วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2566

Buddha's Thoughts on War


 

ชยัง เวรัง ปสวติ ทุกขัง เสติ ปราชิโต
อุปสันโต สุขัง เสติ หิตวา ชยปราชยัง.
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์
เมื่อละความชนะและความแพ้เสียแล้ว
ก็จะมีจิตสงบ นอนเป็นสุข.

น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ.
ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมระงับด้วยเวรไม่ได้เลย.

อเวเรน จ สมฺมนฺติ.
เวรย่อมระงับด้วยไม่มีเวร .

รับวันใหม่


 ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่

.............................

กระจกเงาที่มันมีฝุ่นละอองจับเป็นฝ้า 

ส่องก็มองไม่เห็นเงาในกระจก 

เราก็ต้องมาเช็ด มาทำความสะอาดเอาฝุ่นละอองออกไป 

กระจกก็จะใส ส่องเห็นเงาชัดเจน 


กระจกนั้นก็เหมือนกับจิต อุปมาเหมือนกับจิต 

จิตนี้ถ้าสามารถชำระเอากิเลส อกุศลธรรมต่าง ๆ 

ความโลภ โกรธ หลง 

ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด เร่าร้อน ออกไปจากจิตได้ 

จิตก็จะคืนความใสเหมือนกระจก 

จิตใสก็จะส่องเห็นสภาพความเป็นจริงของชีวิตได้ 


เอาจิตไปดู ไปกำหนดพิจารณาสังขารร่างกายจิตใจ  

ก็จะเห็นความจริงได้ 

รู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นจริงของชีวิต 

สังขารร่างกายจิตใจเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ 

เปลี่ยนแปลง เกิดดับ ไม่ใช่ตัวตน 

เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย 

หมดไปตามเหตุตามปัจจัย 


เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ ๆ จึงเกิด 

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้ ๆ จึงมี 

เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ ๆ จึงดับ

เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ ๆ จึงไม่มี 

มันจะเข้าไปรู้เห็นความจริงได้ 


ถ้าจิตมันใสสะอาด มันก็พิจารณาอะไรได้เห็นชัด 

เท่ากับว่าจิตต้องมีสมาธิ จิตต้องมีปัญญา 

จิตจะมีสมาธิมีปัญญา ก็ต้องมีสติ 

ฝึกให้การมีสติมีสัมปชัญญะ 

การระลึกรู้อยู่บ่อย ๆ เนือง ๆ 

เป็นเหมือนกับการขัดชำระกระจกให้ใสขึ้น ๆ 


หรืออุปมาจิตเหมือนกับเพชร 

ได้เพชรมาก้อนหนึ่ง ขุดขึ้นมามันไม่ใช่ใส  

เพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน มันจะขุ่น มองไม่เห็น 

เพราะมันมีสิ่งที่เกาะ ทำให้เพชรขุ่น 

เขาก็ต้องมาเจียระไน ขัดให้มันเรียบ 

เพชรจึงใสสุกแวววาวขึ้นมา มีค่ามีราคา 

สีแสงส่องประกายแวววาวขึ้นมา 


เหมือนจิตนี้เหมือนกัน มันมัวหมอง 

เพราะมันมีกิเลสต่าง ๆ แปดเปื้อน 

ขุ่นมัว เร่าร้อน 

เราก็ต้องมาเจียระไนด้วยการที่ต้องเจริญสติ 

สติที่เข้าไประลึก 

ไปส่องไปพิจารณาดูรูปดูนามในสังขารร่างกาย 

ดูแล้วดูอีก ฝึกแล้วฝึกอีก 


เหมือนเพชรมันเจียระไนครั้งเดียวมันไม่ใสหรอก 

มันต้องเจียระไนกันมาก ขัดกันมาก 

เจียระไน ขัด จนกว่ามันจะเรียบ มันจะใส 

จิตก็เหมือนกันที่เราจะต้องเจียระไน 

ก็คือต้องฝึกการเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะให้มาก 

จิตจึงจะใส 


............................

