วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

อิริยาบถ...


 ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่ 

.............................

ในส่วนที่ถือว่าเปรียบเสมือนเป็นกรอบนอก 

พระพุทธเจ้าก็แสดงอย่างอื่นไว้อีก 

แสดง #อิริยาบถย่อย #อิริยาบถต่างๆ 

ให้ระลึกรู้การคู้ การเหยียด การก้ม การเงย 

การเหลียวซ้าย แลขวา การมองอยู่ 

การเคี้ยว การลิ้มรส การดื่ม 

การนุ่งห่ม การขับถ่าย 

ให้รู้สึกตัวในขณะนั้น ๆ ที่เป็นอิริยาบถย่อยที่มีอยู่ 


แม้ขณะที่นั่งอยู่ มันก็มีอิริยาบถย่อย 

เช่น บางคนก็ยกมือขึ้นมา 

ขยับแขนขึ้นมาเกาหัวบ้าง ลูบหน้าบ้าง 

บางคนก็เอี้ยวตัว บางคนก็ขยับมือ 

มันมีอยู่ตลอด ขยับไปขยับมา 

ถ้าไม่ตั้งหลักให้ดีก็จะขยับกันอยู่เรื่อย 

เพราะว่ามันมีทุกข์ 

มันมีทุกข์ แต่ไม่ได้ดูเองว่าทำไมเราต้องขยับ 

ที่จริงต้องให้มีเหตุผลไว้ จะได้เห็นเหตุปัจจัย 


ถ้าไม่รู้ ก็นั่งนิ่ง ๆ ไปก่อน 

#ถ้าจะขยับ #ต้องรู้ว่าเพราะอะไร #ทำไมต้องขยับ 

มันจะบอก 

ถ้าไม่ดู มันก็ไม่รู้ 

มันก็มีขยับกันอยู่เรื่อย ๆ 


ลองนิ่ง ๆ ดู 

เวลาจะขยับ ต้องรู้ก่อนว่าเพราะอะไร 

#อะไรเป็นตัวกระตุ้น #เป็นตัวทำให้ต้องขยับ 

#มันจะเห็นเหตุ 

เช่น มันมีทุกข์ 

มันมีทุกข์ มันคัน หรือมันเมื่อย มันแน่น 

มันก็ต้องขยับ 


แต่นี้ส่วนมากเราขยับโดยที่ไม่รู้ 

ไม่ได้รู้เหตุผลรู้ผล 

มันก็จะไปด้วยตัณหา ด้วยความรู้สึก 

อยากจะเสวยความสุข อยากจะหนีทุกข์ 

โดยไม่เห็นทุกข์เห็นอะไร 

ไปเอง ไปด้วยตัณหา  


#แต่ถ้ารู้ไว้ก่อน 

#มันเป็นทุกข์ #จำเป็นต้องแก้ทุกข์ 

#ขยับก็จะรู้ตัว #ขยับก็ขยับอย่างมีสติ 


ฉะนั้นบางสำนักก็จะเน้นเรื่องอิริยาบถย่อย 

ให้ลูกศิษย์ยกมือ ขยับมือ ขยับแขน  

ดูความเคลื่อนไหวในอิริยาบถย่อยเป็นหลัก 

ก็อยู่ในเรื่องของการปฏิบัติกรรมฐาน 


#แต่ไม่ได้ให้อยู่แค่นั้น 

#ฝึกอย่างนั้นเพื่อให้จิตใจมันอยู่กับตัว 

ให้จิตใจมันรู้อยู่กับตัว จนจิตใจมันตื่นรู้ดี 

#ก็จะเชื่อมโยงเข้าไปรู้ถึงแกนใน 

#เข้าไปรู้ถึงตัวสภาวะ 


แขนที่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว 

ตัวสภาวะจริง ๆ มันคือ 

ความรู้สึกตึงบ้าง หย่อนบ้าง ไหวบ้างในเนื้อ ในกล้ามเนื้อ 

มันมีอยู่ 

ส่วนความเป็นแขน เป็นมือ เป็นเท้า เป็น 

อันนี้มันยังเป็นสมมติ 

ตัวสภาวะจริง ๆ ก็จะเป็นความรู้สึกต่าง ๆ 

ความไหว ความกระเพื่อม ความสะเทือน 

ความรู้สึกสบาย ไม่สบาย 

เป็นตัวสภาวะ เป็นแกนใน 


รวมทั้งจิตใจ 

เคลื่อนมืออยู่ ใจเป็นอย่างไร 

ใจเป็นสภาพรู้อยู่ มีใจที่รู้อยู่ 

กายก็เคลื่อนไหว ใจก็รับรู้ 

สติก็ระลึกรู้ทั้งไหว ทั้งรู้ 

รู้กายที่เคลื่อนไหว รู้ใจที่รับรู้ 

ใจรู้สึกเป็นอย่างไร 

สบายใจ ไม่สบายใจ ชอบใจ ไม่ชอบใจ 

ก็หัดรู้ไป 


เรียกว่าอาศัยเบื้องต้นคือกำหนดอิริยาบถย่อยอยู่ 

จับก็รู้ ก้มก็รู้ เงยก็รู้ ทำอะไรอยู่ก็รู้ 

รู้ไปจนกระทั่งลึกซึ้งเข้าไปสู่ถึงแกนใน 

ก็จะไปเจอความรู้สึกในกายในใจ 

นี่ก็เป็นกรรมฐานแนวทางปฏิบัติ 


ธรรมบรรยาย วิถีกรรมฐาน 

(ธรรมสุปฏิปันโน ๑๐) 

.............................

ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี

เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์พระนครศรีอยุธยา

******

Cr.https://www.facebook.com/share/22iWNv7Bp79M6fB8/?mibextid=oFDknk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น