****
"เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ เจตยิตฺวา กมฺมํ กาเยน วาจาย มนสา"
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาคือตัวกรรม สัตว์ทั้งหลายที่ทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจก็ดี ย่อมมีการปรุงแต่ง คือคิดนึกก่อนแล้วจึงทำ
****
“เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ” แปลว่า “เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม”; เจตนา ๓ คือ เจตนาใน ๓ กาล ซึ่งใช้เป็นข้อพิจารณาในเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม ได้แก่ ๑. ปุพพเจตนา เจตนาก่อนจะทำ ๒. สันนิฏฐาปกเจตนา เจตนาอันให้สำเร็จการกระทำหรือให้สำเร็จความมุ่งหมาย ๓. อปรเจตนา เจตนาสืบเนื่องต่อๆ ไปจากการกระทำนั้น (อปราปรเจตนา ก็เรียก)...
****
วิบาก หมายถึง ผลกรรม, ผลที่เกิดจากกรรมที่ทำไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ล้วนมีวิบากคือผลทั้งสิ้น โดยกรรมดีมีวิบากเป็นสุข กรรมชั่วมีวิบากเป็นทุกข์ ใช้ซ้ำกันเป็น
ผลวิบาก หรือ วิบาก ผล กรรม หมายถึง การกระทำ, ผลของการกระทำ
ผลวิบาก หรือ วิบาก ผล กรรม หมายถึง การกระทำ, ผลของการกระทำ
****
*****
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น