ธรรมะจากหลวงปู่..
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสว่า สิ่งที่จะได้บรรลุธรรมก็มีหลายทางด้วยกัน พระองค์ตรัสไว้ใน ปัญจกนิบาต อังคุตรนิกายว่า
๑.ต้องมีการฟังธรรม
๒.ต้องมีการแสดงธรรม
๓.การสาธยายธรรม
๔.ให้พิจารณาธรรม
๕.ให้มีการทำกัมมัฏฐาน คือ นั่งสมาธิ
นี่เป็นหนทางที่จะได้บรรลุธรรม...การฟังธรรมนี้เราจะเห็นได้ว่าอัครสาวกคือพระสารีบุตรได้บรรลุธรรมก็ได้ฟังธรรมที่พระองค์ได้แสดงแก่ ทีฆนขปริพาชก อัคคิเวสสนโคตร ที่เขาคิชกูฏ ท่านเป็นอัครสาวกท่านมีปัญญามากท่านก็ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าท่านก็ได้บรรลุ ท่านได้บรรลุเพราะการฟัง
๒.การแสดงธรรม การแสดงธรรมนี้เราก็ให้ธรรมะเป็นทาน เรามีธรรมะของพระพุทธเจ้าเอาธรรมะของพระพุทธเจ้านี้แสดงให้คนที่ไม่รู้ เป็นการให้ทุกสิ่งทุกอย่างการให้ธรรมะ การแนะนำธรรมะ การแสดงธรรม การให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง นอกจากนั้นใจผู้ที่ให้นั้นบริสุทธิ์
๓.การสาธยายธรรม แสดงธรรมกับสาธยายธรรม มีหัวข้อมาแล้วให้อธิบายนั้นให้แจ่มแจ้งให้เข้าใจ การสาธยายธรรมหัวขัอแสดงธรรมะให้แล้ว แสดงกระทู้แล้วอธิบายกระทู้นั้นให้มันแจ่มแจ้งความหมายการสาธยายธรรม
๔.การพิจารณาธรรม บางทีเราพิจารณาเพื่อให้ใจของเราเบิกบาน กิเลสไม่มี ใจบริสุทธิ์ พิจารณาธรรมข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำไมโลกนี้ไม่แน่นอน โลกนี้เป็นทุกข์ โลกนี้ไม่ใช่ของเราอย่างนี้เป็นต้น
๕.ทำกรรมฐาน สมถะกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ทำสมถะมาแล้ว ทำวิปัสสนาต่อเป็น เจโตวิมุตติ ถ้าหากว่าทำวิปัสสนาอย่างเดียวสมถะไม่เคยผ่านก็เป็น ปัญญาวิมุตติ อันนี้เป็นการนั่งสมาธิ ๑.ทำให้มีความสุขในปัจจุบัน ๒.เราจะรู้สิ่งที่ไม่มีใครรู้ในสมาธิ ๓.เราจะมีสติสัมปชัญญะอย่างสมบูรณ์ และ ๔.ความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสทั้งปวง นี้การทำกัมมัฏฐานเราต้องเดินจงกลมก่อน
การเดินจงกลมนั้นมีอานิสงส์อยู่ ๕ ประการ
๑.ทนต่อการเดินทางไกล
๒.ทนต่อการกระทำความเพียร
๓.อาหารที่กินเข้าไปย่อย ท้องไม่ผูก
๔.ไล่โรคลม
๕.มีกำลังภายใน
กำลังภายในนี้ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเราก็จะบังเกิดขึ้น การเดินจงกลมนี้ต้องเดินทุกครั้งไป อย่าง ๕ นาที ๑๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง หรือว่า ๓๐ นาที แล้วแต่เวลาและโอกาส ถ้าเราเฒ่าแก่จะเดินเกาะผนังหรือใช้ไม้เท้าก็ได้ ครูบาอาจารย์ก็เดินจงกลม อย่างครูบาเจ้าอินทรจักร ครูบาเจ้าพรหมจักร และครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างที่เดินจงกลมที่วัดพระสิงห์ ครูบาอาจารย์คนเก่าแก่ท่านเดินจงกลม เราต้องใช้สติปัฏฐาน คัจฉันโต วา คัจฉันมีติ ประชานาติ เวลาเดินเรารู้สึกว่าเราเดิน ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ประชานาติ เวลายืนรู้สึกว่าเรายืน นิสินโน วา นิสินโนมหีติ ปะชานาติ เรานั่งรู้สึกว่าเรานั่ง สะยาโน วา สะยาโนมหีติ ปะชาตาติ เรานอนรู้สึกว่าเรานอน
อันนี้เป็นธรรมะจะให้บรรลุธรรม อย่างพระอานนท์เถระ ไม่นึกว่าจะได้เวลานอน ศรีษะยังไม่ถึงหมอนก็ได้บรรลุธรรมเพราะฉะนั้นอย่างไปประมาท เราจะพบธรรมะเมื่อใดนี้ความไม่ประมาท อะกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาล เมื่อแบบนั้นเราจะพบเมื่อไรก็ได้ไม่แน่ เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์ว่าอย่าไปประมาท และต่อไปนี้เราจะได้กราบสติปัฏฐาน และเดินจงกลม นั่งสมาธิ ต่อไป ฯ..
............................
(จากหนังสือ ธรรมะจากหลวงปู่ ๑๖ พระธรรมมังคลาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร)
.............................
............................
ธรรมะของวิปัสสนา...(ธรรมะของหลวงปู่ ๑๖)
ตอบลบจะได้กล่าวถึงธรรมะ ของวิปัสสนา ที่เราได้เรียนมา ที่นักธรรมชั้นเอก กล่าวว่า ธรรมที่จะเป็นวิปัสสนาธรรม ๕ ประการ คือ ๑.ลักษณะ ๒.กิจ ๓.ผล ๔.เหตุ ๕.วิภาค
๑.ลักษณะ คือ พระไตรลักษณ์ นั่นเอง ลักษณะที่มีเสมอกัน เด็ก วัยกลางคน ผู้ใหญ่ เหมือนกันหมด ลักษณะพระไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นลักษณะของวิปัสสนา เปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา ไม่อยู่ในอำนาจ นี่เป็นลักษณะของวิปัสสนา คือเห็นเปลี่ยนแปลง ต้องเห็นเปลี่ยนแปลง อนิจจังเห็นเป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่ใช่ของเรา รู้จักว่าเราทำวิปัสสนา ต้องรู้จักวิปัสสนา ว่าลักษณธวิปัสสนาคืออะไร แล้วกิจ....
๒.กิจ คืออะไร คือกำจัดเสียโมหะ ความไม่รู้ เป็นกิจแห่งความมืดมน อวิชชาความไม่รู้ สิ่งนั้นเป็นกิจวิปัสสนา คือทำให้แจ้งนั้นเป็นกิจ..ฯลฯ...(จากหนังสือ ธรรมะจากหลวงปู่ ๑๖ พระธรรมมังคลาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร)..
