วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566

อาหารย่อยง่ายทำให้กายใจควรแก่งาน ?

 


จากทุติยอนายุสสาสูตร

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ๕ ประการ

เป็นเหตุให้อายุยืน 

๑.ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ

๒.รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ

๓.บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย

๔.รักษาศีล

๕.มีกัลยาณมิตร

นอกจากการมีอายุยืนแล้ว

ยังทำให้มีการจิตที่ควรแก่งานอีกด้วย

เพราะเป็นเรื่องของสัปปายะ

และเหตุที่ทำให้เกิดสัปปายะ คือ ศีล

และมีกัลยาณมิตร

การบริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย

จึงเป็นเหตุปัจจัยโดยตรงที่ทำให้เรามี

สุขภาพดีมีการใจที่เบาอ่อนควรแก่งาน

🍉🍊🍋🍌🍍

ลองสำรวจตัวเราเองว่าเราชอบแบบไหน

๑.ชอบทานเนื้อสัตว์ที่มันเค็มเผ็ดร้อน

๒.ชอบอาหารภัตตาคารผัดทอดพิศดาร

๓.ชอบบะหมี่สำเร็จรูปของกรอบเค็ม

๔.ชอบขนมหวาน ครีมข้น นม เนย

๕.ชอบหมักดอง ตากแห้งแช่อิ่ม

๖.ชอบข้าวขาว ขนมปัง ขนมเส้น

๗.ชอบข้าวกล้อง ธัญพืช ถั่วหลากชนิด

๘.ชอบทานผักสด ผลไม้ต่างๆ

๙.ชอบรสจืดเป็นธรรมชาติไม่ปรุงแต่ง

๑๐.ชอบพิจารณาก่อนทานไม่ติดรสชาติ

๑๑.ชอบอดอาหารทานมื้อเดียว

๑๒.ชอบเคี้ยวไม่ถึงสิบต่อคำ

๑๓.ชอบเคี้ยวไปคุยไป

๑๔.ชอบเคี้ยวอย่างมีสติ เฉลี่ย ๓๖ ครั้ง

๑๕.ชอบดื่มสุราไม่เมาไม่เลิก

๑๖.ชอบจิบ ไวน์ เหล้า เบียร์ ชา กาแฟ

๑๗.ชอบดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำเย็นๆ

๑๘.ชอบดื่มน้ำเปล่า ไม่รวมกับอาหาร

*******

ใครที่ชอบแบบยอดมนุษย์หรือชั้นพรหม

อย่างนี้พอจะมีกายใจควรแก่งานได้

เพราะการมีสติพิจารณาอาหาร

การเคี้ยวให้ละเอียดเป็นหัวใจหลัก

อาหารได้ผสมกับน้ำย่อยในปาก

เป็นอย่างดีทำให้ย่อยง่ายอิ่มง่าย

รับประทานน้อยแต่ดูดซึมได้ดี

ต่อมาคือ อาหารผักสดผลไม้ธัญพืช

หรือถั่วต่างๆ ที่ย่อยง่ายมีพลังชีวิต

การไม่ดื่มน้ำเย็นและไม่ดื่มน้ำมาก

เวลารับประทานอาหาร ทำให้น้ำย่อยเข้มข้น

มีอุณหภูมิพอเหมาะ

ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การอดอาหารงด มื้อเย็น ทำให้กระเพาะ

ลำไส้ได้พัก มีโอกาสทำความสะอาด

และสิ่งสำคัญคือการขับถ่ายของเสีย

จะมีประสิทธิภาพ ท้องไม่ผูก ไม่อืด


ส่วนชั้นเทพ จะเมาในรสชาติของอาหาร

มีความสุขในเวลารับประทานอาหาร

แต่จะหนักตัวง่วงนอนอึดอัดเป็นทุกข์โทษภายหลัง

การพอประมาณคัดสรรประโยชน์โทษ

การเคี้ยวให้ละเอียดและไม่ดื่มมาก

ในขณะรับประทานอาหาร พอจะช่วยให้ดีขึ้นได้

แต่ทางที่ดีเลี่ยงได้ควรเลี่ยง


ระดับอสุรกายและเดียรัจฉาน

อันตรายต่อสุขภาพกายใจมาก

ต้องพยายามหักห้ามใจหลีกเลี่ยง


ดังนั้น ถ้าปฏิบัติได้

ในระดับยอดมนุษย์กับชั้นพรหม

หรือพอประมาณคัดสรรประโยชน์

เคี้ยวให้ละเอียดในชั้นเทพ แล้วหลีกเลี่ยง

งดเว้นในระดับเดียรัจฉาน อสูรกาย

ก็พอหวังได้ว่าจะมีกายใจที่เบาสบาย

อ่อนควรแก่งานกุศลทั้งหลายได้ดี


ขอให้รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย

ทำให้กายใจเบาสบาย

ควรแก่งานกุศลทั้งหลาย เทอญ


จัดลำดับคุณภาพ

ระดับอสูรกาย   ๑,๑๒,๑๕

ระดับเดียรัจฉาน   ๓,๕,๑๓,๑๗

ชั้นเทพ   ๒,๔,๖,๑๖

ชั้นพรหม   ๗,๘,๙,๑๑,๑๘

ยอดมนุษย์   ๑๑,๑๔

............

Cr.จากหนังสือฉลาดในจิต ตอน "ผูกโบว์ใจอย่างไรให้งดงาม"

โดย พระรุจ โพธิญาณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น