วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563

วัดบางเดื่อ

 






วัดบางเดื่อ ตั้งอยู่ริมคลองบางเดื่อ ในเขตอำเภอบางปะหัน ห่างจากเกาะเมืองอยุธยา ประมาณ ๑๕ กม.และห่างจาก ที่ว่าการอำเภอบางปะหันประมาณ ๖ กม. สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ ในสมัยปลายรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(พ.ศ.๒๓๗๕ – ๒๓๐๑) เดิมชื่อวัด “ดอกมะเดื่อ” ซึ่งตรงกับพระนามเดิมของเจ้าฟ้าอุทุมพร ซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) ในปีเดียวกัน ซึ่งจะเป็นวัดที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นในโอกาสที่ทรงได้รับการสถาปนาหรือไม่นั้นยังไม่มีหลักฐานชัดเจน คงมีแต่ชื่อวัดและใบเสมาคู่ เรียงรอบพระอุโบสถที่สร้างใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ ทดแทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ซึ่งชาวบ้านยืนยันว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบมอญ และชุดใบเสมาที่เห็นในปัจจุบันก็เป็นของเดิมซึ่งน่าจะเป็นวัดหลวง ตามคตินิยมที่สืบต่อกันมา และได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  วัดบางเดื่อ มีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย เนื่องจากวัดบางเดื่อตั้งอยู่ริมฝั่งคลองบางเดื่อ ที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเห็นเป็นชัยภูมิที่เกื้อกูลในทางยุทธวิธี จึงทรงเลือกเป็นสถานที่ประชุมทัพ ตั้งเป็นที่บัญชาการรบ ณ บริเวณวัดแห่งนี้ ก่อนที่จะเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้น  เมื่อ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐  โดยทรงใช้กำลังทางเรือเข้าโจมตีมีชัยชนะยึดค่ายโพธิ์สามต้นคืนจากพม่าได้สำเร็จในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐  รวมระยะเวลาที่พระองค์ทรงใช้กอบกู้เอกราช  ๓๐๙ วัน นับจากพระองค์ทรงตีหักออกจากค่ายวัดพิชัย เมื่อ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๐

สถานที่สำคัญในวัดบางเดื่อในปัจจุบันคือ ๑.พระอุโบสถ หลังใหม่ทดแทนหลังเก่า ซุ้มเสมาคู่ของเดิมสันนิษฐานว่าเป็นวัดหลวงในอดีต

๒.วิหารหลวงปู่ขาว พระพุทธรูปเก่าแก่ศิลปอยุธยา

๓.พระเจดีย์อัฐิทหารหาญ ๕๐๐ อนุสรณ์สถานระลึกถึงวีรกรรมในระหว่างการกอบกู้เอกราช ณ สมรภูมิค่ายโพธิ์สามต้น 

๔.หอจดหมายเหตุสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประทับยืนบนเรือพระที่นั่งบัญชาการรบ

๕.เรือพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

๖.ตำหนักสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช









ขอขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ..

*******


วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563

สัจจะธรรม 😍

 


และนี่…ก็คือ…สัจจะธรรม ธรรมอันแท้จริง ธรรมอันเป็นกิจวัตรของคนในโลกปัจจุบัน…ล้วนแล้วแต่กระทำตามจิตใจที่ตนชอบ เป็นเครื่องชี้นำ…


1. เมื่อใดที่โมโห ลองนั่งนิ่งๆ ทบทวนดูว่า… เวลาที่เหลืออยู่ในชีวิตนี้มีอยู่อีกสักกี่วัน ทำไมต้องไปเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่อง อย่าเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยความรู้สึกแย่ๆ เลย ...


2. ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นหากลองดูดีๆ จะพบว่า มีแต่ ถูกใจ หรือ ไม่ถูกใจ ” หากทำถูกใจยังไงเขาก็มองว่าไม่ผิด “ แต่… ” หากทำไม่ถูกใจต่อให้ทำถูกแค่ไหนก็โดนมองว่าผิด “ เพราะฉะนั้น… อย่าไปเก็บเอามาคิด เพราะ ไม่มีใครเอาใจใครได้ทุกคน ...


3. เมื่อใดที่กลัดกลุ้มใจ ลองสูดลมหายใจลึกๆ แล้วคิดดูว่า… ชีวิตนี้มันมีแต่ลดกับลด ทุกวินาทีที่ผ่านไป กำลังบอกเราว่า… ” เวลาของเราน้อยลงไปอีก 1 วินาทีแล้ว “


4. การได้พบหน้ากันในวันนี้ หมายความว่า หมดโอกาสได้เจอกันไปอีกครั้งหนึ่งแล้วแล้ว… ” เราจะมัวมาทะเลาะกัน ในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องไปทำไม…? “ ...


5. เมื่อใดที่ถูกเอาเปรียบ ลองปล่อยวางดูบ้าง พูดมากจะเสียมิตร คิดเล็กคิดน้อยเสียเวลา ซื่อสัตย์ไว้ เวลาไปไหนจะได้ไม่มีใครพูดลับหลังในทางที่ไม่ดี แค่นี้ก็เพียงพอ ให้เราสุขใจได้แล้ว ...


6. เรื่องหลายๆ เรื่องที่ผ่านเข้ามา มันก็แค่กระทบเรา ชั่วครู่ ชั่วคราว เดี๋ยวเดียวก็ผ่านไป ทุกข์เข้ามาแปปๆ เดี๋ยวก็ผ่านไป สุขเข้ามาแปปๆ เดี๋ยวก็ผ่านไป ...


7. เมื่อใดที่ใครบางคนทำให้เราเสียใจ ลองปล่อยให้มันเป็นไปตามที่ควรจะเป็น ทบทวนดูสิว่า ชีวิตนี้… ไม่มีใครอยู่ยงคงกระพัน คนที่มีชื่อเสียง คนที่รวยล้นฟ้า หรือ คนที่รักกัน สุดท้ายก็แค่คน… ที่เคยมาเยือนโลกใบนี้ ...


8. เมื่อใดที่เรารู้สึกโดนแย่งอะไรไป ให้ลองไตร่ตรองดู ไม่มีใครครอบครองสิ่งใดในโลกนี้ได้ตลอดไป และ ไม่มีใครเป็นเจ้าของสิ่งใดแท้จริง แม้แต่ร่างกายเราก็ยังต้องคืนสู่ธรรมชาติ ...


9. อาจไม่รวยล้นฟ้าเหมือนเศรษฐีมีเงิน แต่… เราสามารถมีความสุขอันเรียบง่าย... ที่เศรษฐีโหยหาก็เป็นได้ แค่สุขภาพแข็งแรงมากกว่าคนที่นอนอยู่ตามโรงพยาบาล ก็นับว่าโชคดีกว่าคนอื่นๆ อีกมากเพียงใด ...


10. ความสุขง่ายๆ ที่เรามองข้าม วันนี้ยังกินข้าวได้ ยังนอนหลับสบาย มีบ้านให้หลบฝนหลบแดด มีเสื้อผ้าให้สวมใส่ ไปเที่ยวได้ มีคนรักอยู่ข้างกาย ยังอ่านเฟส เล่นไลน์ อ่านบทความดีๆแบบนี้ได้ แค่นี้คุณก็ถือว่า โชคดีกว่าใครๆ อีกหลายๆ คนแล้ว.


ใต้ร่มธรรม

****

Cr. Fwd Line.  😍

อนัตตา..สุญญตา 🙏🙏🙏

 


ถาม

คำว่า อนัตตากับคำว่า สุญญตา  ต่างกันอย่างไร


ตอบ

อนัตตา มาจากคำว่าอนัตตลักษณะ คือลักษณะทั่วไปของรูปนาม(โลกิยธรรม)ทั้งปวง อันบุคคลพึงเห็นอนัตลักษณะได้ตั้งแต่สัมมสนญาณที่3 (แห่งวิปัสสนาญาณ16) เป็นต้นไป โดยที่จะปรากฏสลับระคนไปกับ อนิจลักษณะ  และทุกขลักษณะ  


ทั้งสามลักษณะนี้ถูกตั้งฉายาเรียกรวมกันว่า

ไตรลักษณ์บ้าง สามัญลักษณะบ้าง

วิการลักษณะบ้าง

ยิ่งขึ้นสู่ระดับสูงๆ

ไตรลักษณ์ยิ่งเข้มข้น แสดงตน ดุจเสือแสดงลาย

สุญญตา มาจากคำว่า สุญญตลักษณะ คือลักษณะเฉพาะของนิพพานหรือปรมัตถลักษณะของนิพพานนั้นย่อมเป็นสภาวะว่างเปล่า 


นิพพาน เริ่มปรากฏให้เห็นได้ตั้งแต่ โคตรภูญาณที่13 (แห่งวิปัสสนาญาณ 16 )เป็นต้นไป  ถัดจากนั้นจะหน่วงนิพพานเป็นอารมณ์แล้วข้ามโคตรปุถุชนไปสู่โคตรอริยะ  เมื่อเป็นอริยะแล้ว จะทำอะไรอยู่ที่ไหนในโลกใบนี้ก็ตามระลึกรู้ ตามดู ตามเห็น นิพพาน บ่อยๆ เนืองๆ แล้วๆ เล่า ตลอดวันของทุกวัน อย่างเป็นเรื่องปกติธรรมดาสามัญของอริยะทั้งปวง


โดยสุญญตา(สภาวว่างเปล่า)จะปรากฏให้เห็นสลับระคนกันไปกับ อนิมิตตา (สภาวะไร้นิมิต)  อัปปณิหิตา(สภาวะไร้ที่ตั้งของกิเลส)



อนัตลักษณะเปรียบเหมือนแมว


สุญญตลักษณะเปรียบเหมือนเสือ


ว่าโดยสภาวะที่ปรากฏให้เห็นก็ต่างกันมาก  เพียงแต่บุคคลจะไม่สามารถเข้าไปเห็นเชิงประจักษ์ถึงความต่างลักษณะของสภาวะทั้งสองนี้ได้ ด้วยการฟัง การอ่าน การเล่าเรียน หรือลูบคลำตำรา   หรือตรรกะ หรือปรัชญา  หรือทฤษฎีวินิจฉัย  ผู้ที่จะสามารถเข้าไปเห็นลักษณะทั้งสองนี้(เห็นอนัตตลักษณะและสุญญตลักษณะ) เชิงประจักษ์ได้อย่างชัดเจน หมดสิ้นความสับสนสงสัยอย่างแท้จริง เกิดมีวุฒิตระหนักแน่ คม

ชัด ลึก ถึงความเด็ดขาดลงไปไม่กลับมาสงสัยได้อีกในลักษณะทั้งสองนี้นั้น ก็ต่อเมื่อ วิปัสสนาภาวนาของบุคคลนั้นแตะขอบโลกุตตระภาวนาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จึงจะสิ้นสงสัยในเรื่องนี้ได้อย่างแท้จริง มิฉะนั้นก็จะไม่มีวันสิ้นสงสัยไปได้


ถ้าภาวนาของผู้ใดยังอยู่ในเขตโลกียภาวนาก็จะไม่มีวุฒิตระหนักแน่ถึงความเด็ดขาดลงไปโดยไม่กลับสงสัยได้อีกว่าอนัตตลักษณะของรูปนามต่างกับสุญญตลักษณะของนิพพานอย่างไร

*****
Cr. Fwd Line

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2563

การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

 


พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู

"สัพพัญญุตญาณ"  (สัพพัญ  ทั้งหมด ญุต ความรู้  ญาณ ก็ความหยั่งรู้) รวมกันว่า ญาณ คือ ความรู้สิ่งทั้งหมด  พระพุทธเจ้าจึงเป็นพระสัพพัญญู ผู้รู้สิ่งทั้งหมด แต่มิใช่ว่าทรงรู้เท่าไรทรงแสดงทั้งหมด ทรงแสดงตามควรแก่ภูมิชั้นของผู้ฟังเท่านั้น เพราะทรงมุ่งให้ผู้ฟังรู้เข้าใจ ถ้าสอนเกินภูมิไปก็ไม่สำเร็จประโยชน์ เหมือนอย่างมีภูมิรู้ขนาดชั้นมัธยม ๓  ก็ทรงสอนขนาดที่นักเรียนชั้นนั้นจะเข้าใจได้ แต่เมื่อทรงสอนแก่คนที่มีภูมิรู้ชั้นสูงๆ ขึ้นไปก็ทรงสอนสูงขึ้นตามชั้น ข้อสำคัญคือ ทรงศึกษารู้จบทางคดีโลกเหมือนเป็นดุษฎีบัณฑิตมาก่อนแล้ว และมาทรงค้นคว้าจนรู้จบทางคดีธรรม จึงทรงรู้โลกรู้ธรรมแจ้งชัดหมด อาจสั่งสอนคนได้ทุกชั้น อาจโต้วาทะกับใครๆ ที่เลื่องลือว่าเป็นนักปราชญ์ได้ทั้งนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงไว้จึงมีหลากหลาย ซึ่งพระสาวกได้ฟังจำไว้ต่อๆ มาจนถึงจดเป็นอักษร แล้วพิมพ์เป็นหนังสือพระไตรปิฎกจำนวนหลายสิบเล่ม เหมือนอย่างรวมหลักสูตรตั้งแต่ชั้นอนุบาล ชั้นประถม ชั้นมัธยม จนถึงชั้นอุดมศึกษาไว้าพร้อมเสร็จ
     ฉะนั้น เมื่อศึกษาพระพุทธศาสนาไปโดยลำดับย่อมจะเข้าใจได้ดี และจะยิ่งรู้ความจริงยิ่งขึ้นทุกที แต่ถ้าเริ่มศึกษาผิดชั้นจะเข้าใจยากหรือาจไม่เข้าใจ เหมือนอย่างยังไม่รู้เลขชั้นประถมไปจับเรียนเลขชั้นมัธยมสูงๆ ทีเดียว จะเข้าใจได้อย่างไร
     และพระธรรมของพระพุทธเจ้าทุกข้อทุกบทมีเหตุผลที่ผู้ศึกษาอาจตรองตามให้เห็นจริงได้ เพราะทรงส่องเข้ามาที่ตัวของเราเองทุกๆ คน มิได้ทรงแสดงไกลออกไปๆ จนมองไม่เห็น
     ฉะนั้น เมื่อมีใครมาถามพระองค์ถึงเรื่องที่ไกลออกไปเช่นนั้น เช่นเรื่องโลกมีที่สุดหรือไม่มีที่สุดเป็นต้น ก็ไม่ได้ตรัสตอบ เพราะตรัสตอบไปก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไร ผู้ถามเองก็มองไม่เห็น คนอื่นก็มองไม่เห็น ได้แต่เชื่อหรือไม่เชื่อเท่านั้น ถึงจะเชื่อก็เป็นเรื่องอย่างหลับตาเชื่อ ไม่มีทางจะเกิดปัญญารู้เห็นได้เอง ทางที่ถูกควรจะไม่เชื่อมากกว่า
      พระพุทธเจ้าทรงมุ่งให้คนเชื่อด้วยความรู้ จึงทรงงดแสดงเรื่องที่คนไม่อาจจะรู้จะเห็น ทรงแสดงแต่เรื่องที่คนอาจจะรู้จะเห็นได้ คือเรื่องส่องเข้ามาที่ตัวของเราเองดังกล่างแล้ว ใครๆ ที่มีจิตใจมีสติปัญญาอย่างสามัญ อาจรู้เข้าใจพระธรรมของพระองค์ได้ทั้งนั้น  และไม่ต้องไปรู้ไกลออกไปที่ไหน รู้ที่ตัวของตัวเองนี่แหละอย่างมีเหตุผลตามเป็นจริง ทั้งสามารถจะปฏิบัติได้ทำได้ตามที่ทรงสั่งสอนด้วย เมื่อทำได้แล้วก็ได้รับผลดีจริง เช่น ทรงสอนไม่ให้ทำความชั่ว ให้ทำความดี ให้ชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์สะอาด นี้ก็คือทรงสอนแก่ตัวของเราทุกๆ คน เราทุกๆ คนสามารถไม่ทำความชั่ว สามารถทำความดี สามารถชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่ไม่สามารถ แต่บางอย่างไม่สามารถจริงๆ เช่น ถ้าจะมีใครสอนให้กลั้นลมหายใจเรื่อยไป สอนไม่ให้กิน สอนไม่ให้นอน เช่นนี้ไม่มีใครสามารถปฏิบัติตามได้แน่ ใครขืนปฏิบัติตามเป็นตายแน่.......
(จากหนังสือ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปริณายก)