วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กระบือบอด...


ขอขอบคุณ ภาพจาก http://figopaloalto.com/buffalo-matchmaker.html
...ฯลฯ...
    วินัยแม่บทชุมชน
       มนุษย์เมื่อมาอยู่รวมกัน ทำงานทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นชุมชน เป็นหน่วยงาน เป็นองค์กร ตลอดจนเป็นประเทศชาติ จะต้องมีวินัยข้อบังคับสำหรับควบคุมความประพฤติของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านจึงแบ่งวินัยออกเป็น ๒ ด้าน คือ วินัยทางโลก และวินัยทางธรรม
      วินัยทางโลก หมายถึงระเบียบสำหรับควบคุมคนในสังคมแต่ละแห่ง เป็นข้อตกลงของคนในสังคมนั้นที่จะให้ทำหรือไม่ให้ทำบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งบางครั้งเราก็เรียกชื่อแยกแยะออกไปหลายอย่าง เช่น กฏหมาย ประเพณี คำสั่ง ประกาศ กติกา เป็นต้น เหล่านี้รวมเรียกว่า วินัยทางโลกทั้งสิ้น
      วินัยทางธรรม เนื่องจากเราเป็นชาวพุทธมีทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต  ดังนั้นวินัยทางพระพุทธศาสนาจึงมี ๒ ประเภท คือ
      ๑. อาคาริยวินัย คือ วินัยหรือระเบียบปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ ระเบียบปฏิบัติของชาวบ้าน หรือผู้ครองเรือน ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๘ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นต้น ล้วนเป็นแบบแผนปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อยดีงาม เพื่อความีชีวิตที่ดี มีความร่มเย็นและสงบสุข โดยไม่เบียดเบียนกัน ไม่ทำร้ายกัน เป็นต้น
     ๒. อนาคาริยวินัย คือ วินัยของผู้ไม่ครองเรือน หมายถึง นักบวชหรือผู้ทิ้งเหย้าเรือน ทรัพย์สมบัติ และครอบครัวออกไปถือเพศเป็นนักบวชที่เรียกว่า บรรพชิต ได้แก่ ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร ศีล ๒๒๗ สำหรับพระภิกษุ วินัยของบรรพชิตนี้ เหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้น เพราะอาศัยประโยชน์ที่ทรงประสงค์ ๑๐ ประการ คือ
     ๑.เพื่อความเรียบร้อยดีงามแห่งสงฆ์
     ๒.เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
     ๓. เพื่อข่มบุคคลผู้หน้าด้าน ไร้ยางอาย
     ๔.เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
     ๕.เพื่อระวังปิดทางความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในปัจจุบัน
     ๖. เพื่อแก้ไขมิให้เกิดความเสื่อมเสีย ความทุกข์ความเดือดร้อน ซึ่งจะมีมาในภายหน้าหรือภพหน้า
     ๗.เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
     ๘.เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
     ๙.เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
     ๑๐.เพื่อให้ถือตามพระวินัย
      เส้นด้ายที่ร้อยดอกไม่ไม่ให้กระจัดกระจาย ย่อมทำให้ดอกไม้นั้นสวยงามมีค่า เป็นที่ต้องการของคนมากฉันใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ที่ยอมรับนัถือ และปฏิบัติตามพระวินัย ย่อมทำให้เป็นหมู่คณะที่งดงามมีค่าสูง เป็นที่ต้องการกราบไหว้ ทำสักการะบูชา ของชุมชนผู้นับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน ฉันนั้น
      บุคคลไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรฝึกตนให้เป็นคนมีระเบียบวินัยดี ท่านกล่าวว่าคนไม่มีระเบียบวินัยเที่ยวไปในโลกนี้เหมือนกระบือบอดเที่ยวไปในป่าย่อมประสบภัยพิบัติ มีภัยอันตรายรอบด้าน ดังพระพุทธภาษิตว่า
      " หากชนจำนวนมาก ไม่มีความรู้รักษาตนหรือไม่ได้ศึกษาวินัยอย่างดี ก็จะพึงเที่ยวไปเหมือนกระบือบอดเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น "
......
(จากหนังสือ โลกสงบร่มเย็นได้ด้วยศีล  สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตโต  วัดบวรนิเวศวิหาร )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น