วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ปัญญา..ที่ควรรู้ (๒) ธรรมชาติ





ขอบคุณคลิป ธรรมชาติ จาก Fwd Line

...ฯลฯ...
อุตุนิยาม : กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ
      อุตุนิยาม เป็นกฏธรรมชาติพื้นฐานที่สุด เป็นเสมือนบันไดขั้นแรกที่สุด หมายความว่า จะต้องมีอุตุนิยามหรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพด้านรูปธรรมที่เหมาะสมเบื้องต้นก่อน สิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลของนิยามในลำดับถัดไปคือ พืช สัตว์ และมนุษย์ หรืออาจเรียกรวมว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจึงจะสามารถอุบัติขึ้นและดำรงอยู่ได้
      " อุตุ " แปลว่า " อุณหภูมิ " หรือ " ฤดู "
        ดังนั้น สาระสำคัญของ " อุตุนิยาม " ในที่นี้จึงมีความหมายว่าจะต้องมีอุณหภูมิ หรือความร้อนความเย็นที่พอเหมาะ  ที่สามารถเป็นปัจจัยทำให้เกิดเป็นฤดูกาล หรือ ดิน ฟ้า อากาศที่เหมาะสมและลงตัวเสียก่อน จึงจะเป็นปัจจัยก่อกำเนิดให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ขึ้นมาได้
         ความหมายของ " ฤดูกาล " หากพิจารณาให้ละเอียดยิ่งขึ้นหลักธรรมทางพุทธศาสนาแสดงไว้ว่าคือ " ภาวะที่เป็นความสมดุลของธาตุพื้นฐานในฝ่ายรูปธรรมทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ จนเกิดเป็นระบบของดิน ฟ้า อากาศ ที่ลงตัวและมีความแน่นอนเป็นฤดูต่าง ๆ นั่นเอง "
...............
         เมื่อมีฤดูกาลเกิดขึ้นเวียนเป็นวงจรที่แน่นอนในแต่ละช่วงเวลาจึงทำให้วงจรการกระจายน้ำของธรรมชาติเป็นไปได้อย่างสม่ำเสมอ และยังทำให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นสามารถปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้
         เมื่อธาตุ ๆ อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม จะทำให้ " ธาตุดิน " เกิดภาวะที่เหมาะสมไปด้วย กล่าวคือ ทำให้เกิดคุณสมบัติพร้อมที่จะรวมตัวกันและก่อกำเนิดเป็น " สารอินทรีย์ " ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตต่อไป
         ดังนั้น กล่าวได้ว่า ดาวเคราะห์ดวงใดหากมีวิวัฒนาการจนมี " ธาตุไฟ "หรือ "อุณหภูมิ" ที่เหมาะสมทำให้ " ธาตุน้ำ " สามารถมีสถานะในบรรยากาศธรรมชาติเกิด " ปราณ " ขึ้นใน " ธาตุลม "  และทำให้ลมพัดในทิศทางที่สม่ำเสมอ จนเกิดเป็นฤดูกาล และทำให้ " ธาตุดิน " พร้อมที่จะมีคุณสมบัติก่อเกิดเป็น " สารอินทรียฺ " ได้ นั่นหมายความว่าดาวเคราะห์นั้นมี " อุตุนิยาม " ที่เหมาะสม พร้อมที่จะรองรับการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ได้ และสิ่งมีชีวิตอันดับแรกทึ่จะเกิดขึ้นคือ " พืช " ซึ่งจะมี " พืชนิยาม "  เป็นกฏธรรมชาติที่รองรับและควบคุมต่อไป
         ดังนั้น การกระทำใดที่มีผลต่อ " อุณหภูมิ " หรือ "ธาตุไฟ" โดยเฉพาะการเผาผลาญพลังงานอย่างมหาศาล( อันเกิดจากการที่มนุษย์ " กิน - อยู่ "อย่างสุรุ่ยสุร่าย มุ่งตอบสนองความต้องการของตนอย่างไม่มีขึดจำกัด ไม่ได้เป็นไปตามความจำเป็นหรือความต้องการที่แท้จริงของธรรมชาติิ)  จนเกิดภาวะเรือนกระจก ดังเช่นที่ปรากฏชัดในปัจจุบันในเรื่อง " ภาวะโลกร้อน " จึงเป็นมหันตภัยที่น่ากลัวและใหญ่หลวงที่สุด เพราะไปกระทบถึง " ธาตุไฟ " ซึ่งเป็นธาตุพื้นฐาน ที่เป็นตัวควบคุมการเปลี่ยนแปลงของธาตุอื่น ๆ
         เมื่อ "ธาตุไฟ"สียความสมดุลไป จะส่งผลทำให้ " ธาตุน้ำ " เสียความสมดุลไปด้วย กล่าวคือ ทำให้เกิดการเสียความสมดุลของ ๓ สถานะของน้ำในธรรมชาติ น้ำเข็งบริเวณขั้วโลกทั้งสอง และที่ปกคลุมอยู่ตามยอดเขาสูง จะมีอัตราการละเลายที่เร็วขึ้น ซึ่งส่งผลให้น้ำในมหาสมุทรมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้เกาะแก่งตลอดจนแผ่นดินที่อยู่ในพื้นที่ต่ำตามชายฝั่ง จมอยู่ใต้น้ำ และอาจถึงกับหายไปจากแผนที่โลก พื้นที่บางแห่งอาจเกิดภัยพิบัติจากน้ำท่วมอย่างรุนแรง นอกจากนั้นยังส่งผลถึง " ธาตุลม " ทำให้เกิดพายุต่าง ๆ มากขึ้นละรุนแรงขึ้น รวมทั้งทำให้ทิศทางการพัดของลมเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลทำให้ฤดูกาลของภูมิภาคต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก และกระเทือนถึง " อุตุนิยาม "อย่างรุนแรง มีผลกระทบทำให้ " ธาตุดิน " รวมไปถึงพืช สัตว์และมนุษย์ มีสภาพและวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งมีชีวิตหลายอย่างที่ไม่สามารถปรับตัวให้ดำรงอยู่ต่อไปได้  ก็อาจจะล้มหายตายจากและสูญพันธุ์ไป  นอกจากนั้นยังมีผลทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บที่แปลก ๆ ใหม่ ๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก
....ฯลฯ.....
(จากหนังสือ คู่มือ บัณฑิตของแผ่นดิน จัดพิมพ์แและเผยแพร่โดย ธรรมสถาน สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
*********
ปัญญาที่..ควรรู้ (๑) (คลิก)
ปัญญาที่..ควรรู้ (๓)

***********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น