มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ได้แนะนำ การสร้างนิสัยแห่งความสุข 20 ประการ ปี 2018 ไว้ ..
1. Be Grateful
..สำนึกบุญคุณคนที่ดีต่อเรา
2. Choose Your Friends Wisely
..เลือกเพื่อนอย่างชาญฉลาด
3. Cultivate Compassion
.. ให้ความเห็นอกเห็นใจ แก่คนอื่น
4. Keep Learning
..หมั่นเรียนรู้
5. Become a Problem Solver
.. เป็นผู้แก้ปัญหาได้
6. Do What You Love
..ทำในสิ่งที่คุณรัก
7. Live in the Present
..อยู่กับปัจจุบัน
8. Laugh often
..หัวเราะบ่อยๆ
9. Practice Forgiveness
..ฝึกการให้อภัย
10. Say Thanks often
..กล่าวขอบคุณเสมอ
11. Create Deeper Connections
..สร้างความสัมพันธ์ลึกล้ำ
12. Keep Your Agreement
..รักษาสัญญา คำพูด
13. Meditate
..ทำสมาธิ
14. Focus on What You're Doing
..ตั้งมั่นในสิ่งที่กำลังทำ
15. Be Optimistic
..มองโลกในแง่ดี
16. Love Unconditionally
..รักอย่างไม่มีเงื่อนไข
17. Don't Give up
..อย่ายอมแพ้
18. Do Your Best and then Let it Go
..ทำดีที่สุดแล้วอย่ายึดติด
19. Take Care of Yourself
..ดูแลตัวเอง
20. Give back to society
..ตอบแทนสังคม
ทบทวนเรื่องราวดีๆแล้ว
ส่งต่อให้เพื่อน ที่คุณรัก
ก่อนปีใหม่ 2019 กำลัง
จะมาถึงนะคะ🌹
.......................
Cr.Fwd Line
วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561
เก็บมาฝาก
คุยกันวันนี้
—————
นักภาวนา หรือนักปฏิบัติธรรม หรือคนที่ชอบนั่งสมาธินั้น มีอยู่ ๒ ประเภท
ประเภทแรก คือ นักภาวนาแบบตัณหา เป็นพวกทำเพื่อยึด พวกทำเอา มีความมุ่งหวังตั้งเอา อยากได้ อยากสำเร็จสูง มีศรัทธาแรง ทำเพื่อหวังผล รอผล เพราะเชื่อว่า เมื่อทำตามวิธีนี้แล้ว ก็จะได้สิ่งนี้สิ่งนั้นมา ต้องทำสิ่งนี้ก่อน สิ่งนั้นมันก็จะเกิดตามมา ทำแล้วจะได้สภาวะนี้ เห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้
ผู้สอนการภาวนา จะสอนกันแบบสอนวิชาคณิตศาสตร์ ให้ไปหาผลลัพธ์มาเอง ได้ผลลัพธ์มาแล้วก็เอามาส่งครู ครูจะเป็นผู้ให้โจทย์ ผู้ตรวจว่าถูกหรือผิด จะมีระบบครูอาจารย์ มีเจ้าสำนัก ต้องส่งงาน ส่งการบ้าน ครูจะเป็นผู้ให้คะแนน จะมีการตั้งตัวเป็นอาจารย์ จะมีชื่อ จะมียี่ห้อ มีความเป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นลูกศิษย์ ลามมาเป็นสายนั่น สายนี้ สำนักนั่น สำนักนี้ ระดับพระอรหันต์จะมีมาก ผู้สำเร็จขั้นนั่นขั่นนี้จะมีมาก บางสำนักมีใบประกาศให้ พยากรณ์ให้ด้วย ความวิเศษศักดิ์สิทธิ์อภินิหารจะมีเต็มสำนัก
