วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564

อย่ารอให้พร้อม..


 

🌼ชอบจัง

อ่านกี่ครั้งก็โดนใจ..


ต้นไม้แก่ ขอฝน

จากเมฆก้อนน้อย

เมฆก้อนน้อยตอบเพียงว่า


น้ำฝนมีอยู่น้อย 

กลัวว่ามันคงจะไม่พอ

...ให้ต้นไม้แก่ได้ชื่นใจ


วันต่อมา... 

เมฆก้อนน้อยก็ยังคง

บอกเช่นเดิม มันน้อยไป  

จึงไม่พร้อมที่จะให้...!!!


เมฆก้อนน้อยจึงเดินทาง

และพยายามสะสมฝน

เพื่อที่จะให้มันมากพอ...!!! 

พอที่จะทำให้ต้นไม้แก่ได้ชื่นใจ


เมื่อมีปริมาณมากพอ

เมฆน้อยจึงกลับมา...


แต่สิ่งที่พบข้างหน้า

มีเพียงซากต้นไม้แก่

ที่ตายแล้ว...!!!


เมฆน้อยได้แต่ร้องไห้

แล้วถามว่า...ทำไม ?

ความพยายามของฉัน

ไม่มีค่าเลยเหรอ...!?!


ชายหนุ่มที่นั่งใต้ต้นไม้

จึงได้แหงนหน้า........

แล้วบอกเมฆน้อยไปว่า...


* การที่เราจะให้อะไร?

แก่ใครสักคนที่เรารัก...

มันไม่ต้องรอให้มากพอ

หรือรอความพร้อมอะไรหรอก

ให้เท่าที่มี.....ก็ทำให้คนรับ

ชื่นหัวใจได้..... 

ความพยายามเป็นสิ่งที่ดี

แต่มันก็มีเวลาเป็นเงื่อนไข !!!


อย่าไปรอให้รวย !!!

ถึงจะทำอะไรให้คนที่เรารัก

อย่าไปรอให้พร้อม !!!

ถึงจะทำอะไรให้คนที่เรารัก

เพราะคนที่เรารัก...........

อาจไม่มีเวลามากพอที่รอเรา !!! *


แล้วก่อนที่ต้นไม้แก่จะจากไป 

เขาฝากบอกเธอไว้ว่า 

ถ้าเห็นเธอผ่านมา 

ให้บอกเธอว่า..เขารักเธอ 


เมฆน้อยได้แต่หลั่งน้ำตา

ออกมาเป็นเม็ดฝนอย่าง

ไม่ขาดสาย..ให้กับต้นไม้

ที่ไม่มีวันแตกใบให้ได้เห็น

อีกต่อไป..ตลอดกาล !!!


*อ่านกี่ทีก็ชอบ..เพราะเตือนสติ

ได้ดีมาก...ในสิ่งที่เรามองข้าม....

 

บทความนี้เขียนขึ้นโดย 

จอร์จ คอลลิน ซึ่งเป็นดารา

ตลกที่โด่งดัง เขาเขียนขึ้นใน

วันที่ 11 กันยายน  2001

(ตึกเวิรด์เทรดถล่ม)หลังจาก

ที่ทราบว่าภรรยาของเขา

เสียชีวิตในตึกนั้นด้วย..!!!. 


ทำ..ในสิ่งที่อยากจะทำ !!!


ทุกวันนี้เรามีตึกสูงขึ้น แต่

ความอดกลั้นน้อยลง...!!!


เรามีบ้านใหญ่ขึ้น แต่ 

ครอบครัวเรากลับเล็กลง...!!!


เรามียาใหม่ ๆ มากขึ้น แต่

สุขภาพกลับแย่ลง...!!!


เรามีความรักน้อยลง แต่

มีความเกลียดมากขึ้น...!!!


เราไปถึงโลกพระจันทร์มาแล้ว 

แต่เรากลับพบว่า.................

แค่การข้ามถนนไปทักทาย

เพื่อนบ้านกลับยากเย็น...!!!


เราพิชิตห้วงอวกาศมาแล้ว แต่

แค่ห้วงในหัวใจกลับ

ไม่อาจสัมผัสถึง...!!!


เรามีรายได้สูงขึ้น แต่

ศีลธรรมกลับตกต่ำลง...!!!


เรามีอาหารดี ๆ มากขึ้น แต่

สุขภาพแย่ลง...!!!


ทุกวันนี้..

ทุกบ้านมีคนหารายได้ได้ถึง 2 คน 

แต่การหย่าร้างกลับเพิ่มมากขึ้น


ดังนั้นจากนี้ไปขอให้พวกเรา...


อย่าเก็บของดี ๆ ไว้โดยอ้าง 

ว่าเพื่อใช้โอกาสพิเศษ...!!!


เพราะทุกวันที่เรายังมีชีวิตอยู่

คือโอกาสที่พิเศษสุดแล้ว...!!!


จงแสวงหา...การหยั่งรู้ !!!


จงนั่งตรงระเบียงบ้านเพื่อ

ชื่นชมกับการมีชีวิตอยู่ 

โดยไม่ใส่ใจกับความอยาก


จงใช้เวลากับครอบครัว 

เพื่อนฝูง คนที่รักให้มากขึ้น


กินอาหารให้อร่อย....... 

ไปเที่ยวในที่ที่อยากจะไป


ชีวิตคือ โซ่ห่วงของนาที 

แห่งความสุข ไม่ใช่เพียง

แค่การอยู่ให้รอด...!!!


เอาแก้วเจียระไนที่มีอยู่มาใช้เสีย


น้ำหอมดี ๆ ที่ชอบ 

จงหยิบมาใช้เมื่ออยากจะใช้


เอาคำพูดที่ว่า "สักวันหนึ่ง……" 

ออกไปเสียจากพจนานุกรม


บอกคนที่เรารักทุกคนว่า 

เรารักพวกเขาเหล่านั้น แค่ไหน !


อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง 

ที่จะทำอะไรก็ตาม..... 

ที่ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น


ทุกวัน..ทุกชั่วโมง..ทุกนาที 

มีความหมาย...เราไม่อาจรู้

เลยว่าเมื่อไร?มันจะสิ้นสุดลง !


และเวลานี้….........


ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่มีเวลา

ที่จะ forword ข้อความนี้

ให้คนที่คุณรักอ่าน แล้วคิดว่า 

"สักวันหนึ่งค่อยส่ง" ละก้อ...!


คุณอาจจะไม่มีโอกาสนั้นก็ได้ !?!


ใครจะรู้...ใช่ไหม ?!?🌼🌼

*******

Cr. Fwd. Line

 

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

เพื่อน...


 Cr.Fwd line

......@เรื่องจริงผ่านชีวิตจิ้งจก...สะเทือนใจ..ในญี่ปุ่น@

           

     ชายคนหนึ่งปรับปรุงบ้านโดยรื้อกำแพงออก ตามปกติบ้านคนญี่ปุ่นจะมีช่องว่างระหว่างกำแพงไม้


    เมื่อกำแพงถูกรื้อออก เขาพบว่ามีจิ้งจกตัวหนึ่งติดอยู่ในนั้น มันติดอยู่เพราะถูกตะปูตอกจากข้างนอกไปตรึงเท้ามันไว้


    เห็นเช่นนั้น เขารู้สึกสงสาร ระคนกับแปลกใจ พอเขาตรวจดูตะปู ก็เป็นตะปูที่ถูกตอกไว้เมื่อ5ปีก่อนโน้นตั้งแต่แรกสร้างบ้าน


    เกิดอะไรขึ้น?


    จิ้งจกมีชีวิตรอดในท่านั้นมาเป็นเวลา 5 ปี อยู่ในแผ่นผนังมืด ๆ 5 ปีโดยไม่ได้เคลื่อนไหว ไม่น่าเป็นไปได้ น่าทึ่งมาก เขาสงสัยว่าจิ้งจกมีชีวิตรอดมาได้อย่างไรตั้ง 5 ปี โดยที่ไม่ได้เคลื่อนไหวเลยสักก้าว เนื่องจากเท้าของมันถูกตะปูตรึงไว้!


     เขาเลยหยุดงานและมาเฝ้าสังเกตุดูว่า อะไรทำให้จิ้งจกมีชีวิตรอดมาได้


    ทันใดนั้น  ก็มีจิ้งจกอีกตัวโผล่ออกมาพร้อมกับอาหารในปาก!


    เขารู้สึกจุดตื้อและสะเทือนใจอย่างแรง


    มีจิ้งจกอีกตัวมาป้อนอาหารให้จิ้งจกตัวที่ถูกตะปูตรึงไว้ ในช่วงที่ผ่านมาถึง 5 ปี


    มันทำได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเช่นนั้นนานถึง 5 ปีโดยไม่สิ้นหวังที่มีต่อเพื่อนของมัน


    จินตนาการดูกับเรื่องสิ่งมีชีวิตตัวเล็ก ๆ สามารถทำได้ แต่กับมนุษย์ที่สวดอ้อนวอนขอด้วยใจศรัทธา กลับทำไม่ได้


    โปรดอย่าละทิ้งคนที่คุณรัก

อย่าพูดว่างานยุ่ง ขณะที่พวกเขาต้องการคุณ


    คุณอาจมีโลกทั้งใบอยู่ใต้เท้าของคุณ


   แต่คุณอาจเป็นคนเดียวในโลกของเขา...

***********

Cr.Fwd line

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564

เพื่อนไม่ทิ้งกัน ๐๙๑๑๕๘

 




กิจกรรมในรอบปี ๒๕๖๓ ของพวกเรา นรจ.รุ่น ๐๙

************

*********

**********

   นรจ.๐๙/นย.๑๑/พร.๕๘   


***********







วิชาฆ่ากิเลส

 #วิชาฆ่ากิเลส


วิชาฆ่ากิเลสเป็นวิชาประเภทหนึ่งที่เป็นเรื่องของธรรม สร้างขึ้นมาจากความมีอยู่ของธรรมเป็นแขนงๆ ออกมา เช่นเดียวกับต้นไม้ ก่อนที่จะเป็นกิ่งก้านสาขาดอกใบย่อมออกจากลำต้น ต้นย่อมออกจากรากเหง้าของมัน แตกกิ่งก้านสาขาดอกใบออกมา เรื่องของธรรม ธรรมในหลักธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นฐานของตัวเองอยู่แล้วตั้งแต่กาลไหนๆ มา นั่นเรียกว่าพื้นฐานของธรรม วิชาธรรมก็ผลิตออกมาจากนั้นเป็นแขนงต่างๆ แล้วก็ออกมาพูดได้หลายชนิดให้ไพเราะเพราะพริ้งก็ได้ ให้เป็นไปตามความจริงก็ได้ ที่เรียกว่าชำระกิเลสบ้าง ประกอบความพากเพียรบ้าง ถ้าพูดตามหลักความจริงก็ว่าสังหารกิเลส หรือฆ่ากิเลส นี่ถึงใจของผู้ปฏิบัติทั้งหลายไม่ว่าท่านผู้ใด จะถึงใจในความรู้สึกก่อนแล้วก็ถึงใจในการระบายออกมาหรือแสดงออกมา


วิชาของธรรมนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากกิเลสประเภทใดผลิตขึ้นมา ให้เป็นเครื่องมือกลับเข้าไปสังหารกิเลส แต่เป็นหลักธรรมชาติของตัวเอง วิธีการขุดค้นวิชาธรรมให้เกิดขึ้นภายในใจ พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญหรือได้ดำเนินมาก่อนแล้ว แต่พระพุทธเจ้านั้นเป็นสยัมภู ทรงพยายามขวนขวายเอง รู้ขึ้นมาเองโดยลำดับลำดา จนกระจ่างแจ้งในธรรมทั้งหลาย ทั้งพื้นฐานแห่งธรรมและธรรมที่เป็นสมบัติของพระองค์โดยเฉพาะบรรจุในพระทัยเต็มส่วน ควรแก่ความเป็นศาสดาของโลกได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว จึงได้นำธรรมในพระทัยนั้นออกมาสอนโลก ธรรมเหล่านี้จึงเป็นประเภทหนึ่งจากโลกทั้งหลาย ท่านจึงให้ชื่อว่าโลกว่าธรรม ไม่ใช่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


การศึกษาเล่าเรียนในแง่ต่างๆ ของธรรมที่ท่านเรียกว่าปริยัตินั้น เราศึกษาเพื่อการจดจำแนวทางแห่งการปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสออกจากใจ เราจำต้องได้ศึกษาเล่าเรียนก่อนไม่มากก็น้อย ดังอุปัชฌาย์ท่านสอนกรรมฐาน ๕ ก็คือวิชา ๕ ประเภทนั้นเองขึ้นมา ให้พวกเราทั้งหลายได้ศึกษาเป็นเบื้องต้น ดังท่านสอนว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี่เรียกว่าอนุโลม ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา เรียกว่าปฏิโลม คือย้อนหน้าถอยหลังหลายตลบทบทวน เพื่อความชำนิชำนาญ เพื่อความเข้าใจตามธรรมชาติมีอยู่ของอาการทั้ง ๕ นี้ซึ่งมีอยู่ทั้งตัวเราตัวเขา แล้วก็นำอาการทั้ง ๕ หรือวิชาทั้ง ๕ แขนงนี้ไปฝึกหัด เช่น การพิจารณาผม พิจารณาขน เล็บ ฟัน แล้วกระจายไปถึงหนัง เนื้อ เอ็น กระดูกตลอดสรรพางค์ร่างกาย ล้วนแล้วแต่เป็นวิชาธรรมที่แตกแขนงออกไป จากการปฏิบัติของผู้บำเพ็ญทั้งหลาย และธรรมก็เกิดขึ้นจากวิชาอันนี้แหละ


วิชานี้ได้มาจากอุปัชฌาย์อาจารย์หรือครูอาจารย์เสียก่อน เป็นภาคจดจำ แล้วก็มาคลี่คลายขยายออกดูตามความจริงของมัน จนปรากฏความรู้แจ้งขึ้นมาภายในตัวของเรา กลายเป็นสมบัติของเราขึ้นมา นี่ท่านเรียกว่า รู้ตามความจริง เอาความจำมาปฏิบัติเพื่อความจริงทั้งหลาย วิชาธรรมจึงเป็นวิชาประเภทหนึ่ง ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกทั้งหลาย คำว่าโลกทั้งหลายนั้น ได้แก่สิ่งที่ท่านเรียกว่าอธรรม คือสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ธรรมนั้นแล เมื่อธรรมผลิตขึ้นมาก็เพื่อจะแก้จะถอดถอนสิ่งเหล่านี้ หรือสังหารสิ่งเหล่านี้ออกจากใจของตนที่เต็มไปด้วยอธรรม


ด้วยเหตุนี้การศึกษาธรรมและการปฏิบัติธรรม การบำเพ็ญธรรม จึงเป็นเรื่องพิเศษๆ อยู่โดยหลักธรรมชาติของตน แม้จะเรียนมาจากปริยัติหรือศึกษามาจากปริยัติแล้วก็ตาม กิ่งแขนงที่จะแตกออกไปเรื่อยๆ นับตั้งแต่วงแคบถึงวงกว้าง นับแต่หยาบถึงขั้นละเอียดนั้น จะเป็นขึ้นจากการปฏิบัติของผู้บำเพ็ญทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้การปฏิบัติจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะถอดถอนตนให้หลุดพ้นออกจากทุกข์ ด้วยความรู้แจ้งแทงทะลุในสิ่งทั้งหลายที่เคยพัวพันจิตใจ ให้กลายเป็นคนละเรื่องละราว กลายเป็นคนละสัดละส่วนออกไปจากใจ ไม่คละเคล้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนดังที่เคยเป็นมา นี่ละการปฏิบัติธรรมจึงเป็นกรณีพิเศษจากโลกทั้งหลายอยู่ไม่น้อย