ธัมโมวาท โดย‎หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี

เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา

*****

Cr.https://www.facebook.com/100050180992815/posts/pfbid02aEjBmJVLrRUfG78UnhgGLt66UQMDWCai9jQLkEp5KJmQtF8KrEoUeNWGJqFrV9eWl/?mibextid=UyTHkb

ส่งท้ายปีเก่า


 "บทความที่ทรงคุณค่า"​


อาตมาวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาในเมืองไทยว่า


คนที่มีฐานะดีมาก จะส่งลูกไปเรียนเมืองนอก ถ้าฐานะปานกลางก็ส่งลูกไปโรงเรียนคริสต์ จบแล้วก็ไปเรียนมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ


ก็แปลว่า ชนชั้นนำของเมืองไทย ปัญญาชนเติบโตโดยเข้าใจหลักพุทธศาสนาน้อยมาก คำสั่งสอนเพื่อพัฒนาตนหรือสังคมแทบจะไม่รู้จักเลย​ อาตมาว่า เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย และไม่น่าเป็นไปได้


ปัจจุบัน ในอังกฤษ ได้เพิ่มหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องความฉลาดในเรื่องพฤติกรรม ความสามารถในการปรับตัวอยู่กับชุมชน การควบคุมบริหารอารมณ์ตัวเอง


ในเมืองนอกตอบรับเรื่องพวกนี้ หลายโรงเรียนมีคอร์สสอนเรื่องสติ การรู้จักตัวเอง เพื่อให้อยู่ในปัจจุบันขณะ เราอยู่ในยุคที่ทางตะวันตกกำลังสำนึกถึงความบกพร่องในระบบการศึกษา ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาชีวิตมีอยู่ในพุทธศาสนา


ถ้าหากมีการพัฒนาการศึกษาตามแนวพุทธิปัญญา​ เมืองไทยก็เป็นผู้นำเรื่องนี้ แต่คนยังขาดความรู้และความศรัทธาในภูมิปัญญาตัวเอง กลับไปยกย่องตะวันตก แทนที่จะเป็นผู้นำก็เป็นผู้ตามตลอด


ถ้าเข้าใจการพัฒนาจิตใจ พฤติกรรม และการอยู่ในสังคม ต้องทำแบบองค์รวม ไม่ใช่การศึกษาแยกส่วน

มีเด็กฉลาด ๆ ติดยา ติดเกม เยอะมาก ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นกับความฉลาด


เราอยู่ในยุคที่หวังว่า ถ้าคนมีการศึกษาที่ดี ประเทศชาติก็เจริญ มันเป็นความเชื่องมงาย โดยถือว่า การศึกษาวัดด้วยปริญญาบัตร


ถ้าจะแก้ปัญหาคอรัปชั่น ก็บังคับกันว่า คนต้องมีการศึกษาจบปริญญาตรี ปริญญาโท แล้วมันจะมีผลอะไร


คนส่วนใหญ่เข้าใจเปลือกพุทธศาสนามากกว่าหัวใจพุทธศาสนา


คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นระบบการศึกษาที่สมบูรณ์บริบูรณ์ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์

แล้วความฉลาด คืออะไร


เครื่องวัดความฉลาดที่แน่นอนที่สุด ก็คือ ศีล 5

เพราะคนเราต้องการสุข ไม่ต้องการทุกข์


กฎแห่งกรรมมีจริง


การผิดศีล คือ การสร้างความทุกข์ ความเดือดร้อนให้ชีวิตเราในระยะยาว​ เพราะฉะนั้นคนฉลาดจริงๆ ไม่มีทางผิดศีล 5 นี่คือ แง่มุมหนึ่งที่ว่า ความฉลาดอยู่ตรงไหน


ทุกวันนี้เรารู้ว่า คนฉลาด ไอคิวสูง แล้วมีผลดีต่อสังคมตรงไหน


แต่ถ้าทำให้สังคมเสียหาย ฉลาดในการเอารัดเอาเปรียบ แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว​ เราไม่อยากให้เกียรติว่า คนที่ทำแบบนี้เป็นปัญญาชน


ถ้าใช้ไอคิวเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ตนและครอบครัว และสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น อาตมาไม่ยอมรับว่า เป็นพฤติกรรมของปัญญาชน


เพราะฉะนั้นเราใช้คำว่า ปัญญาชนง่ายเกินไป


คนที่ไม่ศึกษาศีล สมาธิ ปัญญา ก็จะบอกว่า แล้วเกี่ยวอะไรกับการศึกษา ฟังๆ แล้วมันเกี่ยวกับพระมากเกินไป