มักจะเปรียบการภาวนา เหมือนการปลูกไม้ดอกไม้ผล เหมือนการขุดบ่อน้ำ เหมือนการเอาไม้มาสีไฟ ถึงเวลาผล ดอก น้ำ ไฟ ก็จะเกิดขึ้น มีขึ้นเอง จะได้ จะรู้เอง เห็นเอง
ประเภทนี้ จะทำภาวนากันอย่างเคร่งเครียด ทำเอาเป็นเอาตาย เพราะอยากได้ อยากเป็น อยากสำเร็จ ประเภทนี้จะมีความเพียรสูง มีความพยายามมาก หาตัวจับยาก น่าศรัทธา เรียกศรัทธาได้
นักภาวนาประเภทนี้ กว่าเขาจะหลุด จะพ้น จะผ่านจุดนี้ไปได้ จนได้ผล เห็นผล ก็คางเหลือง ก็เกือบตาย ไม่ตายก็เพี้ยน เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ทำภาวนากันเหมือนการกลิ้งครกขึ้นภูเขา เป็นประเภท ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า เพราะกำลังของความอยาก ความยึด มันไปกั้นตัวรู้ไว้ ส่วนมากจะหลุดออกยาก เพราะมันกลายเป็นวิบากทิฎฐิล็อคจิตไว้แล้ว และยังถูกควบคุมด้วยครู ด้วยลูกศิษย์ จะไม่มีความอิสระในตัว เพราะจะต้องอยู่ในกรอบ ในแบบที่วางไว้ ส่วนที่ได้ผลจากภาวนาจริงๆก็มีเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่มี แต่ส่วนมากแล้วที่ไม่ได้ผลจะมีมากกว่า
จะได้กันแค่รูปแบบ ได้แค่ยี่ห้อของสำนัก จะยึดติดรูปแบบ ยึดติดอาจารย์ ยึดติดสำนักมาก ลักษณะที่เห็นได้ชัด คือ จะแสดงตัวเป็นผู้รู้ มีมานะถือตัวถือตน มีทิฎฐิแรง อัตตาสูง ศรัทธาจัด ตัวชอบ ตัวชังจะมีอยู่มาก ใครจะแตะไม่ได้ มักจะยึดกันว่า ต้องวิธีนี้เท่านั้นถึงจะถูกต้อง วิธีอื่นผิดหมด วิธีอื่นไม่ได้ผล กินยาตัวนี้เท่านั้น ห้ามกินยาตัวอื่น ของโรงพยาบาลอื่นเด็ดขาด
คำพูดที่ว่า “กรรมฐานขี้โกรธ สันโดษขี้ขอ วิปัสสนาร่ำรวย” มาจากนักภาวนาวิธีทั้งนั้น พลังกดข่มแรง แสดงท่าแสดงทางได้ดี ทุกอย่างจะไม่เป็นธรรมชาติ ไม่เป็นปกติ ก็จากผลของการทำเอาทั้งสิ้น
วิธีที่สอง คือ ภาวนาแบบฉันทะ เป็นการทำภาวนาด้วยความพอใจ มีตัวฉันทะความพอใจเป็นกำลังช่วย ทำแบบไม่ต้องรอผล หวังผล
เพราะรู้ชัด เข้าใจชัด เห็นชัดแล้วว่า ผลมันเกิดขึ้นแล้ว มันได้แล้วในขณะที่ทำภาวนาอยู่ในขณะนั้นๆเอง เป็นประเภท สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว เพราะตัวอยาก ตัวเอา มันไม่มี ไม่ต้องหา ไม่ต้องรอ ไม่ต้องหวัง มันจบ มันวาง มันปลง มันดับในขณะที่ทำภาวนาอยู่แล้ว ไม่ต้องไปจบ วาง ปลง ดับที่ไหน
เปรียบเหมือนการเก็บดอกไม้ผลไม้ในป่า ตักน้ำจากแม่น้ำ เอาไฟจากไฟป่า มันมีอยู่ตามธรรมชาติในป่าอยู่แล้ว
เราแค่รู้วิธีเก็บมากิน รู้วิธีตักดื่ม รู้วิธีเอามาใช้ รู้ว่าเราจะต้องทำอย่างไรกับมันแค่นั้น เก็บมาแล้ว ตักมาแล้ว ก่อไฟได้แล้ว ก็ไม่มีความต้องการเอาติดตัวกลับบ้าน เพราะเห็นว่ามันเป็นภาระจะมัวหอบหิ้วเอาไปทำไม
ตัวกาย เวทนา จิต ธรรม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันมีอยู่แล้ว เหมือนผลไม้ในป่า น้ำในแม่น้ำ ไฟป่า เราแค่ตามรู้ ตามดู ตามความเป็นจริงของมันที่มีอยู่แล้ว มีอยู่แล้วเท่านั้นพอ ไม่ต้องไปทำอะไรให้ยุ่งยาก ลำบากกาย ลำบากใจ ปฏิบัติเหมือนไม่ปฏิบัติ
ประเภทนี้ จะภาวนากันอย่างมีความสุข จะไม่ค่อยยึดติดอะไรมาก เพราะรูปแบบการภาวนา ไม่ได้ทำเพื่อเอา ทำเพื่อได้โน่นนี่นั่น ทำเพื่อทิ้ง เพื่อวาง จะอิสระในการปฏิบัติ จะไม่มีระบบครูอาจารย์ มีแต่สหายธรรม ช่วยกันจบ ช่วยกันวาง ไม่มียี่ห้อ ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมากมาย มีแต่การสมมติใช้ อุปโลกน์ใช้ ให้ถูกตามกาละเทศะ สถานที่ บุคคล ชุมชน เพื่อเป็นตัวช่วยแค่นั้น แล้วจะเอาอะไรมายึด มาปรุง มันไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา อยู่แล้ว อยู่แล้ว เพราะเป้าหมายของการทำภาวนาวิธีนี้ ก็เพื่อจบ เพื่อวาง เพื่อปลง เพื่อดับ ตัวอยาก ตัวยึด ตัวกลัว ตัวสงสัยอยู่ในตัวเองมันอยู่แล้ว
ประเภทนี้จะไม่พูดถึงความขลังศักดิ์สิทธิ์อภินิหาร เห็นนั่น เห็นนี่ ได้ขั้นนั่น ขั้นนี่ บรรลุขั้นนั้นขั้นนี้ จะไม่ให้ความสำคัญ จะคอยตรวจดูสภาพจิตใจของตน ไม่ต้องส่งการบ้าน รายงานผลใคร ใช้ระบบปัจจัตตัง สรุปจบ สรุปวาง สรุปปลง สรุปดับเอง
ความขลังความศักดิ์สิทธิ์สูงสุด คือ การปล่อยวางได้ อยู่เหนือตัวชอบ ตัวชังได้
ผลที่เกิดในขณะภาวนา และหลังจากภาวนาแล้วนั้น ก็จะมีแต่ความปลอดโปร่ง โล่งใจ สว่างไสว คลี่คลาย เบากาย เบาจิต อิสระ รู้ ตื่น เบิกบาน สุขสงบเย็น ไร้ตัว ไร้ตน ไร้อกุศลไร้ความขัดแย้ง ไร้อคติ ไร้ทิฎฐิ ไร้มายา ครอบงำ จะมีมาก มีน้อย ก็ขึ้นอยู่ตามกำลังของสติ สมาธิ ปัญญาที่ฝึกฝนได้แล้วฯ
สรุปแล้ว ดีกว่าไม่ปฏิบัติ ไม่ทำ ไม่สนใจ ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด เพราะกุศลอกุศล ถูกผิด มันยึดไม่ได้อยู่แล้ว สมมติโลก สมมติเขา อุปาทานโลก อุปทานเขา วิบากโลก วิบากเขา ธรรมชาติโลก ธรรมชาติเขา ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไร้ตัวไร้ตน ไร้สัตว์ ไร้บุคคล เรา เขา มันยึดไม่ได้อยู่แล้ว สรุปจบ สรุปวาง สรุปปลง สรุปดับ รู้แล้วทิ้ง รู้แล้ววาง ล้างวิบากทิฎฐิทิ้งเสีย วิบากใคร วิบากมัน ตัณหาใคร ตัณหามัน ทิฎฐิใครทิฎฐิมัน ภพภูมิใคร ภพภูมิมัน รู้แล้วก็จบที่จิต โสทิ้งจบฯ
วัดพระมหาชนก บ้านพลังเพียร
12.2.2018
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)