วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567

จิตที่กำหนดรู้อริยสัจ


ในขณะที่กำหนดรู้ทุกข์ตามความเป็นจริง จิตละเหตุให้เกิดทุกข์ ทำให้นิโรธแจ้ง และมรรคสมบูรณ์ สิ่งที่ควรทราบก็คือ จิตที่มีคุณสมบัติพอที่จะกำหนดรู้อริยสัจคือทุกข์ได้ คือจิตที่มีความสุข
พระอาจารย์ชยสาโร
*******
Cr.เพจ

ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro 


 

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

พุทธศาสนา

 


Cr.Fwd.line

เมื่อต้นปีนี้มีชาวต่างชาติ หลายเชื้อชาติกว่า 10 ประเทศที่ไม่เชื่อในเรื่องศาสนาและพระเจ้ารวมตัวกันพบปะสัมมนาและถกกันเรื่องศาสนาต่างๆที่มีชาวโลกอีกมากที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเชื่อและมีผลดีที่สุดของชีวิต ผลปรากฏว่าศาสนาพุทธเป็นที่น่าสนใจและน่าศึกษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่าศาสนาอื่นสรุปได้ดังนี้..


ชาวฝรั่ง สรุปความแตกต่างของ...ศาสนาพุทธ... กับศาสนาอื่นไว้ 20 ข้อหลักและคุณหมอ *จามรี เหรียญอัมพร*ก็ได้ส่งมาให้อีก  

อาตมาอ่านอีก อ่านแล้วแทนที่จะเบื่อหน่าย ความรู้สึกกลับเห็นความสำคัญมากกว่าเดิม จึงขอแชร์ต่อแก่ทุกๆท่านใด ใช้เวลานั่งอ่านและพิจารณาประมาณ 3 นาที ยอมรับว่าชาวฝรั่งท่านนี้รู้จริง โดยเขียนสรุป  คำสอน 20 อย่าง ของ ศาสนาพุทธ ไว้ดังนี้ @:


."ศาสนาพุทธ" เท่านั้นที่มีคำสอน  ทั้ง 20 อย่างนี้  ที่ไม่สามารถพบจาก  "ศาสนาอื่น"  


1. พระพุทธศาสนา  เชื่อว่าโลกนี้ประกอบขึ้นจาก  เหตุธาตุทั้ง 4  คือ  ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ  ธาตุลม  ประกอบกันขึ้นมา

(ไม่มีผู้ใดสร้างโลก)


2. พระพุทธศาสนา  ไม่ใช่ระบบความเชื่อ  ที่จะใช้คำว่า  Religion  เพราะศัพท์นี้  หมายถึง  ต้องมีความเชื่อใน  พระเจ้าผู้สร้างโลก


3. จุดหมายปลายทาง ของ พระพุทธศาสนา  คือ  ละกิเลสได้หมดแล้ว  หลุดพ้นจาก  การเวียนว่ายตายเกิด  หรือ  วัฏฏสงสาร  ไม่ใช่ไปแค่  ไปเกิดบนสวรรค์  เท่านั้น

Only Buddhism has these 20 teachings that cannot be found in  "Other religions"

 1. Buddhism  It is believed that this world is made up of four elements, namely the earth element, the water element, the fire element, and the wind element.

 (No one created the world)

 2. Buddhism  It is not a belief system.  To use the word  Religion  because this word  means to have faith in.  God who created the world

 3. The final destination of Buddhism is to abandon all defilements and be free from the cycle of rebirth or death, not just to be reborn in heaven.

4. พระพุทธเจ้า  ไม่ใช่ผู้ปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้รอด  สรรพสัตว์ต้องช่วยตนเอง  เพื่อหลุดพ้นจาก  กิเลส และ วัฏฏสงสาร

5. ความสัมพันธ์ระหว่าง  พระพุทธเจ้า และ สาวก  คือ  ครูผู้สอนและลูกศิษย์  ไม่ใช่ตัวแทนพระเจ้า  และทาสผู้รับใช้

6. พระพุทธเจ้า  ไม่เคยให้สาวกใช้  "ความเชื่อ"  โดยปราศจาก "ปัญญา" มานับถือ  ตรงข้าม  ทรงสอนให้ใช้  "ปัญญา" พิจารณาคำสอนก่อนจะเชื่อ  และเห็นจริงด้วยตนเอง  และ  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า  ต้องนำคำสอนไปประพฤติและปฏิบัติ  เพื่อความหลุดพ้นด้วยตนเอง  ไม่มีใครช่วยทำให้หลุดพ้น  จากการเวียนเกิดเวียนตายได้  นอกจากให้แค่แนะนำ  ชี้ทางที่ถูกต้องให้  เท่านั้น

 4.Buddha  is not the liberator of all beings.  All beings must help themselves.  To escape from  defilements and the cycle of birth and suffering.

 5. The relationship between  the Buddha and his disciples is the  teacher and disciple.  Not a representative of God  and servants

 6. The Lord Buddha never allowed his disciples to use "faith" without having "wisdom" to respect them. On the contrary, he taught them to use "wisdom" to consider the teachings before believing.  and see the truth for yourself and as a disciple of the Lord Buddha  The teachings must be put into practice and practice.  For self-liberation  No one can help you escape.  From the cycle of birth and death  Besides just giving aรท recommendation  Just point you in the right direction.

7. คำสอนพระพุทธเจ้า เป็น "สัจธรรม" ประจำโลก  ที่เป็นและมีอยู่แล้ว  พระพุทธเจ้าทรงเป็น  แต่เพียงผู้ค้นพบเท่านั้น  พระองค์ไม่ใช่เป็นคนสร้างคำสอนขึ้นมา

8. "นรก" ในพระพุทธศาสนา  ไม่ใช่สถานที่กักขังสัตว์อย่างนิรันดร์  บุคคลทำบาปแล้ว  ไปเกิดในนรก  เมื่อพ้นกรรมแล้ว  ก็สามารถกลับไปเกิดในภพที่ดีกว่าได้  และ  สัตว์ที่ได้ไปเกิดในภพอื่นๆ  ไม่ว่าจะเป็นภพเทวดา  ภพมนุษย์  ภพเปรตวิสัย  ภพเดรัจฉาน  ก็สามารถเวียนกลับไปเกิดในนรกอีกได้  เช่นกัน

9. พระพุทธศาสนา  ไม่ได้สอนแนวคิดเรื่อง "บาป" ติดตัว  เหมือนที่ศาสนาเทวนิยมสอน  แต่สอนเรื่อง "กฎแห่งกรรม"  ซึ่งมีทั้งกรรมขาว  กรรมดำ  และ  กรรมไม่ขาวไม่ดำ

7. The Buddha's teachings are the "truths" of the world that are and already exist.  Lord Buddha is  But only the discoverer  He was not the one who created the teachings.

 8. "Hell" in Buddhism  It is not a place where animals are held forever.  A person who has sinned will be reborn in hell after being freed from his karma.  They can go back and be born in a better world, and animals that have been born in other worlds.  Whether it is the world of angels, the world of humans, the world of ghosts, the world of animals, they can be reborn in hell as well.

 9. Buddhism  It does not teach the concept of "sin" as theistic religions do, but it does teach the "law of karma".  which includes white karma, black karma, and karma that is neither white nor black.

10. พระพุทธศาสนา สอนว่า  มนุษย์และเทวดาทุกชีวิต  มีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้  ข้อสำคัญก็คือ  ต้องใช้ความพยายามในการปฏิบัติ  เพื่อชำระกิเลสให้พ้นไปจากจิตใจ พระพุทธเจ้า  ก็ทรงเป็นมนุษย์สามัญธรรมดา  ที่หลุดพ้นจากทุกข์ได้  เพราะการประพฤติปฏิบัติ  มาหลายภพหลายชาติ

11. "กฎแห่งกรรม"  ของทุกสรรพสัตว์  เป็นตัวอธิบายว่า  เหตุใดคนถึงเกิดมาแตกต่างกัน  กฎแห่งกรรม เป็นตัวอธิบายถึง  ภพภูมิที่สัตว์พากันไปเกิด

12. พระพุทธศาสนา  เน้นให้  แผ่เมตตา กรุณา ไปยังสรรพสัตว์  ทุกภพภูมิ  ทรงสอนให้ละจาก  การประพฤติชั่วทั้งปวง  คือ  อกุศลกรรม  บท ๑๐  และให้ประพฤติปฏิบัติ  แต่ กุศลกรรม  บท ๑๐

10. Buddhism teaches that all human beings and angels  Has the potential to achieve Dhamma.  The important thing is that  It takes effort to practice.  To cleanse the mind of all defilements, the Lord Buddha was an ordinary human being.  that can be freed from suffering  Because of the practice  Came to many worlds and many lives

 11. "Law of Karma"  of all living beings  It is explained that  Why are people born different? The law of karma explains.  The world where animals are born

 12. Buddhism emphasizes spreading kindness and compassion to all living beings. He teaches to refrain from  All bad actions are: akusala karma, verse 10, and practice only virtuous karma, verse 10.

13. "ธรรมะ"  ของพระพุทธเจ้า  เสมือนแพ  หลังจากบำเพ็ญเพียร  จนดับทุกข์ได้แล้ว  จะอยู่เหนือ  บุญและบาป  ธรรมะทั้งปวง จะต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น

14. ไม่มีสงครามศักดิ์สิทธิ์  ในทรรศนะพระพุทธศาสนา  การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  การเบียดเบียนผู้อื่นด้วยเจตนา  ผู้กระทำจะต้องรับกรรมทั้งสิ้น  จนกว่าจะหลุดพ้นจากวัฏสงสาร  การฆ่าในนามศาสนา  ยิ่งกระทำมิได้ในพระพุทธศาสนา

15. พระพุทธเจ้า สอนว่า  กำเนิดสังสารวัฏ  ไม่มีเบื้องต้นและที่สุด  ถ้าหากสัตว์ยังดำเนินชีวิต  ไปตามอำนาจกิเลส  ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น  มีตัณหาเป็นเครื่องผูก  ย่อมต้องเวียนเกิดเวียนตาย ต่อไป

13. The Buddha's "Dhamma" is like a raft after practicing diligence.  Until suffering is extinguished, you will be above merit and sin. All dharmas must not be held fast.

 14. There is no holy war.  In the view of Buddhism  Killing animals kills life.  Deliberately hurting others  The doer must bear all the karma.  Until liberation from the cycle of rebirth  Killing in the name of religion  This is even more impossible to do in Buddhism.

 15. The Buddha taught that the origin of samsara  There is no beginning or end.  If the animal still lives  Go according to the power of your desires.  with ignorance as a barrier  Lust is the binder.  Must continue to be born and die.

16. พระพุทธเจ้า ทรงเป็น  พระสัพพัญญู  (ผู้รู้ความจริงทุกเรื่องที่ทรงอยากรู้)  และ  พระพุทธเจ้า  มิใช่เทพเจ้า  ผู้ทรงมีอำนาจล้นฟ้า  ดลบันดาลสร้างธรรมชาติต่างๆ  ขึ้นมา

17. การฝึก "สมาธิ" สำคัญมากในพระพุทธศาสนา  แม้ว่าศาสนาอื่นๆ ก็มีสอนให้คนมีสมาธิ  แต่มีพระพุทธศาสนา เท่านั้นที่สอน "วิปัสสนา"  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ  ที่ทำให้รู้แจ้งว่า  ทุกสรรพสิ่ง  เมื่อมีการเกิด  ย่อมมีการดับ

18. หลักคำสอนเรื่อง  สุญญตา  หรือ  นิพพาน  เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ  ในพระพุทธศาสนา  ถือเป็นคำสอนระดับสูง  ของพระพุทธศาสนาด้วย  เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายทั่วโลกธาตุ  ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้ถาวร  มีแต่ปัจจัย  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  ประกอบกัน  สรรพสิ่งในโลก  จึงตกอยู่ในภาวะ  อนิจจัง  ทุกขัง  และอนัตตา  เหมือนกันหมด  พระพุทธศาสนาจึงไม่สุดโต่ง  ไปตามแนวศาสนาประเภท  เทวนิยม  หรือ  ตามแนววัตถุนิยม  ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น  มีตัณหาเป็นเครื่องผูก  ที่ต้องเวียนเกิดเวียนตาย  จนกว่าจะบรรลุธรรม  จึงจะดับเย็น  เข้าสู่นิพพาน

16. The Lord Buddha is omniscient (knows the truth about everything he wishes to know) and the Lord Buddha is not a god.  He who has power over the heavens  Inspiration creates various natures.

 17. Practicing "meditation" is very important in Buddhism.  Although other religions  It teaches people to meditate.  But there is Buddhism  Only they teach "Vipassana"  which is an important factor.  That makes one realize that, every thing, when it is born, will inevitably die.

 18. The doctrine of  Sunyata  or  Nirvana  is unique.  In Buddhism  It is considered a high level teaching.  of Buddhism as well.  Because all things throughout the world  Nothing is permanent. There are only factors: earth, water, fire, wind. All things in the world are composed.  Therefore, they fall into the same state of impermanence, dukkha, and anatta.  Buddhism is therefore not extreme.  Go along the religious line of theism or along the lines of materialism.  with ignorance as a barrier  Lust is the binder.  that has to be born and die  Until the Dhamma is attained  So it will go out cold.  enter nirvana

19. วัฏจักร  หรือ  สังสารวัฏ  เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา  ตราบใดที่สรรพสัตว์  ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส  ก็จะเวียนว่ายตายเกิด  ไปตามภพภูมิต่างๆ  ตามแรงเหวี่ยงของกรรม  ไม่สิ้นสุด จนกว่าจะบรรลุธรรม  ดังนั้น  ทุกสรรพสัตว์  จึงต้องช่วยตนเอง  เพื่อพัฒนา "ไตรสิกขา"  ให้หลุดพ้นจาก  โลภะ  โทสะ  และ  โมหะ  หรือ  อวิชชา  เพื่อการหลุดพ้นจาก "สังสารวัฏ" ให้ได้ ฯ

20. ศาสนาพุทธ  สอนให้ละ "อ้ตตา"  ไม่ใช่สร้างอัตตา  ว่าเป็นตัวของเรา  อันเป็นทุกข์  แต่การฝึก "เจริญสติ" จนเห็นตามจริงว่า  ไม่มีสิ่งใดถาวร  เกิดแล้วต้องดับไปเป็นธรรมดา  ไม่อาจยึดมั่น  เป็นตัวเป็นตน  แม้ร่างกายหรือจิตใจ  ลดละอัตตาตัวตนลง  จนละได้หมดคือ  ที่สุดแห่งทุกข์ คือ "นิพพาน"  ไม่ต้องวนเกิด  วนตายอีก

@เสียดาย... ไม่ทราบชื่อ... ฝรั่งผู้เขียน  ซึ่งเข้าใจในหลักพระพุทธศาสนา เป็นอย่างดี

19. Cycle or Samsara is a teaching in Buddhism.  As long as all beings  Still not free from defilements  It will revolve around death and rebirth.  Going to various worlds  According to the centrifugal force of karma, there is no end until the Dhamma is attained. Therefore, all living beings  Therefore, one must help oneself in order to develop the "Tresikkha" to be free from greed, anger and delusion or ignorance in order to be free from "Samsara".

 20. Buddhism  teaches you to let go of "atta", not to create an ego.  that we are ourselves  which is suffering. But practicing "mindfulness" until you truly see that  Nothing is permanent.  It is normal to be born and then to die.  Can't hold on  embodied  Even if the body or mind  Lower your ego.  Until it's all gone, that is.  The end of suffering is "Nirvana". There is no need to repeat the cycle of birth and death.

***********

 @Too bad... don't know the name...  Western writer  who understands the principles of Buddhism very well


จึงขอมอบเครดิตให้กับ  ผู้แชร์ข้อความ  

และกุศลจงมีแด่ผู้เขียนและผู้อ่าน เทอญฯ


สาธุ

อาตมาขอแชร์ต่อ

เพื่อให้เกิดความปิติแก่ผู้ที่พบเห็น แล


🙏🏾🙏🏾กราบสาธุ🙏🏾🙏🏾


********

Cr.Fwd.line

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

Sara volunteer from Spain



"A few months ago I decided to leave my office job to travel the world. I am waiting for my Australian Work and Holiday Visa to be approved. In the meantime, I am traveling around Asia to get to know the culture, other ways of thinking and seeing the world, to grow personally and to be surprised by life." Sara

ความสุข


 เกาที่คันก็สุขเหมือนกัน แต่สุขไม่นาน

รักษาโรคจนหายคันนั้นดีกว่า


พระอาจารย์ชยสาโร

*****

Cr.https://www.facebook.com/share/EjaVs8yw7TFoX3u1/?mibextid=oFDknk

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567

ยานอันประเสริฐ


 ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่ 

.............................

ในคำสอนที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ 

ในชาณุสโสณิพราหมณสูตร   


ในครั้งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี 

ในเช้าวันหนึ่งพระอานนท์ซึ่งเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก 

เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี 

ท่านก็เห็นรถของชาณุสโสณิพราหมณ์ขับสวนทางออกมา 

รถสมัยนั้นก็คือรถที่เทียมด้วยม้า 

ไม่ใช่มีเครื่องยนต์เหมือนสมัยนี้ 

เขาใช้ม้าเทียมรถวิ่งไป 

เรียกว่ายาน 


ชาณุสโสณิพราหมณ์เขาแต่งรถทุกอย่างเป็นสีขาวล้วน 

ทำด้วยเงิน ทำประดับด้วยสีขาวล้วน 

ม้าที่เอามาเทียมรถ ๔ ตัวขาวทั้งหมด สีขาวล้วนเลย 

ตัวรถก็สีขาว เชือกก็หุ้ม หุ้มด้วยเงินสีขาว 

ด้ามประตักก็สีขาวอีก ร่มสีขาว 

ผ้าโพกหัว เครื่องนุ่งห่ม รองเท้าสีขาวล้วน 

ตัวรถทุกอย่างเครื่องประดับทั้งหมดสีขาวหมด 

พัดวาลวิชนีก็สีขาว 

ประชาชนทั้งหลายก็ดู 

ตื่นเต้นพออกพอใจว่าสวยงามมาก 

ต่างก็พากันยกย่องสรรเสริญว่า 

รถยานนี้เป็นยานอันประเสริฐ 

มีความงดงาม 


เมื่อพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต 

หลังจากฉันภัตตาหารแล้ว  

ก็ได้เข้าไปกราบทูลพระพุทธเจ้า 

เล่าให้พระองค์ฟังว่าไปบิณฑบาต 

ได้เห็นรถของชาณุสโสณิพราหมณ์ล้วนแต่ขาวล้วน 

ชาวเมืองทั้งหลายก็พากันยกย่องสรรเสริญ 

ว่าเป็นยานอันประเสริฐ 


ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า 

พระองค์จะทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในพระธรรมวินัยนี้ 

ได้บ้างหรือไม่หนอพระพุทธเจ้าข้า 


พระองค์ก็ตรัสว่า 

อานนท์ 

ตถาคตจะบัญญัติยานอันประเสริฐในพระธรรมวินัยนี้ได้ 

#ยานอันประเสริฐในพระธรรมวินัยนี้คืออริยมรรคมีองค์๘ 

#เรียกว่าพรหมยานบ้าง #ธรรมยานบ้าง 

เป็นยานอันประเสริฐ 


มี #สัมมาทิฏฐิ #ความเห็นชอบ 

ผู้ใดเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว 

จะเป็นธรรมที่กำจัดราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่สุดได้ 

สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ 

เข้าไปรู้เห็นในทุกข์ 

ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอย่างไรต้องรู้จัก 

เหตุให้เกิดทุกข์ 

ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จะต้องละ 

รู้ด้วยการต้องละ 

ตัณหาดับไป ทำลายตัณหา ก็เป็นนิพพาน เป็นนิโรธความดับทุกข์ 

ส่วนอริยมรรคเป็นข้อปฏิบัติ เป็นปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ ต้องรู้จัก 

นี่เป็นสัมมาทิฏฐิ 


#สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ 

ดำริออกจากกาม 

ดำริออกจากการเบียดเบียน 

ดำริออกจากการพยาบาท  

หรือดำริอยู่ในรูปนามขันธ์ ๕ 


สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ 

ก็เป็นศีล 


การเว้นจากกายทุจริต เว้นวาจาทุจริต เว้นมโนทุจริต 


#สัมมาวาจา เว้นจากวจีทุจริต ๔ 

ถ้าเราเว้น ถือว่าเรามีอริยมรรค 

เว้นพูดเท็จ เว้นพูดส่อเสียด เว้นพูดหยาบคายเพ้อเจ้อ 

พูดแต่คำจริง 

พูดแต่คำไพเราะสุภาพ 

พูดแต่คำสมัครสมานสามัคคี 

พูดแต่คำที่มีสาระมีประโยชน์ 

เป็นสัมมาวาจา 


กายของเราก็เว้นฆ่าสัตว์เสีย  

เว้นลักทรัพย์ 

เว้นประพฤติผิดในกาม 

เราก็จะมีกายสุจริต 

มี #สัมมากัมมันตะ การงานชอบ 

การงานที่เราทำไม่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม 

อาชีพของเราก็ต้องให้สุจริตไว้ 

เราจะประกอบอาชีพอะไรต่าง ๆ 

มันจะต้องไม่เกี่ยวกับการเบียดเบียนผู้อื่น 

หรือไม่เกี่ยวกับการเข่นฆ่าประหัตประหาร 

ไม่เกี่ยวกับการทุจริตฉ้อโกง 

ไม่เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ 

ไม่เกี่ยวกับการต้องไปโกหกหลอกลวง 

เหล่านี้เป็นต้น 

อาชีพของเราบริสุทธิ์ เป็นอาชีพที่ถูกต้อง 

มันก็จะเป็นอริยมรรคประกอบกันอยู่  

เป็นส่วนของศีล 


อริยมรรคก็ประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา 

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นส่วนของปัญญา 

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นส่วนของศีล 

สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็น ส่วนของสมาธิ 


#สัมมาวายามะ เพียรชอบ 

เพียรโดยการประพฤติปฏิบัติอยู่ 

ที่เราเพียรเจริญภาวนา 

ถือว่าเป็นการเพียรละบาป เพียรระวังไม่ให้บาปเกิด 

เพียรให้กุศลเกิด เพียรรักษากุศลให้เจริญ  

เพียรให้มีสติสัมปชัญญะ 

สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นมาก็เป็นกุศล 

กุศลเกิดก็เท่ากับละบาปไปในตัว 

เมื่อเพียรให้สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นต่อเนื่องอยู่เสมอ ๆ 

ก็เท่ากับระวังไม่ให้บาปมันเกิดขึ้น 


ถ้าเราเผลอ ไม่มีสติ 

เดี๋ยวก็โลภ โกรธ หลงขึ้นมา 

ถ้ามีสติ รักษาจิตใจ มีสติ ระวังสำรวมอยู่ 

จิตเราเป็นกุศลต่อเนื่อง 

อกุศลมันก็เกิดไม่ได้ 


ถ้าขาดสติ พอตาเห็นรูป 

เดี๋ยวมันก็โกรธบ้าง หลงบ้าง โลภบ้าง 

ฟังเสียงถ้าขาดสติก็ไม่โลภก็โกรธ ไม่โกรธก็หลง 

ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสถูกต้อง คิดนึก 

ขาดสติแล้วเดี๋ยวมันก็โกรธ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็หลงอยู่อย่างนั้น 


ฉะนั้นเมื่อมีสติอยู่ 

พยายามเพียรระลึก เพียรรู้ ภาวนา 

สติเกิดขึ้น กุศลเกิดขึ้น ละบาปไปในตัว 

นี่เป็นความเพียรชอบ 


#สัมมาสติ ระลึกชอบ 

ต้องระลึก ระลึกรู้กายในกาย 

เวทนาในเวทนา 

จิตในจิต 

ธรรมในธรรมอยู่เนือง ๆ 


หายใจเข้าออกเรียกว่ากายอย่างหนึ่ง 

ยืน เดิน นั่ง นอน ก็คือกาย 

คู้ เหยียด เคลื่อนไหว ก็เป็นกาย 

พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก หัวใจ ตับ ปอด เป็นของปฏิกูล 

ก็เป็นกาย 


ความรู้สึกสบาย ไม่สบาย เฉย ๆ ก็เป็นเวทนา 


จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ 

จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ 

จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ 

ต้องคอยระลึกรู้อยู่ 

เป็นการ เป็นสัมมาสติ 

ตามดูรู้เท่าทันจิตในจิตอยู่ 


หรือว่ามันมีอกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิต 

บางครั้งมันมีราคะ มีโทสะ มีฟุ้งซ่าน 

หงุดหงิด รำคาญเกิดขึ้นในจิตใจ 

เราก็กำหนดรู้ 

รู้ว่ามันเกิดกิเลสขึ้นในใจเรา 

ละมันได้ก็รู้ 


หรือว่ามันมีธรรมฝ่ายดีเกิดขึ้น  

เกิดศรัทธา เกิดปีติ 

เกิดเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา 

จิตมีสมาธิ มีปีติในธรรม 

มีความสงบ มีความตั้งมั่น 

ก็ระลึกรู้ไป 

เพื่อให้มีปัญญาพิจารณาเห็นแจ้งตามความเป็นจริง 

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน 


สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ 

ก็ต้องประกอบกันไป 

มีทั้งสติ มีทั้งสมาธิ มีทั้งปัญญาประกอบกันอยู่ 

#สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ 

จิตที่ตั้งมั่นดีก็จะเป็นจิตปราศจากอกุศลธรรม ปราศจากนิวรณ์ 

ประกอบกันไป ศีล สมาธิ ปัญญา 


อันนี้เป็นยานอันประเสริฐ 

พระพุทธเจ้าตรัสว่า 

#ผู้ใดได้เจริญในอริยมรรค 

#เจริญแล้วทำให้มากแล้ว 

#จะเป็นธรรมที่กำจัดราคะโทสะโมหะในที่สุดได้ 

พระองค์ก็จึงตรัสว่า 

อานนท์ #นี่แหละคือยานอันประเสริฐในพระธรรมวินัยนี้ 


(ชาณุสโสณิพราหมณสูตร ตอนที่ ๑) 


ปฏิบัติบูชา การบูชาอันสูงสุด 

ธรรมสุปฏิปันโน ๑๐ 

.............................

ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี

เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา

****

Cr.https://www.facebook.com/share/eez8UsB42rTwaRic/?mibextid=oFDknk

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2567

ตื่นรู้


 ทักษะชีวิตประการหนึ่งที่เราได้จากการฝึกภาวนาในรูปแบบ  คือการรักษาภาวะตื่นรู้โดยผ่อนคลาย หรือผ่อนคลายโดยตื่นรู้  ขณะกำหนดอารมณ์กรรมฐาน เช่น ลมหายใจ  จิตจะพ้นจากนิวรณ์ก็ต่อเมื่อจิตอยู่ในภาวะดังกล่าวเท่านั้น  


นิวรณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ความเครียด หรือความแข็งทื่อ ขาดความกระตือรือร้น ช่วยสะท้อนให้รู้ว่า เราทำความเพียรตึงไปหรือหย่อนไป  สติอันต่อเนื่องเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าความพยายามประคับประคองความรู้สึกตัวให้อยู่กับอารมณ์กรรมฐานเป็นไปอย่างพอเหมาะ   อุปมาที่ช่วยให้เห็นภาพความเพียรที่ต้องการ เปรียบได้กับความเพียรในการกำลูกนกไว้ในมือ  หากกำแน่นไป ลูกนกก็บาดเจ็บ  หากกำหลวมไป ลูกนกก็จะบินหนี   จิตผ่อนคลาย แต่ไม่ต้องแลกกับความรู้สึกตัว   จิตตื่นรู้แบบสบายๆ เป็นธรรมชาติ


เมื่อคุ้นเคยกับความตื่นรู้โดยผ่อนคลาย  เราย่อมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้  เรารับรู้และสังเกตจิต คล้ายๆ กับเหลือบมองด้วยตาภายใน  ในสถานการณ์ส่วนใหญ่ เราคงจะเพ่งดูจิตแบบตรงๆ ไม่ได้  แต่เราเฝ้าดูอยู่ห่างๆ  และเรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างจากการดูนั้น


ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร

แปลถอดความ โดย ศิษย์ทีมสื่อดิจิทัลฯ

******

Cr.https://www.facebook.com/share/7uRmKrjxtpWW9EQy/?mibextid=oFDknk

Pay it forward

 


"Pay it forward" หมายถึง การทำความดีและช่วยเหลือคนอื่นๆ โดยที่ไม่คาดหวังการได้รับความช่วยเหลือในอนาคตเพื่อส่งเสริมวงการการกระจายความดีต่อไปให้ได้แก่คนอื่นๆ ในชุมชนหรือสังคมอื่นๆ แบบลูกโซ่โดยที่ผู้คนที่ได้รับการช่วยเหลือจะต้องส่งต่อความกรุณาต่อคนอื่นๆ อีกต่อไป Message ChatGPT…


วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2567

ประเทศไทย


 อยู่ในใจผมเสมอเสมอ

ผมกำลังวาดรูป (ผมกำลังวาดรูป)

ความฝันของผมเองเต็มไปด้วย

ความฝัน

แผนที่โลก (ทาคอปต้า)

บินข้ามฟากฟ้า ข้ามเวลา แม้จะ อยู่แดนไกล

ผมอยากจะเปิดประตูแล้วไป ตอนนี้ (ประตูไหนก็ได้~)

ผมจะลืมเมื่อผมโตขึ้น?

ในเวลาเช่นนั้นก็จงจำไว้ว่า

ชา ลา ลา ลา ลา อยู่ในใจผม

ความฝันที่จะส่องสว่างตลอดไป

โดราเอมอนอยู่ในกระเป๋าใบนั้น

ให้ผมทำให้มันเป็นจริง

ชา ลา ลา ลา ลา. มาร้องเพลงกัน เถอะ

เรามาจับมือกัน

โดราเอมอนทั่วทุกมุมโลก

ปล่อยให้ความฝันลันไปแบบนั้น

สิ่งที่ผมอยากทำ สถานที่ที่อยาก ไป

หากคุณพบมัน (ถ้าคุณพบมัน)

อย่าลังเล ใส่รองเท้าของคุณ ออกไปกันเถอะ (ไทม์แมชชีน~)

ไม่เป็นไร คุณไม่ได้อยู่คนเดียว

เพราะผมอยู่ที่นี่

ตามหาขุมทรัพย์อันเป็นประกาย (กระเป๋าสี่มิติ)

แม้จะหลงทางก็อย่าร้องไห้นะ

ผมจะช่วยคุณด้วยเครื่องมือลับ

ชา ลา ลา ลา นกหวีด

เดินออกมาดังๆ กันเถอะ

โดราเอมอนไปเมืองนั้น

เพียงแค่ส่งมอบมัน

ชา ลา ลา ลา ลา อนาคตของเรา

ผมเต็มไปด้วยความฝัน

โดราเอมอนถ้าผมมีเธอ

ทุกคนยิ้ม

แม้ว่าผมจะโตขึ้นผมก็จะไม่มีวัน

ลืมมัน ความคิดล้ำค่าตลอดไปและตลอด

ไป

ชา ลา ลา ลา ลา อยู่ในใจผม

ความฝันที่จะส่องสว่างตลอดไป

โดราเอมอนอยู่ในกระเป๋าใบนั้น

ให้ผมทำให้มันเป็นจริง

ชา ลา ลา ลา ลา. มาร้องเพลงกัน เถอะ

เรามาจับมือกัน

โดราเอมอนทั่วทุกมุมโลก

ปล่อยให้ความฝันลันไปแบบนั้น

สัมมาทิฏฐิ


 การปฏิบัติธรรมมีจุดมุ่งหมายประการหนึ่ง คือ มุ่งให้ละความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิความเห็น  เราทำเช่นนั้นได้โดยเริ่มจากการถามตัวเองว่า  อะไรคือความเชื่อและข้ออ้างอิงพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังความคิดเห็นของเรา  ความเชื่อและข้ออ้างอิงเหล่านั้นเป็นจริงเพียงใด   มีอะไรหลอกให้เราเชื่อบ้างไหม  เราจะไว้ใจในความเชื่อและข้ออ้างอิงเหล่านั้นได้เพียงใด 


คนฉลาดจำนวนไม่น้อยตกหลุมพรางของการมองแค่การใช้เหตุผลให้รอบคอบเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป  เมื่อพอใจในเหตุผลทุกขั้นตอนว่าไม่มีผิดพลาด ก็มั่นใจเลยว่าความเห็นนั้นถูกต้องแน่นอน  แต่มองข้ามข้อเท็จจริงว่า หากข้อสันนิษฐานเบื้องต้นผิด ต่อให้เหตุผลถูกต้องทุกประการ  ความคิดเห็นที่ได้นั้นย่อมพลอยผิดพลาดไปด้วย  เราได้เห็นการใช้เหตุผลเป็นตุเป็นตะที่เกิดจากความเชื่องมงายมาตลอดประวัติศาสตร์มนุษยชาติ


ดังนั้น ขอให้เราพิจารณาให้ดี อย่าได้ประมาท  มีอะไรไหมที่เราทึกทักว่าเป็นจริง  มีอะไรไหมที่ดูจริงเสียจนแทบจะไม่ต้องเอามาพูดกัน แต่บางที -เพียงบางทีเท่านั้น- อาจไม่จริงดังคิด  แล้วเราจะยึดทิฏฐิความเห็นอย่างแยบคายได้อย่างไร โดยไม่หลงติดในความคิดนั้น ดั่งคนเดินทางหลงไปติดในพงหนาม


ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร

แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ

""""""

Cr.https://www.facebook.com/share/6JbL8e8DvwCSt3in/?mibextid=oFDknk

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2567

Pavarana

 


Pavāranā is a central pillar of Buddhist monasticism. It provides one of the main checks and balances built into the Vinaya by the Buddha to prevent the hierarchical organization of the Sangha from becoming too rigid.


