..ไปกันต่อครับ..จากวัดกัลยาณมิตร เราเดินออกมาที่หน้าวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีทางเดินซึ่งสามารถใช้จักรยานได้ไปตลอดริมฝั่งเจ้าพระยาจนถึงสะพานพุทธ ฯ ประมาณ ๕๐ เมตร ก็จะถึงศาลเจ้าแม่กวนอิม...
ซึ่งมีความเป็นมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สอง ชาวจีนพระนครศรีอยุธยาได้ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาที่กรุงธนบุรีด้วยและได้รับพระราชทานที่ดินตรงนี้เป็นที่อยู่ชาวจีนคงจะสร้างศาลเจ้าขึ้นจึงเรียกว่า บ้านกุฏีจีน พอรัชกาลที่ ๑ ย้ายไปฝั่งกรุงเทพ ชาวจีนก็ย้ายไปฝั่งกรุงเทพด้วย ศาลเจ้านี้จึงถูกปล่อยทิ้งร้าง จนถึงรัชกาลที่ ๓ พ.ศ.๒๓๖๘ ชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสกุล ตันติเวชกุล และสกุล สิมะเสถียร เดินจึงได้ทางมากราบไหว้บูรณะสร้างศาลขึ้นใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน..ถ้าท่านไปไหว้ศาลก็จะอ่านรายละเอียดความเป็นมามากกว่านี้ครับ..(ภายในศาลห้ามถ่ายภาพครับ)
หลังจากเข้าไปสักการะศาลเจ้าแม่กวนอิมแล้ว เดินไปไม่ไกลก็จะถึงวัดซางตาครู้ส หรือ วัดกุฏีจีน เป็นวัดคาทอลิคของชาวโปรตุเกสที่ช่วยพระเจ้าตากสินในต่อสู้กับพม่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ พอพระองค์มาตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีที่พระราชวังเดิม ก็โปรดเกล้าฯให้สร้างโบสถ์ ในวันที่ ๑๔ กันยายน ซึ่งตรงกับวันเทิดทูนมหากางเขน(ซางตาครู้ส หมายถึง ไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์)โบสถ์ไม้หลังแรก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๓ หลังนี้เป็นหลังที่ ๓ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ.๒๔๕๙ โดยช่างจากอิตาลี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม..
ซึ่งมีความเป็นมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สอง ชาวจีนพระนครศรีอยุธยาได้ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาที่กรุงธนบุรีด้วยและได้รับพระราชทานที่ดินตรงนี้เป็นที่อยู่ชาวจีนคงจะสร้างศาลเจ้าขึ้นจึงเรียกว่า บ้านกุฏีจีน พอรัชกาลที่ ๑ ย้ายไปฝั่งกรุงเทพ ชาวจีนก็ย้ายไปฝั่งกรุงเทพด้วย ศาลเจ้านี้จึงถูกปล่อยทิ้งร้าง จนถึงรัชกาลที่ ๓ พ.ศ.๒๓๖๘ ชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสกุล ตันติเวชกุล และสกุล สิมะเสถียร เดินจึงได้ทางมากราบไหว้บูรณะสร้างศาลขึ้นใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน..ถ้าท่านไปไหว้ศาลก็จะอ่านรายละเอียดความเป็นมามากกว่านี้ครับ..(ภายในศาลห้ามถ่ายภาพครับ)
หลังจากเข้าไปสักการะศาลเจ้าแม่กวนอิมแล้ว เดินไปไม่ไกลก็จะถึงวัดซางตาครู้ส หรือ วัดกุฏีจีน เป็นวัดคาทอลิคของชาวโปรตุเกสที่ช่วยพระเจ้าตากสินในต่อสู้กับพม่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ พอพระองค์มาตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีที่พระราชวังเดิม ก็โปรดเกล้าฯให้สร้างโบสถ์ ในวันที่ ๑๔ กันยายน ซึ่งตรงกับวันเทิดทูนมหากางเขน(ซางตาครู้ส หมายถึง ไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์)โบสถ์ไม้หลังแรก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๓ หลังนี้เป็นหลังที่ ๓ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ.๒๔๕๙ โดยช่างจากอิตาลี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม..