ที่อาตมานำไปใช้ในโรงเรียนมีการภาวนา​  4 ข้อ เนื้อหาเหมือนไตรสิกขา เพราะการภาวนา ไม่ได้หมายความว่านั่งหลับตา ความหมายเดิมแปลว่าพัฒนา ดังนั้น


1. เน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ

2. พัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับสังคม

3. พัฒนาทางจิตใจ

4. พัฒนาทางปัญญา


ถ้าระบบการศึกษาไปตามแนวนี้จะครบทุกด้าน​ อย่างเช่น การพัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ


ก็เริ่มจากธรรมชาติใกล้สุดคือ ร่างกายของเรา ต้องเรียนรู้ความฉลาดในร่างกาย ต้องกินให้พอดี ใช้ตา หู ลิ้น กาย ใจในทางที่เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีการใช้อินเตอร์เน็ต


เรื่องเงินทอง เสื้อผ้า แฟชั่น ก็ขยับไปสู่ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม


การภาวนาคือ การพัฒนาจิตใจ ซึ่งสอนให้เด็กสามารถแก้ปัญหาตัวเอง เวลาน้อยใจ วิตกกังวล กลัว ซึมเศร้า จะทำอย่างไร


คนเรามีเรื่องชวนให้เครียด ชวนให้โกรธ ชวนให้มีปัญหาตลอดชีวิต


สิ่งที่จำเป็นในชีวิตอย่างการเลือกคู่ ผู้ชายจะเป็นพ่อที่ดี สามีที่ดีอย่างไร เวลาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เราเดือดร้อน จะรักษาจิตใจของตนให้ปกติได้อย่างไร​ สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก


ทำไมสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต ระบบการศึกษาไม่สอนเลย อันนี้เป็นจุดบอดใหญ่ ทั้งๆ ที่แนวทางพุทธมีวัตรปฎิบัติที่ชัดเจน​ มีคำสอนที่จะช่วยเรื่องนี้ ถือว่าเรามีบุญมากที่ได้เปรียบตะวันตก ซึ่งไม่มีหลักแบบนี้


Credit : พระอาจารย์ชยสาโร

(นามเดิม ฌอน ชิเวอร์ตัน ชาวอังกฤษ)

วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566

มรณานุสติ


 อภิณหปัจจเวกขณปาฐะ

( หันทะ มะยัง อะภิณหะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส )

ชะราธัมโมม๎หิ ชะรัง อะนะตีโต ( หญิง . อะนะตีตา )

- เรามีความแก่เป็นธรรมดา , จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้

พ๎ยาธิธัมโมม๎หิ พ๎ยาธิง อะนะตีโต ( ญ . อะนะตีตา )

- เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา , จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้

มะระณะธัมโมม๎หิ มะระณัง อะนะตีโต ( ญ . อะนะตีตา )

- เรามีความตายเป็นธรรมดา , จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้  

สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว

- เราจะละเว้นเป็นไปต่างๆ , คือว่าเราจะต้องพลัดพราก
จากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง

กัมมัสสะโกม๎หิ กัมมะทายา โท ( ญ . ทา ) กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ
กัมมะปะฏิสะระ โณ ( ญ . ณา )

- เรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน , มีกรรมเป็นผู้ให้ผล ,
มีกรรมเป็นแดนเกิด , มีกรรมเป็นผู้ติดตาม , มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

ยัง กัมมัง กะริสสามิ , กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา ,  
ตัสสะ ทายา โท ( ญ . ทา ) ภะวิสสามิ

- เราทำกรรมอันใดไว้ , เป็นบุญหรือบาป , เราจะเป็นทายาท ,
คือว่าเราจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไป

เอวัง อัม๎เหหิ อะภิณ๎หัง ปัจจะเวกขิตัพพัง

- เราทั้งหลายควรพิจารณาอย่างนี้ทุกวันๆ เถิด

( ฉกฺก . อํ . ๒๒ / ๖๒ / ๕๗ )

****
Cr.http://www.watpamahachai.net/Document8.htm

วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2566

วิปัสสนา


(ภัทเทกรัตตคาถา)


 อะตีตัง  นานวาคะเมยยะ,

ผู้มีปัญญา  ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย

นัปปะฏิกังเข  อะนาคะตัง,
ไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง,

ยะทะตีตัมปะหีนันตัง,
สิ่งใดที่เป็นอดีตก็ละไปแล้ว,

อัปปัตตัญจะ  อะนาคะตัง,
สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มาถึง,

ปัจจุปันนัญจะ  โย  ธัมมัง,
บุคคลใด  เห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า

ตัตถะ  ตัตถะ  วิปัสสะติ,
ในที่นั้น ๆ  อย่างแจ่มแจ้ง,

วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566

How to stop the war


เวรวรรค คือ หมวดเวร

 น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ.

ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมระงับด้วยเวรไม่ได้เลย.
วิ . มหา. ๕/ ๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/ ๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๕. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/ ๑๘๒.
*****
Cr.http://www.watpamahachai.net/Doc30.htm
******

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 74

อรรถกถาเรื่องความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี

อธิบาย ข้อเวรทั้งหลาย ย่อมไม่ระงับด้วยเวร

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ เวเรน เป็นต้น

ความว่า เหมือนอย่างว่า บุคคล แม้เมื่อล้างที่ซึ่งเปื้อนแล้วด้วยของไม่สะอาดมีน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้น ด้วยของไม่สะอาดเหล่านั้นแล ย่อมไม่อาจทำให้เป็นที่หมดจดหายกลิ่นเหม็นได้, โดยที่แท้ ที่นั้นกลับเป็นที่ไม่หมดจดและมีกลิ่นเหม็นยิ่งกว่าเก่าอีก ฉันใด บุคคลเมื่อด่าตอบชนผู้ด่าอยู่ ประหารตอบชนผู้ประหารอยู่ ย่อมไม่อาจยังเวรให้ระงับด้วยเวรได้, โดยที่แท้ เขาชื่อว่าทำเวรนั่นเองให้ยิ่งขึ้น ฉันนั้นนั่นเทียว แม้ในกาลไหนๆ ขึ้นชื่อว่าเวรทั้งหลาย ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวร, โดยที่แท้ เวร ชื่อว่าย่อมเพิ่มยิ่งขึ้นอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายข้อว่า เวรย่อมระงับ ด้วยการไม่จองเวรหรือด้วยการไม่มีเวร

สองบทว่า อเวเรน จ สมฺมนฺติ

ความว่า เหมือนอย่างว่า ของไม่สะอาด มีน้ำลายเป็นต้นเหล่านั้น อันบุคคลล้างด้วยน้ำที่ใส ย่อมหายหมดได้, ที่นั้นย่อมเป็นที่หมดจด ไม่มีกลิ่นเหม็น ฉันใด, เวรทั้งหลาย ย่อมระงับ คือ ย่อมสงบ ได้แก่ ย่อมถึงความไม่มี ด้วยความไม่มีเวร คือ ด้วยน้ำคือขันติ (ความอดทน) และเมตตา (ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน) ด้วยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย [และ] ด้วยการพิจารณา ฉันนั้นนั่นแล.

*******

Cr.https://www.dhammahome.com/webboard/topic20784.html


วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566

สำเนียงลาว


ลาวเจริญศรี


ลาวล่องน่าน


จุดใต้ตำตอ


ลาวดวงเดือน


ลาวต้อยตลิ่ง


ลาวเสี่ยงเทียน


สาบานรัก


ลาวสมเด็จ


คู่เสน่หา


ลาวเจ้าซู


วอนรัก


ลาวลอดค่าย


ลาวชมดง


ลาวม่านแก้ว


ลาวดำเนินทราย


ดำเนินทราย


ลาวดำเนินทราย


ลาวกระทบไม้


ยอยศพระลอ


ลาวแพน


บ้านนา


ลาวจ้อย


หงส์ปีกหัก


ลาวคำหอม


ลาวคำหอม


ลาวคำหอม

***************
Cr. You Tube

*********8**


***********
















































 

วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566

สำเนียงแขก


 แขกต่อยหม้อ


วอนเฉลย


แขกกะเร็ง


แขกปัตตานี


จดหมายจากแม่


แขกพราหมณ์


แขกขาว เถา


อิหนารำพึง


แขกมอญบางขุนพรหม


พรพรหม


แขกเจ้าเซ็น


แขกเชิญเจ้า


แขกสาหร่าย


รวงทิพย์

************
Cr.You Tube

สำเนียงมอญ


 มอญดูดาว..