Pavarana is the practice of giving and receiving feedback. It is formalised by an annual ceremony. During the ceremony every monk formally requests all his fellow monks to offer him admonition if they have seen, heard, or suspected him of behaving inappropriately. The skill of giving and receiving feedback is one of the most important social skills for monks to learn.


Ven. Sariputta, one of the two chief disciples is venerated as the greatest example of a monk genuinely open to and appreciative of feedback. The story is told that on one occasion he unwittingly wore his under-robe unevenly - a minor transgression. A seven year old novice who noticed this, pointed it out. Ven. Sariputta immediately withdrew to a quiet corner and adjusted his robe. On his return he approached the novice with folded hands, (and, we can imagine, with a warm, reassuring smile on his face) saying, “Now it is correct, teacher.”


In a reference to this incident in the Mīlindapañhā, verses are ascribed to Ven. Sāriputta.


If one who has gone forth this day at the age of seven

Should teach me, I accept with lowered head;

At sight of him I show my zeal and respect

May I always set him in the teachers’ place (Mil397)


Ajahn Jayasāro

*****

https://www.facebook.com/share/QRcNyym9jAVj7RRM/?mibextid=oFDknk

******

............

ปวารณาเป็นเสาหลักสำคัญของพุทธศาสนา  เป็นการตรวจสอบและถ่วงดุลหลักประการหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสร้างขึ้นในพระวินัย เพื่อป้องกันไม่ให้การจัดลำดับชั้นของคณะสงฆ์เข้มงวดเกินไป

ปวรณา คือ การฝึกการให้และรับผลตอบรับ  เป็นทางการโดยพิธีประจำปี  ในระหว่างพิธี พระภิกษุทุกรูปจะร้องขออย่างเป็นทางการให้เพื่อนภิกษุตักเตือนหากได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าตนประพฤติตนไม่เหมาะสม  ทักษะการให้และรับคำติชมเป็นทักษะทางสังคมที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งที่พระภิกษุต้องเรียนรู้

  พระสารีบุตร หนึ่งในพระอัครสาวก 2 องค์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของพระภิกษุผู้เปิดกว้างและซาบซึ้งต่อคำติชมอย่างแท้จริง  เล่าขานกันว่ามีครั้งหนึ่งเขาสวมเสื้อชั้นในไม่เท่ากันโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นการละเมิดเล็กน้อย  สามเณรอายุเจ็ดขวบสังเกตเห็นสิ่งนี้จึงชี้ให้เห็น  เวน  พระสารีบุตรรีบถอยไปยังมุมสงบแล้วจัดจีวรทันที  เมื่อกลับมาก็เข้าไปหาสามเณรด้วยมือประสานกัน (และเราคงนึกภาพออกด้วยรอยยิ้มอันอบอุ่นและมั่นใจบนใบหน้า) แล้วพูดว่า “ถูกต้องแล้วอาจารย์”

............

อาจารย์ชยสาโร


หนี้ศักดิ์สิทธิ์


 Cr.fwd.line

#หนี้ศักดิ์สิทธิ์

เมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๐) 


ย้อนหลังตอนที่ยังไม่ได้บวช 


อาตมาเชื่อว่าปัญญาเกิดจากประสบการณ์ 


จึงเดินทางออกจากบ้านเกิดเมืองนอนที่ประเทศอังกฤษ ระเหเร่ร่อนหาประสบการณ์ชีวิตทางยุโรปและเอเชีย 


ยิ่งลำบากยิ่งชอบ

 เพราะรู้สึกว่าความลำเค็ญ

ช่วยให้รู้จักตัวเองมากขึ้น ซึ่งเป็นกำไรชีวิต

.

แต่การเดินทางไปอินเดีย ผิดหวังนิดหน่อย

ไม่ได้ท้าทายอย่างที่คาดหวัง 


ขากลับจึงตัดสินใจลองเดินทางจากประเทศปากีสถานไปยังอังกฤษ โดยไม่ใช้เงิน 


โบกรถไปเรื่อยๆ 

อยากจะรู้ว่าเป็นไปได้ไหม 

อยากจะทราบความรู้สึกของผู้ไม่มีอะไร อย่างลึกซึ้ง

.

ผจญภัยเยอะเหมือนกัน 


และผ่านเหตุการณ์ที่ไม่มีวันลืม 


อย่างเช่น พอถึงเตหรานเมืองหลวงของประเทศอิหร่าน รู้สึกจะหมดแรงแล้ว 


ผอมแห้งบักโกรก 

เสื้อผ้าก็มอมแมม กระดำกระด่าง 

คงดูน่าเกลียดพอสมควร 

เห็นหน้าในกระจกห้องน้ำสาธารณะ ก็ตกใจ 


ส่วนใจ ก็เป็นเปรตมากขึ้นทุกวัน 

กังวลหมกมุ่น แต่ในเรื่องอาหารการกิน 


วันนี้เราจะมีอะไรทานไหมหนอ? 


แต่ละวันท้องจะอิ่ม จะว่าง

ก็แล้วแต่น้ำใจของเพื่อนมนุษย์ 


เราจำเป็นต้องพึ่งบารมี เพราะไม่มีอย่างอื่น

.

พอดีเจอผู้ชายอิหร่านคนหนึ่ง 

เขาคงสงสาร และอยากฝึกพูดภาษาอังกฤษด้วย 


เขาจึงพาไปกินน้ำชา 

แล้วให้สตางค์ไปเล็กๆ น้อยๆ 


กลางคืน พักข้างถนน ในซอยเงียบ 

กลัวว่าตำรวจเห็น จะซ้อม 


รุ่งเช้า เดินไปร้านขายซุปแห่งหนึ่ง 

ซึ่งจำได้ว่า ซื้อซุปหนึ่งจาน แล้วเขาให้ขนมปังฟรี 


ในขณะที่กำลังเดินไป 

โดยพยายามไม่มองร้านอาหารข้างทาง

ที่ดึงดูดตาเหลือเกิน ไม่ดมกลิ่นหอมที่โชยออกมา 


เราได้สวนทางกับผู้หญิงคนหนึ่ง 


เขาเห็นเรา แล้วเขาก็หยุดชะงัก 

จ้องมองเราอย่างตะลึง 


สักพักหนึ่ง แล้วเดินตรงมาหาหน้าบูดบึ้ง

แล้วสั่งให้ตามเขาไป โดยใช้ภาษามือ 


เราเป็นนักแสวงหา เลยยอมตามไป 


เดินไปสักสิบนาที ก็ถึงตึกแถว 

ขึ้นลิฟต์ไปถึงชั้นที่สี่ 


สันนิษฐานว่าคงเป็นบ้านเขา 

แต่เขาไม่พูดไม่จาอะไรเลย 

ยิ้มก็ไม่ยิ้ม หน้าถมึงทึงตลอด

.

พอเปิดประตูเข้าไป

ปรากฏว่าเป็นบ้านของผู้หญิงคนนี้จริงๆ 


เขาพาเข้าห้องครัว ชี้ไปที่เก้าอี้ให้นั่ง 

นั่งแล้วเขาเอาอาหารมาให้ทานหลายๆ อย่าง 


อาตมารู้สึกเหมือนกับขึ้นสวรรค์ 


ทำให้รู้ว่า อาหารที่อร่อยที่สุดในโลก

คือ อาหารที่ทานในขณะที่หิว

และท้องกำลังร้องจ๊อกๆ 


เขาเรียกลูกชายมา สั่งอะไรก็ไม่รู้เพราะฟังไม่รู้เรื่อง 

แต่สังเกตว่า ลูกดูจะอายุไล่เลี่ยกับเรา 


สักพักใหญ่ ลูกชายก็กลับมาด้วยกางเกง

และเสื้อเชิ้ตชุดหนึ่ง 


พอเห็นว่า เราอิ่มหนำสำราญแล้ว ก็ชี้ไปที่ห้องน้ำ 

สั่งให้อาบน้ำ เปลี่ยนผ้าชุดใหม่ 

(ของเก่าน่ากลัวเอาไปเผา) 


เขาไม่ยิ้ม ไม่แย้ม ไม่พูดจาอะไรเลย 

มีแต่สั่งอย่างเดียว 


ขณะอาบน้ำอยู่ ก็คิดสันนิษฐานว่า 

แม่คนนี้อาจเห็นอาตมา 

แล้ววาดภาพ นึกถึงลูกชายเขาเองว่า 


ถ้าสมมุติว่าลูกเราเดินทางไปต่างประเทศ

แล้วตกทุกข์ได้ยากอย่างนี้ 

อยู่ในสภาพน่าสมเพชอย่างนี้ มันจะเป็นอย่างไร 


ฉะนั้นอาตมาจึงคิดว่า 

เขาช่วยเราด้วยความรักของแม่ 


เลยคิดแต่งตั้งเขา

เป็นแม่กิตติมศักดิ์ ประจำเมืองอิหร่าน 

ยืนยิ้มหน้าบานอยู่ในห้องน้ำคนเดียว

.