มาถึงวัดกุฏีจีน หากไม่ได้กิน ขนมฝรั่งกุฏีจีน ของชุมชนนี้ก็คงจะขาดอะไรไปอย่างหนึ่งนะครับ ว่ากันว่ายังคงเป็นขนมสูตรดั้งเดิมเมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว ปัจจุบันนี้เจ้าเก่ารุ่นที่ ๕ แล้ว..เลือกทานได้เลยมีอยู่ทั่วไปในชุมชนใกล้ ๆ โบสถ์ครับ...
ขออนุญาตนั่งพัก"ชิม"ขนมฝรั่งกุฏีจีนที่ศาลาหน้าวัด พร้อมกับฟังเสียงคลื่นกระทบกับเขื่อนคอนกรีต....เดี๋ยวจะไปต่อไหว้พระที่"วัดรั้วเหล็ก"....ครับ
วัดประยุรวงศาวาส อยู่ใกล้กับสะพานพุทธ ฯ มองเห็นเจดีย์สีขาวเด่น วัดนี้สร้างในรัชกาลที่ ๓ โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ได้อุทิศสวนกาแฟสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๑ เป็นวัดแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่สร้างเจดีย์ทรงลังกา พระวิหารประดิษฐานพระพุทธนาคน้อย หรือ หลวงพ่อนาค ซึ่งเรียกกันในหมู่ชาวจีนว่า ลักน้อย หรือ กลีบบัวหกชั้น เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณคู่กันกับพระศรีศากยมุนี ที่วัดสุทัศน์ ฯ ซึ่งอัญเชิญมาจากสุโขทัย
หลังจากไหว้พระประธานในโบสถ์ และหลวงพ่อนาคในวิหารแล้ว ก็ต้องไปลอดเจดีย์ ก่อนจะลอดก็เข้าชมพิพิธภัณฑ์เจดีย์เพื่อทราบความเป็นมา...
หลังจากไหว้พระประธานในโบสถ์ และหลวงพ่อนาคในวิหารแล้ว ก็ต้องไปลอดเจดีย์ ก่อนจะลอดก็เข้าชมพิพิธภัณฑ์เจดีย์เพื่อทราบความเป็นมา...
.....ลอดเจดีย์....
...ความเป็นมาของ"รั้วเหล็ก" ...
รั้วเหล็กนี้เดิมสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ สั่งเข้ามาจากประเทศอังกฤษ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๓ เพื่อใช้เป็นกำแพงภายในพระบรมมหาราชวัง แต่รัชกาลที่ ๓ ไม่ทรงโปรด ท่านสมเด็จเจ้าพระยา ฯ จึงขอพระราชทานมาใช้เป็นกำแพงวัด โดยใช้น้ำตาลทรายแลกเอา น้ำหนักต่อน้ำหนัก คือเหล็กมีน้ำหนักเท่าไรก็ใช้น้ำตาลทรายหนักเท่ากันมาแลก....
จุดสุดท้ายที่จะชมคือ เขามอ วัดประยูรวงศ์ ฯ
จุดสุดท้ายที่จะชมคือ เขามอ วัดประยูรวงศ์ ฯ
เขามอ เป็นภูเขาจำลองขนาดใหญ่ตั้งอยู่การสระน้ำ มียอดเขาลดหลั่นกันไป ท่านสมเด็จเจ้าพระยา ฯได้แนวความคิดจากหยดเทียนที่เกิดจากน้ำตาเทียนขี้ผึ้งของรัชกาลที่ ๓ เมื่อประทับอยู่ในห้องสรง ภายในพระที่นั่งพระจักรพรรดิพิมาน เมื่อน้ำตาหยดทับถมกันเป็นเวลาหลายปีก็ก่อเป็นรูปมีลักษณะคล้ายภูเขา
เขามอ นี้สมเด็จเจ้าพระยา ฯ ผู้สร้างวัดประยุรวงศ ฯ ได้น้อมนำพระราชนิยมของรัชกาลที่ ๓ เรื่องการสร้างเขามอให้เป็นรมณียสถานในพระอารามมาปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เข้ามาในวัดสัมผัสธรรมชาติพร้อมกับเข้าวัดฟังธรรม ทำบุญ มีความสุขสงบร่มเย็น....
พระพุทธฉาย
มณฑปประดิษฐาน พระแขก
มณฑปประดิษฐาน พระแขก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น