มอญรำดาบ


ลมทะเล


มอญท่าอิฐ


มอญผ้าโพก


มอญแปลง


มอญยาดเล้


มอญดาวตะเลง


ราตรีประดับดาว


ฟ้าแดง


มอญอ้อยอิ่ง

*********



***********
Cr.You Tube

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566

พุทธศาสนา

 


........

Buddhism is not a true religion according to new academic principles.  True religion must have a God.
And Buddhism is not a philosophy.  Philosophy must have an owner.  Like the philosophy of Plato, Fuso, and Concius.  This is a philosophy.
Buddhism has no owner.  Buddha does not own Buddhism. The whole world does.  Buddhism belongs to all of us.  Lord Buddha discovered the real things that exist in people.  existing in the world  and then teach it to another person.  Therefore, Buddhism is in the middle.  Both philosophy and religion....

...

ศาสนาพุทธมิใช่ศาสนาอย่างแท้จริงตามหลักวิชาการแผนใหม่ ศาสนาที่แท้จริงจะต้องมีพระผู้เป็นเจ้า
และศาสนาพุทธก็มิใช่ปรัชญา ปรัชญาต้องมีเจ้าของ อย่างปรัชญาของท่านเพลโต้ ของท่านฟูโซ่ ของท่านกงจื๊อ อันนี้เป็นปรัชญา
พระพุทธศาสนาไม่มีเจ้าของ พระพุทธเจ้าไม่ได้เป็นเจ้าของพระพุทธ ศาสนา โลกทั้งโลกเป็นเจ้าของ พระพุทธศาสนาเป็นของเราทุกคน พระพุทธเจ้าท่านค้นพบของจริงที่มีอยู่ในคน ที่มีอยู่ในโลก แล้วนำมาสอนคนอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นศาสนาพุทธจึงอยู่ในระหว่างกลาง ทั้งปรัชญาและศาสนา....

*****

Cr.fwd.line

วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566

พุทธแบบทิเบต (คลิป)



ฟังคลิปจากท่านพระครูอินเดีย


 Cr.https://www.facebook.com/reel/871027614018070?s=yWDuG2&fs=e&mibextid=UyTHkb

*****

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ความสุข



Cr.https://www.facebook.com/BuddhismInEnglish?mibextid=ZbWKwL


Cr.https://fb.watch/oVmVm0KlFZ/?mibextid=UyTHkb


Cr.https://fb.watch/oX1ROfPJOK/?mibextid=UyTHkb


Cr.https://fb.watch/oX07z1aU5T/?mibextid=UyTHkb

วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566

Thay อาสาสมัครจากบราซิล

 


“Viajar e conhecer outras culturas é o que me motiva. Meu grande sonho é conhecer Itália e voltar as origens da minha família.” Thay

การเดินทางและทำความรู้จักกับวัฒนธรรมอื่นๆ คือสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้ฉัน ความฝันอันยิ่งใหญ่ของฉันคือการได้ไปเยือนอิตาลีและกลับคืนสู่ต้นกำเนิดของครอบครัว Thay



















********


********

*********



















การฝึกจิต


 ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกใปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
(พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๑๙.


วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566

อะไรคือตัวทุกข์


 ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่ 

.............................

#สังขิตเตนะ #ปัญจุปาทานักขันธา #ทุกขา 

#ว่าโดยย่อ #ขันธ์ทั้ง๕เป็นตัวทุกข์ 


รู้หรือยังว่าจริง ๆ แล้วอะไรคือทุกข์? 

ขันธ์ ๕ นี่เอง 

การจะพ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสว่าให้กำหนดรู้ทุกข์

กำหนดรู้ทุกข์เป็นสัมมาทิฏฐิ

กำหนดรู้ทุกข์จริง ๆ แล้วก็คือ 

ไปกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี่เอง 

ถ้าใครรู้จักอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ 

คนนั้นก็จะมีโอกาสพ้นทุกข์ 

เพราะว่าจะพ้นทุกข์ต้องรู้ทุกข์ 

รู้ทุกข์คือต้องรู้ไปถึงขันธ์ ๕ 


#ขันธ์๕อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น 

มีอะไรบ้าง? 


