วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ปรุงแต่งดี ก็ดี..


..ฯลฯ..
..หลักปฏิบัติ ๔ ข้อ..
   ๑.ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม
   ๒.ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม
   ๓.แม้ในสุขที่ชอบธรรมนั้น ก็ไม่สยบมัวเมา..
   ๔.เพียรกำจัดเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป
                                               (เทวทหสูตร)
...ฯลฯ...
    ...การปฏิบัติก็มียากบ้าง ง่ายบ้าง ต้องวางจิตให้ถูก  ในแง่ที่ว่ากำลังฝึกตน  จะได้ไม่กลายเป็นว่า สิ่งที่ยากกลายเป็นความทุกข์  อาจจะมีทุกข์บ้าง...ต้องรู้เท่าทันว่า..เรากำลังแก้ไข...
....ทุกข์สำหรับรู้...
......
     ...จุดสำคัญที่ทำให้เราไปผิดทางก็คือว่ามี ๒ อย่าง..
     ...ปัญหามาหรือทุกข์มาเนี่ย..!!.
     ...ถ้าเอา"ใจ" รับก็เพลี่ยพล้ำ..!!!.
     ...แต่ถ้าเอา"ปัญญา"รับ ก็เข้าสู่ทางที่ถูกต้อง..ดำเนินการไปสู่การแก้ไขปัญหาได้...
...ฯลฯ...
                                (พระพรหมคุณาภรณ์ ป. อ.ปยุตฺโต)



*******
อารมณ์วิปัสสนา (คลิก)

********

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สมถะ..วิปัสสนา



ความแตกต่างระหว่างสมถะกับวิปัสสนา
..ฯลฯ..
...สมถภาวนา..จิตตภาวนา..สมถะ..สมาธิ..คือการฝึกอบรมจิตใจให้อยู่กับความดีงามเกิดความสงบ..ผลสำเร็จที่สูงขึ้นๆ คือ "ฌาน"..---->>อภิญญา ๕ ...โลกียอภิญญา..
..ฯลฯ..
...วิปัสสนาภาวนา..ปัญญาภาวนา..วิปัสสนา..ปัญญา..คือการฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามความเป็นจริง ผลสำเร็จที่สูงขึ้นคือ "ญาน"..----> อาสวักขยญาณ..โลกุตตรอภิญญา..
..ฯลฯ..



******************
ภาวนา (คลิก)
สมถะ สมาธิ ฌาน (คลิก)
.....................

ภาวนา ๒



ภาวนา: การเจริญ,การทำให้เกิดขึ้นให้มีขึ้น,การฝึกอบรมจิต
ภาวนา ๒
    ๑.สมถภาวนา คือการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ,การฝึกสมาธิ
    ๒.วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง,การเจริญปัญญา
    สองอย่างนี้ บางทีเรียกว่า "กรรมฐาน" หมายถึง อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งงานเจริญภาวนา ที่ตั้งแห่งงานทำความเพียรฝึกอบรมจิต วิธีอบรมจิต
(จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ ป. อ.ปยุตฺโต)



****************

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สมถะ..สมาธิ..ฌาน..

..ฯลฯ..
     ฌาน : การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่
     ฌาน ๔ = รูปฌาน ๔
     ๑.ปฐมฌาน :ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข       เอกัคคัตตา
     ๒.ทุติยฌาน :ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปิติ สุข เอกัคคัตตา
     ๓.ตติยฌาน :ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคัตตา
     ๔.จตุตถฌาน :ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคัตตา
..ฯลฯ..
(จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ ป. อ.ปยุตฺโต)   



