วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

นิวรณ์


*****
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า...
นฺตถิ ฌาน อปญฺญสฺส   ปฺญญา  นฺตถิ  อฌายโต
ยฺมหิ  ฌานญฺจ ปฺญญา จ  สเว นิพฺพานสฺตติเก
ฌาน ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มี ปัญญา
ปัญญา ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มี ฌาน
ฌาน และ ปัญญา มีอยู่ในผู้ใด
ผู้นั้นแล ตั้งอยู่ในที่ใกล้พระนิพพาน
           (๒๕/๓๕)
  ฌาน มี ๒ ความหมาย คือ ๑)เพ่งอารมณ์ ๒)เครื่องเผาธรรมที่เป็นปฏิปักษ์
  ฌาน มี ๒ อย่าง            คือ ๑) อารัมมนูปนิชฌาน การเพ่งอารณ์อย่างมั่นคง
                                               ๒) ลักขณูปนิชฌาน  การเพ่งสภาวะลักษณะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา -ของอารมณ์ 
  องค์ฌาน มี  ๕  ได้แก่  วิตก  วิจาร  ปิติ  สุข  เอกัคคตา
  ธรรมที่เป็นปฏิปักษฺของฌาน ได้แก่ นิวรณ์ คือ เครื่องกั้นความดี หมายถึง ขัดขวางไม่ให้เข้าถึงฌานได้
   นิวรณ์ ๕ ได้แก่ 
๑.กามฉันทะ ความยินดีติดใจในกามคุณ ๕  เปรียบเหมือน คนติดหนี้  เผาด้วยองค์ฌาน คือ เอกัคคตา
๒.พยาบาท ความผูกโกรธ ปองร้าย เปรียบเหมือน คนเป็นโรคประสับกระส่าย เผาด้วยองค์ฌาน คือ ปิติ
๓.ถีนะมิทะ ความหดหู่ท้อถอยจากอารมณ์ เปรียบเหมือน คนติดคุก เผาด้วยองค์ฌาน คือ วิตก
๔.อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ เปรียบเหมือน ทาสรับใช้ เผาด้วยองค์ฌาน คือ สุข        
๕.วิจิกิจฉา ความลังเลเคลือบแคลงสงสัย เปรียบเหมือน คนเป็นอยู่ในทางไกลกันดาร เผาด้วยองค์ฌาน คือ วิจาร        
          พระพุทธเจ้าตรัสว่า  นิวรณ์ เป็นกองอกุศล เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต ทำให้จิตใจเร่าร้อนเบียดเบียนอยู่  นิวรณ์ เมื่อครอบคองผู้ใดแล้ว ย่อมบั่นทอนปัญญา ไม่ให้รู้จักประโยชน์ตน ประโยชน์ของผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และไม่สามารถทำให้เกิดญาณทัสสนะอันวิเศษที่กระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ (รวบรวมจากพระสูตรและอรรถกถา เช่น อาวรณสูตร และราสิสูตร อังคุตตนิกาย ปัญจกนิบาต)     
         * ใน อวิชชาสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
       อาหาร ของ อวิชชา  คือ  นิวรณ์ ๕  และ 
       อาหาร ของ นิวรณ์ ๕ คือ ทุจริต ๓ (กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ มโนทุจริต ๓)
       ละนิวรณ์ ๕ ได้ เข้าฌานได้ หรืออาจเป็นปัจจัยให้บรรลุนิพพานได้
         * ส่วนใน อวิชชาสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า...เมื่อพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ละได้แล้ว..ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิด ปีติ  เมื่อมีปีติ ย่อมเกิดปัสสัทธิ(กายสงบ) เมื่อเกิดปัสสัทธิ ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น  เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน...ฯลฯ
         * ส่วนใน กิมัตถิยสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระพุทธเจ้าตรัสว่า..
         สุข  มี สมาธิ  เป็นผล  เป็นอานิสงส์...
         สมาธิ มี ยถาภูตญาณทัสสนะ(การรู้เห็นตามจริง) เป็นผล เป็น อานิสงส์...
         ยถาภูตญาณทัสสนะ  มี นิพพิทา(ความเบื่อหน่าย)  วิราคะ(จางคลายจากความติดใจ)เป็นผล เป็นอานิสงส์..
         นิพพิทาวิราคะ  มี วิมุตติญาณทัสสนะ (มีความรู้ความเห็นในการหลุดพ้น) เป็นผล เป็นอานิสงส์
            (จาก หนังสือ " เทคนิคเพิ่มสุข " โดย ภิกษุณี รุ้งเดือน นันทญาณี อารามภิกษุณี นิโรธาราม)


*******
ตะปูตอกใจ (คลิก)

***********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น