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว

เขาก็ไปส่งเรา ตรงจุดที่ได้เจอกัน 


แล้วเดินลุยเข้าไปในกระแสชาวเมือง

ที่กำลังเดินไปทำงาน 


อาตมายืนมองผู้หญิงอิหร่านคนนั้น

ถูกหมู่ชนกลืนไป 


รู้อย่างแม่นยำว่า ชาตินี้คงไม่มีวันลืมเขาได้ 


อาตมาประทับใจ และซาบซึ้งมาก 

น้ำตาทำท่าจะไหลคลอ 


เขาให้เรา ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกันเลย 


ตัวสูงๆ ผอมๆ เหมือนไม้เสียบผี 

จากป่าช้าที่ไหนก็ไม่รู้ เสื้อผ้าก็เหม็นสกปรก 

ผมก็ยาวรกรุงรัง 


แต่เขากลับไม่รังเกียจเลย 


มิหนำซ้ำยังพาเราไปที่บ้าน

และดูแลเหมือนเราเป็นลูกของเขาเอง

โดยไม่หวังอะไรตอบแทนจากเราเลย


แม้แต่การขอบคุณ 


เวลาผ่านมายี่สิบกว่าปีแล้ว (พิมพ์พ.ศ. ๒๕๔๐) 


อาตมาจึงอยากประกาศคุณของพระโพธิสัตว์หน้าบูดคนนี้ ให้ทุกคนได้ทราบว่า 


แม้ในเมืองใหญ่ๆ 

ก็ยังมีคนดี และอาจมีมากกว่าที่เราคิด

.

ไม่ใช่เพียงแค่นี้คนเดียว 


ตอนสมัยที่อาตมาแสวงหาประสบการณ์ชีวิตนั้น 

ได้รับความเมตตาอารี ความช่วยเหลือเจือจาน

จากคนหลายๆ ชาติ 


ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ขออะไรจากใคร 


ทำให้ตั้งใจว่า มีโอกาสเมื่อไร 

ต้องช่วยเหลือคนอื่นบ้าง 

ต้องมีส่วนในการสืบอายุของน้ำใจในหมู่มนุษย์


แม้สังคมทั่วไป 

จะอัตคัดกันดารคุณงามความดีเพียงไร


แต่ขอให้เราพยายาม เป็นแหล่งเขียวเล็กๆ 

แก่เพื่อนร่วมโลกก็ยังดี

.

ต่อมาอาตมาได้กลับไปอยู่อินเดียอีกครั้งหนึ่ง 


พักปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์สายฮินดูองค์หนึ่งท่านน่าเลื่อมใสมาก 

มีข้อวัตรปฏิบัติคล้ายกับของพุทธ 


อยู่กับท่าน 

มีเวลานั่งคิดไตร่ตรองชีวิตของตนเองมาก 


ตอนบ่ายชอบเดินขึ้นเขา ไปนั่งใต้ต้นไม้เก่าแก่ท่ามกลางสายลม ดูทะเลสาบข้างล่าง 

และทะเลทรายที่เหยียดยาวออกไปถึงขอบฟ้า


ความคิดก็ปลอดโปร่งดี 


แล้ววันหนึ่ง ก็นั่งนึกแปลกใจตัวเองว่า 

เมื่อไหร่ที่เราระลึกในความมีน้ำใจของผู้ที่เคยเกื้อกูลการเดินทางของเรา ให้อาหารบ้าง ให้ที่พักสักคืนสองคืนบ้าง เราจะรู้สึกทึ่งทุกครั้ง 


แต่ทำไม พ่อแม่เลี้ยงเรามา ๑๘ ปี 

ให้อาหารทุกวัน ไม่เคยขาด 

วันละสามมื้อบ้าง สี่มื้อบ้าง 

และยังเป็นห่วง ว่าจะไม่ถูกปากเราอีก 

ท่านให้ทั้งเสื้อผ้า และที่นอน 

ยามป่วยไข้ ท่านก็พาไปหาหมอ 

และเหมือนว่าท่านจะเป็นทุกข์มากกว่าเราเสียอีก


ทำไมเราไม่เคยซึ้งในเรื่องนี้เลย? 


มันไม่ยุติธรรม และน่าละอาย 


สำนึกตัวว่าประมาทเหลือเกิน 


ในขณะนั้นเหมือนเขื่อนพัง 


ตัวอย่างความดีของพ่อแม่

ไหลทะลักเข้ามาในจิต จนตื้นตันใจมาก 


นี่คือจุดเริ่มต้น

ของการรู้จักบุญคุณของพ่อแม่ ในชีวิตของอาตมา

.

เราคิดต่อไปว่า 

ตอนคุณแม่ท้องก็คงลำบาก 

ในช่วงแรกคงแพ้ท้อง 

ต่อมาการเดิน การเหิน 

การเคลื่อนไหวทุกประเภทคงไม่สะดวกไปหมด ปวดเมื่อย 


แต่ท่านก็ยอม 

เพราะเชื่อว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้น มีความหมาย 


และความหมายนั้น คือ เรา

.

ตอนเด็ก เราต้องอาศัยท่านหมดทุกสิ่งทุกอย่าง 


ทำไมเรารู้สึกเฉยๆ 

เหมือนกับว่า เป็นหน้าที่ของท่าน

ที่จะต้องให้และเป็นสิทธิของเราที่จะรับ 


ต่อมาเลยสำนึกว่า 

ที่มีโอกาสปฏิบัติธรรมเป็นที่พึ่งของตน 

ก็อาศัยที่ว่า คุณพ่อคุณแม่ เคยเป็นที่พึ่งอันมั่นคงแก่เราในกาลก่อน ทำให้จิตใจเรามีฐานที่เข้มแข็งพอ

ที่จะสู้กับกิเลสของเราได้

.

เมื่ออายุ ๒๐ ปี อาตมาเดินทางมาเมืองไทย 

เพื่อบวชในบวรพระพุทธศาสนา 


โยมพ่อโยมแม่ ก็ไม่ขัดข้อง 


เพราะต้องการให้ลูกดำเนินชีวิต

ในทางที่พอใจ และมีความสุข 

ได้ชนะความหวังส่วนตัวในใจของท่าน


ปีที่แล้วนี้เอง ที่โยมแม่สารภาพกับอาตมาว่า 


วันที่ลูกจากบ้านไป

เป็นวันที่แม่เศร้าโศกที่สุดในชีวิต 


อาตมาประทับใจมาก ที่ท่านพูดอย่างนั้น 


แต่ที่ประทับใจยิ่งกว่านั้นคือ 

การที่โยมแม่อดทน ไม่พูดให้เราทราบความทุกข์นี้ตั้ง ๒๐ ปี เพราะกลัวเราจะไม่สบายใจ

.

พอบวชแล้ว

บางครั้งอดที่จะตำหนิตัวเองไม่ได้เหมือนกันว่า ตอน


อยู่กับพ่อแม่ มีโอกาสตอบแทนบุญคุณท่านทุกวันแต่ไม่ค่อยได้ทำอะไร 


เดี๋ยวนี้อยากทำ แต่ทำไม่ได้ 

เพราะอยู่ห่างไกลและเป็นพระ 


จึงรู้สึกเสียดาย ต้องตั้งใจแผ่เมตตาแก่ท่านทุกวัน

.

ในภาษาอังกฤษคำว่า 


“บุญคุณของพ่อแม่” ไม่มี 


ที่เมืองนอก 

ความรักและความผูกพันระหว่างพ่อแม่กับลูก 

มีอยู่เหมือนกัน เป็นเรื่องธรรมดา 


แต่ความรู้สึกว่า 

สมาชิกครอบครัวมีหน้าที่ต่อกัน มีน้อยกว่าที่นี่ 


ชาวตะวันตก ชอบเป็นตัวของตัวเอง 

ไม่ชอบการก้าวก่าย

ไม่ค่อยเชื่อความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก

มีความลึกลับอะไร 


ไม่เห็นว่าพ่อแม่มีสิทธิ์อะไรพิเศษ 

ที่จะได้กำหนดแนวทางชีวิตของลูก....