**************
นิวรณ์ (คลิก)
........

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ความไม่ประมาท


ฯลฯ
อัปมาเทน สัมปาเทถ
จงอย่าประมาท
ฯลฯ
อย่าประมาทคือ อย่าขาดสติ
อย่าลืมอนุสติ ๑๐
อย่าลืมสติปัฏฐาน ๔
ความไม่ประมาทมีอยู่ ๖ ประการ
ไม่ประมาทในพระพุทธ
ไม่ประมาทในพระธรรม
ไม่ประมาทในพระสงฆ์
ไม่ประมาทในการศึกษา
ไม่ประมาทในภัยแม้แต่น้อย
ไม่ประมาทในปฏิสันถาร
ฯลฯ
พระเจ้าอโศกมหาราช
หันมานับถือพระพุทธศาสนา
ก็ด้วยคาถาว่า
อัปปะมาโท อะมะตัง ปะทัง
ความไม่ประมาท เป็นหนทางแห่งความไม่ตาย
ที่สามเณรนิโครธเทศน์โปรด
พระองค์ได้สติได้สัมปชัญญะ
เลิกทำการฆ่าคนอื่น
หันมาทำกุศล ทาน ศีล ภาวนา อ้นยิ่งใหญ่
ฯลฯ
พระมหาประนอม ธัมมาลังการโร



(บางส่วนบางตอนจาก ธรรมะบรรยาย บาลีเรียนง่าย ของพระมหาประนอม ธัมมาลังการโร วัดจากแดง)

***************

วิปลาส (คลิก)

อนุสติ (คลิก)

*********

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เจตนาเป็นตัวศีล..


******

ศีลอยู่ที่ไหน มีตัวตนอย่างไร..ใครเป็นผู้รักษา
ก็รู้แล้วว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนั้น
เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ
ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียน
ไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหา หลงขอ
คนที่หา  คนที่ขอ ต้องเป็นทุกข์
อดอยากยากเข็ญ
*****
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บันได ๕ ขั้น


ฯลฯ
บันได ๕ ขั้น ก้าวสู่พระนิพพาน 
บันไดขั้นที่ ๑ ไตรสรคมน์
บันไดขั้นที่ ๒ ศีล
บันไดขั้นที่ ๓ ธุดงค์
บันไดขั้นที่ ๔ สมถะ
บันไดขั้นที่ ๕ วิปัสสนา
****
ฯลฯ
****
พระมหาประนอม ธัมมาลังการโร



สิกขา (คลิก)


วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สิกขา


ทำไมการศึกษาในพระพุทธศาสนา
จึงใช้คำว่า "สิกขา"
ศีลสิกขา
สมาธิสิกขา
ปัญญาสิกขา
****
เพราะ ..ต้องการพัฒนา
สุตมยปัญญา
จินตามยปัญญา
ภาวนามยปัญญา
****
คำว่า "สิกขา" แปลว่า
เรียนรู้ให้เข้าใจ
ทรงจำให้ได้
ลงมือปฏิบัติให้ถูก
แล้วบอกกล่าวสั่งสอน
****
ฯลฯ

****
พระมหาสมปอง ธัมมาลังกาโร
วัดจากแดง




บันได ๕ ขั้น (คลิก)


วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เสน่หา..


ถาม: ถ้าพุทธศาสนาสนับสนุนให้มีความรักต่อพระแม่ธรณีแล้ว  
เหตุใดจึงไม่สนับสนุนความรักหนุ่มสาวของคนสองคน  
ทำไมจึงอธิบายว่าเป็นความเสน่หาของคนสองคน

