วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ฉันจะจากไปอย่างสง่างาม
.
Cr: วินทร์ เลียววาริณ
ในวันที่ 17 เมษายน 1955 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาล หมอพบว่าหลอดเลือดเอออร์ตาส่วนท้องปริแตก ทำให้เลือดไหลในช่องท้อง เขาต้องได้รับการผ่าตัดด่วน แต่เขาบอกหมอว่าเขาไม่ปรารถนาจะรับการผ่าตัดใด ๆ
เขากล่าวว่า “ฉันต้องการจากไปเมื่อฉันต้องการ มันไร้รสชาติที่ต่ออายุอย่างผิดธรรมชาติ ฉันทำงานของฉันจบแล้ว ถึงเวลาไปแล้ว ฉันจะจากไปอย่างสง่างาม”
แล้วไอน์สไตน์ก็จากโลกไปในวันรุ่งขึ้น วัยเจ็ดสิบหก ง่าย ๆ เช่นนั้น
เป็นเรื่องอัตโนมัติอย่างยิ่งสำหรับหมอและญาติคนไข้ที่จะยืดชีวิตคนไข้ให้อยู่ในโลกนานที่สุด โดยความคิดว่าการมีชีวิตยืนยาวที่สุดเป็นเรื่องดี ต่อให้รู้อยู่แก่ใจว่าการอยู่ในโลกนานกว่ากำหนดโดยมีสายช่วยชีวิตระโยงระยาง เป็นความทุกข์ที่เราสร้างขึ้นเอง กระนั้นก็ยังทำทุกวิถีทางเพื่อต่อชีวิตให้ยาวที่สุด
คนไข้จำนวนมากในโลกมีชีวิตอยู่ในสภาพตายไปครึ่งตัว บางคนอยู่ในสภาวะโคม่านาน 10-20 ปี บางคนสมองตาย แต่ยังหายใจอยู่ เพราะญาติไม่ยอมให้ถอดเครื่องช่วยชีวิต เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะค่านิยมและความเชื่อว่า “ชีวิตเป็นของมีค่า”
ไอน์สไตน์กลับมองว่า ‘ความมีค่า’ กับ ‘ความยาว’ ของชีวิต ไม่ได้อยู่ในสมการเดียวกัน
เขารู้ว่าความยาวของเวลาเป็นเพียงมายา เพราะเวลาเป็นเพียงค่าสัมพัทธ์
ไอน์สไตน์สมแล้วที่เป็นคนฉลาดที่สุดคนหนึ่งในโลก มิเพียงจะเข้าใจหลักฟิสิกส์อย่างดีเยี่ยม หากยังสามารถใช้หลักฟิสิกส์ในชีวิตจริง! เข้าใจสมการชีวิตอย่างลึกซึ้ง และเขาก็ใช้ชีวิตเช่นแนวคิดเรื่องสัมพัทธภาพของเขา!
ชีวิตก็คือสัมพัทธภาพ ความยาว-สั้นของเวลาชีวิตเป็นเพียงมายา จะอยู่ในโลกนานขึ้นอีกห้าปี สิบปี อาจไม่แตกต่างอะไร หากเวลาที่เรามีนั้นไร้คุณภาพหรือไร้ความหมาย ดังนั้นถ้าหลงคิดว่าตัวเลขอายุมาก ๆ คือดี ก็อาจหลงทาง มองคุณค่าของชีวิตผิดเพี้ยนไป
ลองถามตัวเองว่าหากมีชีวิตยาวขึ้นอีกวันสองวัน ร้อยวัน สร้างความแตกต่างอะไรหรือไม่ หากไม่แตกต่าง จำนวนวันบนโลกก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เร็วหรือช้าไม่มีผลอะไรต่อโลกอีกแล้ว
บางทีความยาวของชีวิตอาจไม่สำคัญเท่าว่าช่วงชีวิตที่มีลมหายใจ เจ้าของชีวิตทำอะไร ใช้ชีวิตอย่างไร ที่ทำให้การมีชีวิตอยู่บนโลกของเขานั้นดีกว่าการไม่มี
เมื่อเข้าใจสัมพัทธภาพแห่งชีวิต เราก็จะเข้าใจมายาอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และเมื่อนั้นเราก็อาจสามารถกำหนดชีวิตของเราได้เอง
เมื่อพบทุกข์ ก็สามารถพิจารณาว่ามันเป็นเพียงระดับความรู้สึกที่เราสร้างขึ้นมาด้วยความเคยชินหรือด้วยประสบการณ์เก่า เมื่อเข้าใจเราก็อาจสามารถลดมาตรวัดความทุกข์ลง ทำให้รู้สึกแย่น้อยลงทั้งที่เป็น ‘ทุกข์’ อันเดิม
ดังนั้นเวลาสุขอย่าลืมตอนทุกข์ เวลาทุกข์อย่าลืมตอนสุข เวลาเศร้าอย่าลืมตอนหัวเราะ เวลาหัวเราะอย่าลืมตอนเศร้า เวลาซึมอย่าลืมตอนสดชื่น เวลาเหงาอย่าลืมตอนมีเพื่อน ฯลฯ
เพราะทุกอารมณ์เป็นเรื่องเดียวกัน ต่างที่ว่าจะไปจับตรงช่วงไหนของเรื่องนั้น
ย่อความจาก "ความสุขเล็ก ๆ ก็คือความสุข"
*****
จาก Fwd.line
อย่าโต้เถียงกับลา
“อย่าโต้เถียงกับลา”
เมื่อเปลี่ยนความคิดผู้อื่นไม่ได้จงปล่อยวางที่ใจตน
………………………………………………………………..
ลาพูดกับเสือ:
- "หญ้าเป็นสีฟ้า".
เสือตอบว่า:
- "ไม่ หญ้าเป็นสีเขียว"
การโต้แย้งเริ่มรุนแรงขึ้น และทั้งสองก็ตัดสินใจนำเรื่องไปสู่การตัดสินชี้ขาด และด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไปต่อหน้าสิงโต ราชาแห่งป่า
ไม่ทันถึงที่โล่งของป่าที่สิงโตนั้นนั่งอยู่บนบัลลังก์ลาก็เริ่มตะโกนว่า
- "ฝ่าบาท หญ้าเป็นสีฟ้าจริงหรือ"
สิงโตตอบว่า:
- "จริงสิ หญ้าเป็นสีฟ้า"
ลารีบพูดต่อไปว่า
- "เสือไม่เห็นด้วยกับฉัน เขาโต้แย้งและทำให้ฉันรำคาญ โปรดลงโทษเขาด้วย"
ผู้เป็นราชาจึงประกาศว่า
- "เสือจะถูกลงโทษด้วยความเงียบ 5 ปี"
ลากระโดดอย่างร่าเริงและเดินต่อไปอย่างพอใจและพูดซ้ำอีกว่า
- "หญ้าเป็นสีฟ้า"...
เสือยอมรับการลงโทษ แต่เขาก็ได้ไต่ถามสิงโต
“ฝ่าบาท ทรงลงโทษข้าทำไมเล่า หญ้าก็เขียวขจี”
สิงโตตอบว่า:
- "อันที่จริงหญ้าเป็นสีเขียว"
เสือถามว่า:
- "แล้วท่านลงโทษข้าทำไม"
สิงโตตอบว่า:
- "นั่นไม่เกี่ยวอะไรกับคำถามที่ว่าหญ้าเป็นสีฟ้าหรือเขียว
การลงโทษนั่น ก็เพราะว่าเป็นไปไม่ได้ที่สัตว์ที่กล้าหาญและฉลาดอย่างเจ้าจะเสียเวลาไปโต้เถียงกับลา และยิ่งไปกว่านั้น ยังมารบกวนข้าด้วยคำถามนั้น”
การเสียเวลาที่เลวร้ายที่สุดคือการโต้เถียงกับคนโง่และคนบ้าที่ไม่สนใจข้อเท็จจริงหรือความเป็นจริง นอกจากชัยชนะจากความเชื่อและภาพลวงตาของเขาเท่านั้น จงอย่าเสียเวลากับข้อโต้แย้งที่ไม่สมเหตุสมผล...
มีคนที่ไม่ว่าหลักฐานที่เรานำเสนอต่อพวกเขาจะมากเพียงใด ก็ไม่อยู่ในความสามารถที่พวกเขาจะเข้าใจได้ และคนเหล่านั้นถูกบังตาด้วยอัตตา (ego) ความเกลียดชัง และความขุ่นเคือง และสิ่งที่พวกเขาต้องการก็คือเป็นคนถูก แม้ว่าพวกเขาจะไม่เป็นเช่นนั้นก็ตาม
………………………………………………………………..
#เมื่อเปลี่ยนความคิดผู้อื่นไม่ได้จงปล่อยวางที่ใจตน
#เพื่อนอัษฎางค์ แนะนำมา
https://youtu.be/dtkMBJ991EU
สมัยแรกๆ ผมเองก็เคยมีอารมณ์หงุดหงิดบ้าง เสียใจบ้าง เถียงบ้าง แต่หลังๆ มา ผมไม่สนใจแล้ว เพราะคิดได้ว่าเรามีหน้าที่ให้ข้อเท็จจริงเท่านั้น ก็ทำหน้าที่ไป บัวยังมี 4 เหล่า คนที่พร้อมจะเข้าใจจะเข้าใจไปเอง
*****
Cr.https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0D7P1Qv8i73knwpKJVFsp5pEZhjdwStjxN6HceR5aZsi7q8dAkbifYFnwfJ2LDWhql&id=100070260068883&mibextid=Nif5oz
**************
วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
เจรจาชอบ
ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่
.............................
พูดชอบ … กับชอบพูด
… เหมือนกันไหม?
ถ้าไม่พูด จะถือว่าพูดชอบได้ไหม?
ไม่เปิดปาก อยู่เฉย ๆ จะเป็นการพูดชอบได้ไหม?
ทำไมเป็นพูดชอบได้ ก็ยังไม่ได้พูดเลย
สัมมาวาจา องค์ธรรมคือตัวสัมมาวาจาเจตสิก
เป็นธรรมชาติที่ทำให้เว้นจากวจีทุจริต ๔
ถ้ามีเจตสิกตัวนี้ประกอบกับจิตทำให้เว้น
เว้นการพูดเท็จ เว้นพูดส่อเสียด เว้นพูดหยาบคาย เว้นพูดเพ้อเจ้อ
ถ้าเปล่งออกมา ก็เปล่งวาจาที่พูดความจริง
ไม่ส่อเสียด
พูดสมานสามัคคี พูดให้เขาดีกัน
พูดคำไพเราะอ่อนหวาน พูดอิงอรรถอิงธรรม
ไม่เหลวไหล ไม่เพ้อเจ้อ
ถ้าไม่พูด เว้นได้ไหม?
นิ่งอยู่ ก็ยังเว้นได้
ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมที่บรรลุธรรม เขาก็นั่งอยู่เฉย ๆ เขาก็มีองค์มรรค
ไม่ได้พูดกับใคร อยู่คนเดียว … ก็มีสัมมาวาจาได้
สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ
การงานที่เว้นจากกายทุจริต ๓
เว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม
ถ้าเป็นสัมมาอาชีวะ
ก็ต้องเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔
เป็นสัมมาอาชีวะ ประกอบอาชีพสุจริต อาชีพชอบ
กายทุจริต ๓ คือ
เว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม
เว้นวจีทุจริต ๔ คือ
เว้นพูดเท็จ เว้นพูดส่อเสียด เว้นพูดหยาบคาย เว้นพูดเพ้อเจ้อ
อันนี้เป็นสัมมาอาชีวะ
ทำการงานชอบ … กับชอบทำการงาน … เหมือนกันไหม?
ถ้าเขาชอบตกปลา ชอบล่าสัตว์
เป็นงานที่ชอบเหมือนกัน อาชีพชอบไหม?