คำทั้งนี้ต้องออกมาจากภาคปฏิบัติของผู้บำเพ็ญทั้งหลาย ซึ่งเข้าใจแล้วรู้แล้วถึงจะนำมาพูดได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่เราจะด้นจะเดาเอามาพูดได้ ถ้าธรรมภาคความจริงแล้วด้นเดาไม่ได้ ต้องรู้จริงอย่างนั้นถึงจะพูดออกมาได้ตามความจริงที่ตนรู้ตนเห็นนั้น นี่จึงเป็นกรณีพิเศษ ถ้าพูดถึงเรื่องความเพียรก็ต่างจากโลกเขาเพียรในการงานของเขาอยู่มาก งานใดก็ตามงานทางโลกกับงานทางธรรมนี้ มีความแตกต่างกันอยู่มากทีเดียว การปฏิบัติในตัวของเราจะให้เป็นแบบโลกเป็นเหมือนโลกนั้น จึงเป็นไปได้ยากสำหรับผู้ที่จะตะเกียกตะกาย เพื่อความพ้นทุกข์ให้ได้อย่างใจหวัง


ศรัทธาความเชื่อ เชื่อธรรมดาในธรรมทั้งหลายนี้เป็นประเภทหนึ่ง เชื่อจากความฝังใจที่ได้รู้ได้เห็น เป็นสักขีพยานขึ้นมาเป็นลำดับลำดานี้ประการหนึ่ง ความเพียรธรรมดาที่ตะเกียกตะกายล้มลุกคลุกคลานไปตามความจดความจำ ความเข้าอกเข้าใจในตำรับตำรา หรือเชื่อตามครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนนั้นเป็นประเภทหนึ่ง เชื่อในสิ่งที่ตนรู้ตนเห็นนี้เป็นอีกประเภทหนึ่ง เพียรไปโดยลำดับลำดา เพราะความรู้ความเห็นนั้น ซึ่งเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดความเพียรให้หนักแน่นเข้าไปโดยลำดับหนึ่ง จึงต่างกันๆ ไปโดยลำดับลำดา


สิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะพึงขวนขวายในตัวเอง และรู้ขึ้นมาภายในตัวเองโดยไม่ต้องไปถามผู้หนึ่งผู้ใดเลย ท่านเรียกว่า สนฺทิฏฺฐิโก นี่เป็นสมบัติของผู้ปฏิบัติโดยแท้ สมบัติอันนี้แลเป็นเครื่องรักษาผู้ปฏิบัติได้โดยลำดับ ตามสมบัติที่มีมากน้อย ท่านเรียกว่า ธรรมสมบัติ เกิดขึ้นจากภาคปฏิบัติ เราผู้ปฏิบัติทั้งหลายก็มุ่งจุดนี้เป็นสำคัญ เหมือนครั้งพุทธกาลท่านที่ได้เป็นสรณะของพวกเรา ล้วนแล้วแต่ท่านปฏิบัติเพื่อความเป็นสรณะของตน และได้เป็นจริงๆ แล้วก็กลายเป็นสรณะของโลกขึ้นมา


ธรรมจึงเป็นพิเศษอันหนึ่งจากโลกทั้งหลาย และสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมก็เป็นข้าศึกกัน ส่วนมากอธรรมต้องเป็นเจ้าของจิตใจของสัตว์โลก แม้ธรรมมีก็เป็นแต่เพียงว่าเคลือบแฝงเท่านั้น ยังไม่ใช่เป็นเนื้อเป็นหนังของตัวเองจริงๆ ที่มีกำลังมากเหมือนกับอธรรมที่มันไปสร้างตัวเอง จนเป็นเนื้อเป็นหนังขึ้นภายในจิตใจของสัตว์โลก แล้วกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับมัน


เพราะฉะนั้นเราทั้งหลายจึงได้ถือว่า หรือจึงได้พูดกันว่าอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น คือมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกิเลส ใจของเรานี้น่ะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกิเลส ประหนึ่งว่าไม่มีอะไรเป็นพิเศษ นอกจากถ้าว่าเป็นกิเลสก็เป็นกิเลสทั้งหมด ว่าเป็นเราก็เป็นทั้งหมด ไม่มีทางที่จะแยกแยะกันออกได้ ให้เป็นคนละสัดละส่วน นี่เพราะความกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน เนื่องจากความสร้างเนื้อสร้างหนังของตนเองขึ้นภายในจิตใจของสัตว์โลกแต่ละดวงๆ นี่ท่านให้นามว่ากิเลส ซึ่งเป็นเหมือนกับกาฝากแทรกอยู่กับต้นไม้ แล้วดูดซึมต้นไม้มาเป็นอาหารเลี้ยงลำต้นของตน และต้นไม้นั้นก็อับเฉา จนกระทั่งถึงตายไปได้เมื่อกาฝากมีจำนวนมาก


จิตใจของเราก็เสียคนได้เมื่อสิ่งเหล่านี้มีกำลังมาก แทรกซึมอยู่ภายในจิตใจ สร้างเนื้อสร้างหนังสร้างความเป็นอยู่สืบทอดกันไปโดยลำดับลำดา ไม่มีวันหยุดหย่อนผ่อนคลายเลย ก็คือกิเลสสร้างตัวเองภายในจิตใจของสัตว์โลกนี้แล นี่ละที่เรียกว่ามันเป็นเราไปเสียหมด ประหนึ่งว่ากาฝากกับต้นไม้นั้นเป็นอันเดียวกัน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่อันเดียวกัน กาฝากเกิดขึ้นใบของมันก็ไม่เหมือนต้นไม้ต้นนั้น กิ่งก้านสาขาของมันอะไรๆ ของมัน อวัยวะของมันทุกส่วนเป็นเรื่องของมันทั้งนั้น แต่มันดูดซึมเอาต้นไม้นั้นเป็นอาหารของมันไปตลอด ยังชีพของมันอยู่ได้ด้วยอาหารจากต้นไม้


นี่ก็เหมือนกัน กิเลสสร้างตัวของมัน ยังชีพคือความเป็นอยู่ของตัวเองให้สืบทอดไปโดยลำดับลำดา จนเป็นกัปเป็นกัลป์เป็นกี่ล้านกัปล้านกัลป์ ก็ไม่มีใครที่จะนับอ่านได้จากความยืดยาวของกิเลส ที่มีความเหนียวแน่น และสร้างตัวเองอยู่ภายในจิตใจ จึงไม่มีใครจะทราบได้ว่ากิเลสเป็นเช่นไร จิตเป็นเช่นไร มันกลายเป็นอันเดียวกันหมด


ใครล่ะจะทราบได้ ก็มีพระพุทธเจ้าที่เป็นศาสดาองค์เอก ทรงบำเพ็ญพระองค์ทรงแก้ทรงไขทรงถอดทรงถอนสิ่งที่เป็นกาฝากทั้งหลายออกไปได้ ด้วยการสร้างความดีทั้งหลาย นับตั้งแต่ปรารถนาเป็นพระโพธิญาณหรือปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า แล้วทรงตัวด้วยความเป็นพระโพธิสัตว์เรื่อยมา ความพากความเพียรไม่ลดถอยน้อยลงเลย นี่คือการบำเพ็ญเพื่อสั่งสมกำลังทางความดีทั้งหลาย ที่จะถอดถอนสิ่งเหล่านี้ออกจากพระทัย จนได้กลายเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาด้วยสยัมภู โดยความรู้เองเห็นเอง นี่เบื้องต้นมีพระพุทธเจ้าเท่านั้น แยกกาฝากกับต้นไม้ออกได้ ด้วยความรู้ชัดเจนว่า นี้คือกาฝาก นี้คือต้นไม้ เป็นข้าศึกต่อกันไม่น้อย ร้อยทั้งร้อยก็คือกาฝากนั้นแลเป็นข้าศึกต่อต้นไม้ จนได้ชำระออกหมด สังหารออกโดยสิ้นเชิงไม่มีอะไรเหลือ กลายเป็นพระทัยหรือพระจิตบริสุทธิ์ล้วนๆ นั้นแหละที่นี่จึงได้เป็นศาสดาสอนโลกด้วยความอาจหาญชาญชัยโดยไม่มีใครเป็นคู่แข่งเลย


พวกเราทั้งหลายก็ได้รับฟังพระโอวาทของพระพุทธเจ้า และบรรดาสาวกทั้งหลายที่เป็นอันดับสองจากพระพุทธเจ้าขึ้นมา ก็ได้ยินได้ฟังจากพระองค์แล้ว ด้วยคำว่า สาวโกๆ แปลว่าผู้สดับผู้ฟังก่อน และได้ปฏิบัติตามแนวทางที่ได้ยินได้ฟังมานั้น จึงค่อยรู้เรื่องรู้ราวค่อยชำระสะสางกาฝากภายในจิตใจออกได้โดยลำดับ ทั้งส่วนหยาบ ส่วนกลาง ส่วนละเอียด ที่มีเต็มอยู่ภายในจิตใจ แก้ไขถอดถอนออกได้โดยสิ้นเชิง เพราะความสามารถฉลาดรู้ทันกับกลมายาของกิเลส ซึ่งเป็นเหมือนกาฝากนั้นแล้วก็เป็นที่พึ่งของตนได้โดยสมบูรณ์


เมื่อเป็นสรณะของตนได้โดยสมบูรณ์เหมือนพระพุทธเจ้าแล้ว ก็กลายเป็นสรณะของโลก เป็นที่พึ่งที่เกาะที่ยึดของโลก เป็นแนวทางให้โลกได้เป็นคติเครื่องพร่ำสอนโลกให้ยึดเหนี่ยวเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้


นี่เราพูดถึงหลักธรรมชาติของจิตจริงๆ นั่นละ เมื่อมันคละเคล้ากับกาฝากคือกิเลสแล้ว เราจึงไม่มีทางทราบได้เพราะละเอียดพอๆ กันกับจิต เนื่องจากเป็นนามธรรมเหมือนกัน จะทำอะไรจึงเป็นการกระทบกระเทือนกิเลสเสียหมด ความทุกข์ความลำบากก็กลัวตัวทุกข์ตัวลำบาก จะประกอบความพากเพียรหรือตะเกียกตะกายด้วยวิธีการใดๆ ก็กลัวแต่ความลำบากๆ นั่นละ


ถ้าพูดตามหลักความจริงแล้วก็คือกลัวกิเลสลำบาก กลัวกิเลสเป็นทุกข์ เพราะการประกอบความเพียรเพื่อชำระกิเลสนี้เป็นการกระทบกระเทือน เป็นการตบการตีกิเลส การฟัดการฟันกิเลสโดยลำดับลำดา และในขณะเดียวกันเพราะความสำคัญของเราที่ถูกกิเลสกลืนอย่างจมมิด ก็กลัวว่าเราเป็นทุกข์นั่นเอง นั่นกิเลสมาเป็นเราเสียแล้ว เลยกลัวว่าเราเป็นทุกข์ เรากับทุกข์ก็แยกกันไม่ออก กิเลสกับเราก็แยกกันไม่ออก มันกลายเป็นอันเดียวกัน แน่ะ


ด้วยเหตุนี้วิชาธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะแยกจะแยะสิ่งเหล่านี้ วิชาอื่นใดในโลกไม่มีทางที่จะแยกจะแยะระหว่างกิเลสกับธรรม หรือระหว่างกาฝากกับต้นไม้ให้ออกเป็นคนละสัดละส่วนได้นอกจากธรรมเท่านั้น นี่ละวิชาธรรมเป็นอย่างนี้


เบื้องต้นก็ได้มาจากพระพุทธเจ้าเสียก่อน ได้ยินได้ฟังอุบายต่างๆ ในการบำเพ็ญ ในการแก้ไขถอดถอนก็นำมาปฏิบัติตนเอง ค่อยๆ เกิดผลขึ้นมาๆ ในเบื้องต้นความโลภเกิดขึ้นก็เป็นเราเสีย ความโกรธเกิดขึ้นก็เป็นเราเสีย ความหลงเกิดขึ้นก็เป็นเราเสีย ราคะตัณหาเกิดขึ้นก็เป็นเราเสีย ขึ้นชื่อว่าอาการของกิเลสทั้งมวลที่แสดงออกมา เราก็ถือว่าเป็นเราเสียสิ้น นี่เพราะความรู้ความฉลาดของเราไม่ทันมัน


แต่อาศัยการปฏิบัติบำเพ็ญตามหลักศาสนธรรมที่สอนไว้ ก็ค่อยเข้าใจไปโดยลำดับ จนกระทั่งจิตมีความสงบบ้างเป็นบางกาลบางเวลา เช่น จิตรวมสงบตัวหรือจิตเป็นสมาธิขึ้นโดยลำดับ ก็จะเริ่มเห็นภัยแห่งความฟุ้งซ่านของตนเอง ฟุ้งซ่านๆ เรื่องอะไร ก็ฟุ้งซ่านเพื่อความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะตัณหานั้นแลไม่ใช่เพื่ออะไร ก็เมื่อจิตเคยสงบแล้ว ความฟุ้งซ่านเป็นสิ่งที่ผิดปกติกับความสงบ ย่อมจะทราบ และฟุ้งซ่านไปในแง่ใด ในแง่ความโกรธเหรอ ในแง่ความโลภเหรอ ในแง่ความกำหนัดยินดีเหรอ พอใจหรือไม่พอใจเหรอ ย่อมทราบไปโดยลำดับลำดา เพราะอาการเหล่านี้เป็นอาการที่แฝงขึ้นมาๆ ผิดปกติของจิตที่สงบมีความสุขในขณะที่สงบตัว นั่นจึงเป็นเหตุให้ตื่นตัวตื่นใจ ให้ได้ทราบว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่ง หรือว่าสิ่งนี้เป็นภัย สิ่งนี้เป็นหนึ่งนอกจากตัวของเรา นอกจากจิตของเราไป จิตของเราสงบอันนี้ไม่พาให้สงบ อันนี้พาให้ฟุ้งซ่านรำคาญ จึงต้องได้ถืออันนี้เหมือนกับเป็นข้าศึกอันหนึ่ง


ระหว่างเรากับข้าศึกคือกิเลสนั้นก็ต่อสู้กัน ครั้นต่อสู้กันไปเรื่อยๆ ก็เห็นเหตุเห็นผลไปเรื่อยๆ และแก้ไขถอดถอนออกไปเข้าสู่ความละเอียด ธรรมก็ละเอียดขึ้นกิเลสก็ละเอียดไปตามๆ กัน พอฟัดพอเหวี่ยงกันไป นี่วิธีการปฏิบัติเป็นอย่างนั้น

ทีนี้เมื่อจิตของเรามีทั้งความสงบ มีทั้งความแยบคาย อุบายต่างๆ ทันกับการแสดงออกของกิเลสประเภทต่างๆ แล้ว มันก็พอเป็นพอไปพอฟัดพอเหวี่ยง สุดท้ายก็เห็นชัดเจน กิเลสแสดงอาการใดของตัวเองขึ้นมา เช่นแสดงอาการโลภ ไม่ต้องพูดที่อื่น โลภอยากได้อาหารเพียงเท่านั้นมันก็กระเทือนใจแล้ว หือ วันนี้จิตมันโลภอะไรอย่างนี้ นั่นแต่ก่อนไม่เห็นว่าเป็นข้าศึก มันเริ่มทราบ หรือโกรธใครก็ตาม อ้อ วันนี้จิตแสดงอาการไม่ดี โกรธคนนั้นโกรธคนนี้ๆๆ ไม่พอใจเขา นี่เป็นเรื่องของกิเลสที่เกิดขึ้นจากเราไปโกรธเขา เขาจะผิดเท่าฟ้าเท่าแผ่นดินก็ตาม ความไม่พอใจในเขาก็คือกิเลสของเราเอง นี่มันก็ย้อนเข้ามาเห็นโทษของตัวเอง มากกว่าที่จะเห็นโทษของผู้อื่นที่ว่าผิดไป แล้วก็พยายามเข้ามาแก้ตรงนี้ นั่น มันเริ่มเห็นเข้าไปอย่างนั้น

