ครั้งหนึ่ง การณปาลีพราหมณ์ถามสหายชาวพุทธชื่อปิงคิยานีว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระปัญญาเลิศล้ำเพียงใด ปิงคิยานีตอบว่า "ข้าพเจ้าเป็นใครกันเล่า จักอาจหาญล่วงรู้พระมหาปัญญาของพระบรมศาสดาได้ มีเพียงผู้อยู่ในระดับเดียวกับพระองค์เท่านั้นจะพึงรู้ได้"
"ช่างเป็นการสรรเสริญอันเลิศยิ่ง" การณปาลีกล่าว ปิงคิยานีจึงตอบว่า "พระบรมศาสดาได้รับการสรรเสริญจากบุคคลผู้พึงสรรเสริญ พระองค์ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"
เมื่อถูกคาดคั้นถึงเหตุแห่งความเลื่อมใสอันยิ่งในพระบรมศาสดา ปิงคิยานีตอบโดยยกอุปมา ๕ ข้อ ดังนี้
๑.เปรียบเสมือนบุคคลผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสอันเลวเหล่าอื่น ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเหล่าอื่น ฉันนั้น
๒.เปรียบเสมือนบุคคลผู้ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ พึงได้รวงผึ้ง เขาย่อมลิ้มรสหวานด้วยจิตเบิกบาน ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้วย่อมได้ความพึงพอใจ ได้ความสงบแห่งใจ ฉันนั้น
๓.เปรียบเสมือนบุคคลผู้ได้ไม้จันทน์หอม พึงได้ความชื่นใจในกลิ่นหอมอันดีอันแท้ ไม่ว่าจะสูดดมจากยอด จากลำต้น หรือจากราก ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดา ไม่ว่าจะเป็นครั้งใด ย่อมนำมาซึ่งปราโมทย์และโสมนัส ฉันนั้น
๔.เปรียบเสมือนบุคคลผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขาย่อมมลายไป ฉันนั้น
๕.เปรียบเสมือนบุคคลผู้เดินทางกลางแดดร้อนจนเหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย แล้วกระโจนลงในสระน้ำใสเย็น น่ารื่นรมย์ เขาย่อมระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงได้ ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ย่อมระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงได้ ฉันนั้น ฯ
ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ
*****
Cr.ครั้งหนึ่ง การณปาลีพราหมณ์ถามสหายชาวพุทธชื่อปิงคิยานีว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระปัญญาเลิศล้ำเพียงใด ปิงคิยานีตอบว่า "ข้าพเจ้าเป็นใครกันเล่า จักอาจหาญล่วงรู้พระมหาปัญญาของพระบรมศาสดาได้ มีเพียงผู้อยู่ในระดับเดียวกับพระองค์เท่านั้นจะพึงรู้ได้"
"ช่างเป็นการสรรเสริญอันเลิศยิ่ง" การณปาลีกล่าว ปิงคิยานีจึงตอบว่า "พระบรมศาสดาได้รับการสรรเสริญจากบุคคลผู้พึงสรรเสริญ พระองค์ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"
เมื่อถูกคาดคั้นถึงเหตุแห่งความเลื่อมใสอันยิ่งในพระบรมศาสดา ปิงคิยานีตอบโดยยกอุปมา ๕ ข้อ ดังนี้
๑.เปรียบเสมือนบุคคลผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสอันเลวเหล่าอื่น ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเหล่าอื่น ฉันนั้น
๒.เปรียบเสมือนบุคคลผู้ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ พึงได้รวงผึ้ง เขาย่อมลิ้มรสหวานด้วยจิตเบิกบาน ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้วย่อมได้ความพึงพอใจ ได้ความสงบแห่งใจ ฉันนั้น
๓.เปรียบเสมือนบุคคลผู้ได้ไม้จันทน์หอม พึงได้ความชื่นใจในกลิ่นหอมอันดีอันแท้ ไม่ว่าจะสูดดมจากยอด จากลำต้น หรือจากราก ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดา ไม่ว่าจะเป็นครั้งใด ย่อมนำมาซึ่งปราโมทย์และโสมนัส ฉันนั้น
๔.เปรียบเสมือนบุคคลผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขาย่อมมลายไป ฉันนั้น
๕.เปรียบเสมือนบุคคลผู้เดินทางกลางแดดร้อนจนเหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย แล้วกระโจนลงในสระน้ำใสเย็น น่ารื่นรมย์ เขาย่อมระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงได้ ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ย่อมระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงได้ ฉันนั้น ฯ
ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ
****
Cr.https://www.facebook.com/100064337808864/posts/pfbid0kTUfHPCozpH1EPHoZGgioq8xUDaF75zQejnmm2Kt26aX7r1AzYT1p6TnH8kTakVwl/?mibextid=Nif5oz
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น