วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557

ศีลใน


( "กุสินารา"ขอบคุณภาพจากป้าบีม)

ธรรมคุ้มครองโลก : ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ไม่เดือดร้อนสับสนวุ่นวาย
๑.หิริ : ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำชั่ว
๒.โอตตัปปะ : ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่ว
(จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม)
*****
ศีล คือ ความปกติของกาย วาจา และจิตใจ
"ศีลแท้" เกิดขึ้นในจิตใจ มีใจเป็นแดนเกิดก่อน
ซึ่งประกอบไปด้วย หิริโอตตัปปะ คือ ความละอาย
และความเกรงกลัวต่อบาปเป็นหลักเป็นแกนกลาง
บุคคลใดมีหิริโอตตัปปะ"ศีลใน"
ประจำอยู่ในจิตใจของตนตลอดเวลาแล้ว
บุคคลนั้นเท่ากับมีศีลแล้วอย่างสมบูรณ์
เพราะมันจะออกมารักษากายวาจาใจด้วย
"ศีลใน"เป็นศีลที่ไม่มีตัวตนจะหยิบจับได้
เพราะมันเป็นอาการรู้สึก ธาตุรู้ หรือนามธรรม
ที่ตนรู้ตนเท่านั้น
*****
ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล๑๐ ศีล๒๒๗ นั้นคือ "ศีลสมมติ" หรือ
"ศีลนอก"เกิดจากการเขียนการบัญญัติขึ้นไว้เป็นข้อ ๆ 
เป็นศีลที่อยู่นอกกายนอกใจอันมีตัวตนที่จะหยิบจับได้ 
เช่น หนังสือ หรือใบลานต่าง ๆ เป็นต้น
"ศีลนอก"จึงเป็นศีลที่ใช้เตือนสติของตนเอง ให้มีความระมัดระวังต่อเหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์เกิดโทษ 
ทั้งตนเองและผู้อื่น 
เป็นการป้องกันและระวังแก่จิตที่ยังไม่รู้
 ยังไม่มี หิริโอตตัปปะ ให้ระลึกรู้ก่อนที่จะ
กระทำทุกข์โทษลงไป เพราะมีความไม่รู้นี่คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ ศีลนอก จึงเป็นศีลที่ให้ได้เรียนรู้ว่ามีทุกข์โทษ
เพื่อจะได้ใช้ป้องกันไว้ก่อนทัน 
จนกว่าหิริโอตตัปปะ "ศีลแท้ "จะเกิดขึ้นมาในจิตใจ 
"ศีลนอก..ศีลสมมติ"ใช้ฝึกเพื่อเข้าสู่
"ศีลแท้..ศีลใน" คือ หิริโอตตัปปะ นั่นเอง...
*****
ศีลแท้ ต่างกับ ศีลสมมติอย่างไร  
บุคคลใดมี "ศีลแท้"หิริโอตตัปปะ อยู่ประจำใจ
เป็นธรรมชาติตลอดเวลาแล้ว 
เขาจะไม่สามารถก่อทุกข์โทษ
แก่ใครได้เลยทั้งต่อหน้าและลับหลัง 
เขาจะมีความละอายแก่ใจตนเองอยู่เสมอ
เมื่อรู้ว่าเป็นสิ่งผิด จิตจะเป็นทุกข์ร้อนรุ่ม
แม้ใครจะไม่รู้แต่ใจเขาย่อมรู้ 
เกิดความละอายแก่ใจตนเอง
จนไม่สมารถที่จะทำผิดได้เลย "รู้ก่อนทำ"
บุคคลใดแม้จะรู้   "ศีลสมมติ"กี่ข้อมากมาย
แต่หากยังไม่มี   หิริโอตตัปปะ 
เขาย่อมจะทำผิดศีลได้อีก
เมื่ออยู่ลับหลัง ด้วยคิดว่าไม่มีใครรู้เห็น
แล้วค่อยไปขอศีลใหม่ ไปต่อศีลใหม่ 
จึงเป็นแต่เพียงรู้ศีลเท่านั้นเอง...
ดังนั้น ศีลที่แท้จริงต้องเกิดขึ้นเองภายในจิตใจจริง ๆ
อันเป็นศีลแห่งธาตุรู้ที่สามารถรู้ถูกรู้ผิด
ได้อย่างอัศจรรย์จริงๆจึงจะใช่......

(จากหนังสือ กตัญญูกตเวทิตาทาน เพื่อนใจผู้ใฝ่ธรรม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น