วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

พุทธศาสนา

 


Cr.Fwd.line

เมื่อต้นปีนี้มีชาวต่างชาติ หลายเชื้อชาติกว่า 10 ประเทศที่ไม่เชื่อในเรื่องศาสนาและพระเจ้ารวมตัวกันพบปะสัมมนาและถกกันเรื่องศาสนาต่างๆที่มีชาวโลกอีกมากที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเชื่อและมีผลดีที่สุดของชีวิต ผลปรากฏว่าศาสนาพุทธเป็นที่น่าสนใจและน่าศึกษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่าศาสนาอื่นสรุปได้ดังนี้..


ชาวฝรั่ง สรุปความแตกต่างของ...ศาสนาพุทธ... กับศาสนาอื่นไว้ 20 ข้อหลักและคุณหมอ *จามรี เหรียญอัมพร*ก็ได้ส่งมาให้อีก  

อาตมาอ่านอีก อ่านแล้วแทนที่จะเบื่อหน่าย ความรู้สึกกลับเห็นความสำคัญมากกว่าเดิม จึงขอแชร์ต่อแก่ทุกๆท่านใด ใช้เวลานั่งอ่านและพิจารณาประมาณ 3 นาที ยอมรับว่าชาวฝรั่งท่านนี้รู้จริง โดยเขียนสรุป  คำสอน 20 อย่าง ของ ศาสนาพุทธ ไว้ดังนี้ @:


."ศาสนาพุทธ" เท่านั้นที่มีคำสอน  ทั้ง 20 อย่างนี้  ที่ไม่สามารถพบจาก  "ศาสนาอื่น"  


1. พระพุทธศาสนา  เชื่อว่าโลกนี้ประกอบขึ้นจาก  เหตุธาตุทั้ง 4  คือ  ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ  ธาตุลม  ประกอบกันขึ้นมา

(ไม่มีผู้ใดสร้างโลก)


2. พระพุทธศาสนา  ไม่ใช่ระบบความเชื่อ  ที่จะใช้คำว่า  Religion  เพราะศัพท์นี้  หมายถึง  ต้องมีความเชื่อใน  พระเจ้าผู้สร้างโลก


3. จุดหมายปลายทาง ของ พระพุทธศาสนา  คือ  ละกิเลสได้หมดแล้ว  หลุดพ้นจาก  การเวียนว่ายตายเกิด  หรือ  วัฏฏสงสาร  ไม่ใช่ไปแค่  ไปเกิดบนสวรรค์  เท่านั้น


4. พระพุทธเจ้า  ไม่ใช่ผู้ปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้รอด  สรรพสัตว์ต้องช่วยตนเอง  เพื่อหลุดพ้นจาก  กิเลส และ วัฏฏสงสาร


5. ความสัมพันธ์ระหว่าง  พระพุทธเจ้า และ สาวก  คือ  ครูผู้สอนและลูกศิษย์  ไม่ใช่ตัวแทนพระเจ้า  และทาสผู้รับใช้


6. พระพุทธเจ้า  ไม่เคยให้สาวกใช้  "ความเชื่อ"  โดยปราศจาก "ปัญญา" มานับถือ  ตรงข้าม  ทรงสอนให้ใช้  "ปัญญา" พิจารณาคำสอนก่อนจะเชื่อ  และเห็นจริงด้วยตนเอง  และ  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า  ต้องนำคำสอนไปประพฤติและปฏิบัติ  เพื่อความหลุดพ้นด้วยตนเอง  ไม่มีใครช่วยทำให้หลุดพ้น  จากการเวียนเกิดเวียนตายได้  นอกจากให้แค่แนะนำ  ชี้ทางที่ถูกต้องให้  เท่านั้น


7. คำสอนพระพุทธเจ้า เป็น "สัจธรรม" ประจำโลก  ที่เป็นและมีอยู่แล้ว  พระพุทธเจ้าทรงเป็น  แต่เพียงผู้ค้นพบเท่านั้น  พระองค์ไม่ใช่เป็นคนสร้างคำสอนขึ้นมา


