ต้องฝึกอย่างไร...
วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565
สติปัฏฐาน 4
ต้องฝึกอย่างไร...
วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565
ปริศนาธรรม
ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่
.............................
ป ริ ศ น า ธ ร ร ม
“อะไรเอ่ย สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนพาไป”
#สี่คนหาม หมายถึง ร่างกายที่ประกอบด้วย
ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
จึงยังมีชีวิตหามไปไหนมาไหนได้อยู่
ไม่กระจุยกระจายแตกแยก
แต่ถ้าเกิดมันไม่ยอมหามแล้วก็จะสลายจากกัน
ดินไปเป็นดิน น้ำไปเป็นน้ำ ไฟไปสู่ไฟ ลมไปสู่ลม
คนตายแล้วร่างกายจะเริ่มไหล ขึ้นพอง
แล้วก็แตกเป็นน้ำเลือด น้ำหนอง สลายไปในที่สุด
#สามคนแห่ ก็คือไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
ตา หู จมูก ลิ้น ร่างกาย จิตใจ มันเที่ยงไหม
มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า อนิจจัง
ทุกขัง แตกดับเป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้
อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
เขาแห่อยู่ แต่เราไม่รู้เอง ไม่พิจารณาให้เห็นเอง
เขาแสดงอยู่ตลอดเวลา
ผมที่เคยดำก็เปลี่ยนเป็นขาว ตาที่เคยดีก็ฝ้าฟาง
หนังที่เคยเต่งตึงก็เหี่ยวย่น
ร่างกายที่เคยแข็งแรงก็อ่อนแอลงไป
มึตึงอยู่อย่างเดียวคือหู ยิ่งแก่ยิ่งตึง
นอกนั้นหย่อนยานหมด
เพราะฉะนั้นเขาแห่ความจริงให้ดู
เราไม่ดูเอง เรามัวแต่จะไปรั้งไว้ ยึดไว้
ก็จะทุกข์เพราะความผิดหวัง
#หนึ่งคนนั่งแคร่ ก็คือจิต
ตามธรรมดาแล้วจิตเดินเองไม่ได้
จิตคิดจะมาวัดถ้าขาไม่มาด้วย
ไม่ยอมเดิน ก็มาไม่ได้
จิตได้แต่สั่งอย่างเดียว ทำเองไม่ได้
สั่งให้มาวัด กายมันก็ขวนขวายเดินมา นั่งรถมา
จิตสั่งให้นั่งกายก็ต้องนั่ง
จิตสั่งให้ยืนกายก็ยืน
จิตสั่งให้เดินกายก็เดิน
จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
มันเป็นอย่างนั้น นี่แหละคือหนึ่งคนนั่งแคร่
#สองคนพาไป จะพาไปสุคติภูมิ ไปสวรรค์
อาศัยบุญเป็นคนพา
หรือจะไปลงนรก ไปเป็นเปรต อสุรกาย
สัตว์เดรัจฉาน ไปเสวยกองทุกข์ทั้งหลาย
บาปเป็นคนพาไป
แล้วเราได้ให้กำลังกับคนบาปหรือคนบุญไว้มาก
ถ้าให้กำลังกับคนที่เป็นบาปไว้มาก
มันก็มีกำลังมากพอที่จะลากเราไปนรก
แต่ถ้าเราให้กำลังกับคนที่เป็นฝ่ายบุญไว้มาก
เขาก็พาขึ้นสวรรค์ พาไปสู่สุคติ
ลองถามตัวเองดูว่าทุกวันนี้
แต่ละวันเราเติมกำลังให้ฝ่ายบาปหรือฝ่ายบุญ
ถ้าเติมฝ่ายบาป เดี๋ยวก็ไปฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ขโมยเขา โกหก ส่อเสียด
พูดนินทาว่าร้ายเขา
เดี๋ยวก็พูดยุแหย่ให้เขาเกลียดกันบ้าง
ถ้าเราไปเติมกำลังฝ่ายบาปไว้เรื่อยๆ
ก็ต้องพาเราไปสู่ทุกข์แน่นอน
เพราะกำลังมันมากกว่า
คนที่จะทุกข์ก็คือคนที่เติมไว้
ฉะนั้นเรารู้อย่างนี้
ก็อย่าไปเติมกำลังให้บาป
มาเติมกำลังให้บุญกัน
............................
ธัมโมวาท โดยพระวิปัสสนาจารย์
ท่านเจ้าคุณ พระภาวนาเขมคุณ วิ.
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
******
Cr. https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2079683585522265&id=545668525590453
วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2565
22 มกราคม 2564
ประกาศ การละสังขารและประวัติโดยสังเขปของพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์
นะโม พระศากยมุนีพุทธเจ้า
นมัสการพระเถรานุเถระ คณะภิกษุภิกษุณี
ธรรมสวัสดีเพื่อนที่รักทุกท่านในทั่วโลก
หลังจากที่ได้เดินทางมาพำนัก ณ วัดต้นสายธารตื่อเฮี้ยว ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564 พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ เจ้าอาวาสวัดตื่อเฮี้ยว ได้ละสังขารอย่างสงบในวัดต้นสายธาร สถานที่ที่ท่านออกบวชเมื่อ 80 ปีที่แล้ว สิริอายุ 95 ปี พรรษา 70
พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ หลวงปู่แห่งหมู่บ้านพลัม เป็นครูทางจิตวิญญาณผู้เผยแผ่ธรรมอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งไปทั่วโลก ท่านเป็นทั้งพระภิกษุ ผู้สอนธรรมะ นักเขียน กวี นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ และนักกิจกรรมเพื่อสันติภาพ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางผ่านการแสดงธรรมต่อสาธารณชนนับหมื่นและมีผลงานเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่ากว่า 120 เล่ม ท่านได้เปิดทางสู่มิติใหม่ในการพัฒนาวิถีแห่งการปฏิบัติธรรม จัดงานภาวนาสำหรับบุคลากรที่หลากหลาย ทั้งครูอาจารย์ เด็ก วัยรุ่น ศิลปิน นักธุรกิจ นักการเมือง แพทย์พยาบาล ฯลฯ นอกจากนั้นท่านยังได้จัดพิธีการบรรพชาอุปสมบทและมอบตะเกียงสืบธรรมหลายวาระโอกาส ทำการปรับปรุงรูปแบบพิธีกรรมให้สอดคล้องกับยุคสมัย
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr.) ได้กล่าวถึงท่านว่าเป็น "ผู้สื่อสารศักดิ์สิทธิ์แห่งสันติภาพและการไม่ใช้ความรุนแรง" ในการเสนอชื่อท่านเพื่อเข้ารับรางวัลโนเบลเพื่อสันติภาพในปี 1967 (พ.ศ. 2510) ตลอดช่วงเวลา 40 ปีที่ต้องพลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอน พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์นับได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำพุทธศาสนาโดยเฉพาะวิถีการเจริญสติเข้าสู่โลกตะวันตกและมีส่วนร่วมสร้างชุมชนแห่งพุทธศาสนาที่เข้าสู่วิถีชีวิต (Engaged Buddhism) แห่งศตวรรษที่ 21 พร้อมด้วยลูกศิษย์นักบวชจำนวนร่วม 1250 รูป และศิษย์ฆราวาสจำนวนนับล้าน และผู้อ่านผลงานจำนวนนับร้อยล้านในทุกทวีปทั่วโลก ศิษย์จำนวนมากของท่านได้รับดอกผลจากการปฏิบัติและสืบเนื่องภาระงานแห่งการเผยแผ่ธรรมที่ท่านได้สืบทอดและสั่งสอนตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
-------------------------------
ประวัติโดยสังเขป
พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ (Thích Nhất Hạnh) มีชื่อทางโลกว่า เหงวียน ซวน บ๋าว (Nguyễn Xuân Bảo) ถือกำเนิดเมื่อปี 1926 (พ.ศ. 2469) ณ หมู่บ้านถั่ญจรุง อำเภอกว๋างเดี่ยน จังหวัดเถื่อเทียน-เว้ ประเทศเวียดนาม เป็นบุตรคนรองสุดท้องในครอบครัวที่ประกอบไปด้วยพี่น้องชายหญิง 6 คน บิดามีนามว่า เหงวียน ดิ่ญ ฟุก (Nguyễn Đình Phúc) มารดามีนามว่า เจิ่น ถิ หยี (Trần Thị Dĩ)
ปี 1942 (พ.ศ. 2485) ออกบวช ณ วัดตื่อเฮี้ยว (Từ Hiếu) กับพระอาจารย์เซน ทัญกุ๊ย เจินเถิด (Thanh Quý Chân Thật) ได้รับนามตามสายธรรมว่า จรึ่งกวาง (Trừng Quang)
กันยายน ปี 1945 (พ.ศ. 2488)ได้บรรพชารับศีลเป็นสามเณรกับพระอุปัชฌาย์ พร้อมนามทางธรรมว่า ฝุ่งซวน (Phùng Xuân)
ปี 1947 (พ.ศ. 2490) เข้าศึกษา ณ สถาบันการศึกษาสงฆ์บ๊าวก๊วก (Báo Quốc) เมืองเว้
ปี 1949 (พ.ศ. 2492) ออกจากเมืองเว้ เข้าสู่ไซ่ง่อนเพื่อหาหนทางการศึกษาและปฏิบัติในวิถีใหม่ เริ่มพันธกิจที่ได้ก่อตั้งขึ้น พร้อมสมัญญาทางธรรมว่า ติช นัท ฮันห์ (Thích Nhất Hạnh) หมายถึง "การกระทำเพียงหนึ่ง" ซึ่งได้กลายเป็นหนึ่งในหลายนามปากกาของท่าน ได้ก่อตั้งวัดอั๊นกวาง (Ấn Quang) และเป็นพระธรรมาจารย์ในการศึกษาพุทธศาสตร์ของวิทยาลัยสงฆ์นามเหวียด (Nam Việt)
ตุลาคม ปี 1951 (พ.ศ. 2494) อุปสมบทเป็นภิกษุโดยสมบูรณ์ ณ วัดอั๊นกวาง เมืองไซ่ง่อน กับพระมหาเถระทิจ โดน เฮ่า (Thích Đôn Hậu)
ปี 1954 (พ.ศ. 2497) สมาพันธ์คณะสงฆ์พุทธศาสนาได้มอบหมายให้ท่านทำการปฏิรูปการศึกษา และเป็นผู้อำนวยการด้านการศึกษา ณ วิทยาลัยสงฆ์นามเหวียด
ปี 1955 (พ.ศ. 2498) เป็นบรรณาธิการนิตยสารพุทธศาสนาเวียดนาม กระบอกเสียงของสมาพันธ์คณะสงฆ์พุทธศาสนา
ปี 1957 (พ.ศ. 2500) ก่อตั้งอาศรมเฟืองโบ๊ย (Phương Bối Am) ณ จังหวัดบ๋าวหล็อก เป็นที่พักฟื้นฟูจิตใจและภาวนาในความสงบเงียบระหว่างการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
ปี 1961 – 1963 (พ.ศ. 2504-2506) ศึกษาวิจัยและทำการสอน ณ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton) และโคลัมเบีย (Columbia) สหรัฐอเมริกา เขียนหนังสือ "กุหลาบประดับดวงใจ"
ปี 1964 (พ.ศ. 2507) ได้รับนิมนต์ให้กลับคืนเวียดนามเพื่อร่วมช่วยงานในฐานะผู้นำขององค์กรคณะสงฆ์เอกภาพแห่งเวียดนาม และได้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาพุทธศาสตร์ชั้นสูงในไซ่ง่อน ณ วัดฟ๊าบโห่ย (Pháp Hội) ต่อมาได้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยหว่านหั่ญ (Vạn Hạnh) และก่อตั้งสำนักพิมพ์ล้าโบ๊ย (Lá Bối "ใบตาล") เป็นบรรณาธิการวารสารรายปักษ์ "เสียงกระแสน้ำขึ้น"
ปี1965 (พ.ศ. 2508) ก่อตั้งโรงเรียนเยาวชนเพื่อการรับใช้สังคม
ปี 1966 (พ.ศ. 2509) ก่อตั้งคณะดั่งกันและกัน (The Order of Interbeing) หรือ เตี๊ยบเหี่ยน (Tiếp Hiện)
วันที่ 1 พฤษภาคม1966 (พ.ศ. 2509) ได้รับการสืบทอดตะเกียงธรรมโดยพระอาจารย์อุปัชฌาย์ ณ วัดต้นสายธารตื่อเฮี้ยว และได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดตื่อเฮี้ยวองค์ต่อไปภายหลังจากพระอุปัชฌาย์มรณภาพ