.

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า 


ลูกคนไหนเชิญคุณพ่อคุณแม่ไปนั่งบนบ่าคนละข้าง แล้วแบกไป แบกมา ตลอดร้อยปี 


อาบน้ำนวดเส้นให้ท่าน 

แม้จนกระทั่ง ปล่อยให้ถ่ายปัสสาวะ 

และอุจจาระราดบ่า 


หรือไม่อย่างนั้น 

มอบเงินให้ท่านเป็นจำนวนล้าน หรือสิบๆ ล้าน 

ตั้งท่านไว้ในตำแหน่งมีเกียรติยศและอำนาจ 


ทำถึงขนาดนี้ 

ก็ยังยากที่จะตอบแทนบุญคุณท่านได้หมด

.

แต่ว่าลูกคนใด สามารถปลูกฝัง

หรือชักนำให้พ่อแม่ ผู้ไม่มีศรัทธาในหลักธรรม 

หรือมีศรัทธาน้อย ได้มีศรัทธามากขึ้น 


พ่อแม่ผู้ไม่มีศีล หรือมีศีลที่ขาดตกบกพร่อง

ได้มีศีลมากขึ้น พ่อแม่ตระหนี่ 

ให้กลายเป็นผู้ยินดีในทาน 

และการช่วยเหลือเกื้อกูล 


พ่อแม่ผู้ไม่มีปัญญาชนะกิเลส 

และดับความทุกข์ ได้มีปัญญา


 ลูกที่ทำอย่างนี้ได้สำเร็จ 

ก็ถือว่าตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ได้สมบูรณ์

ได้ใช้หนี้อันศักดิ์สิทธิ์ได้หมด


พระธรรมพัชรญาณมุนี 

(พระอาจารย์ชยสาโร) 🙏


✔️ พุทโธ ร่มโพธิ์แก้ว  🙏

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2567

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน


*****
 พุทธภาษิต อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ นี้ ถ้าจำได้เต็มคาถา จะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นคาถา ธรรมบท ดังนี้ (ขุ.ธ.๒๕/๒๒/๓๖) ว่า

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถ์ ลภติ ทุลลภ์

แปล. “ตนแลเป็นที่พึ่งของตน คน อื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งจริงได้ บุคคลมีตนที่ฝึกดีแล้ว จะได้ที่พึ่ง ซึ่งหายากได้.

จะพึ่งตน ก็ต้องมีตนเป็นที่พึ่งได้ ตนนั้นจะพึ่งได้ ก็ต้องฝึกตนนั้นขึ้น มาให้ดี จะฝึกตนได้ดี ก็ต้องพัฒนา ให้มีธรรมขึ้นมามากๆ ทั้งวิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ จนถึงปัญญา แล้วพึ่ง ธรรมเหล่านั้นโดยปฏิบัติหรือใช้มัน ก็จะพึ่งตนได้ดี

หนังสือ ดู “ธรรมกาย” แท้ของ พระพุทธเจ้า เข้าใจ “อนัตตา” ให้ ตรงตามจริง

โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

พิมพ์ครั้งที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ 

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567

ผัสสะ...เวทนา


 #คอร์สปฏิบัติธรรม 2 - 9 เมษายน 2567 

#เช้าวันนี้ 

.

#เวลาผัสสะกับอะไรแล้วมันเกิดอารมณ์มั้ย  มันเกิดอารมณ์เพราะผัสสะ ผัสสะคือมันกระทบกัน ตากระทบรูป หูกระทบเสียง เราเกิดอารมณ์พอใจ ไม่พอใจ เพราะอะไร เพราะได้ยินคนนี้พูดเรื่องราว เรื่องของเรา เรื่องพรรคพวกของเรา เรื่องญาติของเรา เรื่องตัวตนของเรา เราก็เลยเป็นทุกข์ อันนี้เขาเรียกว่ามันมีเหตุปัจจัยทำให้เกิด 


.

แต่บางทีเวทนา เราเดินจงกรมอยู่คนเดียว อย่างเรามาอยู่วัดนี่ เราไม่ได้ทำอะไรเลยที่บ้านที่วัดเราก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับใคร แต่อารมณ์เรามันจะขึ้นมา เดี๋ยวพอใจเดี๋ยวไม่พอใจ เดี๋ยวเฉย เราจะเลือกเอาอันไหนล่ะ เอาพอใจ พอใจเดี๋ยวมันก็ไม่พอใจ มันไม่พอใจเดี๋ยวมันก็ดับหายไป ตัวกลางคืออทุกขมสุขเวทนา เฉย ๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่เชิง สักแต่ว่ารู้อย่างเดียว 


.

อย่างเรายกมือสร้างจังหวะนี่ จิตมันจะว่าง ๆ แต่ไม่ได้ทำให้จิตว่างนะ บางคนรักษาความว่างปัญญาจึงไม่เกิดไง  ไม่ได้มารักษาความว่างไม่รักษาจิตว่าง แต่ว่าให้รู้สึกตัว  ให้รู้สึกตัวเวลาเรายกมือนี่มันรู้มือมั้ย เอาเข้าเอาออกอย่างนี้มีสติระลึกรู้มั้ย ชำเรืองดูจิต ดูเวทนาสักสิบเปอร์เซ็นต์ ดูอันนี้สักเก้าสิบเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวนี่ ให้มันอยู่กับกาย เวทนาสักแต่ว่าเวทนา ถ้าเราไม่ไปยุ่งกับมัน มันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป


.

ทุกอย่างมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แต่ปริมาณของการตั้งอยู่นี่มันตั้งนิดเดียวเดี๋ยวมันก็ดับ  แต่ถ้าคนไม่มีสติ เวทนามันปรากฏเกิดขึ้นมันจะตั้งอยู่นาน พอตั้งอยู่นานมันจะเริ่มเป็นตัวเป็นตน เป็นรูปเป็นร่างเขาเรียกว่านามรูป 


.

นามรูปคือมันเริ่มเป็นความคิดที่มันเป็นตัวเป็นเรื่องเป็นราว แวบขึ้นมารูปพ่อ รูปแม่ รูปบ้านเรานี่ ถ้ามันตั้งอยู่นาน เราไม่เจริญสติระลึกรู้ไม่กลับมาจิตเราจะหลงเข้าไปทันที เขาเรียกว่ามันสร้างกล่องความคิดให้เรา เราก็ไหลเข้าไปแล้วก็ไปถึงบ้านถึงเรือน คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ยืดยาวไป สุดท้ายก็ดับ คิดไปไกลขนาดไหน สุดท้ายมันก็ดับ ดับแล้วมันก็วกกลับมาเริ่มต้นใหม่ รู้สึกตัวใหม่ 


.

แต่การปฏิบัติธรรม พอมันกำลังจะสร้างตัวนี่ให้ดับก่อนเลย อย่าไหลไปตามมัน ไปอดีต ไปอนาคตอย่างนี้ อดีตอนาคตเกิดขึ้นที่ปัจจุบันเฉย ๆ นะ  มันเกิดที่จิตเราปัจจุบันขณะหนึ่ง ๆ  มันเกิดขึ้น แล้วมันก็กลายเป็นอดีต เกิดขึ้นเป็นอนาคต มันไปอนาคต อะไรที่มันประทับใจมันก็ไป


.

อะไรที่มันจะหาเรื่องมาประทับใจอย่างข้างนอกนี่ ข้างนอกมันจะไปไหน ไปหาอยู่หากินตอนเช้าจะเป็นยังไง จะนุ่งชุดแบบไหน จะไปหาผู้หญิงผู้ชาย อารมณ์สนุกสนานเพลิดเพลิน ความรักความชังยังไง จิตมันไปแบบนั้น แต่พอเห็นว่ามันเกิดขึ้น เราก็กลับมาอยู่กับปัจจุบัน 


.

.*.หลวงตาสุริยา มหาปัญโญ.*.

