วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565

สี่วันในเสียมราฐ(๒)


...วันที่สองเรามีแผนการเดินทางคือ เช้ามืดไปชมพระอาทิตย์ขึ้นที่นครวัด  แต่ยังไม่เข้าไปข้างในเราจะกลับมาชมนครวัดอีกครั้งในตอนบ่ายจนถึงค่ำ จากชมแสงแรกของวันนี้ที่นครวัด เราจะไปชมปราสาทบันทายศรี "ปราสาทสีชมพู" (Prasat Banteay Srei) สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าราเชนวรมันที่ 2 (พ.ศ.1315 - 1511) ปราสาทแห่งนี้น่าจะมีอายุราว 1,000 ปี สร้างจากหินทรายว่ากันว่าเป็นปราสาทหินทรายสีชมพูแห่งเดียวในกัมพูชา  แต่น่าประหลาดใจมากว่าลวดลายต่างๆยังคงงดงามน่าชมมาก...


รุ่งอรุณที่นครวัด

     การไปชมแสงแรกที่นครวัดต้องออกแต่เช้ามืดที่สำคัญคือ"ไฟฉาย" เพื่อส่องให้เห็นทางเดินเข้าที่จุดชมวิว  โดยทั่วไปในพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าและไม่อนุญาติให้เข้าชมในเวลากลางคืน โบราณสถานปราสาทต่างๆไม่มีการติดตั้งไฟฟ้าเลย เนื่องจากชาวเสียมราฐไม่ให้มีการติดตั้งไฟฟ้าในพื้นที่โบราณสถานต่างๆ เพราะเชื่อว่า จิตวิญญาณในโบราณสถานเหล่านี้ต้องการความสงบเงียบในเวลากลางคืน และทางวิทยาศาสตร์ก็มีการกล่าวกันว่าแสงไฟฟ้าในตอนกลางคืนที่ส่องสว่างไปในโบราณสถานจะเป็นตัวทำลายโบราณนั้นด้วย...


     นครวัดจะเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 0530 - 1730  ....หลังจากเห็นแสงแรกรุ่งอรุณที่นครวัดแล้ว เราจะเข้าไปทานอาหารเช้าที่ร้านอาหารในนครธมเนื่องจากเป็นทางผ่านที่เราจะต้องเดินทางไปชมปราสาทสีชมพูซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมราฐขึ้นไปทางทิศเหนืออีกประมาณ 37 กม.


ร้านอาหารในนครธม


ร้าน No.36 - 37



Chet คนขับรถแท๊กซี่/ไกด์ 





มื้อเช้านี้ต้องหนักหน่อยเพราะเดินทางไกลกว่าจะกลับมาตอนบ่าย
เราใช้บริการที่ร้าน No 36 - 37
ถ้าไม่ต้องการให้ใส่ผงชูรส เราต้องย้ำกับเขานะครับว่า...
"โน อายิโน๊ะโม๊ะโต๊ะ"!!!!!

      เราแวะไปทานอาหารเช้ากันก่อนที่จะเดินทางไปชมปราสาทบันทายศรี  ร้านอาหารนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่นครธมจะเป็นแหล่งขายของที่ระลึก ห้องน้ำ และร้านอาหาร จะก่อสร้างเป็นเพิงชั่วคราว ยกเว้นห้องน้ำเป็นอาคารถาวร....ร้านอาหารดูข้างนอกคล้ายๆกับร้านอาหารที่ตั้งตามริมทางบ้านเรา  แต่ที่นี่อาหารนั้นส่วนใหญ่บริการนักท่องเที่ยว ข้าวผัดข้างบนนี้ ราคา 7 US ดอลล่าร์ มะพร้าวอ่อน 1 US ดอลล่าร์  ลูกใหญ่มากน้ำเยอะ แต่สู้มะพร้าวน้ำหอมบ้านเราไม่ได้...มะพร้าวน้ำหอมที่กัมพูชายังไม่มี Chet บอกว่าคนกัมพูชาอยากได้มะพร้าวน้ำหอมไปปลูก  แต่ว่านำพันธ์ออกไปปลูกที่กัมพูชาไม่ได้เพราะเป็นพันธ์ไม้หวงห้ามของไทย....คิดว่าคงจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งขยายพันธุ์จากที่นำออกไปได้บ้างทีละลูกสองลูก....สำหรับ Chet วันนี้มาทำหน้าที่ขับรถอย่างเดียว ปกติถ้าทำหน้าที่ไกด์ภาษาสเปน เขาจะได้รับค่าแรงวันละ 70 ภาษาอังกฤษ 40 US ดอลล่าร์ ปกติเขารับงานเป็นไกด์ภาษาสเปน...แต่ถึงแม้ว่าวันนี้จะทำหน้าที่ขับรถแต่เขาก็บริการเราอย่างดี เขาพูดภาษาอังกฤษได้ดี และพูดไทยได้บ้าง...ถ้าติดขัดเขาจะเปิดมือถือทันทีเพื่อแปลภาษา สมัยนี้ง่ายไปหมด 
        หลังจากทานอาหารเช้าเรียบร้อยเราออกเดินทางไปชมปราสาทบันทายศรี ที่รู้จักกันดีในชื่อ "ปราสาทสีชมพู"....
 

บริเวณทางเข้าที่นี้จะมีทางเข้าและทางออกคนจะทางกัน 
แวะเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อน
และดูเส้นทางเดินภายในปราสาท คำแนะนำ/ข้อห้ามในการเข้าชม


สถานที่แห่งนี้ได้รับการจัดตั้งเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2535(1992)


ตรวจตั๋วกันก่อนเข้าชม..ต้องไม่ลืมพกตั๋วเข้าชมอันนี้สำคัญมาก
เขาจะดูตั๋วว่าเราเป็นเจ้าของตั๋วตรงตามรูปถ่ายในตั๋วหรือไม่






















...มาเสียมราฐ ต้องมาชมความงดงามของ"ปราสาทสีชมพู"

....เป็นปราสาทขนาดเล็กในศาสนาฮินดู "ปราสาทสีชมพู" (Prasat Banteay Srei) สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าราเชนวรมันที่ 2 (พ.ศ.1315 - 1511) ปราสาทแห่งนี้น่าจะมีอายุราว 1,000 ปี สร้างจากหินทรายว่ากันว่าเป็นปราสาทหินทรายสีชมพูแห่งเดียวในกัมพูชา  แต่น่าประหลาดใจมากว่าลวดลายต่างๆยังคงงดงามน่าชมมาก...


ที่นี่จัดระบบการเข้าชมทางเข้า-ออกคนละทางกัน พอเดินชมทั่วแล้วเราก็เดินตามทางออกมาด้านหลังก็จะได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงโดยผู้ได้รับผลกระทบจากสงครามร่างกายพิการ รวมตัวกันมาบรรเลงเพลงก็เหมือนกับดนตรีไทยบ้านเรา..
ได้ยินเสียงเพลงลอยกระทงเลยละ...
ก็ช่วยเหลือแบ่งปันกันไปครับ..ตามที่เราจะแบ่งปันกันได้..
ใช้แบงค์ดอลล่าร์ แบงค์บาทไทยฯลฯ
ผมเห็นมีแบงค์วางอยู่หลายสกุลเงินจากนักท่องเที่ยว...






เดินตามทางออกเพื่อกลับมาที่จอดรถก็จะมีจุดชมวิว เป็นหนองน้ำใหญ่ ทุ่งนา
ศูนย์บริการข้อมูลความเป็นมาของปราสาท ร้านอาหาร ห้องน้ำ ของที่ระลึก



ก็เป็นอันว่าจบการชมปราสาทสีชมพู...
สถานที่นักท่องเที่ยวถ้ามาที่นครวัด นครธมต้องไม่พลาดจุดนี้..
ระหว่างเดินทางกลับไปชมนครวัดในภาคบ่าย..
....เรายังคงมีเวลาแวะพักชม พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิด
ดำเนินงานโดยเอกชนผู้ที่เคยวางทุ่นระเบิดในสงคราม..
เห็นความทุกข์ทรมานจากผลของทุ่นระเบิด
จึงมาจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พร้อมทั้งประสานงานหาทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ที่บาดเจ็บ...
ขณะนี้การเก็บกู้ก็ยังคงดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา















ชายผู้นี้คือผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ฯหาทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิด
(ในอดีตเคยเป็นทหารและทำหน้าในการวางทุ่นระเบิด)
ขณะนี้(ธ.ค.2565)เขายังคงทำงานเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา












พิพิธภัณฑ์ฯ นี้เสียค่าเข้าชมคนละ 5 US ดอลล่าร์
ได้เวลากลับไปชมนครวัดกันแแล้วครับ...

ขอบคุณที่เข้ามาชมครับ...


**********

























 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น