วันที่ 11 พฤษภาคม 1966 เดินทางออกจากเวียดนามเพื่อเรียกร้องสันติภาพ และเริ่มต้นระยะกาลลี้ภัยที่ยาวนาน 39 ปี
ปี 1967 (พ.ศ. 2510) ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดยมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
ปี 1968 – 1973 (พ.ศ. 2511-2516) ทำงานเรียกร้องสันติภาพโดยเป็นตัวแทนของสมาคมสันติภาพปารีส (1968-1973) ในช่วงระยะเวลานี้ได้รับนิมนต์ให้สอนในวิชา “ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเวียดนาม” ณ มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne) ประเทศฝรั่งเศส และรวบรวมหนังสือประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเวียดนาม ใช้นามปากกว่า เหงวียน ลาง (Nguyễn Lang)
กันยายน ปี1970 (พ.ศ. 2513) ได้รับนิมนต์โดยองค์กรคณะสงฆ์เอกภาพแห่งเวียดนามเพื่อเป็นผู้แทนของคณะพุทธศาสนิกเพื่อสันติภาพในการประชุม ณ ปารีส
พฤษภาคม 1970 (พ.ศ. 2513) เข้าร่วมร่างประกาศแถลงการณ์เมนตัน (Menton) ว่าด้วยการทำลายระบบนิเวศ มลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และการเพิ่่มจำนวนประชากร ได้เข้าพบอูถั่น (U Thant) เลขาธิการสหประชาชาติพร้อมกับเพื่อนร่วมงาน และได้รับคำมั่นสัญญาที่จะให้การสนับสนุน
ปี 1972 (พ.ศ. 2515) เป็นผู้นำของสมาคมเพื่อสิ่งแวดล้อมมีชื่อว่า The Fellowship of Reconciliation โดยมีพันธกิจว่าด้วยระบบนิเวศเชิงลึก ความเป็นดั่งกันและกัน (ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง) และความสำคัญของการปกป้องผืนโลก
ปี 1971 (พ.ศ. 2514) ก่อตั้งอาศรมเมฆหอม (ฟงต์วานส์) ใกล้เมืองปารีส
ปี1976 (พ.ศ. 2519) ดำเนินงานช่วยเหลือมนุษย์เรือผู้ประสบภัยกลางท้องทะเลในการพยายามลี้ภัยทางเรือออกนอกประเทศหลังสงครามเวียดนาม
ปี 1982 (พ.ศ. 2525) ก่อตั้งหมู่บ้านพลัม ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส
ปี 1998 (พ.ศ. 2540) ก่อตั้งวัด Green Mountain ในสหรัฐฯ
ปี 2000 ก่อตั้งวัด Deer Park ในสหรัฐฯ
ปี 1999 (พ.ศ. 2542) เขียนประกาศแถลงการณ์มานิเฟสโต 2000 (Manifesto 2000) ร่วมกับเหล่าผู้ได้รับรางวัลโนเบล เพื่อมุ่งสู่สันติภาพและการไม่ใช้ความรุนแรงสำหรับสหัสวรรษใหม่
ปี 2005 (พ.ศ. 2548) กลับเวียดนามครั้งแรกและก่อตั้งวัดปรัชญา หรือ บ๊าดหญา (Bát Nhã) ที่จังหวัดบ๋าวหล็อก
ปี 2007 (พ.ศ. 2550) กลับคืนเวียดนามครั้งที่ 2 และจัดพิธีทำบุญอุทิศแด่ผู้ประสบทุกข์ภัยระหว่างสงครามเวียดนามตลอดทั้งสามภาค
ปี 2008 (พ.ศ. 2551) กลับคืนเวียดนามครั้งที่ 3 และเป็นองค์ปาฐกถาในพิธีวิสาขบูชานานาชาติ
ปี 2008 (พ.ศ. 2551) ก่อตั้งสถาบันพุทธศาสนาประยุกต์แห่งยุโรป (European Insitute of Applied Buddhism) ณ เยอรมนี, วัด Blue Cliff และ Magnolia สหรัฐฯ, อาศรมแห่งลมหายใจ ณ ปารีส, หมู่บ้านพลัมประเทศไทย, สถาบันพุทธศาสนาประยุกต์แห่งเอเชีย (Asian Insitute of Applied Buddhism) ณ ฮ่องกง, วัดเข้าสู่กระแส (Stream Entering) ออสเตรเลีย, วัดภิกษุณีเหยี่ยวจ่าม (Diệu Trạm), จ่ามติจ (Trạm Tịch) ในเวียดนาม ทำการสืบเนื่องและขยายกว้างในงานการเผยแผ่ธรรมะและสร้างสังฆะไปทั่วโลก
พฤศจิกายน 2014 (พ.ศ.2557) อาพาธด้วยอาการเลือดออกในสมอง
ตุลาคม 2018 (พ.ศ. 2561) กลับมาพำนักยังวัดต้นสายธารตื่อเฮี้ยว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม
วันที่ 22 มกราคม 2022 (พ.ศ. 2565) มรณภาพอย่างสงบ ณ กุฏิ"รับฟัง" วัดตื่อเฮี้ยว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม
-------------------------------
จิตเป็นหนึ่งขอน้อมกราบสักการะจิตวิญญาณอันตื่นรู้แห่งพระอาจารย์เจ้าอาวาสวัดต้นสายธรรมตื่อเฮี้ยว ผู้ก่อตั้งสถานปฏิบัติธรรมหมู่บ้านพลัม ผู้สืบสายนิกายหลินจี้รุ่นที่ 42 และสายธรรมเหลียวกว๊านรุ่นที่ 8 ผู้มีนามตามสายธรรมว่า จรึ่งกวาง, นามทางธรรม ฝุ่งซวน, สมัญญาทางธรรม นัท ฮันห์ พระมหาเถระ พระอาจารย์เซน
******
Cr. https://www.facebook.com/164494073612711/posts/4953954097999994/
******
วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565
ครูมืออาชีพ
Cr.https://www.youtube.com/watch?v=yD06ESWvX-k
วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565
เจริญเมตตา
ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่
.............................
เมตตานี่ได้ฌานด้วยถ้าทำจริงจัง
...แผ่ให้ตัวเองก่อน
...แล้วก็แผ่ให้คนอื่น
จนจิตกว้างขวางเสมอกัน
คือ แผ่ไปที่ไหนก็มีแต่เมตตา
ไม่ว่าจะเป็นคนที่เคยเป็นศัตรูกัน
จิตเราจะไม่โกรธ ไม่รู้สึกคิดร้ายเลย
จะทำให้จิตเราเป็นสมาธิระดับฌานได้
...ถ้าทำจริงจัง
การเจริญวิปัสสนา
...ทำคู่กับเมตตาได้
เจริญเมตตาด้วย
เจริญวิปัสสนาด้วย
...มันทำคู่กันได้
คือ แผ่เมตตา
ขอให้สัตว์ทั้งหลายเป็นสุข
สติก็รู้จิต รู้ความรู้สึก
แผ่ไปแล้วรู้สึก...
ใจแช่มชื่น
หน้าตาผ่องใส
...สติก็มารู้
พอสติมารู้อย่างนี้
มันก็จะมาทางวิปัสสนา
แต่ก็ยังแผ่ออกไปอยู่ แผ่เป็น...สมถะ
พอระลึกรู้ ก็เป็น...วิปัสสนา
...มันทำคู่กันได้
ถึงเราจะเจริญเมตตา
แต่ว่ากรรมฐานที่เราควรมี
ก็คือ การเจริญมรณานุสสติ
การระลึกถึงความตาย
...ก็เป็นสิ่งที่ควรต้องทำ
เพราะมันทำให้เราไม่ประมาท
ไม่อย่างนั้นเราจะประมาทไปเรื่อย
หรืออย่าง พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ...นี่เราต้องมี
สวดมนต์ระลึก
" อิติปิ โส ภควา ฯ "
ก็เป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
หรือการพิจารณาร่างกาย
เป็นอสุภะ เป็นของไม่สวยไม่งาม
ก็เป็นสิ่งที่ใกล้ตัว ก็เอามาเจริญได้
สมถะมีหลายอย่าง
...เจริญกรุณา แผ่ความสงสาร
...มุทิตา แผ่ความพลอยยินดี
...อุเบกขา แผ่ความวางเฉย
ก็เป็น...กรรมฐาน
............................
ธัมโมวาท โดยพระวิปัสสนาจารย์
ท่านเจ้าคุณ พระภาวนาเขมคุณ วิ.
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
*****
Cr. https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2077300315760592&id=545668525590453
วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2565
วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2565
พระอาจารย์สิริปัญโญ
พระอาจารย์สิริปันโน (Ajahn Siripanyo)
อาจารย์สิริปันโน (Ajahn Siripanno) หรือชื่อเดิมคือ เว็น สิริปัญโญ (Ven Siripanyo) เป็นลูกชายคนเดียวของมหาเศรษฐี ที. อนันดา กริชนัน (Tan Sri Ananda Krishnan) เป็นมหาเศรษฐีผู้ใจบุญสุนทานชาวศรีลังกา เชื้อสายทมิฬ ซึ่งนิตยสาร Forbes จัดอันดับความร่ำรวยเป็นอันดับ 2 ของมาเลเซีย และอันดับ 4 ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ 93 ของโลก (2nd richest man in Malaysia, 4th in Southeast Asia and 93th in the world according to Forbes in 2012) และ ม.ร.ว.สุพินดา จักรพันธุ์ (คุณหญิงใหญ่) มารดาซึ่งเป็นคนไทย
ครอบครัวนี้มีลูกสาว 2 คน และมีลูกชายเพียง 1 คน คือ อาจารย์สิริปันโน ท่านจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ และสามารถพูดได้ถึง 8 ภาษา ท่านสิริปันโน เคยมาศึกษาธรรมกับ อาจารย์ชยสาโร ที่วัดป่านานาชาติอยู่ 3 เดือน จนเมื่อท่านเรียนจบและทำงานได้ราวหนึ่งปี ก็ตัดสินใจบวชอีกครั้งและไม่สึกตลอดชีวิต
ท่านได้เลือกที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ 24 ปีที่แล้ว (นับถึงปี พ.ศ. 2561) โดยเป็นลูกศิษย์สาย พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) แห่งวัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และท่านไม่เคยมองย้อนกลับไป อยากใช้ชีวิตฆราวาสอีก
ท่านปฏิเสธโอกาสที่จะทำงาน เพื่อเข้ามาดูแลและขยายอาณาจักรธุรกิจของบิดา รวมทั้งปฏิเสธที่จะรับมรดกของครอบครัว ซึ่งมีมูลค่าราว 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ($9.5 billion -2011) แต่กลับเลือกที่เดินบนเส้นทางของการเจริญสมาธิภาวนา ตามแนวปฏิบัติสายพระป่าแห่งวัดหนองป่าพงตลอดชีวิต
พวกเราชาวพุทธ ไม่ควรพูดถึงพระด้วยการเน้นชูพื้นเพชีวิตของท่านก่อนบวช (ว่าเรียนจบอะไร, ครอบครัวทำอะไร เป็นต้น) เพราะนั่นไม่สำคัญ ไม่ว่าใครจะเรียนจบอะไร พ่อแม่ทำอาชีพอะไร อยู่ในสังคมแบบไหน ก็ไม่สำคัญ เพราะว่าเมื่อ “...วรรณะ ๔ จำพวก คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม ถึงการนับว่าพระสมณศากยบุตรทั้งนั้น เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมหมด ถึงการนับว่ามหาสมุทรนั่นเองฉะนั้น...” พวกเราจึงควรจะพูดถึงท่านที่ธรรมะและปฏิปทามากกว่า
โลกคืออารมณ์
วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565
วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2565
โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ ไม่ใช่แค่โรคที่จำอะไรไม่ได้ แต่ยังเป็นโรคที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
เราควรเริ่มดูแลผู้สูงอายุ
ตั้งแต่ก่อนมีอาการ เพราะโรคอัลไซเมอร์นอกจาก
จะไม่สามารถป้องกันได้ 100% แล้ว เมื่อเป็นแล้ว ยังไม่สามารถรักษาให้หายได้อีกด้วย แต่เราสามารถ “ชะลอ” ได้
เสาหลักแห่งการป้องกันอัลไซเมอร์
1.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ 50% เพราะสมองทานออกซิเจน
เป็นอาหาร โดยมีเลือดเป็นตัวส่ง ดังนั้นเราต้องทำให้หัวใจเต้นแรงด้วยการออกกำลัง เพื่อให้เลือดสูบฉีดไหลเวียน .. แต่สำหรับผู้สูงอายุ การทำงานบ้าน ทำสวนดูแลสวน หรือการขยับร่างกาย
อย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นการออกกำลังกายที่ดี
และเหมาะสมแล้ว
2.อ่านหนังสือและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ใช้สมองให้มากขึ้น เพราะสมอง เมื่อเราไม่ใช้ เราจะเสียมันไป
3.ทานผักและอาหารสด
ต้องเยอะ น้ำมันปลา (fish oil) เป็นอาหารเสริมที่ดี
4.นอนวันละ 7-8 ชั่วโมง เพราะการนอนน้อย เป็นการสั่งสมอง ให้ทำลายตัวเอง ..
ผู้สูงอายุควรนอนกลางวันด้วย เพราะสมองของผู้สูงอายุ ต้องการการพักผ่อนมากกว่าวัยรุ่นหรือวัยทำงาน
5.เมื่อเราเครียด เซลล์สมองจะทำลายตัวเองเร็วมาก มากกว่าการไม่นอน ดังนั้น พยายามทำให้ตัวเอง
อยู่ในสภาวะที่เครียดน้อยที่สุด
6.อยู่กับคน เพราะสมองถูกสร้างมา ให้อยู่ร่วมกับผู้อื่น เมื่อไหร่ที่เราไม่ได้เข้าสังคม หรือขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบ่อยๆ จะทำให้สมองฝ่อ .. ไม่จำเป็นต้องมีเพื่อนเยอะ แต่จำเป็นต้องมีเพื่อน ที่มีคุณภาพ
การปฏิบัติตาม 6 ข้อข้างต้น สามารถชะลอ การเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ หรือหากเป็นแล้วก็จะช่วยให้ใช้ชีวิตไปจนเสียชีวิตได้ โดยที่ลูกหลานไม่เป็นทุกข์ หรือหากดีที่สุด ก็คือ ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์เลย
“กันไว้ ดีกว่าแก้”
ข้อมูลจาก : คุณขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร นักจิตวิทยาด้านสมอง
วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2565
อภินิหารจากการตื่นรู้
วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2565
เพื่อนช่วยเพื่อน...
*******
วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565
พระธาตุเกิดขึ้นได้อย่างไร
ทันตแพทย์สม สุจีรา
พระธาตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
เซลล์ต่างๆในร่างกายเรา มียีนและดีเอ็นเอเหมือนกันทุกเซลล์ แต่ที่มีพัฒนาการต่างกัน เช่น เปลี่ยนไปเป็นเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์สมอง เซลล์กระจกตา เซลล์กระดูกและฟัน เซลล์เส้นผม ฯลฯ ก็เพราะสวิทซ์พันธุกรรมไปเปิดการทำงานของยีนเฉพาะบางส่วน
ตำแหน่งของรหัสพันธุกรรมในเซลล์ จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ตลอดชีวิต เปรียบเสมือนการไม่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งของคีย์บอร์ดบนเปียโนได้ แต่สวิทซ์พันธุกรรมซึ่งเปรียบเสมือนผู้เล่น สามารถสร้างสรรค์เป็นบทเพลงต่างๆ (เซลล์ชนิดต่างๆ )ได้นับไม่ถ้วน
นักวิทยาศาสตร์พบว่า สวิทซ์พันธุกรรมทำให้เซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ เปลี่ยนไปเป็นฟันซึ่งมีลักษณะเหมือนมุก หรือกระจกตาที่เป็นแก้วใสได้
เซลล์เส้นผม เซลล์กระดูก เซลล์ผิวหนัง ฯลฯ ยังคงมีคุณสมบัติสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นมุกหรือแก้วได้เช่นกัน เพราะมียีนแฝงอยู่ ทุกส่วนของร่างกายพระอรหันต์ที่มีเซลล์เป็นองค์ประกอบ จึงสามารถเป็นพระธาตุได้หมด เพียงแต่ต้องบรรเลงเพลงแห่งการหลุดพ้น
การเจริญสติและสมาธิที่ทำอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จะไปเปลี่ยนลักษณะของเซลล์ นั่นหมายความว่า ดีเอ็นเอและยีนในกระดูกของพระอริยเจ้า ก็เหมือนคนอื่นๆทั่วไป แต่สิ่งที่ต่างคือ กำลังสติและพลังสมาธิที่เข้าไปเปลี่ยนการทำงานของสวิทซ์พันธุกรรมทำให้เซลล์กระดูกมีพัฒนาการไปเป็นมุกหรือแก้ว
ยิ่งไปกว่านั้น ดีเอ็นเอในพระธาตุยังสามารถแบ่งตัวได้ จึงพบกับปรากฏการณ์พระธาตุเพิ่มจำนวนในหมู่ผู้บูชา แสดงว่าดีเอ็นเอนั้นยังคงรับพลังจากจักรวาลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการแบ่งตัวของพระธาตุมีการแยกออกเป็นสองส่วนคล้ายการกับแบ่งตัวของเซลล์มาก
******
Cr. https://www.facebook.com/103614741227727/posts/445354220387109/