วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ปัญญา..ที่ควรรู้ (๘)
จากนิยาม ๕ ..นำมาสู่การปฏิบัติตนของมนุษย์
นิยาม ๕ ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว นอกจากจะเป็นกฏธรรมชาติที่ควบคุมความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่มีในธรรมชาติแล้ว ยังเป็นเสมือนกรอบที่กำกับการกระทำของมนุษย์ ให้รู้ว่าอะไรที่ทำได้และอะไรที่ทำไม่ได้
กล่าวโดยสรุป มนุษย์สามารถกระทำอะไรก็ได้ เท่าที่ไม่ไปกระทบหรือทำลายระบบความสมบูรณ์ของนิยามทั้ง ๕
ดังนั้น ผู้ที่นับว่าเป็น " บัณฑิตของแผ่นดิน " ที่แท้จริง จึงต้องมีปัญญาหรือความรอบรู้ในเรื่องธรรมชาติชีวิตของตนเอง และกฏธรรมชาติหรือนิยาม ๕ ที่ควบคุมความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ เป็นพื้นฐานอย่างที่จะขาดเสียมิได้เลย
ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไปคือ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าอะไรที่ถูก อะไรที่ผิด อะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ มนุษย์ก็ยังไม่สามารถบังคับตนให้กระทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องหรือสิ่งที่ควรทำ และบ่อยครั้งก็ยังไปกระทำในสิ่งที่ผิดหรือไม่ควรทำ ทั้งนี้เพราะความอ่อนแอในจิตใจของมนุษย์ที่มีต่ออารมณ์และสิ่งเร้าที่มารบกวน นั่นเอง
ดังนั้น นอกจากมีปัญญารู้แล้ว ยังจะต้องฝึกฝนตนเองให้มีจิตใจที่เข้มแข็งและอยู่ในอำนาจการควบคุมตัวของตน ที่จะสามารถยืนหยัดและดำรงตนอยู่ในความถูกต้อง ไม่ให้เพลี่ยงพล้ำต่อความไม่ถูกต้องใด ๆ จึงจะบรรลุความเป็น " บัณฑิตของแผ่นดิน " ที่แท้จริง
...ฯลฯ...
(จากหนังสือ คู่มือ บัณฑิตของแผ่นดิน จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย ธรรมสถาน สำนักงานบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
.............
ปัญญา..ที่ควรรู้ (๗) คลิก
ปัญญา..ที่ควรรู้ (๙) คลิก
.............
ป้ายกำกับ:
ธรรมทาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น