ตอบ: เป็นคำถามที่น่าสนใจ

พระพุทธเจ้าเป็นครูของความรัก -- รักที่แท้
ความรักที่มีให้กับพระแม่ธรณีน่าจะเป็นรักแท้ และเมื่อเป็นความรักแท้ รักนั้นจะนำความสุขมาสู่ตัวเธอและพระแม่ธรณีอย่างมากมาย ความรักแบบหนุ่มสาว (romantic love) หากว่าเป็นรักแท้ก็จะนำความสุขมาให้อย่างมากมายเช่นเดียวกัน แต่ถ้าไม่ใช่ นั่นย่อมจะนำความทุกข์มาสู่ตัวเธอและผู้อื่นอย่างแน่นอน
    ในคำสอนของพระพุทธเจ้า รักแท้ ต้องการองค์ประกอบ 4 ประการ
    ประการแรกคือ ไมตรี หรือ ความรัก ความเมตตา คือความสามารถที่จะมอบความสุข ถ้าเธอไม่สามารถที่จะมอบความสุข นั่นไม่ใช่รักแท้ ในความรักแบบหนุ่มสาว ถ้าเธอไม่สามารถทำให้อีกฝ่ายมีความสุข นั่นไม่ใช่รักแท้ เธอจึงต้องฝึกฝนตัวเธอที่จะมีความสุขและมอบความสุขให้กับเขาหรือเธอคนนั้น หากไม่มีสิ่งนี้ เธอทั้งคู่จะเป็นทุกข์
    ประการที่สองคือ กรุณา คือพลังงานที่จะขจัดความทุกข์ แปรเปลี่ยนความทุกข์ที่มีอยู่ในตัวเธอและในอีกคน หากเธอไม่สามารถแปรเปลี่ยนทุกข์นั้น ไม่มีความสามารถที่จะดูแลความทุกข์ที่มีอยู่ในตัวเธอและในคนที่เธอรัก นั่นไม่ใช่รักแท้ นั่นหมายความว่า กรุณา จะต้องถูกบ่มเพาะด้วยตัวเธอเองและอีกฝ่ายหนึ่งโรแมนติก หรือ ไม่โรแมนติก อาจจะไม่สำคัญ ความสำคัญอยู่ที่ว่านั่นเป็นรักแท้ หรือไม่ใช่รักแท้ --ใช่ไหม ?
     ประการที่สามคือ ความเบิกบาน ถ้ารักนั้นทำให้ฝ่ายหนึ่งร้องไห้ตลอดเวลา หรือทำให้ตัวเธอต้องร้องไห้ตลอดเวลา นั่นไม่ใช่รักแท้ แล้วนั่นโรแมนติกหรือเปล่า ?
     รักแท้คือการโอบรับทุกสิ่งทุกอย่าง เธอไม่ผลักไส ความทุกข์ของเขาคือความทุกข์ของเธอ ความสุขของเขาก็คือความสุขของเธอด้วย ไม่ใช่ความสุข-ความทุกข์ของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ในรักแท้มีองค์ประกอบของ การโอบรับทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีการแบ่งแยก ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ไม่มีพรมแดนระหว่างเธอกับเขา
     บางทีเธออาจจะกล่าวว่า นั่นมันปัญหาของคุณ” --ไม่ใช่ ปัญหาของคุณคือปัญหาของฉัน ความทุกข์ของฉันคือความทุกข์ของเขาด้วย นี่คือรักแท้ นี่คือองค์ประกอบประการที่ 4 ของรักแท้
     หากความรักแบบหนุ่มสาว (ความรักโรแมนติก) มีคุณสมบัติทั้ง 4 ประการนี้ ก็จะนำความสุขมาให้เธอ พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสถึงด้านลบของรักแท้เลย
       ความรักแบบหนุ่มสาวนั้น หากว่าเธอสามารถบ่มเพาะความรัก ความเมตตา ความกรุณา ให้เพิ่มพูน ในไม่ช้าความรักของเธอก็จะโอบกอดทุกๆ คน เธอจะไม่จำกัดเฉพาะคนรักของเธอเท่านั้น เพราะความรักของเธอเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ความรักของเธอจะโอบอุ้มพวกเราทุกคน แล้วความสุขก็จะแผ่ขยายจนไม่อาจประมาณ นี่คือความรักของพระพุทธเจ้า นี่คือความหมายขององค์ประกอบที่ 4 ของรักแท้ การโอบรับทุกสิ่งทุกอย่างถ้าเป็นรักแท้ มันจะเติบโต แผ่ขยาย กว้างขึ้น กว้างขึ้น และโอบรับสรรพสิ่ง ไม่จำเพาะสำหรับมนุษย์เท่านั้น แต่รวมถึงสรรพสัตว์ พืชพรรณ และแร่ธาตุด้วย ซึ่งจะสร้างสรรค์สิ่งที่เรียกว่า มหากรุณา มหาไมตรี นี่คือความรักของพระพุทธเจ้า





Via:  Facebook  Thai Plum Village