หรือราคะตัณหาเกิดขึ้น เพราะเห็นรูปได้ยินเสียงธรรมชาติที่เป็นวิสภาคกัน แต่ก่อนไม่รู้ กลมกลืนกันไปเลย พันกันไปเลย เมื่อปฏิบัติเข้าถึงจิตขั้นละเอียด พอแสดงอาการขึ้นมาอย่างนี้ นี่จิตเราแสดงราคะคือความกำหนัดในสิ่งนั้นแล้ว ไม่ถือว่าสิ่งนั้นเป็นความผิด ถือผู้เป็นราคะที่แสดงตัวให้กระเทือนจิตใจนี้เป็นความผิด แล้วย้อนจิตเข้ามาแก้ที่ตรงนี้ นั่น เริ่มรู้ๆ เข้าไปอย่างนั้น จึงเรียกว่าผู้ปฏิบัติ รู้ด้วยสติที่เราฝึกอยู่ แล้วพินิจพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญา ก็ทราบไปโดยลำดับลำดา เมื่อทราบกันหลายครั้งหลายหนก็แก้กันไปได้เรื่อยๆ ตั้งแต่ส่วนหยาบ ส่วนกลาง จนถึงขั้นละเอียด

แล้วก็กระจายกันออกไปถึงขันธ์ ๕ ของตัวเอง ว่าเป็นตัวพิษตัวภัย ตัวเป็นทางแสดงออกหรือเป็นเครื่องมือแสดงออกของกิเลสทั้งหลาย กิเลสอาศัยขันธ์นี้แลเป็นเครื่องมือ นั่น มันก็เริ่มทราบ ตัวกิเลสจริงๆ ไม่ใช่ขันธ์ ขันธ์ไม่ใช่กิเลส แต่เป็นเครื่องมือของกิเลสที่นำไปใช้ เราก็นำขันธ์นั้นมาเป็นเครื่องมือของธรรมด้วยในขณะเดียวกัน เอ้า จิตมันคิดมันปรุงเรื่องอะไร มันคิดเรื่องกิเลส เราคิดเรื่องธรรมแก้กัน มันสำคัญมั่นหมายเป็นเรื่องของกิเลส เราก็ใช้สัญญาความจดความจำที่พอจะแก้กิเลสประเภทนั้นได้ด้วยความจำของเรา ด้วยสัญญาของเรา จนกระทั่งกลายเป็นปัญญาขึ้นมา วิญญาณความรับทราบ รับทราบเรื่องอะไร เอ้า รับทราบที่จะเป็นกิเลส เราก็แก้เป็นธรรมไปโดยลำดับลำดา

นี่ละเครื่องมืออันนี้ละ เราแยกแยะออกมาใช้ทางด้านธรรมะ เมื่อสติปัญญาของเราทัน หรือธรรมะของเรามีในใจ มีกำลังพอที่จะทันมันแล้ว ย่อมจะทราบกันได้เป็นลำดับลำดาไป ทั้งๆ ที่แต่ก่อนเราไม่เคยทราบมาเลย ครั้นปฏิบัติไปโดยลำดับลำดา จิตก็ค่อยเลื่อนฐานะขึ้นไป เพราะได้รับการบำรุงรักษาอยู่เสมอ ย่อมเจริญเติบโตขึ้น ถ้าว่าเติบโต สติเคยขาดวรรคขาดตอนก็ไม่ค่อยขาดและไม่ขาด ปัญญาซึ่งนอนจมอยู่ภายในจิตใจเหมือนกับซุงทั้งท่อน ก็แสดงตัวขึ้นมา ไหวตัวขึ้นมา ปัญญาไหวตัวขึ้นมาจะไหวเพื่ออะไรถ้าไม่เพื่อทราบเหตุทราบผลต้นปลายในสิ่งต่างๆ แล้วกิเลสเป็นสิ่งใดล่ะ เป็นเหตุผลกลไกอะไร เป็นเรื่องอะไร เหตุใดปัญญาจะไม่จับปัญญาจะไม่คิด ปัญญาจะไม่พินิจพิจารณาล่ะ นั่น มันก็ต้องได้พิจารณา เมื่อพิจารณาเข้าไปแล้วมันก็ต้องรู้ รู้ไปโดยลำดับลำดา ตามขั้นของปัญญาเสียก่อน นี่เรียกว่าแก้กัน ชำระหรือถอดถอนทำลายกาฝากภายในจิตใจเรื่อยไปโดยลำดับลำดาอย่างนี้ละท่านเรียกว่าวิชาธรรม การปฏิบัติธรรมปฏิบัติอย่างนี้

ทีนี้เมื่อจิตได้เข้าอกเข้าใจวิธีการต่อสู้กับกิเลสแล้ว เรื่องความขี้เกียจขี้คร้านซึ่งเป็นเรื่องของกิเลสหุ้มห่อจิตใจตัวของเราหมดทั้งร่าง จนกระทั่งจะเคลื่อนย้ายสู่ความเพียรไม่ได้ก็ค่อยจางหายไปๆ จนกลายเป็นความขยันหมั่นเพียร หนักก็เอาเบาก็สู้ไม่มีถอยขึ้นมาโดยลำดับลำดา จากนั้นก็กลายเป็นความเพียรกล้า เลยความขยันหมั่นเพียรไปเข้าสู่ความเพียรกล้า ดังท่านผู้ดำเนินในขั้นสติปัญญาอัตโนมัติท่านเหล่านี้เป็นผู้ก้าวเข้าสู่ความเพียรกล้า เลยความขยันหมั่นเพียรไปแล้ว

แต่ก่อนมีแต่กิเลสตัวขี้เกียจขี้คร้านตัวท้อแท้อ่อนแอ ตัวอำนาจวาสนาน้อยตัวไปไม่ไหวเต็มหัวใจและก้าวไม่ออก เมื่อธรรมมีกำลังแล้ว ธรรมก็ก้าวได้เหยียบหัวกิเลสไป ตัวขี้เกียจก็เหยียบไป ตัวท้อแท้อ่อนแอที่เคยเป็นมาแต่ก่อนก็เหยียบไปทำลายไปเรื่อยๆๆ สุดท้ายก็มีแต่จะเอาๆ ท่าเดียว ถ้าไม่หลุดพ้นเสียแล้วเป็นถอยไม่ได้ นั่นมันเป็นขึ้นเองเมื่อธรรมมีกำลังแล้ว

เราไม่คาดไม่หมายแหละ หากเป็นขึ้นโดยกำลังของธรรม กำลังของธรรมกับกำลังของจิตกลมกลืนเป็นอันเดียวกันแล้ว หากเป็นขึ้นรู้ขึ้น สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็รู้ สิ่งที่ไม่เคยเห็นก็เห็น สิ่งที่ไม่เคยว่าเราจะตัดขาดไปได้ ก็ตัดขาดไปได้ ด้วยอำนาจของธรรมเป็นเครื่องมืออันทันสมัย ทันกาลทันเวลา ทันกับกิเลสทุกแง่ทุกมุม ทุกประเภทของกิเลส นั่นเป็นอย่างนั้น นี่ที่ท่านหลุดพ้นไปได้ ท่านหลุดพ้นด้วยอย่างที่กล่าวมานี้แล

เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญการแก้ไขการถอดถอน จึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับพระผู้ปฏิบัติ และสถานที่ก็เป็นสิ่งสำคัญมากทีเดียว เราดูซิในตำรับตำราครั้งพุทธกาลมักจะอยู่ในป่าในเขาในถ้ำเงื้อมผา หาสถานที่ที่จะตั้งเนื้อตั้งตัว หาสถานที่ที่ไม่ประมาทนอนใจ เพราะคนเราเมื่อไปสู่สถานที่เปลี่ยวๆ ไปสถานที่น่ากลัวแล้วย่อมเป็นความเพียรขึ้นมาเอง ใครจะไปนอนจมอยู่ด้วยความขี้เกียจขี้คร้านเล่า เมื่อไปอยู่สถานที่เป็นภัย สถานที่จะต้องมีความฉิบหายวายปวงได้เมื่อประมาท แล้วใครจะไปยอมประมาทในสถานที่ควรจะตายเช่นนั้นด้วยความประมาท ต้องไม่ประมาท นั่น

ดังตะกี้นี้ก็ได้พูดให้ฟังถึงเรื่องการอยู่ในป่าในเขา ก่อนที่จะเทศน์นี้ มันต่างกันมากอย่างนั้นแหละ ทั้งวันความเพียรเป็นไปตลอดสายไม่ต้องบังคับ สติอยู่กับตัวแม้ปัญญาจะยังไม่ก้าวเดินก็ตามเพราะยังไม่ถึงขั้นจะก้าวเดิน สติดีระมัดระวังรักษาจิตอยู่ เมื่อกำหนดที่จะให้เข้าสู่ความสงบเมื่อใดก็ได้อย่างง่ายดายๆๆ นั่นละความเพียรอยู่กับตัวเป็นอย่างนั้น เพราะอาศัยสถานที่ที่น่ากลัวนั้นแหละ เป็นการกระตุ้นเตือนสติให้ตั้งตัวอยู่ตลอดเวลา เลยกลายเป็นความเพียรทั้งวันทั้งคืนยืนเดินนั่งนอนเว้นแต่หลับเท่านั้น นอนก็มีสติ อะไรมาสัมผัสนิดหน่อยเท่านั้นตื่นแล้วๆๆ นี่ความเพียรของผู้อยู่ในสถานที่ไม่ประมาท ย่อมไม่ประมาท จึงเป็นความเพียรตลอดเวลา

อันใดก็ตาม ขอให้เราได้บำเพ็ญ ขอให้เราได้ดำเนินเถอะ เราจะรู้เอง ดังที่กล่าวมาในป่าในเขา สถานที่น่ากลัวน่าหวาดเสียว และเป็นสถานที่ตั้งแห่งความเพียรโดยลำดับลำดานี้ พระพุทธเจ้าทรงดำเนินมาแล้ว พระสาวกท่านพากันดำเนินมาแล้วทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้การบำเพ็ญในป่าในเขาในถ้ำเงื้อมผา จึงเป็นสถานที่อันเหมาะสมอย่างยิ่ง ตามพระโอวาทที่ทรงสั่งสอนไว้แล้ว ว่า รุกฺขมูลเสนาสนํ เป็นต้น นี่ละเป็นการช่วยได้เป็นอย่างดี คือช่วยความเพียรของเรา

เราจะเห็นได้เวลาเราออกมาจากสถานที่นั่นมาอยู่ที่ธรรมดาๆ และมาอยู่กับหมู่เพื่อน ความขี้เกียจขี้คร้านแสดงตัวขึ้นมา ความเพียรไม่ค่อยก้าวหรือไม่ก้าว เป็นเพราะอะไร เพราะจิตมันนอนจมโดยไม่รู้สึกตัว เนื่องจากกิเลสพาให้จมนั่นเอง กิเลสมันง่ายที่สุดที่จะทำเราให้ล่มจมไป ขอให้ได้ช่องได้โอกาส เพราะกิเลสมีแต่หาโอกาสจะทำลายเราอย่างเดียว เมื่อมาอยู่ที่เช่นนั้นก็เป็นอันว่าเปิดโอกาสให้กิเลสก็ว่าได้ เพราะมันต่างกันมากกับอยู่ในป่าในเขาเพียงคนเดียว นี่ละท่านจึงสอนให้อยู่ในป่าในเขา สถานที่ที่เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร

อยู่อย่างนั้นไม่นับวันนับคืนนับปีนับเดือนละ ดูแต่จิตดูแต่เรื่องที่จะเกิดขึ้นจากจิต มันกลัวอะไร มันไปสัมผัสสัมพันธ์กับอะไร กลัวว่าเสือ เสืออยู่ที่ไหนความคิดสังขารอันนี้มันปรุงต่างหาก มันหลอกว่าเสือ นั่นมันก็รู้ทันเสีย สังขารความปรุงว่าเสือไปเกิดขึ้นที่ใจ ทั้งๆ ที่เสือไม่มี มันหลอกตัวเอง บังคับจิตไม่ให้คิดเรื่องเสือเรื่องสัตว์อะไรที่จะเป็นโทษแก่จิตใจ โทษแก่ความสงบ บังคับจิตให้อยู่ในอรรถในธรรม เมื่อจิตอยู่ในอรรถในธรรม อรรถธรรมเป็นเครื่องรักษาจิต จิตย่อมปลอดภัยไร้กังวล สุดท้ายก็เข้าสู่ความสงบเย็นแน่วเลย นั่น

เอ้า ที่นี่วาระหลังจากนั้นแล้ว แม้แต่เสือกระหึ่มๆ อยู่ข้างที่อยู่เรา มันกลับไม่เห็นกลัว นั่นฟังซิ นั่นละเมื่อธรรมเข้ารักษาใจเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าให้กิเลสรักษาใจหลอกวันยังค่ำ เสือไม่มีก็หลอกว่ามี อะไรไม่มีก็หลอกขึ้นมาว่ามีๆๆ แล้วเป็นไปตามมันจมไปตามมัน ไม่มีคำว่าได้เป็นผลเป็นประโยชน์เลย มีแต่เสียโดยถ่ายเดียว ผลลบตามกันไปเรื่อยๆ พอเราได้ใช้อรรถใช้ธรรมเข้ารักษาตัว สติธรรม ปัญญาธรรม วิริยธรรม อุตสาหธรรม หมุนเป็นเกลียวเดียวกันเข้าสู่ใจ รักษาใจ จนกระทั่งใจมีกำลังขึ้นมาแล้ว แม้เคยกลัวมาขณะก่อน แต่ขณะนี้ไม่กลัว เห็นได้อย่างชัดเจนของผู้ปฏิบัติ

เอ้า ถ้าเราอยากจะรู้ก็ลองดูซิ ธรรมะพระพุทธเจ้าโกหกโลกเมื่อไร เมื่อธรรมได้เข้าสนิทกับใจแล้วเป็นเครื่องหนุนใจ ย่อมไม่มีความกลัว ถึงเสือจะเดินดุ่มๆ เข้ามาหาเรา เราจะเดินเข้าไปหาเสือได้อย่างไม่สะทกสะท้านเลย ทำไมเป็นอย่างนั้นฟังซิ มันเป็นแล้วนี่ไม่ใช่มาคุยเฉยๆ ได้ปฏิบัติแล้ว ได้ฝึกได้ทรมานตนแล้วถึงเหตุถึงผลถึงเป็นถึงตาย เอ้าๆ จะตายก็ตายเถอะ ทำไมมันถึงกลัวนักหนาว่ะ มันจะไม่ตายเหรอในโลกนี้ มันจะอยู่ค้ำฟ้าเหรอ ก้าวเข้าไปเดินเข้าไป มันหลอกเราว่าเสืออยู่ตรงไหน เดินเข้าไปหาเสือเลย เดินเข้าไปมันไม่มี นี่มันหลอก

เดินเข้าไปๆ จนตั้งคำสัตย์ขึ้นมากึ๊กเลยเชียวในหัวใจ เอ้า วันนี้ถ้าหากว่าจิตนี้ยังไม่กล้าหาญ ไม่รู้เรื่องรู้ราวของความกลัวความกล้านี้เมื่อไรแล้วจะไม่กลับ ใครจะว่าบ้าก็บ้าเถอะเราไม่สะทกสะท้าน กิเลสภายในหัวใจของเรานี้มันหลอกเราอยู่เวลานี้ ให้เป็นบ้าให้เป็นทุกข์จริงๆ เขาว่าลมปากของเขาไม่เห็นว่าเป็นทุกข์อะไรเลย นั่น แล้วเดินไปๆ เดินตรงนี้แล้วมันไม่มีเสือ เอ้า ไปตรงนั้น แล้วอยู่ตรงไหนอีกเดินไปอีก ไปหาตรงที่ว่าเสืออยู่ๆ ที่แท้สังขาร สัญญา มันหลอกเรา ไปที่นี่ก็แล้วไปที่นั่นก็แล้ว หนึ่งแล้วนะโกหกเรา สองแล้วนะ ตามกันไปเรื่อยไม่ใช่ไปเฉยๆ ไปด้วยความเพียร สังเกตตัวเองไปตลอดเวลา คอยจับผิดกัน กิเลสเป็นตัวผิดเป็นตัวหลอกลวง ธรรมะเป็นตัวจับผิดเป็นตัวแก้ความหลอกลวง