ต้องถูกต้อง
คำว่า "ชอบ" ในที่นี้คือความถูกต้อง ไม่เบียดเบียนใคร
องค์ต่อไปคือ สัมมาวายามะ เพียรชอบ
เพียรชอบต้องเพียรที่ถูกต้อง
เพียรไปลักไปขโมยเขา เพียรเหมือนกัน แต่มันเพียรผิด
ต้องเป็นความเพียรที่เกี่ยวกับการละบาป ระวังไม่ให้บาปใหม่เกิด
เพียรให้กุศลเกิด เพียรรักษากุศลให้เจริญ
ขณะที่เพียรภาวนาอยู่ จิตเป็นกุศล
ณ ขณะที่กุศลเกิด อกุศลมันจะตกไป
มันแย่งกันอยู่
ในขณะปัจจุบันถ้าจิตเป็นกุศล อกุศลก็จะไม่เกิด
ถ้าเพียรรักษากุศลให้เกิดต่อเนื่อง ๆ อกุศลมันก็เกิดไม่ได้
เท่ากับละบาป เท่ากับระวังไม่ให้บาปใหม่เกิดในตัว
เจริญให้มีสติ ทำอย่างเดียวก็ได้หลักทั้ง ๔ อย่าง
เจริญสติเท่ากับจิตเป็นกุศล
มีสติอยู่เนือง ๆ จิตก็เป็นกุศลอยู่เนือง ๆ
ฉะนั้นเวลามีสติในการเดินจงกรม ในการนั่งภาวนา
จิตเป็นกุศล เดินการกุศล
ก่อให้กุศลต่อเนื่อง ก็ระวังไม่ให้บาปใหม่เกิด
หรือขณะเผลอไป
บาปมันเกิดขึ้นแล้ว ความโลภ โกรธ หลง เกิด
มีสติระลึกรู้ วางเฉย ก็ละมันไปได้
มันเกิดขึ้นมาอีก รู้ทัน รู้ทันอย่างวางเฉยก็ละออกไป
ความโกรธเป็นทุกข์ไหมเล่า
กำหนดดูความโกรธเท่ากับกำหนดรู้ความทุกข์
กำหนดรู้ความทุกข์อย่างไรจึงจะถูกต้อง?
ถ้ากำหนดไม่ถูก ตัณหากำเริบ
เช่น เวลาโกรธ เวลาฟุ้ง คือทุกข์เกิด
ฟุ้งเป็นทุกข์ โกรธเป็นทุกข์
อยากหายฟุ้ง เกลียดฟุ้ง
ไม่ชอบโกรธ อยากจะทำลายความโกรธ
ตัณหาเกิดอีก ตัณหากำเริบ
.............................
ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
อย่าไปเสียเวลา.....
ธรรมะกับก้อนหิน...
Cr.Fwd.line
ก้อนหินบนยอดเขาแหลมคมและขรุขระ เพราะไม่มีใครแตะต้อง
ก้อนหินในลำธารกลมเกลี้ยงงดงามเพราะสายน้ำพัดพาให้ก้อนหินเสียดสีกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า
การอยู่ร่วมกับคนอื่นอาจไม่สงบเท่าการอยู่ตามลำพัง แต่จะช่วยขัดเกลาเหลี่ยมคมในใจเรา
อย่ารังเกียจความรู้สึกอึดอัดเวลาอยู่ร่วมกับคนอื่น
หากเรามีปัญญา จะสามารถอาศัยแรงเสียดทานนี้ชำระความหลงในตนเองได้ ทำให้จิตเกลี้ยงจากกิเลส ดั่งก้อนหินในลำธารที่กลมเกลี้ยงและงดงาม
🙏พระอาจารย์ชยสาโร
วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ถ้าได้โอกาสอีกครั้งคุณจะทำอะไร
สำหรับคุณ"ความกตัญญู"มีค่าเท่ากับอะไร
วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
4 Powerful Buddha quotes
สัพพัง ปะระวะสัง ทุกขัง ตกอยู่ในอำนาจผู้อื่นเป็นทุกข์ทั้งสิ้น