวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น ไม่สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นนามธรรม
สงฺคหิเตน อสงฺหิตํ  หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันได้เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมฝ่ายอื่น เช่นอายตนะธาตุฝ่ายรูป ที่สงเคราะห์เข้ากับรูปขันธ์ได้ แต่สงเคราะห์เข้ากับนามขันธ์ไม่ได้
อสงฺคหิเตน สงคหิตํ  หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกัน เช่น นามขันธ์ไม่สงเคราะห์เข้ากับ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูป แต่สงเคราะห์เข้ากับอายตนะ ธาตุฝ่ายนามด้วยกันได้
สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ  หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกันทั้งหมด เช่นขันธ์ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูปหรือธรรม ก็สงเคราะห์เข้ากันได้ตามประเภททั้งหมด
อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ  หมวดธรรมที่สงเคราะห์กันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมต่างฝ่ายกันทั้งหมด เช่น รูปขันธ์สงเคราห์เข้ากันกับนามขันธ์ไม่ได้ ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับอายตนะธาตุฝ่ายนามทั้งหมด
สฺปโยโค  ความสัมปโยคประกอบกัน คือความมีเกิด ดับ มีวัตถุที่ตั้งและมีอารมณ์เป็นสภาค คือมีส่วนร่วมเป็นอันเดียวกัน เช่น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ วิญญาณขันธ์ก็มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ได้ ส่วนรูปขันธ์ไม่มีสัมปโยคประกอบกันกับอะไรอื่น
วิปฺปโยโค  ความวิปโยค ไม่ประกอบ คือพรากกัน เพราะเป็นวิสภาคผิดส่วนกัน จึงต่างเกิด ต่างดับ เป็นต้น เช่น รูปขันธ์มีวิปโยคไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ นามขันธ์ ๔ ก็มีวิปโยคไม่ประกอบกับรูปขันธ์
สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ   หมวดธรรมที่สัมปยุต ประกอบกันได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับหมวดธรรมประเภทอื่น เช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่สัมปยุตประกอบกับนาม ๔ ได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์
วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ   หมวดธรรมที่วิปปยุตไม่ประกอบกันแล้ว ก็สัมปยุต ประกอบกันอีก หมวดธรรมเช่นนี้ไม่มี เพราะนามขันธ์ ๔ วิปปยุตไม่ประกอบกันกับรูปขันธ์แล้ว ก็ไม่สัมปยุตประกอบกันกับธรรมอื่นนอกจากพวกของตน รูป และนิพพานเป็นวิปยุตไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ แล้วก็ไม่สัมปยุตกับธรรมอื่น

อสงฺคหิตํ  หมวดธรมที่ไม่สงเคราะห์เข้ากัน คือเมื่อกล่าวถึงบททั้งหลายที่ละเว้นไว้ ย่อมประมวลความโดยย่อว่า หมวดธรรมที่สัมปยุตประกอบกันก็ดี หมวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกันก็ดี ย่อมสงเคราะห์เข้ากันได้บ้าง สงเคราะห์เข้ากันมิได้บ้าง เช่น ไปสวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์ คือพวกนามขันธ์ ๔ ก็สงเคราะห์เข้ากันกับนามขันธ์ทั้ง ๔ แต่ไม่สงเคราะห์เข้ากันกับรูปขันธ์
********
คำแปลพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
(สมเด็จพระญาณสังวร-เจริญ สุวฑฺฒโน วัดบวรนิเวศวิหาร)
จาก http://www.watsacramento.org/w-article-074B-t.htm
******

*****

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น