สุดท้ายก็เกิดความกล้าหาญขึ้นมา กล้าหาญไม่ใช่กล้าหาญธรรมดา กล้าหาญอย่างที่ว่านี้แหละ นึกให้หมดในโลกอันนี้กลัวอะไร ไม่มีอะไรกลัวเลย เอ้า ถ้าเสือเดินเข้ามานี้ เดินเข้ามาก็เดินใส่เสือเลยไม่สะทกสะท้าน จะไปลูบคลำหลังมันได้อย่างสบาย โถ เพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายมาหากันเหรอ มาเยี่ยมกันเหรอ ถึงเสือจะกินมันก็ไม่มีกลัว ไม่สะทกสะท้าน เอ้า ตายก็ตายเพราะความกล้าหาญนั่นเอง ไม่ได้ตายเพราะความกลัวเลย นั่นเห็นไหม ขณะนี้เป็นอย่างนี้ คือกล้าจนตัวสั่น ความกล้าหาญชาญชัยเป็นขนาดนั้นดูซิ นี่ธรรมะพระพุทธเจ้าไม่จริงยังไง ไม่ยังงั้นท่านจะสอนให้ฝึกให้ทรมานทำไม

กิเลสเป็นตัวทำให้คนเสีย ธรรมะเป็นเหตุให้ฟื้นตัวขึ้นมาได้ ท่านจึงสอนด้วยวิธีนี้ ให้อยู่ในป่าในเขา ที่ไหนกลัวยิ่งเข้าไป ไม่ใช่ไปนอนให้มันกินเฉยๆ นะเสือ เอ้า ไปด้วยความเพียรนี่นะ กล้าด้วยความเพียรสละตายด้วยความเพียร สละตายด้วยสติปัญญา ด้วยอรรถด้วยธรรม ไม่ใช่สละตายแบบขึ้นเขียงเฉยๆ นั่น ทีนี้มันก็รู้ละซี เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็เห็นคุณค่าของการอยู่ในป่าอยู่ในเขา เห็นคุณค่าไปโดยลำดับลำดา เมื่อเราได้ปฏิบัติในสิ่งใดแล้วย่อมเห็นเหตุเห็นผลกัน และเห็นคุณค่าตลอดถึงการเห็น ควรจะเห็นโทษมันก็เห็นได้อย่างชัดเจนเพราะการปฏิบัตินั่นแล

เมื่อตนก็ได้ปฏิบัติมาอย่างนั้นแล้ว และรู้ขึ้นมาด้วยการปฏิบัติอย่างนั้นจริงๆ แล้ว ทำไมจะพูดไม่ได้มนุษย์เรา ใจเป็นของรู้ รู้แล้วทำไมพูดไม่ได้ ปากเป็นสิ่งที่พูดได้แท้ๆ นี่ ทำไมพูดไม่ได้วะ เอาอย่างนั้นละซิ

ให้รู้ซีเรื่องนักปฏิบัติเราเป็นยังไง ธรรมะพระพุทธเจ้านั้นเป็นโมฆะจริงๆ เหรอ สอนโลกแล้วโลกมันไม่ยอมรับนั่นซี โลกมันเป็นโมฆะ หัวใจเป็นโมฆะ ตาหูจมูกลิ้นกายใจมันเป็นโมฆะ ธรรมะถึงจะเลิศประเสริฐเท่าไรก็เหมือนกับเอายาไปใส่คนตายนั่นแหละจะเป็นอะไร มันได้ผลประโยชน์อะไร ยาจะวิเศษวิโสขนาดไหนเอาไปใส่คนตายซิ เอากรอกลงไป เอาฉีดลงไป ก็ฉีดคนตายมันจะฟื้นได้ยังไง มันไม่เกิดประโยชน์อะไร นี่ก็เหมือนกัน ธรรมะอยู่กับคนประเภทปทปรมะ ไม่สนใจกับสิ่งใดเลยนอกจากกิเลสตัณหาฉุดลากไป เหมือนกับสิ่งไม่มีหัวใจเท่านั้น แล้วมันจะเกิดประโยชน์อะไรธรรมะ

เราไม่ใช่คนประเภทนั้นนี่นะ เรารู้ดีรู้ชั่ว เรามาบวชในพุทธศาสนา เราบวชเพื่ออรรถเพื่อธรรมเพื่อมรรคผลนิพพาน เพื่อคุณงามความดี สิ่งใดที่เป็นข้าศึกต่อคุณงามความดี ทำไมเราจะไม่รู้ ทำไมเราจะไม่แก้ไม่ถอดไม่ถอนล่ะ เรายิ่งเป็นพระทั้งองค์ เป็นผู้ปฏิบัติทั้งคนด้วย ทำไมจะไม่แก้กันล่ะ

อยู่เฉยๆ ทำไม การอยู่เฉยๆ เป็นประโยชน์อะไรบ้างถามตัวเองซิ อย่าให้ครูบาอาจารย์ถาม อย่าให้ผู้อื่นผู้ใดถาม ไม่ดี มันจะเกิดกิเลสขึ้นมา ด้วยการกระทบกระเทือน การกระทบกระเทือนนั้นละกิเลสมันเกิด มันเกิดขึ้นในขณะนั้น

มันเร็วที่สุดนะเรื่องของกิเลส เคยได้พูดแล้ว ไม่มีอะไรแหลมคมยิ่งกว่ากิเลสถ้าสติปัญญาไม่ทันมันจะเกิดได้วันยังค่ำคืนยังรุ่ง กระดิกออกมาพับเป็นเรื่องของกิเลสทั้งนั้น จากหัวใจดวงนั้น ต่อเมื่อสติปัญญาทันมันนั่นแหละถึงจะรู้มัน ออกอาการใดๆ รู้ จนกระทั่ง เอ้า ให้ใจบริสุทธิ์ กลมายาของกิเลสออกแง่ไหนทำไมจะไม่รู้ มันอยู่ในหัวใจนี้ ทำลายมันจนพังไม่มีอะไรเหลือ ตลอดถึงโคตรแซ่ของกิเลส อวิชฺชาปจฺจยา ก็คือโคตรแซ่ของกิเลสที่พาให้สัตว์เกิดแก่เจ็บตายตลอดเวลานี้ พังไปหมดแล้ว มันจะไปแสดงอยู่ในจิตดวงใด ในอาการของผู้ใด ทำไมจะไม่ทราบล่ะ ก็เมื่อธรรมเป็นผู้สังหารมันเอง เพราะเหนือมันอยู่แล้ว ทำไมจะไม่ทราบอากัปกิริยาที่มันแสดงออก มันไม่มีที่จะแสดงออกในหัวใจเรา มันแสดงออกจากหัวใจใดจะต้องรู้ ถ้าลงได้เหนือมันแล้วต้องรู้ นั่นละการชำระตนเอง

ต้องให้มีความอาจหาญชาญชัยซิ เราเคยจมอยู่กับกิเลส มันพาให้เราวิเศษวิโสอะไรบ้าง เดินจงกรมก็กลัวแต่จะตาย นั่งสมาธิภาวนาก็กลัวแต่จะตาย มีอะไร มีแต่กลัวแต่จะตายๆ เรื่องกลัวแต่จะตายคือเรื่องอะไรนั่นน่ะ พิจารณาซิ ถามเจ้าของอย่างนี้ซิ จิตเมื่อเวลาตีเข้าถูกช่องถูกทาง กิเลสเวลาตีเข้าถูกช่องถูกทางมันหมอบเหมือนกันนั่นแหละ มันทำไมจะไม่หมอบ ไม่หมอบพระพุทธเจ้าจะสอนให้ตีให้ชำระเหรอให้สังหารมันเหรอ ธรรมเท่านั้นที่จะทำให้กิเลสได้กระเทือน นอกจากนั้นไม่มีอะไรที่จะให้กิเลสกระเทือนได้เลย นี่ละการปฏิบัติ

เราต้องใช้ความคิดความอ่านซี สติปัญญามีอย่าอยู่เฉยๆ หรือว่าทำจิตให้สงบแล้วปัญญาจะเกิดเอง อย่าฝันมันจะตายทิ้งเปล่าๆ ไม่เกิดจนกระทั่งสมาธิคือความสงบใจนั่นแหละ ถ้าทำด้วยความอ่อนแอท้อแท้ความขี้เกียจขี้คร้านพาให้ทำแล้ว มันจะจมลงในหมอนเท่านั้นละไม่เกิดประโยชน์อะไร ให้เห็นโทษของมันในสิ่งเหล่านี้ ผู้จะปฏิบัติตนเพื่อความพ้นทุกข์ต้องเอาจริงเอาจังอย่าท้อถอย

ให้ดูหัวใจเจ้าของ นี่สำคัญมากที่ตรงนี้นะ อย่าไปดูสิ่งใดฟังสิ่งใด สำคัญกับสิ่งใดมากยิ่งกว่าดูความเคลื่อนไหวของใจที่แสดงออกมา ด้วยอำนาจของกิเลสแทบทั้งนั้นแหละ มันแสดงออกมา ถ้าสติปัญญาไม่ทันมันจะมีแต่เรื่องของกิเลส นอกจากว่ากิเลสมันอ่อนตัวลงจนกระทั่งมันหลบมันซ่อนแล้ว นั้นละมันจะไม่แสดง มีแต่ธรรมละ คือ สติธรรม ปัญญาธรรม แสดงตัว แสดงลวดลายอยู่ตลอดเวลาภายในหัวใจดวงนั้น เวลากิเลสมันกระดิกออกมา ก็เป็นอันว่าถูกสังหารกันทันทีๆ มันจะแสดงอะไรล่ะ กิเลสมันก็ฉลาด ไม่งั้นจะปกครองหัวใจโลกหรือเป็นเจ้าอำนาจบนหัวใจโลกได้ยังไง นั่นมันลำบากขนาดนั้นละเรื่องการชำระกิเลส

ถ้าเราจะเอาความลำบากนี้เข้ามาเป็นอารมณ์ของใจอีก ก็จะเป็นเรื่องของกิเลสอีก ให้เกิดความท้อแท้อ่อนแออีกแหละ ไปไม่ไหว ว่าอีกแหละ นั่นฟังซิ มันแหลมไหมกิเลส มันแทรกขึ้นมาทุกระยะๆ นะ

การพูดเรื่องกิเลสต้องเห็นเรื่องของกิเลส พูดเรื่องของธรรมต้องรู้เรื่องของธรรม เห็นเรื่องของธรรมให้เต็มหัวใจเถอะน่ะ มันพูดได้เต็มปากนั่นแหละ ถ้าไม่เห็นนี่ซีมันลำบาก จะทำอะไรก็กลัวแต่จะเป็นจะตาย เล้ยไม่ได้เรื่อง วันหนึ่งๆ บวชเข้ามาก็มานับวันนับคืนนับปีนับเดือน นับอะไรมืดๆ แจ้งๆ แม้แต่สัตว์เดรัจฉานเขาก็อยู่ในความมืดแจ้งเหมือนกันกับเรา เขาไม่เห็นวิเศษวิโสอะไร แล้วเราจะเอาความวิเศษวิโสอะไรมาจากมืดจากแจ้ง เท่านั้นปีเท่านี้เดือน เท่านั้นพรรษาล่ะ ถ้าไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติฆ่ากิเลสตัวเป็นพิษเป็นภัยต่อจิตใจออกแล้ว เราอย่าหวังว่าจะเป็นความสุข

เราจะไปโลกไหนถามเจ้าของซิ โลกไหนโลกวิเศษ ถ้าลงได้กิเลสบีบหัวใจอยู่แล้วมันก็เหมือนกับนักโทษ ย้ายจากเรือนจำนี้ไปสู่เรือนจำนั้น ย้ายจากเรือนจำนั้นสู่เรือนจำนี้ ก็คือนักโทษย้ายที่ย้ายฐานนั่นเอง มันมีความสุขความเจริญความเลิศเลอที่ตรงไหน พิจารณาเอาซิ นี่ละการถามเจ้าของให้ถามอย่างนั้น กิเลสอยู่บนหัวใจมันก็เป็นเหมือนกับนักโทษ ย้ายภพย้ายภูมิย้ายไปไหนก็ไม่พ้นที่จะเป็นนักโทษของกิเลสบีบหัวใจอยู่ตลอดเวลา ฆ่ามันเสียแหลกไม่มีอะไรเหลือเลย นั่นละไม่ถาม ถามหาทำไม อดีตผ่านมาแล้วยุ่งอะไร อนาคตยังไม่มาถึงยุ่งอะไร ปัจจุบันก็รู้เท่าทันไม่ยึดไม่ถือ นั่นฟังซิ แล้วจะไปหมายอะไร เมื่อไม่หมายแล้วก็หมดกังวล แล้วจะเอาทุกข์มาจากไหน

ทีนี้มันก็ทำให้รู้ซิว่า ที่เป็นทุกข์ๆ ในหัวใจนี้ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะกิเลสเท่านั้น มีมากมีน้อยก็ตาม เหมือนอย่างหนามอย่างเสี้ยนเรานี่ ละเอียดขนาดไหนมันก็ทุกข์ ถ้ายังมีอยู่ในร่างกายของเรานี้ ถอดถอนมันออกหมดเสียนั่นถึงจะสบาย จิตใจก็เหมือนกัน

ธรรมพระพุทธเจ้าถอดถอนกิเลสไม่ได้แล้วมันก็หมด จะเอาอะไรมาถอนเอาอะไรมาถอด แล้วย่นเข้ามาหาตัวของเราอีก ถ้าเราถอดถอนกิเลสไม่ได้แล้วจะให้ใครถอน ใครจะเลิศยิ่งกว่าเราผู้แก้กิเลสในหัวใจเรา ใครจะเก่งยิ่งกว่าเราผู้แก้กิเลสในหัวใจเรา ใครจะเพียรยิ่งกว่าเราผู้แก้กิเลสในหัวใจเรา ใครจะฉลาดยิ่งกว่าเราผู้พยายามแก้หัวใจเราด้วยปัญญา ใครจะมีสติยิ่งกว่าเราผู้ตั้งสติอยู่ตลอดเวลานี้ นั่นฟังซิ มันเกิดได้ๆ มีได้ ถ้าเราได้ปักใจลงไปเพื่อความมีความเป็นในสิ่งที่เป็นสิริมงคลทั้งหลายสำหรับตัวของเราเอง ต้องเป็นได้แน่นอน ไม่อย่างนั้นธรรมพระพุทธเจ้าไม่เรียกว่า สวากขาตธรรม ตรัสไว้ชอบแล้ว เหล่านี้เป็นเรื่องของธรรมทั้งนั้นสอนคนให้พ้นทุกข์พ้นภัย

หัวใจนี้เป็นสำคัญมากนะ ร่างกายเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น อาศัยอยู่ในร่างนี้แล้วยังไม่แล้ว ยังมายึดร่างนี้ว่าเป็นตัวของเราอีกแบกหมดเลย นั่นเห็นไหมกิเลสมันฉลาดไหม ยึดนี่อุปาทานขันธ์ท่านว่า โน่นออกมาจากใจนั่นแหละ ยึดใจ ยึดมาโดยลำดับลำดา พอปล่อยเข้าไปๆ ดังเคยอธิบายให้ฟังแล้ว ปล่อยเข้าไปจนกระทั่งถึงรากแก้วรากฝอย ถอนพรวดออกมาหมด ไม่ถามหานิพพานถามหาทำไม

มีกิเลสเท่านั้นพาให้ยุ่งนั้นยุ่งนี้ วุ่นนั้นวุ่นนี้อยู่ตลอดเวลา กะนั้นคาดนี้ มีแต่เป็นลมๆ แล้งๆ คว้าน้ำเหลวไปหมด ปักลงไปซี ตรงไหนกิเลสสร้างเรื่องขึ้นมา อยู่ตรงไหน มันสร้างที่หัวใจนั่นแหละ ดูให้ดี