#รูปูปาทานักขันโธ 

#ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นคือรูป 


รู้จักรูปหรือยัง 

เรารู้แต่ชื่อไม่ได้ 

เวลาปฏิบัติภาวนา มันต้องกำหนดลงไปที่รูป 

เราจะกำหนดรู้รูป เราจะกำหนดตรงไหน? 

ตอนนี้มีรูปไหม? 

ตอนนี้รูปมานั่งอยู่ 

ที่มานั่งอยู่คือรูป นั่งอยู่ 

สรีระร่างกายเป็นก้อนทุกข์ คือมันเป็นรูปขันธ์ 

มีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีอวัยวะต่าง ๆ 

อันประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ 

เป็นรูป รูปขันธ์ 

ท่านให้กำหนดรู้ทุกข์ 

ก็คือต้องมากำหนดรู้ขันธ์ ๕ ดูรูป 


กำหนดดูสังขารร่างกายเพื่ออะไร? 

เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง 

ความจริงของกายนี้เป็นอย่างไร? 

ไม่เที่ยง 

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์? 

เป็นทุกข์ 

หมายถึงอย่างไร? 

เป็นทุกข์ ตั้งอยู่ได้ไหม? 

เปลี่ยนแปลงแล้วต้องแตกดับ 

นั่นคือความทุกข์ 

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 

มีความแปรผันเป็นธรรมดา 

ควรหรือจะยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา 


ฉะนั้นกายนี้ สังขารร่างกายที่เป็นรูปขันธ์นี้ 

มันใช่ตัวเราหรือ? 

กำหนดลงไปให้เห็นว่ามันใช่ตัวเราไหม? ไม่ใช่


เป็นของเราหรือไม่? 

สังขารร่างกายนี้เป็นของเราไหม? 

ไม่ใช่ 


แต่มันอยู่ในเราใช่ไหม? 

ถ้าใช่ก็โดนแล้ว โดนอุปาทานยึดถือยึดมั่น 

ยึดว่ามันอยู่ในเรานี่ก็ถือว่ายึดมั่นถือมั่น 

แต่ที่จริงไม่ได้อยู่ในเรา 


กายนี้ไม่ใช่ของเรา 

กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา 

กายนี้ไม่ได้อยู่ในเรา  

แต่ว่ามันมีเรามาอยู่ในกายนี้ใช่ไหม? 

ถ้าใช่ก็โดนอีกแล้ว ยึด 

ยึดอะไร? 

ยึดจิตใจเป็นตัวตน มาอยู่ในเรา 


ฉะนั้นให้พิจารณาว่า กายนี้ไม่ใช่ของเรา 

กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา 

กายนี้ไม่ได้อยู่ในเรา 

และไม่มีเราอยู่ในกายนี้

แต่ว่าเราเป็นผู้กำหนดดูมันอยู่ใช่ไหม? 

ถ้าใช่ก็โดนอีกนั่นแหละ โดนอุปาทานยึดอีก 


ใครเป็นผู้กำหนดดู? จิต

จิตที่มีสติมีปัญญา จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีสติสัมปชัญญะ

จิตนี้หรือวิญญาณนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า

เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน 

เราจะต้องกำหนดไป ๆ จนกระทั่งละ 

ละความเป็นตัวตน ถึงจะหลุดพ้น 


เวลากำหนดมาที่กาย ก็จะต้องทำใจพิจารณาว่า

กายนี้ก็สักแต่ว่ากาย 

สักแต่ว่าเป็นที่ตั้ง เป็นที่อาศัยระลึก เป็นที่อาศัยระลึกรู้ 

ไม่ใช่สัตว์บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเราเขา

ตัณหาและทิฏฐิก็จะหลุดออกไป ๆ 

ทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ๆ ในโลกด้วย 


ธรรมบรรยาย ทุกข์ 

ณ วัดป่าเจ้าพระยา ชัยนาท ( ธันวาคม ๒๕๖๖) 

.............................

ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี

เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา

******

Cr.Fwd.line

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566

กรอบที่กำกับ..


