#เล่าสู่กันฟัง..แบ่งปัน..แลกเปลี่ยน..เรียนรู้..ขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมเยียน..
ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่ .............................การรู้ มันก็มีเคล็ดลับอยู่ว่า ต้อง #รู้ให้เป็น #รู้ให้ถูก #และวางใจให้ถูกด้วย ถ้าวางใจไม่ถูกแล้ว บางทีไปซ้ำเติมมากขึ้น อย่างบางคนตอนไม่ปฏิบัติก็ดูจะกิเลสพอประมาณ พอปฏิบัติไปทำไมกิเลสมากขึ้น นั่นเพราะวางใจไม่ถูก อย่างเช่น เราเกิดความไม่สบายใจขึ้นมา เกิดความเสียใจ เกิดความโกรธ มีการเข้าไปรู้ใจตัวเองว่ากำลังไม่สบายใจ ที่จริงเป็นสิ่งที่ดีที่เข้าไปรู้ แต่เพราะเราวางใจไม่ถูก จึงไปรู้ด้วยความรู้สึกอยากจะให้มันหายไป อยากจะให้มันสงบ ไปรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่ชอบ ไปรู้ด้วยความโกรธ เกลียดความโกรธ มันจะเข้าไปเติมเพิ่มให้มันมากขึ้น #เราจะดับไฟ #แต่เราใส่เชื้อเพลิงมันก็ยิ่งลุก #กิเลสมันเหมือนเป็นไฟ #สติสัมปชัญญะเหมือนน้ำที่จะเข้าไปดับ ต้องเป็นสติสัมปชัญญะที่บริสุทธิ์ อย่าเอาเชื้อเพลิงเข้าไปเติมด้วย คือตัวอภิชฌาและโทมนัส ความยินดียินร้าย ปกติถ้าอารมณ์ในใจไม่ดี เราก็จะเกิดความยินร้าย เกิดความไม่พอใจ หรือเกิดความทะยานอยากจะให้มันหาย อยากให้มันสงบ นี่เป็นการไปเติมเชื้อ เป็นการวางใจที่ไม่ถูกต้อง แทนที่กิเลสมันจะคลี่คลาย มันกลับเพิ่มมากขึ้น วุ่นวายใจมากขึ้น อยากจะให้มันสงบ พอมันไม่สงบ มันก็จะเกิดความเคียดแค้นใจ โกรธมากขึ้น เคล็ดลับก็คือว่า ต้องวางใจให้ถูก เวลากำหนดรู้ ดูใจ ดูอะไรก็ตาม ต้องปล่อยวางในที #กำหนดดูอย่างปล่อยวาง อย่างไม่ว่าอะไร หรือจะเรียกว่า #สักแต่ว่า #ปล่อยวาง พยายามจะฝึกใจให้รู้อย่างปล่อยวาง วางเฉย เหมือนเราดูคนทะเลาะกันอยู่ เราก็ดูเขาเฉย ๆ เราอย่าไปวุ่น เราอย่าไปทะเลาะกับเขาด้วย ดูเด็กเล่นกันวุ่นวาย เราก็ดูมันเฉย ๆ ไม่ว่าอะไร เราดูกิเลส ดูอารมณ์ในใจ ดูอะไรในตัวเรา ก็หัดดูเฉย ๆ ดูเขาไปอย่างนั้น ดูเฉย ๆ ไม่ว่าอะไรจะเกิด ก็เกิดไป ถ้าเราทำใจ วางใจอย่างนี้ได้ เฉย ๆ ได้ จิตมันก็จะพลิกกลับมาเป็นจิตที่ดีงาม มันจะซักฟอก ชำระ ปรับสภาพ สติสัมปชัญญะเหมือนน้ำเข้าไปดับ ไฟก็โทรมลง เกิดความเย็น ความสงบระงับ ดับทุกข์ .............................ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสีเจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่
ตอบลบ.............................
การรู้ มันก็มีเคล็ดลับอยู่ว่า
ต้อง #รู้ให้เป็น #รู้ให้ถูก #และวางใจให้ถูกด้วย
ถ้าวางใจไม่ถูกแล้ว บางทีไปซ้ำเติมมากขึ้น
อย่างบางคนตอนไม่ปฏิบัติก็ดูจะกิเลสพอประมาณ
พอปฏิบัติไปทำไมกิเลสมากขึ้น
นั่นเพราะวางใจไม่ถูก
อย่างเช่น เราเกิดความไม่สบายใจขึ้นมา
เกิดความเสียใจ เกิดความโกรธ
มีการเข้าไปรู้ใจตัวเองว่ากำลังไม่สบายใจ
ที่จริงเป็นสิ่งที่ดีที่เข้าไปรู้
แต่เพราะเราวางใจไม่ถูก
จึงไปรู้ด้วยความรู้สึกอยากจะให้มันหายไป อยากจะให้มันสงบ
ไปรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่ชอบ ไปรู้ด้วยความโกรธ
เกลียดความโกรธ
มันจะเข้าไปเติมเพิ่มให้มันมากขึ้น
#เราจะดับไฟ #แต่เราใส่เชื้อเพลิงมันก็ยิ่งลุก
#กิเลสมันเหมือนเป็นไฟ
#สติสัมปชัญญะเหมือนน้ำที่จะเข้าไปดับ
ต้องเป็นสติสัมปชัญญะที่บริสุทธิ์
อย่าเอาเชื้อเพลิงเข้าไปเติมด้วย
คือตัวอภิชฌาและโทมนัส ความยินดียินร้าย
ปกติถ้าอารมณ์ในใจไม่ดี
เราก็จะเกิดความยินร้าย เกิดความไม่พอใจ
หรือเกิดความทะยานอยากจะให้มันหาย อยากให้มันสงบ
นี่เป็นการไปเติมเชื้อ
เป็นการวางใจที่ไม่ถูกต้อง
แทนที่กิเลสมันจะคลี่คลาย
มันกลับเพิ่มมากขึ้น วุ่นวายใจมากขึ้น
อยากจะให้มันสงบ
พอมันไม่สงบ มันก็จะเกิดความเคียดแค้นใจ โกรธมากขึ้น
เคล็ดลับก็คือว่า ต้องวางใจให้ถูก
เวลากำหนดรู้ ดูใจ ดูอะไรก็ตาม ต้องปล่อยวางในที
#กำหนดดูอย่างปล่อยวาง อย่างไม่ว่าอะไร
หรือจะเรียกว่า #สักแต่ว่า #ปล่อยวาง
พยายามจะฝึกใจให้รู้อย่างปล่อยวาง วางเฉย
เหมือนเราดูคนทะเลาะกันอยู่
เราก็ดูเขาเฉย ๆ
เราอย่าไปวุ่น เราอย่าไปทะเลาะกับเขาด้วย
ดูเด็กเล่นกันวุ่นวาย เราก็ดูมันเฉย ๆ ไม่ว่าอะไร
เราดูกิเลส ดูอารมณ์ในใจ ดูอะไรในตัวเรา
ก็หัดดูเฉย ๆ ดูเขาไปอย่างนั้น ดูเฉย ๆ
ไม่ว่าอะไรจะเกิด ก็เกิดไป
ถ้าเราทำใจ วางใจอย่างนี้ได้ เฉย ๆ ได้
จิตมันก็จะพลิกกลับมาเป็นจิตที่ดีงาม
มันจะซักฟอก ชำระ ปรับสภาพ
สติสัมปชัญญะเหมือนน้ำเข้าไปดับ
ไฟก็โทรมลง
เกิดความเย็น ความสงบระงับ ดับทุกข์
.............................
ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา