วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เก็บมาฝากจากไลน์
- ยื้อ...ไม่ยื้อชีวิต อะไรคือตัวตัดสิน -
💉 เคยเจอสถานการณ์นี้ไหม เมื่อเราต้องเห็นคนที่เรารักที่เป็นผู้ป่วยระยะท้ายกำลังเจ็บปวดทรมานอยู่ต่อหน้าต่อตา โดยที่ไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไรดี
💉 มันผิดด้วยหรือถ้าญาติหรือลูกๆ จะแสดงความกตัญญูกับญาติผู้ใหญ่ที่ตนรักด้วยการยื้อชีวิตผู้ป่วย ในขณะที่ผู้ป่วยเองก็ต้องทนฝืนอยู่ต่อด้วยความรัก หรือเพื่ออยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรต่อไปอย่างทรมาน สถานการณ์อย่างนี้ใครกันแน่ที่จะต้องเจ็บปวดทางใจเมื่อเราต้องรู้สึกผิดในภายหลัง
💉 ถ้าเราตระหนักเรื่องการ “ตายดี” ได้อย่างลึกซึ้ง เราจะไม่มีวันให้สถานการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
💉 ‘หมอแดง’ นาวาเอกนายแพทย์พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ บอกกับเราว่า “นั่นเท่ากับเป็นการยืดกระบวนการตายให้ยาวนานขึ้น และทำให้เกิดความเจ็บปวดทรมานเพิ่มมากขึ้น แทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติซึ่งสั้นกว่าและเจ็บปวดทรมานน้อยกว่า”
💉 “เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการให้ผู้ป่วยและญาติได้รู้ข้อเท็จจริง และในท้ายที่สุดต้องให้ผู้ป่วยได้ตัดสินใจเลือกด้วยตัวเอง หมอรู้ถึงความทุกข์ทรมาน จึงแนะนำให้เราไม่ต้องยื้อความตายไว้นานเกินไป ในขณะที่คนทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นความใจร้าย แต่ถ้าเราเอาความต้องการของผู้ป่วยเป็นหลัก และถ้าเขาพูดได้ บอกได้ และตัดสินใจเลือกเองได้ หมอมั่นใจว่าเขาจะบอกว่าวิถีทางตามธรรมชาตินั้นดีที่สุด”
💉 “หลักการคือให้ผู้ป่วยระยะท้ายได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริง เมื่อเขารู้ว่าโรคที่เป็นอยู่นั้นรักษาหายหรือไม่หาย ถ้าดำเนินการรักษาต่อไปแล้วจะทรมานมากหรือน้อยอย่างไร เขาจะประเมินด้วยตัวเองว่าอยากจะให้ลูกหลานทำอย่างไร เขาจะมีการเตรียมตัว มีการทำพินัยกรรม พบหน้าลูกหลานครบทุกคน สั่งเสียเรื่องที่ยังค้างคาใจ และเมื่อเขาทำทุกสิ่งทุกอย่างเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เขาก็จะได้เข้าสู่กระบวนการตายตามธรรมชาติ”
💉 “ตามหลักวิทยาศาสตร์ คนเราถ้ากินอาหารไม่ได้ติดต่อกันหลายวัน ร่างกายจะสูญเสียสมดุลเกลือแร่ พอเสียสมดุลนี้ไป อย่างแรกที่จะกระทบกระเทือนเลยก็คือสมอง สมองจะเริ่มเบลอ และปิดการทำงานไปเรื่อยๆ เขาจะ “ไม่เจ็บปวดทรมาน” มากนักตอนจากไป นอกจากกระบวนการตายจากการเสียสมดุลเกลือแร่ ยังมีกระบวนการตายจากการติดเชื้อซึ่งจะทำให้ความดันเลือดตก เลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะลดลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยจะซึมลง ง่วง หลับ การรับรู้ทางร่างกายจะค่อยๆ ตัดออกไป ไม่รับรู้ถึงร่างกายตอนที่กำลังแตกดับ ในจุดนั้นเขาจะไม่รับรู้ความเจ็บปวดแล้วซึ่งนับว่าทรมานน้อยกว่า แต่ถ้าเรายื้อไว้ด้วยการฉีดยาฆ่าเชื้อจะทำให้เขากลับมาแข็งแรง เลือดไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น สมองกลับมาทำงานได้ดีเหมือนเดิม เขาก็จะรับรู้ความเจ็บปวดทางร่างกายต่อไป ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เราจะใช้การแพทย์สมัยใหม่ทำทุกวิถีทางเพื่อให้สมองผู้ป่วยยังคงทำงานอยู่ ความดันเลือดตกก็ให้ยากระตุ้นความดัน ถ้าติดเชื้อก็ให้ยาฆ่าเชื้อ ไตวายก็ฟอกไต กินไม่ได้ก็ให้อาหารทางสาย แบบนี้สมองเขายังทำงานต่อไปและรับรู้ความเจ็บปวดทรมานไปเรื่อยๆ”
💉 หมอแดงย้ำว่า “การที่ผู้ป่วยยอมรับความจริงต่ออาการของตัวเองและยอมยุติการรักษา ไม่ใช่การฆ่าตัวตาย และไม่ใช่การทำการุณยฆาต แต่การยอมยุติการรักษา คือการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการตายตามธรรมชาติ ทัศนคติยอมรับความตายตามธรรมชาติคือการรู้ว่าทุกชีวิตต้องตายและยอมปล่อยให้เป็นไปแบบธรรมชาติ”
💉 หลักการที่ถูกต้องเมื่อรู้ตัวว่าเจ็บป่วยและเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต
1. ยอมรับตามธรรมชาติว่าทุกชีวิตไม่ว่าจะยื้อนานแค่ไหนก็ต้องจากไป
2. แสดงเจตจำนงไว้อย่างชัดเจน หรือทำ Living Will เอาไว้ อย่างเช่น คุณพ่อหมอบอกไว้ก่อนหน้านั้นแล้วว่าเขาไม่ต้องการทรมานจากยื้อชีวิต
3. การแพทย์สมัยใหม่ใช้เพื่อช่วยลดความเจ็บปวด โดยปล่อยอาการของโรคดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติ ไม่ไปเปลี่ยนอะไรมัน
💉 การทำงานของหมอแดงคือต้องให้ความรู้เหล่านี้ออกไปเพื่อช่วยไม่ให้ญาติหรือลูกๆ รู้สึกผิดในภายหลัง
💉 “หมอพยายามปิดช่องโหว่ของความไม่รู้ และตอบคำถามกับทุกคน เพื่อที่เขาจะได้ไม่ยื้อความตายของพ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ ให้ความรู้เพิ่มเข้าไปเพื่อจะได้ไม่สงสัย ลังเล หรือรู้สึกผิด ถ้าถามว่าถูกต้องไหม หมอตอบเรื่องถูกหรือผิดไม่ได้ แต่มันคือ ‘วิถีทางตามธรรมชาติ’ ที่สุด และจากความรู้ทางการแพทย์ มันคือ ‘วิถีทางที่เจ็บปวดทรมานน้อย’กว่า” หมอแดงกล่าว
คัดลอกบางส่วนมาจาก ไทยโพสต์ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
#cheevamitr #ชีวามิตร #ตายดี
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
นรจ.รุ่น ๐๙ มอบเงินให้สมาคมศิษย์เก่าชุมพลทหารเรือ
ผู้แทน นรจ.รุ่น ๐๙ มอบเงินที่ได้รับจากการบริจาคจาก
นรจ.รุ่น ๐๙ และครอบครัว
ให้กับสมาคมศิษย์เก่าชุมพลทหารเรือ
เมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน ๖๒ (Navy Day)
ณ นันทอุทยานสโมสร
กรุงเทพมหานคร
ขอขอบคุณ
อนันต์ ช. ชาญณรงค์ ว. ประสพโชค ว. เสรี อ.
เอื้อเฟื้อภาพ
........................
***************
***************
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เก็บมาฝากจากไลน์
Cr.Fwd.line
20 คำพูด กินใจ ของปราชญ์ชาวจีน ไม่เคยล้าสมัย
1. "ซุนวู" " ชมคนด้วยวาจา... มีค่ายิ่งกว่ามอบไข่มุกให้เป็นของขวัญ ทำร้ายคนด้วยวาจา... สาหัสยิ่งกว่าทิ่มแทงด้วยหอกดาบ.."
2. "ฮั่วหลัวเกิง" " คนอื่นช่วยเรา... เราจะจำไว้ชั่วชีวิต เราช่วยคนอื่น... จงอย่าจำใส่ใจ "
3. "ปันกู้" " น้ำใสสะอาดเกินไป... ย่อมไร้ซึ่งมัจฉา คนที่เข้มงวดเกินไป... ย่อมไร้ซึ่งบริวาร "
4. "หลี่ต้าเจา" " ความไม่พอใจ... ความกลัดกลุ้มหงุดหงิด ควรจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราฮึดสู้มากยิ่งขึ้น ไม่ควรเป็นสิ่งที่ทำให้เราท้อแท้... ห่อเหี่ยวยอมจำนนต่ออุปสรรค..."
5. "ปาจิน" " ในชีวิตของเรา... มิตรภาพเปรียบเสมือนโคมส่องสว่างดวงหนึ่ง... ซึ่งสาดส่อง จิตวิญญาณของเราให้สว่างไสว ทำให้ชีวิตของเรามีแสงสีอันงดงาม.."
6. "หยางว่านหลี่" " ตัวสกปรกก็คิดจะอาบน้ำ เท้าสกปรกก็คิดจะล้างเท้า แต่ใจสกปรก กลับไม่คิดที่จะชำระใจ..."
7. "หูหลินอี้" " สุขสบายเกินไป... เส้นสายก็พลอยหย่อนยาน จิตใจก็พลอยขลาดกลัว"
8. "ซุนซือเหมี่ยว" " พูดน้อย กลุ้มน้อย ตัณหาน้อย นอนน้อย... ถ้าสี่อย่างนี้น้อย ก็ใกล้จะเป็นเซียนแล้ว"
9. "ลู่ซู" " คนที่เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป... เป็นคนที่โดดเดี่ยวอ้างว้างที่สุด!"
10. "ฟังเสี้ยวหยู" " ไม่มีอะไรแย่เท่ากับความเย่อหยิ่งอวดดี..ผู้ที่คิดว่าตัวเองไม่ดีพอ คือ คนที่ดีพอ..ผู้ที่คิดว่าตัวเองดีแล้ว คือ ผู้ที่ดีไม่พอ "
11. "จางจื้อซิน" " ต้องกล้าที่จะมองความจริง.. แม้ว่าความจริงอาจจะทำให้เราเจ็บปวดมาก ๆ "
12. "ซุนยาง" " ความอิจฉา... เป็นอุปสรรคต่อมิตรภาพ ความระแวงสงสัย... เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของความรัก ความรัก... ถ้าปราศจากความซื่อสัตย์จริงใจต่อกันเสียแล้ว ก็ไม่อาจเชื่อถือซึ่งกันและกันได้"
13. "เจิงจิ้นเสียนเหวิน" " ใช้จิตใจที่ชอบตำหนิผู้อื่น... มาตำหนิตัวเอง...ใช้จิตใจที่ชอบให้อภัยตัวเอง...ให้อภัยผู้อื่น.."
14. "ก่วนจ้ง" " ขี้เกียจแล้วยังฟุ่มเฟือย... ย่อมยากจน ขยันและประหยัด... ย่อมร่ำรวย.."
15. "ขงเบ้ง" " สูงส่งแต่ไม่เย่อหยิ่ง ชนะแต่ไม่ลำพอง ปราดเปรื่องแต่รู้จักลงเวที เข้มแข็งแต่มีความอดกลั้น.."
16. "หลี่ปุ๊เหว่ย" "..ก่อนที่จะเอาชนะคนอื่น..จักต้องเอาชนะตัวเองให้ได้เสียก่อน ก่อนที่จะว่าคนอื่น... ควรพิจารณาดูตัวเองเสียก่อน ก่อนหน้าที่จะรู้จักคนอื่น... ควรจะรู้จักตัวเองเสียก่อน.."
17. "เล่าจื๊อ" " ผู้ที่รู้จักคนอื่นเป็นคนฉลาด... ผู้ที่รู้จักตัวเองเป็นคนมีสติ...
18. "ขงจื๊อ" " สิ่งที่ตัวเราไม่ชอบ... จงอย่าทำกับคนอื่น.."
19. "ซือหม่าเชียน" " คนที่ทำได้อาจพูดไม่ได้... คนที่พูดได้อาจทำไม่ได้.!!"
20. "ซือหม่าเชียน" " คนเราหนีไม่พ้นความตาย... แต่ความหมายการตายนั้น ไม่เหมือนกัน..บ้างมีค่าหนักกว่าขุนเขา..บ้างไร้ค่าเบากว่าขนนก..."....
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
แก่นของพระพุทธศาสนา
เขมรังสี ภิกขุ
วัดมเหยงคณ์
พระนครศรีอยุธยา
.....
"..ถามว่าอะไรคือแก่นของพระพุทธศาสนา
ตอบได้ไหม...เข้าถึงแก่นหรือยัง...
มีพราหมณ์ผู้หนึ่งไปถามพระพุทธเจ้าว่า
ครูทั้งหกสมัยนั้น มักขลิโคศาล สัญชัย นิครนนาฏบุตร ฯลฯ
ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังสมัยนั้น
ได้ถามว่า ครูคนใหนเป็นผู้ที่รู้แจ้ง รู้จริง
ตามที่ตนปฏิญาณ...
พระพุทธเจ้าไม่ได้ตอบตรง..
และได้บอกว่า
เธอจงฟัง เราจะแสดงธรรมให้ฟัง...."
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ปัญญากับปัญหา
เก็บมาฝากจากไลน์..
cr.ปิยสีโล ภิกฺขุ
“ปัญหา กับ ปัญญา”
เคยสังเกตไหมว่าสะกดคล้ายกัน
เวลาที่สองคำนี้อยู่ห่างจากกันเมื่อใด
ความทุกข์ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น
คนเรามักจะคิดว่าปัญหาของตัวเองใหญ่กว่าคนอื่นเสมอ
เพราะแต่ละคนต่างหมกมุ่นกับปัญหาของตัวเอง
บางคราวก็มัวแต่นั่งสงสารตัวเอง
ร้องคร่ำครวญว่าทำไมต้องมาเจออย่างนี้
ทำไมปัญหาเรามากกว่าคนอื่น
หรือทำไมคนอื่นๆ ไม่เจออย่างเราบ้าง
หากพยายามวางใจเป็นกลาง ถอนตัวออกจากการหมกมุ่นอยู่กับปัญหา
ย่อมจะเห็นความจริงว่า ทุกชีวิตต่างมีปัญหาด้วยกันทั้งนั้น
ไม่ได้มีแต่เราที่ต้องเผชิญความยุ่งยากในชีวิตตามลำพัง
ในเมื่อหลีกเลี่ยงปัญหาไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีอยู่ร่วมกับปัญหา
ให้มีความทุกข์น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
เบื้องต้นก็ต้องอดทนกับความไม่ชอบใจ
ระวังความอยากที่จะให้ปัญหานั้นสิ้นไปโดยเร็ว
เพราะความไม่ชอบและความอยากที่ว่านี้
ทำให้เกิดความทรมานเวลาที่อยู่ร่วมกับปัญหา
จากนั้นก็พยายามแก้ปัญหาในส่วนที่เราทำได้
ด้วยสติด้วยปัญญาและความรอบคอบ
หากเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ ท้ายที่สุดปัญหานั้นก็จะลุล่วงไป
แม้จะใช้เวลามากกว่าที่เราคิดก็ตาม
เวลาเจอปัญหาครั้งใด ขอให้ถือเป็นโอกาส
ถ้าเราเปลี่ยนพยัญชนะภาษาไทยเพียงตัวเดียว
'ปัญหา' ก็กลายเป็น 'ปัญญา'
หมดความยุ่งยากไป
Cr.ปิยสีโล ภิกฺขุ
cr.ปิยสีโล ภิกฺขุ
“ปัญหา กับ ปัญญา”
เคยสังเกตไหมว่าสะกดคล้ายกัน
เวลาที่สองคำนี้อยู่ห่างจากกันเมื่อใด
ความทุกข์ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น
คนเรามักจะคิดว่าปัญหาของตัวเองใหญ่กว่าคนอื่นเสมอ
เพราะแต่ละคนต่างหมกมุ่นกับปัญหาของตัวเอง
บางคราวก็มัวแต่นั่งสงสารตัวเอง
ร้องคร่ำครวญว่าทำไมต้องมาเจออย่างนี้
ทำไมปัญหาเรามากกว่าคนอื่น
หรือทำไมคนอื่นๆ ไม่เจออย่างเราบ้าง
หากพยายามวางใจเป็นกลาง ถอนตัวออกจากการหมกมุ่นอยู่กับปัญหา
ย่อมจะเห็นความจริงว่า ทุกชีวิตต่างมีปัญหาด้วยกันทั้งนั้น
ไม่ได้มีแต่เราที่ต้องเผชิญความยุ่งยากในชีวิตตามลำพัง
ในเมื่อหลีกเลี่ยงปัญหาไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีอยู่ร่วมกับปัญหา
ให้มีความทุกข์น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
เบื้องต้นก็ต้องอดทนกับความไม่ชอบใจ
ระวังความอยากที่จะให้ปัญหานั้นสิ้นไปโดยเร็ว
เพราะความไม่ชอบและความอยากที่ว่านี้
ทำให้เกิดความทรมานเวลาที่อยู่ร่วมกับปัญหา
จากนั้นก็พยายามแก้ปัญหาในส่วนที่เราทำได้
ด้วยสติด้วยปัญญาและความรอบคอบ
หากเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ ท้ายที่สุดปัญหานั้นก็จะลุล่วงไป
แม้จะใช้เวลามากกว่าที่เราคิดก็ตาม
เวลาเจอปัญหาครั้งใด ขอให้ถือเป็นโอกาส
ถ้าเราเปลี่ยนพยัญชนะภาษาไทยเพียงตัวเดียว
'ปัญหา' ก็กลายเป็น 'ปัญญา'
หมดความยุ่งยากไป
Cr.ปิยสีโล ภิกฺขุ
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
อาลัยคุณครู เรือเอกประสาร แก้วศรีสุข
คุณครู เรือเอกประสาร แก้วศรีสุข
พ.ศ.๒๕๐๙ พวกเรา นรจ.รุ่น ๐๙ ได้เข้าเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือ เกล็ดแก้ว สัตหีบ ชลบุรี คุณครูเรือเอกประสาร ท่านเป็นนายตอน ๓
............................................
๔๐ ปี ผ่านไป พวกเราเริ่มเกษียนอายุ
มีงานพบปะสังสรรค์
คุณครูประสาร จะมาร่วมงานด้วยทุกปี
ช่วงเช้าจะทำบุญอุทิศส่วนกุศล
ให้กับเพื่อน นรจ.๐๙ ที่ล่วงลับไปแล้ว...
ช่วงค่ำ จะเป็นงานเลี้ยงสังสรรค์
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาท่านมีเมตตามาร่วมงานทุกครั้ง
คุณครูประสาร จะมาร่วมงานทุกครั้ง
สองปีหลังท่านสุขภาพไม่ค่อยดี
ท่านก็ยังมาร่วมงานเช่นเคย
ร่วมงาน ๕๓ ปี นาวี ๐๙ เมื่อต้นปี ๒๕๖๒
ขอให้ดวงวิญญาณคุณครูเรือเอกประสาร แก้วศรีสุข สู่สุคติ คุณงามความดี บุญกุศล ที่ท่านได้สร้างมาและบุญของพวกเราศิษย์ของคุณครูทุกคน ที่ได้สร้างมาขอยกมอบแด่คุณครูให้สู่สัมปรายภาพ สู่สรวงสวรรค์ ชั้นสูงสุด ด้วยเทอญ
ขอขอบคุณภาพจาก น.อ.เสรี อินทวี และ
น.ท.ชาญณรงค์ ไวทยะพัธน์
**************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)