8. "นรก" ในพระพุทธศาสนา  ไม่ใช่สถานที่กักขังสัตว์อย่างนิรันดร์  บุคคลทำบาปแล้ว  ไปเกิดในนรก  เมื่อพ้นกรรมแล้ว  ก็สามารถกลับไปเกิดในภพที่ดีกว่าได้  และ  สัตว์ที่ได้ไปเกิดในภพอื่นๆ  ไม่ว่าจะเป็นภพเทวดา  ภพมนุษย์  ภพเปรตวิสัย  ภพเดรัจฉาน  ก็สามารถเวียนกลับไปเกิดในนรกอีกได้  เช่นกัน


9. พระพุทธศาสนา  ไม่ได้สอนแนวคิดเรื่อง "บาป" ติดตัว  เหมือนที่ศาสนาเทวนิยมสอน  แต่สอนเรื่อง "กฎแห่งกรรม"  ซึ่งมีทั้งกรรมขาว  กรรมดำ  และ  กรรมไม่ขาวไม่ดำ


10. พระพุทธศาสนา สอนว่า  มนุษย์และเทวดาทุกชีวิต  มีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้  ข้อสำคัญก็คือ  ต้องใช้ความพยายามในการปฏิบัติ  เพื่อชำระกิเลสให้พ้นไปจากจิตใจ พระพุทธเจ้า  ก็ทรงเป็นมนุษย์สามัญธรรมดา  ที่หลุดพ้นจากทุกข์ได้  เพราะการประพฤติปฏิบัติ  มาหลายภพหลายชาติ


11. "กฎแห่งกรรม"  ของทุกสรรพสัตว์  เป็นตัวอธิบายว่า  เหตุใดคนถึงเกิดมาแตกต่างกัน  กฎแห่งกรรม เป็นตัวอธิบายถึง  ภพภูมิที่สัตว์พากันไปเกิด


12. พระพุทธศาสนา  เน้นให้  แผ่เมตตา กรุณา ไปยังสรรพสัตว์  ทุกภพภูมิ  ทรงสอนให้ละจาก  การประพฤติชั่วทั้งปวง  คือ  อกุศลกรรม  บท ๑๐  และให้ประพฤติปฏิบัติ  แต่ กุศลกรรม  บท ๑๐


13. "ธรรมะ"  ของพระพุทธเจ้า  เสมือนแพ  หลังจากบำเพ็ญเพียร  จนดับทุกข์ได้แล้ว  จะอยู่เหนือ  บุญและบาป  ธรรมะทั้งปวง จะต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น


14. ไม่มีสงครามศักดิ์สิทธิ์  ในทรรศนะพระพุทธศาสนา  การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  การเบียดเบียนผู้อื่นด้วยเจตนา  ผู้กระทำจะต้องรับกรรมทั้งสิ้น  จนกว่าจะหลุดพ้นจากวัฏสงสาร  การฆ่าในนามศาสนา  ยิ่งกระทำมิได้ในพระพุทธศาสนา


15. พระพุทธเจ้า สอนว่า  กำเนิดสังสารวัฏ  ไม่มีเบื้องต้นและที่สุด  ถ้าหากสัตว์ยังดำเนินชีวิต  ไปตามอำนาจกิเลส  ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น  มีตัณหาเป็นเครื่องผูก  ย่อมต้องเวียนเกิดเวียนตาย ต่อไป


16. พระพุทธเจ้า ทรงเป็น  พระสัพพัญญู  (ผู้รู้ความจริงทุกเรื่องที่ทรงอยากรู้)  และ  พระพุทธเจ้า  มิใช่เทพเจ้า  ผู้ทรงมีอำนาจล้นฟ้า  ดลบันดาลสร้างธรรมชาติต่างๆ  ขึ้นมา


17. การฝึก "สมาธิ" สำคัญมากในพระพุทธศาสนา  แม้ว่าศาสนาอื่นๆ ก็มีสอนให้คนมีสมาธิ  แต่มีพระพุทธศาสนา เท่านั้นที่สอน "วิปัสสนา"  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ  ที่ทำให้รู้แจ้งว่า  ทุกสรรพสิ่ง  เมื่อมีการเกิด  ย่อมมีการดับ


18. หลักคำสอนเรื่อง  สุญญตา  หรือ  นิพพาน  เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ  ในพระพุทธศาสนา  ถือเป็นคำสอนระดับสูง  ของพระพุทธศาสนาด้วย  เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายทั่วโลกธาตุ  ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้ถาวร  มีแต่ปัจจัย  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  ประกอบกัน  สรรพสิ่งในโลก  จึงตกอยู่ในภาวะ  อนิจจัง  ทุกขัง  และอนัตตา  เหมือนกันหมด  พระพุทธศาสนาจึงไม่สุดโต่ง  ไปตามแนวศาสนาประเภท  เทวนิยม  หรือ  ตามแนววัตถุนิยม  ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น  มีตัณหาเป็นเครื่องผูก  ที่ต้องเวียนเกิดเวียนตาย  จนกว่าจะบรรลุธรรม  จึงจะดับเย็น  เข้าสู่นิพพาน


19. วัฏจักร  หรือ  สังสารวัฏ  เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา  ตราบใดที่สรรพสัตว์  ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส  ก็จะเวียนว่ายตายเกิด  ไปตามภพภูมิต่างๆ  ตามแรงเหวี่ยงของกรรม  ไม่สิ้นสุด จนกว่าจะบรรลุธรรม  ดังนั้น  ทุกสรรพสัตว์  จึงต้องช่วยตนเอง  เพื่อพัฒนา "ไตรสิกขา"  ให้หลุดพ้นจาก  โลภะ  โทสะ  และ  โมหะ  หรือ  อวิชชา  เพื่อการหลุดพ้นจาก "สังสารวัฏ" ให้ได้ ฯ


20. ศาสนาพุทธ  สอนให้ละ "อ้ตตา"  ไม่ใช่สร้างอัตตา  ว่าเป็นตัวของเรา  อันเป็นทุกข์  แต่การฝึก "เจริญสติ" จนเห็นตามจริงว่า  ไม่มีสิ่งใดถาวร  เกิดแล้วต้องดับไปเป็นธรรมดา  ไม่อาจยึดมั่น  เป็นตัวเป็นตน  แม้ร่างกายหรือจิตใจ  ลดละอัตตาตัวตนลง  จนละได้หมดคือ  ที่สุดแห่งทุกข์ คือ "นิพพาน"  ไม่ต้องวนเกิด  วนตายอีก


@เสียดาย... ไม่ทราบชื่อ... ฝรั่งผู้เขียน  ซึ่งเข้าใจในหลักพระพุทธศาสนา เป็นอย่างดี


จึงขอมอบเครดิตให้กับ  ผู้แชร์ข้อความ  

และกุศลจงมีแด่ผู้เขียนและผู้อ่าน เทอญฯ


สาธุ

อาตมาขอแชร์ต่อ

เพื่อให้เกิดความปิติแก่ผู้ที่พบเห็น แล


🙏🏾🙏🏾กราบสาธุ🙏🏾🙏🏾

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

Sara volunteer from Spain



"A few months ago I decided to leave my office job to travel the world. I am waiting for my Australian Work and Holiday Visa to be approved. In the meantime, I am traveling around Asia to get to know the culture, other ways of thinking and seeing the world, to grow personally and to be surprised by life." Sara








o






 

ความสุข


 เกาที่คันก็สุขเหมือนกัน แต่สุขไม่นาน

รักษาโรคจนหายคันนั้นดีกว่า


พระอาจารย์ชยสาโร

*****

Cr.https://www.facebook.com/share/EjaVs8yw7TFoX3u1/?mibextid=oFDknk

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567

ยานอันประเสริฐ


 ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่ 

.............................

ในคำสอนที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ 

ในชาณุสโสณิพราหมณสูตร   


ในครั้งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี 

ในเช้าวันหนึ่งพระอานนท์ซึ่งเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก 

เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี 

ท่านก็เห็นรถของชาณุสโสณิพราหมณ์ขับสวนทางออกมา 

รถสมัยนั้นก็คือรถที่เทียมด้วยม้า 

ไม่ใช่มีเครื่องยนต์เหมือนสมัยนี้ 

เขาใช้ม้าเทียมรถวิ่งไป 

เรียกว่ายาน 


ชาณุสโสณิพราหมณ์เขาแต่งรถทุกอย่างเป็นสีขาวล้วน 

ทำด้วยเงิน ทำประดับด้วยสีขาวล้วน 

ม้าที่เอามาเทียมรถ ๔ ตัวขาวทั้งหมด สีขาวล้วนเลย 

ตัวรถก็สีขาว เชือกก็หุ้ม หุ้มด้วยเงินสีขาว 

ด้ามประตักก็สีขาวอีก ร่มสีขาว 

ผ้าโพกหัว เครื่องนุ่งห่ม รองเท้าสีขาวล้วน 

ตัวรถทุกอย่างเครื่องประดับทั้งหมดสีขาวหมด 

พัดวาลวิชนีก็สีขาว 

ประชาชนทั้งหลายก็ดู 

ตื่นเต้นพออกพอใจว่าสวยงามมาก 

ต่างก็พากันยกย่องสรรเสริญว่า 

รถยานนี้เป็นยานอันประเสริฐ 

มีความงดงาม 


เมื่อพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต 

หลังจากฉันภัตตาหารแล้ว  

ก็ได้เข้าไปกราบทูลพระพุทธเจ้า 

เล่าให้พระองค์ฟังว่าไปบิณฑบาต 

ได้เห็นรถของชาณุสโสณิพราหมณ์ล้วนแต่ขาวล้วน 

ชาวเมืองทั้งหลายก็พากันยกย่องสรรเสริญ 

ว่าเป็นยานอันประเสริฐ 


ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า 

พระองค์จะทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในพระธรรมวินัยนี้ 

ได้บ้างหรือไม่หนอพระพุทธเจ้าข้า 


พระองค์ก็ตรัสว่า 

อานนท์ 

ตถาคตจะบัญญัติยานอันประเสริฐในพระธรรมวินัยนี้ได้ 

#ยานอันประเสริฐในพระธรรมวินัยนี้คืออริยมรรคมีองค์๘ 

#เรียกว่าพรหมยานบ้าง #ธรรมยานบ้าง 

เป็นยานอันประเสริฐ 


มี #สัมมาทิฏฐิ #ความเห็นชอบ 

ผู้ใดเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว 

จะเป็นธรรมที่กำจัดราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่สุดได้ 

สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ 

เข้าไปรู้เห็นในทุกข์ 

ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอย่างไรต้องรู้จัก 

เหตุให้เกิดทุกข์ 

ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จะต้องละ 

รู้ด้วยการต้องละ 

ตัณหาดับไป ทำลายตัณหา ก็เป็นนิพพาน เป็นนิโรธความดับทุกข์ 

ส่วนอริยมรรคเป็นข้อปฏิบัติ เป็นปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ ต้องรู้จัก 

นี่เป็นสัมมาทิฏฐิ 


#สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ 

ดำริออกจากกาม 

ดำริออกจากการเบียดเบียน 

ดำริออกจากการพยาบาท  

หรือดำริอยู่ในรูปนามขันธ์ ๕ 


สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ 

ก็เป็นศีล 


การเว้นจากกายทุจริต เว้นวาจาทุจริต เว้นมโนทุจริต 


#สัมมาวาจา เว้นจากวจีทุจริต ๔ 

ถ้าเราเว้น ถือว่าเรามีอริยมรรค 

เว้นพูดเท็จ เว้นพูดส่อเสียด เว้นพูดหยาบคายเพ้อเจ้อ 

พูดแต่คำจริง 

พูดแต่คำไพเราะสุภาพ 

พูดแต่คำสมัครสมานสามัคคี 

พูดแต่คำที่มีสาระมีประโยชน์ 

เป็นสัมมาวาจา 


กายของเราก็เว้นฆ่าสัตว์เสีย  

เว้นลักทรัพย์ 

เว้นประพฤติผิดในกาม 

เราก็จะมีกายสุจริต 

มี #สัมมากัมมันตะ การงานชอบ 

การงานที่เราทำไม่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม 

อาชีพของเราก็ต้องให้สุจริตไว้ 

เราจะประกอบอาชีพอะไรต่าง ๆ 

มันจะต้องไม่เกี่ยวกับการเบียดเบียนผู้อื่น 

หรือไม่เกี่ยวกับการเข่นฆ่าประหัตประหาร 

ไม่เกี่ยวกับการทุจริตฉ้อโกง 

ไม่เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ 

ไม่เกี่ยวกับการต้องไปโกหกหลอกลวง 

เหล่านี้เป็นต้น 

อาชีพของเราบริสุทธิ์ เป็นอาชีพที่ถูกต้อง 

มันก็จะเป็นอริยมรรคประกอบกันอยู่  

เป็นส่วนของศีล 


อริยมรรคก็ประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา 

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นส่วนของปัญญา 

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นส่วนของศีล 

สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็น ส่วนของสมาธิ 


#สัมมาวายามะ เพียรชอบ 

เพียรโดยการประพฤติปฏิบัติอยู่ 

ที่เราเพียรเจริญภาวนา 

ถือว่าเป็นการเพียรละบาป เพียรระวังไม่ให้บาปเกิด 

เพียรให้กุศลเกิด เพียรรักษากุศลให้เจริญ  

เพียรให้มีสติสัมปชัญญะ 

สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นมาก็เป็นกุศล 

กุศลเกิดก็เท่ากับละบาปไปในตัว 

เมื่อเพียรให้สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นต่อเนื่องอยู่เสมอ ๆ 

ก็เท่ากับระวังไม่ให้บาปมันเกิดขึ้น 


ถ้าเราเผลอ ไม่มีสติ 

เดี๋ยวก็โลภ โกรธ หลงขึ้นมา 

ถ้ามีสติ รักษาจิตใจ มีสติ ระวังสำรวมอยู่ 

จิตเราเป็นกุศลต่อเนื่อง 

อกุศลมันก็เกิดไม่ได้ 


ถ้าขาดสติ พอตาเห็นรูป 

เดี๋ยวมันก็โกรธบ้าง หลงบ้าง โลภบ้าง 

ฟังเสียงถ้าขาดสติก็ไม่โลภก็โกรธ ไม่โกรธก็หลง 

ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสถูกต้อง คิดนึก 

ขาดสติแล้วเดี๋ยวมันก็โกรธ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็หลงอยู่อย่างนั้น 


ฉะนั้นเมื่อมีสติอยู่ 

พยายามเพียรระลึก เพียรรู้ ภาวนา 

สติเกิดขึ้น กุศลเกิดขึ้น ละบาปไปในตัว 

นี่เป็นความเพียรชอบ 


#สัมมาสติ ระลึกชอบ 

ต้องระลึก ระลึกรู้กายในกาย 

เวทนาในเวทนา 

จิตในจิต 

ธรรมในธรรมอยู่เนือง ๆ 


หายใจเข้าออกเรียกว่ากายอย่างหนึ่ง 

ยืน เดิน นั่ง นอน ก็คือกาย 

คู้ เหยียด เคลื่อนไหว ก็เป็นกาย 

พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก หัวใจ ตับ ปอด เป็นของปฏิกูล 

ก็เป็นกาย 


ความรู้สึกสบาย ไม่สบาย เฉย ๆ ก็เป็นเวทนา 


จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ 

จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ 

จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ 

ต้องคอยระลึกรู้อยู่ 

เป็นการ เป็นสัมมาสติ 

ตามดูรู้เท่าทันจิตในจิตอยู่ 


หรือว่ามันมีอกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิต 

บางครั้งมันมีราคะ มีโทสะ มีฟุ้งซ่าน 

หงุดหงิด รำคาญเกิดขึ้นในจิตใจ 

เราก็กำหนดรู้ 

รู้ว่ามันเกิดกิเลสขึ้นในใจเรา 

ละมันได้ก็รู้ 


หรือว่ามันมีธรรมฝ่ายดีเกิดขึ้น  

เกิดศรัทธา เกิดปีติ 

เกิดเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา 

จิตมีสมาธิ มีปีติในธรรม 

มีความสงบ มีความตั้งมั่น 

ก็ระลึกรู้ไป 

เพื่อให้มีปัญญาพิจารณาเห็นแจ้งตามความเป็นจริง 

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน 


สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ 

ก็ต้องประกอบกันไป 

มีทั้งสติ มีทั้งสมาธิ มีทั้งปัญญาประกอบกันอยู่ 

#สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ 

จิตที่ตั้งมั่นดีก็จะเป็นจิตปราศจากอกุศลธรรม ปราศจากนิวรณ์ 

ประกอบกันไป ศีล สมาธิ ปัญญา 


อันนี้เป็นยานอันประเสริฐ 

พระพุทธเจ้าตรัสว่า 

#ผู้ใดได้เจริญในอริยมรรค 

#เจริญแล้วทำให้มากแล้ว 

#จะเป็นธรรมที่กำจัดราคะโทสะโมหะในที่สุดได้ 

พระองค์ก็จึงตรัสว่า 

อานนท์ #นี่แหละคือยานอันประเสริฐในพระธรรมวินัยนี้ 


(ชาณุสโสณิพราหมณสูตร ตอนที่ ๑) 


ปฏิบัติบูชา การบูชาอันสูงสุด 

ธรรมสุปฏิปันโน ๑๐ 

.............................

ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี

เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา

****

Cr.https://www.facebook.com/share/eez8UsB42rTwaRic/?mibextid=oFDknk

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2567

ตื่นรู้


 ทักษะชีวิตประการหนึ่งที่เราได้จากการฝึกภาวนาในรูปแบบ  คือการรักษาภาวะตื่นรู้โดยผ่อนคลาย หรือผ่อนคลายโดยตื่นรู้  ขณะกำหนดอารมณ์กรรมฐาน เช่น ลมหายใจ  จิตจะพ้นจากนิวรณ์ก็ต่อเมื่อจิตอยู่ในภาวะดังกล่าวเท่านั้น  


นิวรณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ความเครียด หรือความแข็งทื่อ ขาดความกระตือรือร้น ช่วยสะท้อนให้รู้ว่า เราทำความเพียรตึงไปหรือหย่อนไป  สติอันต่อเนื่องเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าความพยายามประคับประคองความรู้สึกตัวให้อยู่กับอารมณ์กรรมฐานเป็นไปอย่างพอเหมาะ   อุปมาที่ช่วยให้เห็นภาพความเพียรที่ต้องการ เปรียบได้กับความเพียรในการกำลูกนกไว้ในมือ  หากกำแน่นไป ลูกนกก็บาดเจ็บ  หากกำหลวมไป ลูกนกก็จะบินหนี   จิตผ่อนคลาย แต่ไม่ต้องแลกกับความรู้สึกตัว   จิตตื่นรู้แบบสบายๆ เป็นธรรมชาติ


เมื่อคุ้นเคยกับความตื่นรู้โดยผ่อนคลาย  เราย่อมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้  เรารับรู้และสังเกตจิต คล้ายๆ กับเหลือบมองด้วยตาภายใน  ในสถานการณ์ส่วนใหญ่ เราคงจะเพ่งดูจิตแบบตรงๆ ไม่ได้  แต่เราเฝ้าดูอยู่ห่างๆ  และเรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างจากการดูนั้น


ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร

แปลถอดความ โดย ศิษย์ทีมสื่อดิจิทัลฯ

******

Cr.https://www.facebook.com/share/7uRmKrjxtpWW9EQy/?mibextid=oFDknk