๓.ผล คือ รู้ตามลักษณะความเป็นจริงให้รู้ตามความเป็นจริงแน่หรือเปลี่ยนแปลง อนิจจังแน่หรือเป็นทุกข์ แน่หรือไม่อยู่ในอำนาจให้รู้ตามความเป็นจริงนี้เป็นผล
ลบ๔.เหตุ วิปัสสนาคือต้นทำสมาธิเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนา วิปัสสนาจะเกิดต้องเอาสติอยู่ในอารมณ์ ในการกราบ ในการเดิน และในการนั่ง กำหนด พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอไป ให้ใจเราเป็นสมาธิ ให้เราอยู่ในอารมณ์ แล้ววิปัสสนาจะย่อมเกิด ฉะนั้นวิปัสสนานั้นเกิดจากสมาธิ การที่เราขวาย่างหนอ สติสัมปชัญญะ จะทำให้สมาธิเกิดขึ้นในการขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ กราบ เราต้อนจิต เหมือนเราเลี้ยงควาย เลี้ยงวัว ก็ต้อนใส่วัวใส่ควายเข้าไปถึงจะเอาเข้าคอกได้ ตัวสมาธิ ขณิกสมาธิ ตั้งอยู่ในมือแล้ว และตั้งอยู่ในเท้า ตั้งอยู่ในตัวของเรา พองหนอ ยุบหนอ อะไรทำให้เกิดสมาธิ เมื่อเกิดปัญญา วิปัสสนา ปัญญา คืออะไร คือเหตุ เหตุตัวนี้ทำให้เกิดสมาธิ คือสมาธิเป็นเหตุ อันใดจะทำให้เกิดวิปัสสนาคือสมาธิ สมาธิเราจะทำอย่างไรให้เกิดสติ ให้มีสติ แล้วก็มีสัมปชัญญะ แล้วสมาธิจะเกิด เมื่อสมาธิเกิด ตัวปัญญา ตัววิปัสสนาปัญญา เกิดแล้ว..ฯลฯ...(จากหนังสือ ธรรมะจากหลวงปู่ ๑๖ พระธรรมมังคลาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร)..
๔.วิภาค คือ จะเห็นเป็นส่วนเป็นตอน วิภาค ๕ จะทำให้เห็นทุกข์ ให้เห็นลักษณะแห่งทุกข์ เราเห็นอนิจจัง เห็นลักษณะของอนิจจัง เราเห็นความไม่เที่ยง เราเห็นลักษณะไม่เที่ยง เราเห็นทุกข์ลักษณะทุกข์ เราเห็นอนัตตาเราเห็นลักษณะอนัตตา เราเห็นอนัตตาอย่างเดียว ทุกขัง อนิจจัง คือมีด้วยกัน ๕ ข้อ
ลบ๑.เรารู้จักอนิจจัง ๒.เรารู้ลักษณะของอนิจจัง ๓.ทุกขัง เราเห็นทุกขัง ๔.เราเห็นลักษณะของทุกขัง ๕.ลักษณะอนัตตา แล้วทุกขังนั้นมันมีอยู่ในตัว อนิจจัง อนัตตา เมื่อทุกขังมีอยู่ที่ใหน อนิจจังทุกขังมีที่นั่น เพราะฉะนั้น ข้อ ๕ เรียกว่าอนัตตาอย่างเดียวไม่มีทุกขัง ไม่มีลักษณะ รู้จักอนัตตาอย่างเดียวลักษณะของอนัตตา อนัตตาหมายความว่า มันไม่เชื่อเรา เราจะบังคับไม่ให้มันแก่ มันจะต้องแก่ ไม่ให้มันเจ็บก็ต้องเจ็บ ไม่ให้ตายเราก็ต้องตาย นี้เป็นลักษณะอย่างนี้ วิภาคเป็นส่วน ๆ นี้เป็นวิปัสสนา
เพราะฉะนั้นเราจะได้เห็นความเป็นส่วนแห่งธรรมที่มันเกิดขึ้น มันมีความเปลี่ยนแปลงความเปลี่ยนแปลงนั้น ลีกษณะความเปลี่ยนแปลง ความเป็นอนิจจังตัวสำคัญที่สุด เมื่อ จูฬปันถกได้บรรลุอรหันต์ เพราะเห็นอนิจจัง เมื่อคราวท่านเป็นพญาเจ้าเมืองก่อน ท่านได้บรรลุธรรมเพราะเห็นอนิจจัง เมื่อก่อนในอดึตชาติ ท่านเป็นพญาเจ้าเมือง เห็นพรอง๕ืขี่ช้างไปตรวจเมืองเหงื่อออกเอาผ้าขาวใส่แล้ว พระพุทธเจ้าก็บอกว่าเขาเห็นอนิจจัง เมื่อก่อนเห็นผ้าขาวเปื้อนเหงื่อก็เห็นอนิจจัง แค่นี้แหละติดตามไปทำให้เขาได้พ้นไปจากทุกข์ได้ เพราะฉะนั้น เป็นวิภาคเป็นส่วนวิภาคะ วิภาคธรรม ธรรมที่ทำให้เราเห็นอันนั้นเป็นส่วน อันนั้นเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นการเจริญวิปัสสนานี้ ทุกคนย่อมบังเกิดในชาตินี้ ต่อไป อย่าไปลืมเหตุ เหตุให้เกิดวิปัสสนา คือสมาธิ ต้องเอาจิตของเราตั้งอยู่ในอารมณ์ ตัวสติสัมปชัญญะ และก็วิปัสสนาก็จะบังเกิดขึ้นแก่ตน ต่อไปนี้เราจะทำสมาะิ ต่อไปตั้งแต่ต้นมากราบสติปัฏฐาน และเดินจงกลมแล้วสมาธิวิปัสสนาย่อมจะเกิดขึ้นตามลำดับ ฯ.. (จากหนังสือ ธรรมะจากหลวงปู่ ๑๖ พระธรรมมังคลาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร)..
คำสอนของพระพุทธเจ้า...
ตอบลบเราทั้งหลายก็ให้นึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ตรัสที่เวฬุวัน พร้อมด้วยพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งมีคำที่พระพุทธองค์ขึ้นต้นด้วย ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา การปฏิบัติธรรมที่เราปฏิบัตินั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง เราต้องใช้ความอดทน ขอให้ใช้ความอดทน การอดทนมีอานิสงส์อยู่ ๔ ประการ
๑.ปิโย มะนาโป โหติ จะเป็นที่รักของคนทั้งหลาย เป็นที่รักแก่คนและเทวดา
๒.นะ เวระพะหุโล โหติ จะเป็นผู้ไม่มากด้วยเวร
๓.นะ วัชชะพะหุโล โหติ จะเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ
๔.อะสัมมูฬะโห สะติ สัมปะชาโน โหติ จะไม่เป้นผู้หลงลืม จะมีสติและสัมปชัญญะ
อสัมมูฬโห จะเป็นผู้ไม่หลง เป้นผู้มีสติสัมปชัญญะอย่างสมบูรณ์อย่างที่การปฏิบัติของเรา เราจะมีสติอยู่ในสติปัฏฐานทั้ง ๔ จะมีสติอยู่อินทรีย์ทั้ง ๖ มีสติอยู่ในอิริยาบถ ๔ และนอกจากนั้นสัมปชัญญะคือจะมีการรู้สึกตัว การยืน การเดิน การนั่ง การนอน จะมีสติสัมปชัญญะ การปฏิบัติของเราวิปัสสนาในแนวสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างสมบูรณ์จะต้องอาศัยการอดทน ขันติ ตัวขันติก่อให้เกิดเป็นพื้นฐานที่การปฏิบัติธรรม อยู่ที่ขันติ สุคตินั้นแน่นอน สุคติคือการไปของเรา สวรรค์แน่นอน ตัวขันตินี้ การปฏิบัติธรรมของเราแน่นอนสุคติ เป็นอันต้องหวังแน่นอนและได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นความอดทนจึงมีความสำคัญต่อการปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้นเราจะต้องต่อสู้ต่อไป จงอดทนต่อทุกสิ่งทุกอย่างนะ อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมะนัสสัง นอกจากนั้นความขะมักเขม้น มีสติรู้ตัว อยู่ตลอดเวลา แล้วเราก็จะขับไล่ตัวกิเลส กิเลสทั้งหลายจะอันตรธานหายไป จากขันธสันดานของเรา ต่อไปนี้เราก็จะได้สติสัมปชัญญะ เจริญวิปัสสนาในแนวสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ต่อไป ฯ...(จากหนังสือ ธรรมะจากหลวงปู่ ๑๖ พระธรรมมังคลาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร)..
สาธุ สำหรับสาระธรรมที่ประเสริฐ ที่เผื่อแผ่ต่อสาธารณชน
ตอบลบเจริญธรรม ขออนุโมทนาด้วยครับ...
ลบ