 ลองจินตนาการถึงวงซิมโฟนีออเคสตราที่บรรเลงเพลงชั้นเลิศของโมซาร์ตหรือเบโธเฟ่น  นึกถึงนักดนตรีที่บรรเลงเครื่องดนตรีเดี่ยวและวาทยากรที่กำกับวง  แล้วพิจารณาว่าฝีมือและการสร้างสรรค์ของนักดนตรีเหล่านี้ในแต่ละขณะขึ้นอยู่กับความสามารถในการถ่ายทอดผลงานประพันธ์ดนตรีที่คีตกวีแต่งขึ้นเมื่อหลายร้อยปีก่อน  นักดนตรีไม่ได้เพิ่มโน้ตของตัวเองเข้าไปใหม่หรือบรรเลงข้ามตัวโน้ตใดๆ ในต้นฉบับเลย


ลองนึกถึงนักแสดงชั้นเยี่ยมที่ถ่ายทอดบทรำพึงของกวีเอกเชคสเปียรส์  ฝีมือและการสร้างสรรค์ของนักแสดงหาได้ถูกจำกัดด้วยตัวบทไม่  ทว่าตรงกันข้าม ถ้อยคำของเชคสเปียรส์นั้นเปิดโอกาสให้นักแสดงถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างเต็มที่ 


ลองนึกถึงนักกีฬาเก่งๆ ในยามรุ่งโรจน์  กฎกติกาในการแข่งขันหาได้ปิดกั้นฝีมืออันยอดเยี่ยมของนักกีฬาแต่ประการใดไม่ หากช่วยให้แสดงฝีมืออย่างโดดเด่นเป็นเฉพาะ

ในทุกๆ ด้านของชีวิต  กรอบแห่งพฤติกรรมที่แยบคายจะช่วยกันไม่ให้เราตกหลุมพรางของอุปนิสัยเดิมๆ และการทำอะไรตามใจตัวเอง  กรอบที่กำกับพฤติกรรมนี้จะเปิดโอกาสให้เราเข้าถึงศักยภาพของตน  ในฐานะผู้ปฏิบัติธรรม เราสามารถสร้างสรรค์สิ่งดีงามและคุณค่าให้กับโลกโดยอาศัยหลักคำสอนของพระพุทธองค์เป็นเครื่องกำกับว่าอะไรควรพูดควรทำ และอะไรที่ไม่ควรพูดไม่ควรทำ

ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร

แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ

*****

Cr.https://www.facebook.com/100064337808864/posts/pfbid0UQpaetKzQ6Uh899yn5aY9CLzG85xxKiYvrGeKwdwkmFxQc7NeG1xMuddUtScLKE7l/?mibextid=UyTHkb

ฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening)











 

วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2566

Luca อาสาสมัครจากบราซิล



" Nice to meet you here, hope to meet you in person too!

I'm Dian Luca, a Brazilian who recently left his job in technology to take a sabbatical year and travel the world.

My friends and family say I'm a quiet guy, but I love talking about everything and I'm curious about any kind of subject.

My favorite hobby is street and drone photography. I practice meditation and stretching and I also like to read and write (I keep a kind of traveler's diary).

I'm looking to learn new skills, work with things I never imagined I could (or would) and especially get to know new cultures and the people who live in them.

Cheers, hugs! " 
Luca

"ยินดีที่ได้พบคุณที่นี่ หวังว่าจะได้พบคุณแบบตัวเป็นๆ เช่นกัน!

ฉันชื่อ Dian Luca ชาวบราซิลที่เพิ่งลาออกจากงานด้านเทคโนโลยีเพื่อไปพักร้อนและท่องเที่ยวรอบโลก

เพื่อนและครอบครัวของฉันบอกว่าฉันเป็นคนเงียบๆ แต่ฉันชอบพูดคุยทุกเรื่องและฉันก็อยากรู้เกี่ยวกับทุกเรื่องด้วย

งานอดิเรกที่ฉันชอบคือการถ่ายภาพสตรีทและโดรน ฉันฝึกสมาธิและยืดเส้นยืดสาย และฉันก็ชอบอ่านและเขียนด้วย (ฉันเก็บไดอารี่ของนักเดินทางประเภทหนึ่งไว้)

ฉันกำลังมองหาการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ทำงานกับสิ่งที่ฉันไม่เคยคิดว่าจะทำได้ (หรือจะทำได้) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รู้จักวัฒนธรรมใหม่ๆ และผู้คนที่อาศัยอยู่ในนั้น

ไชโย กอด! " Luca

































***********

*********

********