วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

เหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญจากอินเดีย..

นาลันทา มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก    อินเดีย

*****
.......
     การศึกษาเรื่องนี้ยังได้หลักฐานไม่ชัดแจ้งสมบูรณ์  แต่เท่าที่ปราชญสันนิษฐานกันไว้ พอประมวลได้ดังนี้
      ๑.คณะสงฆ์อ่อนแอเสื่อมโทรมลง
     พระสงฆ์แต่เดิมดำรงมั่นในศาสนปฏิบัติ มีศีลาจารวัตรรักษาระเบียบวินัย มีความเสียสละ เที่ยวจาริกสั่งสอนประชาชน บำเพ็ญศาสนกิจเพื่อประโยชน์แก่พหูชน คนจึงเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา พระมหากษัตริย์ ขุนนาง เศรษฐี คหบดี พากันถวายความอุปถัมภ์บำรุง สร้างวัดวาอารามใหญ่โตถวาย ที่ถึงกลับกลายเป็นมหาวิทยาลัยก็มี พระสงฆ์มีความเป็นอยู่สุขสบาย ตั้งใจปฏิบัติและอบรมสั่งสอนประชาชน ไม่ละเลยทอดทิ้งหน้าที่อันถูกต้องต่อพุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์พระศาสนาก็รุ่งเรือง
     แต่ต่อมาเพราะชีวิตที่ได้รับการบำรุงสุขสบายนั้นก็ติดและลุ่มหลงลืมหน้าที่ที่แท้จริงเป็นเหตุให้.......
  • - ติดถิ่นติดที่เพลิดเพลินในลาภสักการะและความสะดวกสบายนึงถึงแต่เรื่องของตนเอง และปัจจัยเครื่องอาศัยของตนเองทอดทิ้งหน้าที่ต่อประชาชน
  • - วุ่นวายอยู่กับพิธีกรรม และงานฉลองอันสนุกสนานต่าง ๆ จนความเข้าใจเรื่องบุญกุศลแคบลงเป็นเรื่องรับเข้าหรือเอาฝ่ายเดียว
  • - ศึกษาเล่าเรียนลึกซึ้งลงไปแล้ว มัวหลงเพลินกับการถกเถียงปัญหาทางปรัชญาประเภท อันตคาหิกทิฏฐิ (ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด คือแล่นไปถึงที่สุดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยงฯลฯ) จนลืมศาสนกิจสามัญในระหว่างพุทธบริษัท
  • - มีความประพฤติย่อหย่อนลง เพราะเพลิดเพลินในความสุขสบาย และแตกสามัคคีเป็นพวกเป็นนิกาย เพราะถือรั้นรังเกียจกันตกลงกันไม่ได้
  • - เห็นแก่ความง่าย ตามใจตนเอง ตามใจคน ปล่อยให้เรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลึกลับอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ พอกพูนมากขึ้น ตนเองก็เพลิดเพลินมัวเมาในเรื่องเหล่านั้น และทำให้ประชาชนจมดิ่งลง แทนที่จะมีเหตุผลยิ่งขึ้น เข้มแข็ง มีปัญญาและพึ่งตนเองได้มากขึ้น ก็กลับอ่อนแอต้องคอยหวังพึ่งปัจจัยภายนอกมากยิ่งขึ้น และทำให้พระพุทธศาสนามีสภาพคล้ายคลึงกับศาสนาอื่น ๆ มากมาย เช่นที่แปรรูปไปเป็น ตันตระ แบบเสื่อมโทรม จนเหมือนกับตันตระของฮินดู และหมดลักษณะพิเศษของตนเอง
     ๒. ....ฯลฯ......

*****
(จากหนังสือ พระพุทธศาสนาในอาเซีย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

*****


*********
สัทธรรม (คลิก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น