วัดป่าโสมพนัส คำตอบชีวิต

*****

Ct.https://www.facebook.com/share/QTCcQyGU1NBK1oA4/?mibextid=oFDknk

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567

ปาฏิหาริย์


 พระพุทธองค์ทรงสอนว่ามีปาฏิหาริย์สามประการ คือ

(๑) อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ เช่น เดินบนน้ำได้ หรือเหาะได้ 

(๒) อาเทศนาปาฏิหาริย์ อ่านจิตผู้อื่นได้เป็นอัศจรรย์

(๓) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ แสดงคำสอนอันส่งผลได้จริงเป็นอัศจรรย์


พระองค์ทรงยืนยันว่ามีพุทธสาวกมากมายที่แสดงปาฏิหาริย์ทั้งสามอย่างนี้ได้  ทว่า ในปาฏิหาริย์ทั้งหมดนี้ พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าประเสริฐสุด  พระอรรถกถาจารย์อธิบายพุทธวินิจฉัยเพิ่มเติมว่า  ปาฏิหาริย์สองข้อแรกอาจนำไปสู่ประโยชน์สุขอันยิ่งๆ ขึ้นไปของสรรพสัตว์หรือไม่ก็ได้  แต่ปาฏิหาริย์ข้อที่สามมีธรรมชาติที่จะนำไปสู่ประโยชน์สุขนั้นอยู่ในตัว


คำสอนที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในจิตของผู้ศึกษาเป็นปาฏิหาริย์อันแท้จริง เพราะยากนักที่จะบรรลุผลเช่นนั้นได้  ดังพระพุทธองค์ทรงตั้งข้อสังเกตว่า คนทั้งหลายหลงใหลในความยึดมั่นถือมั่น การมีมานะ ความตื่นเต้นเพลิดเพลิน และอวิชชา  เนื่องจากยินดีพอใจในสิ่งเหล่านี้  แต่กระนั้น เมื่อพระตถาคตหรือพระสาวกรูปใดรูปหนึ่งแสดงธรรมอันเป็นไปเพื่อละความยึดมั่นถือ ถอดถอนซึ่งมานะ เข้าถึงความสงบ และขจัดอวิชชา  ก็ยังมีผู้ปรารถนาจะฟัง ให้ความสนใจ และมุ่งมั่นทำความเข้าใจในหลักธรรมเหล่านั้น


ทุกวันนี้ คงมีผู้ปฏิบัติธรรมน้อยมากที่สามารถแสดงฤทธิ์หรืออ่านจิตอ่านใจคนได้  แต่ปาฏิหาริย์ประการที่สามซึ่งประเสริฐสุดกลับเข้าถึงได้มากกว่า  เราทั้งหลายอาจมีส่วนเกื้อกูลให้เกิดปาฏิหาริย์อันแท้จริงนี้ได้  ด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่างอันดีงาม หรือแบ่งปันธรรมะในโอกาสที่เหมาะสมด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน   ไม่มีอะไรในโลกนี้จะน่าอัศจรรย์ไปกว่า จิตที่เปิดรับต่อ ‘การรู้เห็นตามความเป็นจริง’


ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร

แปลถอดความ โดย ศิษย์ทีมสื่อดิจิทัลฯ

******

Cr.https://www.facebook.com/share/8p7jcUcvCi1umJRE/?mibextid=oFDknk

มิจฉาทิฐิ


 “ มิจฉาทิฐิ ”

 

  ร่างกายกับใจนี้เป็นคนละคนกัน  เหมือนสามีภรรยา เป็นคนละคนกัน ร่างกายไม่มีความรู้สึกนึกคิด ไม่รู้ว่าเขาเป็นอะไร ผู้ที่รู้ก็คือใจ ถ้าใจมีธรรมะ มีสัมมาทิฐิ มีปัญญา ก็จะรู้ว่าร่างกายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้ามีมิจฉาทิฐิ ก็จะมีอุปาทานไปยึดไปติด ว่าเป็นตัวเราของเรา ก็จะเป็นทุกข์  รูปังอนิจจังก็คือร่างกายไม่เที่ยง  มีการเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  แล้วดับไป รูปังอนัตตาก็คือร่างกายไม่ใช่ใจ เป็นเครื่องมือของใจ ที่พวกเราสนทนากันได้ ก็เพราะมีร่างกาย มีปากมีหู ใจอาศัยปากพูด อาศัยหูฟังเสียง ให้วิญญาณรับรู้ ให้สัญญาแปลความหมาย ใจของปุถุชนคือผู้ที่ไม่ได้บรรลุธรรม จะมีมิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด คือไม่เห็นอนัตตา ความไม่มีตัวตนในขันธ์ ๕ คือรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ ไม่เห็นว่าเป็นอนิจจังไม่เที่ยง จึงมีความทุกข์ใจ เพราะไปหลงยึดติดกับขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเราของเรา จึงมีความอยากให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ พอไม่ได้เป็นไปตามความอยากก็เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา เช่นอยากให้ร่างกายไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ให้อยู่ไปนานๆ พอไม่เป็นไปอย่างที่อยาก พอเริ่มเจ็บไข้ได้ป่วย ก็เกิดความทุกข์ใจ ความกังวลใจ ความหวาดกลัวขึ้นมา เวลาตายก็จะมีความทุกข์ทรมานใจ เพราะมีมิจฉาทิฐิ ความเห็นผิดเป็นชอบ เห็นว่าขันธ์ ๕ คือรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ เป็นตัวเราของเรา ที่เราควบคุมบังคับได้ ที่ให้ความสุขกับเรา ถึงรักถึงหวงกันมาก 

 

เรามาฟังเทศน์ฟังธรรมกันในวันนี้ เราจะได้สัมมาทิฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง ที่ได้พิสูจน์แล้วโดยพระบรมศาสดา และรับรองโดยพระอรหันตสาวกทุกรูป ว่าเป็นความจริง ผู้ที่เห็นตามความจริงก็จะปล่อยวาง ถ้าเห็นว่าร่างกายเป็นเพียงดินน้ำลมไฟ ไม่ใช่ตัวเรา ตัวใครทั้งนั้น ไม่ใช่ตัวหลวงตา ไม่ใช่ตัวพ่อ ตัวแม่ ตัวพี่ ตัวน้อง ตัวเพื่อน ตัวญาติ เป็นเพียงดินน้ำลมไฟ ที่ต้องสลายกลับสู่ดินน้ำลมไฟ ไม่มีใครยับยั้งได้ ร่างกายของพระพุทธเจ้าก็เป็นอย่างนี้มาแล้ว ร่างกายของพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ก็เป็นอย่างนี้ ให้เราเห็นกันชัดๆอยู่แล้ว ว่าเป็นเพียงธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟ ไม่มีธาตุรู้อยู่ในร่างกาย ธาตุรู้ที่เราเคารพกราบไหว้บูชา ที่เราเรียกว่าพระพุทธเจ้า พระอรหันต์  หลวงตา หลวงปู่ หลวงพ่อนี้ ไม่ได้แตกดับไปกับร่างกาย เพียงแต่ท่านไม่มีเครื่องมือ ที่จะติดต่อกับพวกเราเท่านั้นเอง ถ้ามีพลังจิตก็ยังจะสามารถติดต่อกับจิตดวงอื่นได้ เช่นผู้ที่เข้าสมาธิบางท่าน ก็จะสื่อสารกับจิตของผู้ที่ไม่มีร่างกายได้ เช่นพวกเทพหรือผี หรือพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ที่ปรินิพพานไปแล้ว ที่ไม่มีร่างกายแล้ว ก็ยังติดต่อกันได้ อย่างที่มีพระอรหันต์มีพระพุทธเจ้ามาแสดงธรรมโปรดหลวงปู่มั่น ที่ปรากฏอยู่ในประวัติของท่าน เป็นที่ถกเถียงระหว่างผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ ว่าเป็นการเพ้อเจ้อหรือเปล่า เพราะในพระไตรปิฎกได้แสดงว่า เมื่อนิพพานแล้วก็เป็นอันว่าจบ 

 

ความจริงคำว่าจบหรือคำว่าสูญนี้ มีหลายความหมายด้วยกัน ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติจะไม่เข้าใจ ว่าจบกับสูญเป็นอย่างไร ความจริงเป็นการจบของการเวียนว่ายตายเกิด สูญจากความโลภความโกรธความหลงความอยาก แต่จิตไม่ได้จบไม่ได้สูญ จบไม่ได้ สูญไม่ได้ เพราะธรรมชาติของจิตเป็นอย่างนี้ ไม่มีอะไรจบในสากลโลกนี้ ร่างกายก็ไม่จบ เพียงแต่เปลี่ยนสภาพไปเท่านั้นเอง ธาตุที่มาประกอบร่างกายนี้ก็ไม่ได้หายไป เพียงแยกออกจากกัน ออกจากร่างกายก็กลายเป็นธาตุเดิม น้ำก็ไปหาน้ำ ลมก็ไปหาลม ไฟก็ไปหาไฟ ดินก็ไปหาดิน เป็นดินบริสุทธิ์ เป็นน้ำบริสุทธิ์ เป็นไฟบริสุทธิ์ เป็นธาตุเดิมที่ไม่ได้ผสมกัน.


พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี

******

Cr.fwd.line