การประกอบความพากเพียรอย่าไปหาเวล่ำเวลา อุบายวิธีดัดเจ้าของเป็นของเจ้าของเอง เป็นกรณีพิเศษสำหรับแต่ละคนที่จะหาอุบายฝึกตนเอง แก้ไขตนเอง ครูบาอาจารย์ยกยื่นให้ก็เหมือนกับยื่นให้ธรรมทั้งดุ้นนั่นแหละ เจ้าของต้องไปจาระไนเอา คิดแยกตัวเอง ไม่เช่นนั้นไปไม่รอดนะ สักแต่ว่าประกอบความเพียรเฉย ๆ

ธรรมพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ทุกแง่ทุกมุมซึ้งทั้งนั้น ถ้าเราจะใช้ความพิจารณาตามความซึ้งแห่งธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงออกมานี้ เพราะทรงแสดงออกมาด้วยความบริสุทธิ์หมดจดแท้ๆ ภายในพระทัย และความฉลาดแหลมคมด้วย แสดงออกมาด้วยความฉลาดแหลมคมที่สุดก็คือพระพุทธเจ้า ผู้พินิจพิจารณาตามพระโอวาท ไม่ว่าจะบทใดบาทใดแง่ใดก็ตามเถอะ จะได้ความซึ้งใจมาโดยลำดับลำดาเพราะมีน้ำหนักพอๆ กันหมด ในนามว่า สวากขาตธรรม ตรัสไว้ชอบแล้ว นั่น แต่นี้เราไม่พิจารณานั่นซิ มันถึงไม่ได้เรื่องได้ราวอะไร

อยากให้หมู่เพื่อนได้รู้ได้เห็นธรรมทั้งหลายก็แทบเป็นแทบตาย สอนก็สอนเต็มเม็ดเต็มหน่วย สอนหมดไส้หมดพุงไม่มีอะไรเหลือเลย ยังยึดเอาไม่ได้มันก็สุดวิสัยซีว่าไง จะให้สอนอะไรไปอีก ก็สอนหมดพุงแล้ว ฟังแต่ว่าหมดพุงเป็นไร ให้พากันตั้งใจประพฤติปฏิบัติซิ ให้ต่างคนต่างเหมือนอยู่คนเดียว ทั้งๆ ที่อยู่ในท่ามกลางหมู่เพื่อนฝูงนั่นแหละ ไม่ให้คิดเป็นเครื่องกังวลอันเป็นการทำลายธรรมะให้ขาดวรรคขาดตอนไป ด้วยความกังวลในสิ่งนั้นสิ่งนี้คนนั้นคนนี้ไม่ดี

พยายามซิ เจ้าเรื่องจริงๆ อยู่ที่ไหนก็บอกแล้ว อยู่ที่จิต แสดงอยู่ที่นั่นละ มาหมายเรื่องนั้นและมาหมายเรื่องนี้ ผู้นั้นเองเป็นผู้ออกไปหมาย เราหลงตื่นเงามันไม่ใช่อะไรนะ จำให้ดีคำนี้ เวลามันเป็นขึ้นมาจะเป็นเหมือนกับกังวานอยู่ภายในหัวใจเจ้าของนั่นแหละ ครูบาอาจารย์จะแสดงไว้นานเท่าไรก็ตาม มันจะไปกังวานอยู่ในนั้นด้วยความจริงที่เรารู้เราเห็นขึ้นมานั้นแหละ อ๋อๆ ที่นี่ยอมรับ กราบ ไม่สงสัย นี่ละคือเจ้าเรื่องใจดวงนี้เอง

แหมเวลามันก่อๆ จริงๆ นะ ไม่ทราบเงื่อนต้นเงื่อนปลายเล้ย มันเป็นอยู่นี้และไม่ทราบว่าจิตเป็นยังไงอีกด้วย หากมีแต่เรื่องยุ่งเหยิงวุ่นวายเต็มหัวใจ ไฟบรรลัยกัลป์สู้ไม่ได้ ไฟบรรลัยกัลป์มันอยู่ไหนไม่รู้นะ ไฟหัวใจเรานี่ซิ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา ความยุ่งเหยิงวุ่นวายเกิดขึ้นจากไฟเหล่านี้ เผาอยู่ที่หัวใจนี้ไม่มีเวลาสร่างเลยถ้าไม่แก้มันได้ หรือให้มันสงบตัวลงได้ด้วยการแก้ไขดัดแปลงกัน เราก็จะแบกอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไปโลกไหนก็จะแบกไฟไป มันวิเศษอะไร มันสุขที่ตรงไหน เอ้า สมมุติว่าเราขึ้นจากชั้นนี้ไปชั้นบน พร้อมทั้งแบกไฟขึ้นไป มันก็ไปเผาอยู่ข้างบนนั่นซิ เหมือนคนไข้ไปอยู่โรงพยาบาล ไปอยู่ชั้นไหนก็ไปซิคนไข้นั่นน่ะ มันก็เป็นคนไข้อยู่ในชั้นนั้นๆ แหละ ถ้าเป็นมากมันก็ไปครวญไปครางอยู่โน้นละ มีร้อยชั้นก็ไปร้องไปครางอยู่ในร้อยชั้นนั่น มันจะเอาความสุขมาจากไหนถ้าไม่หายไข้น่ะ ถ้าหายไข้เสียอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ไม่จำเป็นจะต้องไปอยู่ชั้นนั้นชั้นนี้ มันเป็นปกติธรรมดาไม่เป็นทุกข์ นี่มันทุกข์เพราะไข้ต่างหากบีบบังคับ

อันนี้ก็ทุกข์เพราะกิเลสต่างหากบีบบังคับหัวใจ ถอดถอนกิเลสออกหมดแล้วอยู่ไหนก็สบายทั้งนั้น ไม่เลือกกาลสถานที่เวล่ำเวลาว่าสูงว่าต่ำ ว่าจะไปที่ไหนต่อที่ไหน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเงาทั้งนั้นไม่ใช่ความจริง ความจริงจริงๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็คือดวงใจที่บริสุทธิ์ล้วนๆ แล้วนั่นแหละ หมดอดีตอนาคต ปัจจุบันก็ไม่สนใจเพราะรู้เท่าแล้ว นั่นเห็นไหม ฟังซิ นี่ละท่านว่าเลิศ เลิศอย่างนี้แหละ ให้เห็นตรงนี้เข้าไปซิ ว่าพระพุทธเจ้าเลิศขนาดไหน เราคัดค้านเราไม่ได้แล้วจะไปคัดค้านพระพุทธเจ้าได้ยังไง ความจริงมันเหมือนกันนี่ รู้อย่างเดียวกัน เห็นอย่างเดียวกัน ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอย่างเดียวกันแล้ว ค้านกันได้ลงคอหรือคนเรา

แม้แต่ภายนอกอยู่นี้ก็เหมือนกัน ต่างคนต่างไปเห็นแล้ว จะเอาอะไรมาค้านกันมันยอมรับกันนั่นซิ ธรรมก็ยิ่งเป็นของจริงเต็มส่วนด้วยแล้ว รู้เข้าไปตรงไหนมันจะยอมรับๆๆ เท่านั้นเอง ให้พากันตั้งใจประพฤติปฏิบัติ

ผมไม่ค่อยจะได้ประชุมเทศน์อบรมอยู่บ่อยๆ นะทุกวันนี้ ไม่เหมือนแต่ก่อน ธาตุขันธ์ก็อย่างว่าแหละ วัยก็แก่ลงไปชราลงไปโดยลำดับลำดา จะให้ขยันขันแข็งแน่นหนามั่นคงเหมือนแต่ก่อนได้ยังไง อยู่กับหมู่กับเพื่อนก็อยู่ไปอย่างนั้นแหละ การแนะนำสั่งสอนก็แล้วแต่เรื่องธาตุเรื่องขันธ์จะอำนวยให้มากน้อย ถ้าธาตุขันธ์ไม่อำนวยแล้วก็จะเอาอะไรมาเทศน์ เพราะธาตุขันธ์เป็นเครื่องมือ เมื่อเครื่องมือมันชำรุดแล้วจะเอาอะไรมาใช้ มันก็อยู่เฉยๆ นั่นซี เพียงแต่ลำพังใจที่จะแสดงออกอย่างนี้ไม่ได้ จึงต้องอาศัยขันธ์เป็นเครื่องแสดงออก

ฉะนั้นหมู่เพื่อนก็ขอให้ตั้งอกตั้งใจ อย่าให้ได้หนักอกหนักใจนะ สอนแทบล้มแทบตายแล้ว ยังให้แบกความหนักอกหนักใจ เพราะเรื่องนั้นเรื่องนี้เกี่ยวกับหมู่กับเพื่อนที่อยู่ด้วยกันนี้อีกแล้ว นั่นละผมอกแตกนะ อย่าว่าแต่ผู้ทะเลาะกันจะอกแตก นี่ก็อกแตกได้เหมือนกัน สลดสังเวชนั่นเอง สอนอย่างหนึ่งผลเป็นขึ้นมาอย่างหนึ่ง มันขัดมันแย้งกัน ก็แสดงให้เห็นชัดๆ ว่ากิเลสกับธรรมเข้าแข่งกันในวัดในวาในครูบาอาจารย์ ทั้งๆ ที่เทศน์สอนให้ชำระกิเลสตลอดเวลา แต่กลายเป็นเรื่องของกิเลสมาเป็นคู่แข่งกับธรรมของครูบาอาจารย์ มาเป็นข้าศึกต่อเพื่อนต่อฝูง ต่อครูต่ออาจารย์แล้วยิ่งประจานขายหน้าความเลวทรามของตนอย่างไม่มีอะไรที่จะให้อภัยเลย จึงขออย่าให้ได้เห็น ขออย่าให้ได้ยิน

เอาละเหนื่อยแล้ว เทศน์เท่านี้พอแล้ว

Cr.http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1045&CatID=3

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564

กรรม


 #กรรม

คือ...การกระทำ 

อันเกิดจาก... 

การแสดงออกทางพฤติกรรม 

ทางกายก็ดี วาจาก็ดี ใจก็ดี ทั้งหลายที่ได้กระทำเอาไว้

จะไม่หนีหายไปไหน…. 

จะเป็นเงาติดตามตัวเรา

ไปทุกหนทุกแห่ง 


เหมือนกับ….

การหว่านพืชชนิดใดไว้ ก็จะได้ผลเช่นนั้นกลับคืนมา...  


ผู้ลงมือกระทำกรรม ก็คือ..เจ้าของ ผู้รู้เจตนา 

ว่าเป็นกรรมดีหรือกรรมไม่ดี 

ขณะที่กระทำ #ด้วยตัณหาและอารมณ์  ก็คือ...ผู้เป็นเจ้าของการกระทำ 


ทุกอย่างจะถูกเก็บไว้เป็นอย่างดี

ในใจของเจ้าของ เมื่ออาการของทุกข์แสดงออกมา 

การกระทำกรรมอันไม่ดี

มักจะปรากฏออกมาให้เห็นเสมอ… 

เมื่อกรรมให้ผล...ทางกาย

ก็จะเกิดความเจ็บป่วย เสื่อม

 ลาภ ยศ สรรเสริญ ฯลฯ


กรรมให้ผล..ทางใจ ก็จะเกิดความทุกข์เศร้าหมอง

ขุ่นมัว ฯลฯ


บางครั้ง ที่กรรมยังไม่ให้ผล เพราะยังไม่ถึงเวลา…

 จะรอเวลาที่พอเหมาะพอดี รอความเสื่อมถอยของร่างกาย

หรือแม้กระทั่งจวบจน

วินาทีสุดท้ายของชีวิต ….


อะไรต่างๆที่ได้มานั้น..

#ไม่มีของฟรี..

มาพร้อมกับกรรม

ของบุคคลนั้น..

หากยังไม่ใช่ของเรา..

ต้องมีการแลกเปลี่ยนเป็นธรรมดา


สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนา

ที่มีการเจริญผู้รู้ขึ้นมาแล้ว

การกระทำกรรม

จะถูกใช้ไม่ถูกเก็บบันทึก

ไว้ลงในจิตใจเพราะ..

#มีผู้รู้เห็นทุกอย่างขณะที่กำลังปฏิบัติ

อยู่กับกองทุกข์นั้นอยู่ทุกๆครั้ง


ฆราวาสหญิง  ผู้อยู่เรือน

ขอบคุณเจ้าของภาพ

.............

Cr.Fwd line

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564

กัลยาณมิตร

 


🌼 กัลยาณมิตรมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด 🌼


ดังเช่นในอดีตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเกิดมาแล้วเป็นผู้มีความเห็นผิด จนเกือบจะไม่ได้พบกับหนทางของพระนิพพาน แต่เนื่องจากพระองค์ได้คบหากับบุคคลอันเป็นกัลยาณมิตร พระองค์จึงได้ก้าวเข้ามาสู่หนทางของการสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้


พระองค์ทรงระลึกชาติในหนหลัง ตรัสเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า ในสมัยนั้นเป็นสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ณ ตำบล บ้านเวภฬิคะ มีชายหนุ่ม ๒ คนเป็นเพื่อนรักกัน คนหนึ่ง ชื่อ ฆฏิการะ อีกคนหนึ่ง ชื่อ โชติปาละ ทั้งสองคนนี้แม้จะเป็นเพื่อนที่รักกันมาก แต่กลับมีอุปนิสัยในทางธรรมที่แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน ฆฏิการะนั้นเป็นผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก เขาได้ชื่อว่าเป็นอุปัฏฐาก ที่ดีเลิศของพระพุทธเจ้ากัสสปะ แต่โชติปาละเป็นผู้ที่ไม่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเลย เขาไม่เคยไปฟังธรรม ไม่เคยแม้แต่จะไปกราบพระพุทธเจ้า ฆฏิการะก็พยายามชักชวนอยู่เสมอ แม้ว่าความปรารถนาดีของเขาจะถูกปฏิเสธเสียทุกครั้งไป 


จนกระทั่งวันหนึ่ง ฆฏิการะจึงออกอุบายชวนโชติปาละไปอาบน้ำยังท่าน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้กับพระอารามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พออาบน้ำชำระกายเป็นที่เย็นกายเย็นใจแล้ว ฆฏิการะก็กล่าวชวน โชติปาละว่า 

"โชติปาละไปเถอะ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากัน พระอารามของพระองค์ท่านอยู่ที่ตรงนี้เอง" 

โชติปาละกล่าวตอบว่า 

"อย่าเลย เราไม่เห็นประโยชน์อะไรกับการที่จะได้เห็นสมณะโล้น สู้ไปเที่ยวยังจะสนุกเสียกว่า" 

ฆฏิการะก็บอกว่า 

"มีประโยชน์สิ เพราะการเห็นสมณะนั้นเป็นมงคล ไปกันเถอะ" 

โชติปาละก็ปฏิเสธอีก ฆฏิการะจึงเดินเข้าไปจับมือของโชติปาละ โชติปาละสะบัดมือออก ฆฏิการะเปลี่ยนมาจับชายพกของโชติปาละ โชติปาละก็ดึงมือออกอีก ฆฏิการะไม่ละความพยายามหันมาดึงมวยผม พร้อมกับกล่าวชวนซ้ำอีก คราวนี้โชติปาละรู้สึกขัดใจขึ้นมาทันที 

"เอ๊ะ! ทำไมต้องมาดึงมวยผมกันด้วยละ สมณะโล้นน่ะ มีดีอย่างไรหรือ ท่านจึงอยากให้ข้าพเจ้าไปเฝ้านัก"


และด้วยอานุภาพแห่งกัลยาณมิตร โชติปาละก็รำลึกได้ว่า โดยปกติแล้ว ฆฏิการะเป็นเพื่อนที่หวังดีกับเขาเสมอมา ไม่เคยเลยที่จะชักนำไปในทางที่เสียหาย เขาเริ่มคิดได้ว่า การที่ฆฏิการะชวนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เสมอนี้ ก็ควรจะเป็นการชักนำไปในทางที่ดีอีกเช่นเคย ดังนั้นโชติปาละจึงยอมไปเฝ้าพระพุทธเจ้า


เมื่อไปถึงพระอาราม ทั้งสองกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็นั่งในที่อันควรข้างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงปฏิสันถารด้วยพระทัยที่เปี่ยมด้วยความเมตตา แล้วพระองค์ก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะ แสดงธรรมที่ไพเราะทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย หลั่งธรรมธาราให้รินไหลเข้าสู่กระแสใจของโชติปาละ โชติปาละได้ฟังธรรมแล้ว ใจของเขาก็ผ่องใส เหมือนคนที่เดินหลงทางอยู่ในทะเลทรายมาเป็นเวลานาน แล้วได้พบกับบ่อน้ำที่ให้ทั้งความเย็นกายเย็นใจ ใจของเขาดื่มด่ำในรสแห่งอมตธรรมยิ่งนัก แล้วด้วยใจที่ศรัทธาตั้งมั่นไม่คลอนแคลน โชติปาละจึงขอออกบวชอุทิศตนเป็นพุทธบูชาตลอดชีวิต


แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงกล่าวกับพระอานนท์สืบไปว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้พึงคิดเลยว่าเราคือ ฆฏิการะ บุรุษผู้มีความเห็นถูก แต่แท้ที่จริงแล้วเราคือ โชติปาละ บุรุษผู้มีความเห็นผิดคนนั้น แต่เนื่องจากเราได้คบหากับบุคคลอันเป็นยอดกัลยาณมิตร คือ ฆฏิการะ เราจึงได้กลับมาเป็นผู้มีความเห็นถูก ก้าวเข้ามาสู่หนทางแห่งการสร้างความดี มาสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ในที่สุด


อานนท์ แม้เราตถาคตก็ยังต้องการกัลยาณมิตร เป็นผู้ชี้หนทางแห่งความดีให้ ดังนั้น เราจึงได้กล่าวกับเธอว่า "กัลยาณมิตรนั้นเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์"


กัลยาณมิตรที่รัก ขอให้ทุกๆ ท่านได้ทำหน้าที่ของกัลยาณมิตร เกื้อกูลแก่หมู่ญาติเหมือน ดังที่ ฆฏิการะ ได้เกื้อกูลแล้วแก่ โชติปาละ ผู้เป็นสหายด้วยเถิด

********

Cr. Fwd line

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564

คิดดี ทำดี มีค่า

 


"😊😊😊สิ่งดีๆ😊😊😊"


1. ในแต่ละปี.. จงทำชีวิตให้ "ดีขึ้น" 

เพราะในแต่ละวัน..ชีวิตกำลัง "สั้นลง"


2. การ "อยู่กับปัจจุบัน " ไม่ใช่การ "หยุดทำ" ในเรื่องสำคัญแต่มันคือการ "หยุดทุกข์" ไปกับเรื่องที่ไม่สำคัญ


3. อารมณ์ "ลบ" ทุกชนิดจะทำร้ายเรา ก่อนที่จะทำร้ายคนอื่นเสมอ...

ส่วนอารมณ์ "บวก" ทุกชนิดจะให้พรเรา ก่อนที่จะให้พรคนอื่นเสมอเช่นกัน...


4. "วิจารณ์" คนอื่นทุกวัน...ใจต่ำลงทุกวัน

     "วิจัย" ตัวเองทุกวัน...ใจสูงขึ้นทุกวัน


5. ถ้าไม่มีคนมาทำให้คุณโกรธ

...คุณจะไม่รู้เลยว่าระดับจิตคุณอยู่ตรงไหน

    ถ้าไม่มีใครมาทำให้คุณทุกข์ใจ

...คุณจะไม่รู้เลยว่า ตัวเองยังมีอะไรต้องพัฒนา


6. ไม่ว่า "ภายนอก" เราจะอยู่กับคนมากแค่ไหน

    แต่ "ภายใน" เรายังอยู่ตัวคนเดียวเสมอ

    จงหาวิธี " รักตัวเอง " ให้เจอ

    เพราะไม่มีใครในโลกนี้ที่จะอยู่กับเธอ สม่ำเสมอเท่ากับ "ตัวเธอเอง"


7. การฝึกจิตและพัฒนาตัวเองอาจ...ไม่ทำให้เรา "พ้นทุกข์ตลอดกาล"   แต่...

ทำให้เรา "เป็น..ทุกข์นาน..น้อยลง"


8. การ "แก้กรรม" ที่ดีที่สุด คือการแก้ไข "ความคิด"  "คำพูด" และ "การกระทำ" ของตัวเอง


9. ความดีเล็ก ๆ ที่ทำไปนานๆสุดท้ายอาจสร้าง "ปาฏิหารย์" ให้ชีวิต


10. "ไป" ได้เร็วแค่ไหน ก็ถึงเร็วเท่านั้น...

    "ปล่อย" ได้เร็วแค่ไหน ก็สุขเร็วเท่านั้น


11. จำไว้ว่า "ความทุกข์"  และ "ความเจ็บปวด" ทั้งมวลไม่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิตเรา... เพื่อมอบ "คำสาป" แต่มันผ่านเข้ามาในชีวิตเรา... เพื่อมอบ "คำสอน"


12. ก้าวแรกของการใช้ชีวิตอย่าง "ผู้ตื่น"  คือการหยุดยุ่งวุ่นวายเรื่อง "คนอื่น" แล้วหันกลับมาวิเคราะห์ใจ "ตัวเอง"


13. ความทุกข์ทั้งหมดในชีวิตไม่ได้เกิดจาก

"สิ่งที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับคุณ"

       .....แต่มันเกิดจาก.....

"สิ่งที่คุณคิด ว่าคนอื่นคิดเกี่ยวกับคุณ"


14. ต้องขอบคุณคนที่ทำ "ไม่ดี"

ที่ช่วยเป็นตัวอย่างที่ "ดี" ว่าอะไร "ไม่ควรทำ"


15. ไม่ว่าจะทุกข์หนักหนาสาหัสสักแค่ไหนทางออกก็ไม่เคยอยู่ไกลไปกว่า "ใจ" ของเราเอง...

    

16. เกลียดเขา "เราทุกข์"

       เมตตาเขา "เราสุขเอง"


17. คนเราฝึกเดินจนเก่งได้ ฉันใดก็สามารถฝึกใจจนเป็นสุขได้ ฉันนั้น...


18. "ความตาย" เป็นเรื่องธรรมดา   

แต่การได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า

เป็นเรื่อง  "อัศจรรย์"


19. โปรดสังเกตุดูให้ดี...  

ว่าสิ่งที่ทำให้เราทุกข์บ่อยที่สุดในแต่ละวัน

ไม่ใช่ "พฤติกรรม" ของคนอื่น

แต่คือ "ความคิด" ของเราเอง


20. อย่าถือโทษ โกรธคน ไม่คู่ควร

       อย่าตีตรวน ตนไว้ กับอดีต

       ชะตาเรา อย่าให้ใคร มาเขียนขีด

       อย่าเอาคำ ที่เหมือนมีด มากรีดใจ    


21. หากคุณคิดว่าตัวเองมีค่า 

เพราะมี "เงิน"

      วันไหนเงินหมด คุณค่าคุณก็หมด

       หากคุณคิดว่าตัวเองมีค่า 

เพราะ "หน้าตา" ดี

       วันไหนคุณแก่ลง จนหน้าตาไม่ดี คุณค่าคุณก็หมด

       แต่ตราบใดที่คุณรู้ว่าตัวเองมีค่า เพราะเป็น "คนดี" ตราบใดที่คุณมีความดีคุณก็จะ "มีคุณค่า" ได้.

*******

Cr. Fwd. Line

๕๕ ปี นาวี ๐๙

 


"เรารุ่นเดียวกัน" นรจ.รุ่น ๐๙
ทำเนียบรุ่น

พรรคนาวิน เหล่าปืนใหญ่
๑.นรจ.ปรีชา ปานบุญ(๙๒๑๖)
๒.นรจ.อนันต์ เกิดสุวรรณ(๙๒๔๐)
๓.นรจ.สมศักดิ์ เล็กคง(๙๒๓๓)
๔.นรจ.พลเทพ อินาวัง(๙๒๑๙)
๕.นรจ.อุดม ทรัพย์มณี(๙๒๔๑)
๖.นรจ.เพิ่ม ศรีจันทึก(๙๒๒๑)
๗.นรจ.สวัสดิ์ กงแก้ว(๙๒๓๘)
๘.นรจ.บำเพ็ญ บำเพ็ญผล(๙๒๐๘)
๙.นรจ.ไพศาล สุขกุล(๐๐๐๐)
๑๐.นรจ.ประสงค์ วงศาโรจน์(๙๒๑๒)
๑๑.นรจ.กิตติ ล้วนแก้ว(๙๒๐๑)
๑๒.นรจ.บุญโชติ ตั้งเจริญ(๙๒๐๙)
๑๓.นรจ.วิเชียร อินทรวิเศษ(๙๒๒๗)
๑๔.นรจ.ปราโมทย์ มงคล(๙๒๑๕)
๑๕.นรจ.สกล อยู่จินดา(๐๐๐๐)
๑๖.นรจ.ประเสริฐศักดิ์ สุวรรณโรจน์(๙๒๑๓)
๑๗.นรจ.สมศักดิ์ พรหมมาลี(๙๒๓๔)
๑๘.นรจ.บรรจง รวยดี(๐๐๐๐)
๑๙.นรจ.สมศักดิ์ กุลสวัสดิ์(๐๐๐๐)
๒๐.นรจ.สมชัย รัตน์ราศี(๙๒๓๒)
๒๑.นรจ.ประนต บุษบงค์(๙๒๑๔)
๒๒.นรจ.จำนอง ชูสาย(๙๒๐๒)
๒๓.นรจ.ไพสันต์ พระนอนเขตต์(๙๒๒๒)
๒๔.นรจ.สุนันท์ เกษรา(๐๐๐๐)
๒๕.นรจ.ศิริ โชติช่วง(๐๐๐๐)
๒๖.นรจ.ศักดิ์ บุญเจิม(๙๒๒๙)
๒๗.นรจ.พยอม กสิวัฒน์ (๙๒๐๖)(เปลี่ยนชื่อเป็น ธีระศักดิ์)
๒๘.นรจ.ทองพูน สวัสดิ์ราษฎร์(๐๐๐๐)
๒๙.นรจ.สมิง หลาดไธสง(๙๒๓๖)
๓๐.นรจ.กรุ่น คุมสติ (๙๒๒๓)(เปลี่ยนชื่อเป็น มนตรี)
๓๑.นรจ.ปรีชา มณีพันธ์(๙๒๑๗)
๓๒.นรจ.สุนทร ทองวิจิตร (๙๒๐๕)(เปลี่ยนชื่อเป็น ชนธร)
๓๓.นรจ.ยุทธนา ภู่ไพโรจน์(๙๒๒๔)
๓๔.นรจ.ไพบูลย์ ดวงศรี(๐๐๐๐)
๓๕.นรจ.สมาน กัวสงฆ์(๙๒๓๕)
๓๖.นรจ.พลนรินทร์ อินศร(๙๒๒๐)
๓๗.นรจ.วิวัฒน์ ทิมภู่(๙๒๒๘)
๓๘.นรจ.สรรเสริญ ลายประดิษฐ์(๙๒๓๗)
๓๙.นรจ.ราวี สุขมั่น(๙๒๒๕)
๔๐.นรจ.ศุภโชค เหล็กเพชร(๙๒๓๐)
๔๑.นรจ.จำลอง กาเผือก(๙๒๐๓)
๔๒.นรจ.ประสงค์ คงคีรี(๙๒๑๑)
๔๓.นรจ.ศุภมาตรา บุญเสริมศิริ(๐๐๐๐)
๔๔.นรจ.เรืองยศ เอี่ยมสินธุ์(๙๒๒๖)
๔๕.นรจ.พยุง เนื่องคำมา(๙๒๑๘)
๔๖.นรจ.ฉลอง เยาวะ(๙๒๐๔)
๔๗.นรจ.ประกอบ พิพิธกุล(๐๐๐๐)
                                           ๔๘.นรจ.นินนาท วีรผลิน(๙๒๐๗)  (ลาออกขณะเรียนชั้นปีที่ ๒)
                          

พรรคนาวิน เหล่าปืนใหญ่(กรมตำรวจฝากเรียน)

๑.นรจ.สกุล แสงแก้ว(๙๒๓๑)
๒.นรจ.กิตติ บุญธรรม(๐๐๐๐)
๓.นรจ.สุคนธ์ สุคันทบุตร(๐๐๐๐)
๔.นรจ.สุรัตน์ คลี่ฉายา(๙๒๓๙)
        ๕.นรจ.ประเทือง ยาไทย(๙๒๑๐)     
 

พรรคนาวิน เหล่าตอร์ปิโด

๑.นรจ.มาโนช เพ็งแจ่มศรี(๙๓๐๙)
๒.นรจ.เดชา สกุลทอง(๙๓๐๖)
๓.นรจ.สวรรค์ ขันธ์เขตต์(๙๓๑๒)
๔.นรจ.ชูวิทย์ เหลี่ยมสูงเนิน (๙๓๐๔)(เปลี่ยนชื่อสกุล เป็น มรกตขจร)
๕.นรจ.เฉลิมชัย ชำนิประเสริฐกุล(๙๓๐๒)
๖.นรจ.ไพศาล พูลสังขะวโร(๙๓๐๘)
๗.นรจ.สุเทพ ยิ้มเจริญ(๙๓๑๓)
๘.นรจ.เฉลิม เกตจินดา(๙๓๐๑)
๙.นรจ.สมนึก เสียงไพเราะ(๙๓๑๑)
๑๐.นรจ.สถิตย์ กุลณาวรรณ(๙๓๑๐)
๑๑.นรจ.ผดุง ชาวอ่างทอง(๙๓๐๗)
๑๒.นรจ.อนันต์ หาญชนบท(๐๐๐๐)
๑๓.นรจ.ปฐม วิสุทธิพร(๐๐๐๐)
๑๔นรจ.ไชยยศ ยะสะวุฒิ(๙๓๐๕)
๑๕.นรจ.ชุ่ม อาวรณ์(๙๓๐๓)  
พรรคนาวิน เหล่าสามัญ
๑.นรจ.อุดม มะลิมาตย์(๙๑๓๗)
๒.นรจ.สมบูรณ์ เงินเจริญ(๙๑๓๐)
๓.นรจ.วิติ บัวศรี(๙๑๒๓)
๔.นรจ.สมควร ศิริเขต(๙๑๒๗)
๕.นรจ.มีชัย เต็งประเสริฐ(๙๑๒๐)
๖.นรจ.จำรัส ศิริวรรณ(๙๑๐๖)
๗.นรจ.กมล กิ่งพุฒ(๙๑๐๒)
๘.นรจ.จิระชัย กันตะสุวรรณ(๙๑๐๗)
๙.นรจ.วินัย ประเสริฐ(๙๑๒๔)
๑๐.นรจ.ประชา ตัณฑ์ไพบูลย์(๙๑๑๕)
๑๑.นรจ.ทองลา แก้วดก (๙๑๑๔)(เปลี่ยนชื่อเป็น ปกรณ์ )
๑๒.นรจ.สมชาย เคร่งครัด(๙๑๒๘)
๑๓.นรจ.กวี อุทัย(๙๑๐๓)
๑๔.นรจ.สนิท เมืองใย(๙๑๒๖)
๑๕.นรจ.สุรินทร์ ลายเสือ(๙๑๓๖)(เปลี่ยนนามสกุลเป็น ธีรนาวิน)
๑๖.นรจ.สุรพล ไกรศิริ(๙๑๓๕)
๑๗.นรจ.รังสิต นาคน้ำ(๙๑๒๒)
๑๘.นรจ.บุญสืบ สว่างเนตร (๙๑๓๒)(เปลี่ยนชื่อเป็น สืบศักดิ์ )
๑๙.นรจ.นคร ห้วยหงษ์ทอง(๙๑๐๘)
๒๐.นรจ.อุดม คุ้มพงษ์(๙๑๓๘)
๒๑.นรจ.ประเสริฐ ญาณธรรม(๙๑๑๗)
๒๒.นรจ.บรรยงค์ เทียนจวง(๙๑๑๐)
๒๓.นรจ.จรูญ แก้วจรัส(๙๑๐๕)
๒๔.นรจ.ประมวล กลับเจริญ(๐๐๐๐)
๒๕.นรจ.พงษ์ศักดิ์ ธิกุลวงษ์(๐๐๐๐)
๒๖.นรจ.ประดิษฐ์ ศรีเฉลิม(๙๑๑๖)
๒๗.นรจ.บัณฑิต สิงห์ปลี(๙๑๑๑)
๒๘.นรจ.เอกศักดิ์ อิศรพนธ์(๙๑๓๙)
๒๙.นรจ.บุญโฉลก พลอยแก้ว(๙๑๑๒)
๓๐.นรจ.นิมิตร ไทยเจริญ(๙๑๐๙)
๓๑.นรจ.สุทธิพล พุ่มกำเหนิด(๙๑๓๓)
๓๒.นรจ.บุญส่ง แจ่มเที่ยงตรง(๙๑๑๓)
๓๓.นรจ.เกษม เกิดศิริ (๙๑๐๔)(เปลี่ยนชื่อเป็น อภิชา )
๓๔.นรจ.ระยอง จันทร์เพ็ง(๙๑๒๑)(เปลี่ยนชื่อเป็น ปิติยะนันท์)
๓๕.นรจ.ปรีชา ชื่นใจ(๙๑๑๘)
๓๖.นรจ.สมชาย จันทร์พฤกษ์(๙๑๒๙)
๓๗.นรจ.ทองสุข ชมวงษ์(๐๐๐๐)
๓๘.นรจ.วิรัตน์ คำตรี(๙๑๒๕)
๓๙.นรจ.สมศักดิ์ ทรัพย์เสน(๙๑๓๑)
๔๐.นรจ.กนก รัตนผกา(๙๑๐๑)
๔๑.นรจ.เผด็จศิลป์ ปรักมานนท์(๙๑๑๙)

พรรคนาวิน เหล่าสัญญาณ (เรดาห์)

๑.นรจ.จำนง บุญคล้อย(๙๔๐๘)
๒.นรจ.ธรรมนูญ ปรีชา(๙๔๒๒)
๓.นรจ.เสงี่ยม ขาวคง(๙๔๕๘)
๔.นรจ.เถลิงชัย พืชสิงห์(๙๔๑๖)
๕.นรจ.ทรงวุฒิ ศรีทอง(๐๐๐๐)
๖.นรจ.สมศักดิ์ ณัถฤทธิ์(๙๔๔๗)
๗.นรจ.ชำนาญ จัดงูเหลือม(๐๐๐๐)
๘.นรจ.ชูศักดิ์ สงวนรัตน์(๙๔๑๔)
๙.นรจ.อาวุธ ปล้องอ้วน(๐๐๐๐)
๑๐.นรจ.ประยูร พรหมอุบล(๙๔๒๘)
๑๑.นรจ.วินัย พาหะกิจ(๙๔๔๒)
๑๒.นรจ.ทัศนะ มะยม(๙๔๑๙)เปลี่ยนชื่อสกุลเป็น ไววิริยะ
๑๓.นรจ.โสภณ อิ่มกมล(๙๔๕๙)

พรรคนาวิน เหล่าสัญญาณ (โซน่าร์)

๑.นรจ.วีระศักดิ์ ทองเสริม(๙๔๔๓)
๒.นรจ.เกียรติพงษ์ อิสสระกุล(๙๔๐๕)
๓.นรจ.นิพนธ์ ปริญญาศุภกุล(๙๔๒๕)
๔.นรจ.สมชาติ ปัญญา(๙๔๔๕)เปลี่ยนชื่อเป็น ฐานิศวร์

พรรคนาวิน เหล่าสัญญาณ (วิทยุ)

๑.นรจ.ประสพโชค วุฒิสาร(๙๔๒๙)
๒.นรจ.วิเชียร มามีเกตุ(๙๔๔๑)
๓.นรจ.สำราญ ศรีโมรา(๙๔๕๒)
๔.นรจ.อำนวย รอดทอง(๙๔๖๓)
๕.นรจ.ทวีศักดิ์ สุภานันท์(๙๔๑๗)
๖.นรจ.โกศล นาคทับ(เปลี่ยนเป็น กรไชย นาคทรรพ)(๙๔๐๖)
๗.นรจ.ชลิต เกิดชื่น(๙๔๑๑)
๘.นรจ.สมบูรณ์ บุญรังษี(๙๔๔๖)
๙.นรจ.อนันต์ ชาตตระกูล(๙๔๖๑)
๑๐.นรจ.สมรวย ประสูตรแสงจันทร์(๙๔๕๑)
๑๑.นรจ.ทวีศักดิ์ อุตรวิเศษ(๙๔๑๘)
๑๒.นรจ.อุทัย สังข์ทอง(๙๔๖๕)
๑๓.นรจ.กนก ฝังนิล(๙๔๐๑)
๑๔.นรจ.วิชิต เวียงเจริญ(๙๔๔๐)
๑๕.นรจ.เกษม หอมลออ(๙๔๐๔)
๑๖.นรจ.นคร ฤทธิ์เดช(๙๔๒๓)
๑๗นรจ.วิจิตร อิ่มใจ(๙๔๓๙)
๑๘.นรจ.จักรภพ ทองเผือก(๙๔๐๗)
๑๙.นรจ.ไชโย ข่าทิพย์พาที(๙๔๑๕)
๒๐.นรจ.สำรวย นาคลำภา(๙๔๕๐)
๒๑.นรจ.วิจิตร เฟื่องขจร(๙๔๓๘)
๒๒.นรจ.สุระชาติ ฤทธิ์ธงชัยเลิศ(๙๔๕๗)
๒๓.นรจ.ปรีชา เยี่ยมสวัสดิ์(๙๔๓๑)
๒๔.นรจ.ทนงศักดิ์ เสมา(เปลี่ยนชื่อเป็น สิทธิโชค )(๙๔๕๔)
๒๕.นรจ.เสาร์ เบี้ยวน้อย(เปลี่ยนชื่อเป็น วสันต์)(๙๔๓๗)
๒๖.นรจ.ธนวนต์ โกมารชุน(๙๔๒๐)
๒๗.นรจ.เกษม ผลสัมฤทธิ์(๙๔๐๓)
๒๘.นรจ.อดิรักษ์ เรืองภักดี(๙๔๖๐)
๒๙.นรจ.ธนู เพิ่มพูน(๙๔๒๑)
๓๐.นรจ.นิรัตน์ สุทธิพร(๙๔๒๖)
๓๑.นรจ.รังสรรค์ บุญชัย(๙๔๓๖)
๓๒.นรจ.พิชัย พันธุ์ไชยศรี(๙๔๓๓)
๓๓.นรจ.วิสูตร เรืองฤทธิ์(๐๐๐๐)
๓๔.นรจ.ประเทือง ผ่องศรี(๙๔๒๗)
๓๕.นรจ.พลศักดิ์ ศรีเพชรดี(๙๔๓๒)
๓๖.นรจ.พิรุณ โพธิ์ศรี(๙๔๓๔)
๓๗.นรจ.สันติวัฒน์ บรรลือ (เปลี่ยนชื่อเป็น อภิวัชร์)(๙๔๖๒)
๓๘.นรจ.กิติ สุขประเสริฐ(๙๔๐๒)
๓๙.นรจ.สมบัติ แสงศิริ(๐๐๐๐)
๔๐.นรจ.ประสิทธิ์ พื้นผา(๙๔๓๐)
๔๑.นรจ.ธวัช จันทร์ประสิทธิ์(เปลี่ยนชื่อเป็น ชัยธวัช)(๙๔๑๓)
๔๒.นรจ.สุเทพ นิละศรี(๙๔๕๕)
๔๓.นรจ.สำเริง แก้วกันเนตร(๙๔๕๓)
๔๔.นรจ.สุมิตร อิ่มเปรมบุญศักดิ์(๙๔๕๖)
๔๕.นรจ.เคลื่อน สุขวิโรจน์(๐๐๐๐)
๔๖.นรจ.อำนาจ สกุลทอง(๙๔๖๔)
๔๗.นรจ.จิระ กิจสมบัติ(๙๔๑๐)
๔๘.นรจ.สุชาติ นาคโสภณ(๐๐๐๐)
๔๙.นรจ.พอพล ทรงมณี(๐๐๐๐)
๕๐.นรจ.สมหมาย จินดาศิริพันธ์(๙๔๔๘)

พรรคนาวิน เหล่าสัญญาณ (ทัศนสัญญาณ)

๑.นรจ.สมคิด กลิ่นบุบผา(๙๔๔๔)
๒.นรจ.จำลอง ทองมา(๙๔๐๙)
๓.นรจ.สันติ สนธิปัญญา(๐๐๐๐)
๔.นรจ.ไพโรจน์ เหมือนประยูร(๐๐๐๐)
๕.นรจ.สัจจาพันธ์ น้อยวัฒน์(๙๔๔๙)
๖.นรจ.นิคม ปรองดอง(๙๔๒๔)
๗.นรจ.ชัชวาลย์ ชัยมงคล(๙๔๑๒)
๘.นรจ.ดำริ ทองภักดี(๐๐๐๐)
๙.นรจ.ภุชงค์ นาควิเชตร์(๙๔๓๕)

พรรคกลิน

๑.นรจ.ทองสุข เนื้อทอง(๐๐๐๐)
๒.นรจ.มงคล พรหมรุ่งเรือง(๙๕๒๒)
๓.นรจ.สมทรง คงธรรม(๐๐๐๐)
๔.นรจ.สำราญ กองศรี(๙๕๓๙)
๕.นรจ.สุเดช กันเกตุ(๙๕๔๓)
๖.นรจ.สิทธิชัย บูรณสิน(๐๐๐๐)
๗.นรจ.ประสาท สมสกุล(๙๕๑๕)  (เปลี่ยนชื่อเป็น ประสาธน์ )
๘.นรจ.สำเริง แทนวันดี(๙๕๔๐)
๙.นรจ.สนัด อิ่มสมัย(๙๕๓๑)
๑๐.นรจ.สมพงษ์ คำหอมรื่น(๙๕๓๕)
๑๑.นรจ.ธวัชชัย สงวนทรัพย์(๐๐๐๐)
๑๒.นรจ.รัตนชัย มุสิกะสิน(๙๕๒๓)
๑๓.นรจ.เสน่ห์ รักนาค(๙๕๔๖)(เสียชีวิตเมื่อ ๒๕ ก.พ.๕๕)
๑๔.นรจ.บุญมี ร้อยจันทึก(๙๕๑๑) (เปลี่ยนชื่อเป็น โชคบุญมี)
๑๕.นรจ.ธวัชชัย ทองเจริญ(๐๐๐๐)
๑๖.นรจ.สุรศักดิ์ ศรีคล้าย(๙๕๔๔)
๑๗.นรจ.สำนวน บุญมี(๙๕๓๘)
๑๘.นรจ.สมศักดิ์ ยศศรี(๙๕๓๖)
๑๙.นรจ.ศิลป์ชัย จีรังสวัสดิ์(๙๕๓๐)
๒๐.นรจ.ศรายุทธ จันทร์แจ้ง(๙๕๒๗)
๒๑.นรจ.สุพจน์ ศรีม่วง (๙๕๐๓)(เปลี่ยนชื่อเป็น ชัยพจน์)
๒๒.นรจ.วิศิษฎ์ ดีประเสริฐ(๙๕๒๕)
๒๓.นรจ.วิชาญ น่วมสกนธ์(๙๕๒๔)
๒๔.นรจ.เดชา เปรมมณี(๙๕๐๕)
๒๕.นรจ.ประคอง บำรุง(๙๕๒๙) (เปลี่ยนชื่อเป็น ศักดิ์สิทธิ์)
๒๖.นรจ.วีระ อุ่นสกุล(๙๕๒๖)
๒๗.นรจ.ศักดา วารีเพชร(๙๕๕๐)
๒๘.นรจ.วีระ อวยชัย(๐๐๐๐)
๒๙.นรจ.ทัยวัฒน์ พาทองคำ(๙๕๐๖)
๓๐.นรจ.บัญญัติ ปิ่นแสง(๙๕๐๙)
๓๑.นรจ.สุรศักดิ์ ขันธศุภ(๙๕๔๕)
๓๒.นรจ.สมบัติ น่วมนิ่ม(๙๕๓๓)
๓๓.นรจ.ชัยฤทธิ์ เอี่ยมขำ(๙๕๑๙)เปลี่ยนชื่อเป็น พิมล
๓๔.นรจ.ประยูร ชูพุทธพงษ์(๙๕๑๔)
๓๕.นรจ.พล จันทร์ฉาย(๙๕๑๘)
๓๖.นรจ.เกรียงศักดิ์ เกษสังข์(๐๐๐๐)
๓๗.นรจ.ชะวิ วันเพ็ญ(๙๕๐๗)  (เปลี่ยนชื่อเป็น ธนพร)
๓๘.นรจ.สมคิด ซื่อประเสริฐ(๐๐๐๐)
๓๙.นรจ.หาญ จันทร์วงษ์(๙๕๔๗)(เปลี่ยนชื่อเป็น ธนกฤตย์)
๔๐.นรจ.ณรงค์ มีพลอย(๐๐๐๐)
๔๑.นรจ.สมบุญ กาหล่ำ(๐๐๐๐)
๔๒.นรจ.วัฒชัย บุญเหมือน(๐๐๐๐)
๔๓.นรจ.ชลวิทย์ ภิญโญ(๙๕๐๒)
๔๔.นรจ.ประเสริฐ ไชยสิน(๙๕๑๖)
๔๕.นรจ.ประจวบ ขำทั่ว(๙๕๑๒)
๔๖.นรจ.ไพศาล ขันทองดี(๙๕๒๐)
๔๗.นรจ.ปราโมทย์ สาดแสง(๙๕๑๗)
๔๘.นรจ.สมศักดิ์ งามฉาย(๙๕๓๗)
๔๙.นรจ.เกษม ศิริปิ่น(๙๕๐๑)
๕๐.นรจ.สีธน วิลามาศ (๙๕๒๘)(เปลี่ยนชื่อเป็น ศรีธนะ)
๕๑.นรจ.บุญธรรม สว่างผล(๙๕๑๐)
๕๒.นรจ.สำเริง เนียมทอง(๙๕๔๑)
๕๓.นรจ.ชัยยศ แก้วภักดี(๙๕๐๔)
๕๔.นรจ.อรรณพ บุบผาชาติ(๙๕๔๘)
๕๕.นรจ.ปรีชา หลีโป๊ (๐๐๐๐)(เปลี่ยนชื่อสกุล เป็น กตัญญูสูตร)
๕๖.นรจ.ธวัช ช้อยเพ็ง(๙๕๐๘)
๕๗.นรจ.สุทธิ ศรีกรด(๙๕๔๒)
๕๘.นรจ.เอนก เกิดสว่าง(๐๐๐๐)
๕๙.นรจ.บุญถึง ประยูรเรือง (๐๐๐๐)(ศึกษาต่อ ร.ร.เตรียมทหาร)
๖๐.นรจ.สมวงศ์ เดชปรารมย์(๐๐๐๐)
๖๑.นรจ.ประมล ศรีหะทัย(๙๕๑๓)
๖๒.นรจ.สัญญา ช่วยนคร(๐๐๐๐)
๖๓.นรจ.สุชาติ ทองฉิม(๐๐๐๐)
๖๔.นรจ.รังสิต น้อยเจริญ(๐๐๐๐)
๖๕.นรจ.สมบูรณ์ สุขประเสริฐ(๙๕๓๔)

พรรคกลิน (กรมตำรวจฝากเรียน)

๑.นรจ.ศิริศักดิ์ สายบุตร(๐๐๐๐)
๒.นรจ.สมญา ศรีตุลา(๙๕๓๒)
๓.นรจ.อำนวย ลูกรัก(๙๕๔๙)
๔.นรจ.มงคล กลิ่นประทุม(๙๕๒๑)
๕.นรจ.รักษ์ กลิ่นพยอม((๐๐๐๐)

พรรคนาวิกโยธิน เหล่า ทหารราบ

๑.นรจ.เสรี อินทวี(๙๖๗๖)
๒.นรจ.ธนากร วงศาโรจน์(๙๖๑๙)
๓.นรจ.เสรี ฮวบดี(๙๖๖๑)(เปลี่ยนชื่อเป็น สรศักดิ์ )
๔.นรจ.สุเทพ คำหวาน(๐๐๐๐)
๕.นรจ.นคร งอกกำไร(๙๖๒๑)
๖.นรจ.สุรินทร์ หาญวงศ์(๙๖๗๓)
๗.นรจ.ไพฑูรย์ โพธิ์ศรี(๙๖๔๐)
๘.นรจ.สุกรี สุทธิสัย(๙๖๖๔)
๙.นรจ.สมนึก พรมมา(๙๖๕๘)
๑๐.นรจ.โยธิน พุ่มมาก(๐๐๐๐)
๑๑.นรจ.ศุภชัย ประชากิจ(๙๖๕๔)
๑๒.นรจ.สมนึก คานศรี(๙๖๕๗)
๑๓.นรจ.ประเสริฐ ส้มทอง(๙๖๓๒)
๑๔.นรจ.พีระ เหมือนแม้น(๙๖๓๙)
๑๕.นรจ.ทองม้วน ศรีคำบ่อ(๙๖๐๔)(เปลี่ยนชื่อเป็น คมสันต์)
๑๖.นรจ.ประสงค์ เมืองสุข(๙๖๓๐)
๑๗.นรจ.สมนึก ยวงสอาด(๙๖๕๙)
๑๘.นรจ.อำนวย ทองทา(๙๖๗๙)
๑๙.นรจ.ชาญณรงค์ ไวทยะพัธน์(๙๖๑๒)
๒๐.นรจ.ศักเดช ทับทิม(๐๐๐๐)
๒๑.นรจ.ดาวเรือง นิจรมย์(๙๖๑๖)
๒๒.นรจ.สมบัติ มามีเกตุ(๙๖๖๐)
๒๓.นรจ.ประดิษฐ์ ทิพย์รัตน์(๙๖๒๘)
๒๔.นรจ.วิบูล คล้ายแก้ว(๙๖๕๒)
๒๕.นรจ.สุจินต์ สุขกุล(๙๖๖๕)
๒๖.นรจ.สุริยะ รังรองศักดิ์(๙๖๗๔)
๒๗.นรจ.ณรงค์ สายคงดี(๙๖๑๔)
๒๘.นรจ.ธีระ วชิรเมธาเสถียร(๙๖๒๐)
๒๙.นรจ.ณรงค์ จันทร์ดี(๙๖๑๕)
๓๐.นรจ.ไพศาล เกษจันทร์(๐๐๐๐)
๓๑.นรจ.วิจิตร ชูสกุล(๙๖๔๗)
๓๒.นรจ.ชัยณรงค์ เทียนมงคล(๙๖๐๙)
๓๓.นรจ.เดชา เพ่งพินิจ(๙๖๑๗)
๓๔.นรจ.ชลอ อินทร์ประเสริฐ(๙๖๐๘)
๓๕.นรจ.สุรชัย ทรัพย์ประดิษฐ์(๐๐๐๐)
๓๖.นรจ.ชุมพล จันทบาล(๐๐๐๐)
๓๗.นรจ.สัญญา บุษปะเวศ(๙๖๖๓)
๓๘.นรจ.มานะ พึ่งเนตร(๐๐๐๐)
๓๙.นรจ.บุญเชิด วงศ์วีระขันธ์(๙๖๒๕)
๔๐.นรจ.ธีระ ทวีสวัสดิ์(๐๐๐๐)
๔๑.นรจ.ประกอบ ขุมเพชร์(๐๐๐๐)
๔๒.นรจ.มนตรี แดงวิชัย(๙๖๔๑)
๔๓.นรจ.สุพัฒน์ สิงหสุต(๙๖๖๘)
๔๔.นรจ.สุทธิศักดิ์ สุขพงษ์(๙๖๖๖)
๔๕.นรจ.ชัยวิทย์ ไหลงาม(๙๖๑๐)
๔๖.นรจ.นิวัฒน์ พงษ์สวัสดิ์(๙๖๑๑)เปลี่ยนชื่อเป็น ชัยวัฒน์
๔๗.นรจ.สละ  อยู่พูล(๙๖๒๒)เปลี่ยนชื่อเป็น นรากร

พรรคนาวิกโยธิน เหล่า ทหารขนส่ง

๑.นรจ.สุรพล คนล้ำ(๙๖๗๐)
๒.นรจ.นิเวศ นาคโสมกุล(๙๖๒๓)
๓.นรจ.วินัย เวชสิทธิ์(๙๖๕๑)
๔.นรจ.รุ่งเรือง พิณดิษฐ์(๙๖๔๕)
๕.นรจ.บุญญานนท์ สิทธิไชย(๙๖๒๖)
๖.นรจ.วิเชียร นิ่มนวล(๙๖๔๘)
๗.นรจ.สังกาศ วทัญญู(๙๖๖๒)
๘.นรจ.ปรีชา อิ่มฤทัย(๙๖๓๓)
๙.นรจ.จิ๊ด อนุพันธ์ (๙๖๓๘)(เปลี่ยนชื่อเป็น พิศิษฐ์)
๑๐.นรจ.สังเวียน เรืองทอง(๙๖๗๗)(เปลี่ยนชื่อเป็น อภิชาติ)
๑๑.นรจ.เชื้อ ปทุมวงษ์ (๙๖๐๒)(เปลี่ยนชื่อเป็น เกียรติศักดิ์)
๑๒.นรจ.พนอ ควรสนอง(๙๖๓๖)
๑๓.นรจ.วิเดช ฐินถาวร(๙๖๕๐)
๑๔.นรจ.วีระพงษ์ โพธิ์ดง(๙๖๕๓)
๑๕.นรจ.ประสงค์ โค้วมณี(๙๖๒๙)
๑๖.นรจ.รักษา กุลราช(๙๖๔๔)
๑๗.นรจ.ประเสริฐ ศรีโมรา(๙๖๓๑)
๑๘.นรจ.สุรพันธ์ สุเมทินทกุล
๑๙.นรจ.สุกิจ ศรีหิรัญ(๐๐๐๐)
๒๐.นรจ.มานิต คงระเรื่อย(๙๖๔๓)
๒๑.นรจ.พันธ์พงศ์ เลิศบุญชู(๙๖๓๗)
๒๒.นรจ.ประสงค์ นาคสีเมฆ(๐๐๐๐)
๒๓.นรจ.ขรรธ์ชัย กุสยม(๙๖๐๓)
๒๔.นรจ.อุดม พยุงพันธ์(๙๖๑๓)(เปลี่ยนชื่อเป็น ณชดล )
๒๕.นรจ.สุวพล ทิพย์รอด(๙๖๗๕)

พรรคนาวิกโยธิน เหล่า ทหารสื่อสาร

๑.นรจ.พล รักวิจิตร(๙๖๓๕)
๒.นรจ.สุรพล ศิริธำรงค์(๙๖๗๑)
๓.นรจ.จำเนิน ชูพยัคฆ์(๙๖๐๖)
๔.นรจ.สุรพงษ์ ไชยมงคล(๙๖๖๙)
๕.นรจ.กองมี ขุนแข็ง(๙๖๐๑)
๖.นรจ.สมนึก นาคสมบุญ(๙๖๕๖)
๗.นรจ.มนัส ประสิทธิธัญญการ(๙๖๔๒)
๘.นรจ.ทรงเดช ศรีสุวัฒน์(๙๖๑๘)
๙.นรจ.สม ประภารัตน์(๙๖๕๕)
๑๐.นรจ.บุญธรรม พุกเศรษฐี(๙๖๒๗)
๑๑.นรจ.อิทธิพงษ์ ศรีปะโค(๙๖๘๐)
๑๒.นรจ.วิเชียร บุญสถาพร(๙๖๔๙)
๑๓.นรจ.ปรีชา สุทธิสง่า(๙๖๓๔)
๑๔.นรจ.บุญเจือ หินจิตร์(๙๖๒๔)
๑๕.นรจ.ภุชงค์ สุวรรณพงศ์(๙๖๐๗)
๑๖.นรจ.ศรายุทธ ใจทิพย์(๙๖๔๖)
๑๗.นรจ.จรรยา เกตุเมฆ(๙๖๐๕)
๑๘.นรจ.อานนท์ บุญพยุง(๙๖๗๘)
๑๙.นรจ.สุราษฎร์ บุญมาก(๙๖๗๒)
๒๐.นรจ.สุวัช แสงสว่าง(๙๖๖๗)

พรรคพิเศษ เหล่าช่างยุทธโยธา (ช่างเรดาร์)

๑.นรจ.วรินทร์ พรหมประเทศ(๙๗๑๗)
๒.นรจ.เทียน ปานประยูร(๙๗๐๕)
๓.นรจ.วัฒนา ต่างสากล(๙๗๑๘)
๔.นรจ.ชูศิลป์ สืบปรุ(๙๗๐๔)
๕.นรจ.มนู รูปเล็ก(๙๗๑๓)
๖.นรจ.เกื้อศักดิ์ พุทธารักษ์(๙๗๐๒)
๗.นรจ.นิวัฒน์ เศรษฐจันทร์(๙๗๐๗)
๘.นรจ.เผด็จ สุขไพบูลย์(๙๗๑๑)

พรรคพิเศษ เหล่าช่างยุทธโยธา (ช่างโซนาร์)

๑.นรจ.มานิจ โพธิ์รัศมี(๙๗๑๔)
๒.นรจ.ธรรมนูญ โกสียรัตน์(๙๗๐๖)
๓.นรจ.บุญสนอง แก้วผกา(๙๗๐๙)
๔.นรจ.องอาจ ไตรธรรม(๙๗๒๕)
๕.นรจ.เสริมศักดิ์ ยลศิริธรรม(๙๗๒๔)
๖.นรจ.สมศักดิ์ ทองลิ่ม(๙๗๒๑)
๗.นรจ.ประทีป อินสุข(๙๗๑๐)
๘.นรจ.อุดร เขียวอินทร์(๙๗๒๖)

พรรคพิเศษ เหล่าช่างยุทธโยธา (ช่างวิทยุ)

๑.นรจ.ยุทธพงศ์ รักพรม(๙๗๑๕)
๒.นรจ.วัชระ ศรีจันทร์นิตย์ (๙๗๐๑)(เปลี่ยนชื่อเป็น เกรียงไกร)
๓.นรจ.ณรงค์ บุญวาที(๐๐๐๐)
๔.นรจ.วิชัย แก่นสาร(๙๗๒๐)
๕.นรจ.วันชัย จิตรเพ็ชร(๙๗๑๙)
๖.นรจ.สัญชัย เป้ามาลา(๙๗๒๒)
๗.นรจ.สมเพ็ชร เพ็ชรน้อย(๐๐๐๐)
๘.นรจ.ประสิทธิ์ คอนสลัด(๐๐๐๐)
๙.นรจ.โกมล คนซื่อ(๙๗๐๓)
๑๐.นรจ.มนตรี คัมภิรานนท์(๙๗๑๒)
๑๑.นรจ.วีระยศ แสดงพจน์(๐๐๐๐)
๑๒.นรจ.ระเบียบ รอดรัตนากูล(๙๗๑๖)
๑๓.นรจ.บวร วงษ์สิงห์(๙๗๐๘)
๑๔.นรจ.สุรีย์ สัยนิยม(๙๗๒๓)

พรรคพิเศษ เหล่าทหารแพทย์

๑.นรจ.พร้อม พรหมจักร(๙๘๑๙)
๒.นรจ.สุรินทร์ สิทธิโห(๙๘๔๐)
๓.นรจ.ประทีป ทัศกระแสร์(๐๐๐๐)
๔.นรจ.ประยุทธ สว่างกาญจน์(๙๘๑๖)
๕.นรจ.สมศักดิ์ กระจายกลิ่น(๙๘๓๓)
๖.นรจ.ธีรพงษ์ กรฤทธิ์(๙๘๑๑)
๗.นรจ.ภิญโญ เที่ยมตระกูล(๙๘๒๑)
๘.นรจ.คีรี เกษมณี(๙๘๐๓)
๙.นรจ.สุพจน์ แสงสว่าง(๙๘๔๑)
๑๐.นรจ.พงษ์ศักดิ์ รุ่งเรืองกุล(๐๐๐๐)
๑๑.นรจ.อนุ ไชยสิทธิ์(๙๘๔๔)
๑๒.นรจ.ชูเวทย์ จันทร์แก้ว(๙๘๐๙)
๑๓.นรจ.ภูรี นันทวิจารณ์(๙๘๒๓)
๑๔.นรจ.ยงยุทธ อิงสุข(๙๘๒๕)
๑๕.นรจ.สวิก คุ้มแสง(๐๐๐๐)
๑๖.นรจ.วิบูลย์ โควิน(๙๘๒๗)
๑๗.นรจ.สนั่น ใหญ่ยงค์(๙๘๓๐)
๑๘.นรจ.ประจวบ แก้วทอง(๙๘๑๕)
๑๙.นรจ.คึกฤทธิ์ สุวรรณเพชร(๙๘๐๔)
๒๐.นรจ.บุญช่วย น่วมพิพัฒน์(๙๘๑๔)
๒๑.นรจ.นิวัฒน์ บุญให้(๙๘๑๒)
๒๒.นรจ.สาธร โคว้บ้วนอาน(๙๘๓๕)
๒๓.นรจ.เกรียงศักดิ์ อติรัตน์(๙๘๐๑)
๒๔.นรจ.วินัย เขียวบัว(๙๘๒๘)
๒๕.นรจ.สำราญ หลิ่วเจริญ(๙๘๓๗)
๒๖.นรจ.แสวง เขียวเขิน(๐๐๐๐)
๒๗.นรจ.สำรวย กรองทอง(๙๘๓๖)
๒๘.นรจ.สุรเดช ทวีผล(๙๘๓๘)
๒๙.นรจ.เสน่ห์ โพธิ์กัน(๙๘๔๒)
๓๐.นรจ.กมล เก็งธรรม(๙๘๐๖)
๓๑.นรจ.บุญชู วงษ์เกิด(๐๐๐๐)
๓๒.นรจ.ศักดา ไพรวิหค(๙๘๔๕)เปลี่ยนชื่อเป็น อมรเศรษฐ์
๓๓.นรจ.บรรจบ ศิริรื่น(๙๘๑๓)
๓๔.นรจ.สมเกียรติ รัตนะ(๙๘๓๑)
๓๕.นรจ.สุรินทร์ ปิ่นขาว(๙๘๓๙)
๓๖.นรจ.โกวิท ศรีประเสริฐ(๙๘๐๒)
๓๗.นรจ.จเด็จ ศรีเกตุ(๙๘๐๕)
๓๘.นรจ.ณรงค์ชัย กาละจิตร(๙๘๑๐)
๓๙.นรจ.สมศักดิ์ พรหมประเสริฐ(๐๐๐๐)
๔๐.นรจ.ชูกิจ เปลี่ยนสนิท(๙๘๐๘)
๔๑.นรจ.ประเสริฐ หวังดี(๙๘๑๗)
๔๒.นรจ.มานพ คุ้มรักษา(๙๘๒๔)
๔๓.นรจ.ก่อเกียรติ ตัณฑิกุล(๐๐๐๐)
๔๔.นรจ.สัมฤทธิ์ ทวียิ่ง(๙๘๓๔)
๔๕.นรจ.อาวุธ โชติธรรม(๙๘๔๖)
๔๖.นรจ.พยนต์ อิ่มแย้ม(๙๘๑๘)
๔๗.นรจ.ไพรัช มาคุ้ม(๙๘๒๐)
๔๘.นรจ.สมชาย แพรดำ(๙๘๓๒)
๔๙.นรจ.วีระพงษ์ พอดี(๙๘๒๙)
๕๐.นรจ.วิเชียร รักจิตร์(๙๘๒๖)

******************
********
********