ในเบื้องต้นเรียนรู้พื้นฐาน
ในขณะนั่งอยู่
.. รู้สึกถึงการหายใจ
.. รับรู้ความรู้สึกของกายที่กำลังนั่งอยู่
ในขณะยืน
.. ก็ระลึกรู้กายที่ยืนอยู่
.. ทำความรู้สึกตัวในขณะยืน
เบื้องต้นถ้ารู้ "ความรู้สึกตัว"
ก็ใช้จุดสัมผัสนะ
อย่างเวลาญาติโยมนั่งอยู่
ก้นสัมผัสพื้น รู้สึกได้ไหม?
มีสติระลึกรู้
.. รู้สึกก้น สัมผัสพื้น
.. รู้สึกถึงขา สัมผัสพื้น
.. เวลาฝ่าเท้าสัมผัสพื้น
.. ถ้าสำหรับคนนั่งเก้าอี้รู้สึกได้ไหม? ได้
มือที่วางอยู่รู้สึกได้ไหม? .. ได้
มือที่วางอยู่ก็รู้สึกได้ รับรู้ได้
ทดลองฝึกทั้งหลับตาและลืมตา
หลับตารู้สึกได้ไหม? .. ก็รู้สึกได้
แสดงว่าไม่ได้ใช้ตามองใช่ไหม
ใช้อะไร? .. "ใจ"
ปลุกด้วยการเจริญสติ
ใจที่เกิดการรับรู้ เกิดความรู้สึกขึ้นมา
เบื้องต้นก็ "จุดสัมผัส"
แผ่นหลังสัมผัสที่พิง รู้สึกได้ไหม? .. ได้
รู้กายที่นั่งอยู่
ทีนี้ก็อาศัยการขยับกาย
เช่น การขยับนิ้ว รู้สึกได้ไหม?
ขยับปุ๊บ.. รู้สึกได้
ขยับปุ๊บ.. รู้สึกได้
"นี่ความรู้สึก"
ระลึกรู้สิ่งที่เป็นความรู้สึก
ขยับข้อมือรู้สึกได้ไหม?
ขยับมือรู้สึกได้ไหม?
ความรู้สึกตัวเป็นคู่ปรับกับความคิด
เมื่อใดที่ญาติโยมรู้สึกตัว
มันจะหลุดจากความคิดโดยธรรมชาติ
ก็มาอยู่กับความรู้สึกตัว
วิธีเพาะบ่มจิตที่เป็นกุศล
ด้วยการเจริญสติ
ระลึกรู้สึกตัวขึ้นมาอยู่เสมอ
ใช้การขยับมือ หรือสัมปชัญญะ
คู้แขนเข้า เหยียดแขนออก รู้สึกตัว
โดยเฉพาะญาติโยมสูงอายุ
บางทีเกษียณไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว
ก็เคลื่อนไหวให้เลือดลมได้เดิน
เราจะใช้การปฏิบัติก็ได้
อย่างของหลวงพ่อเทียน
ก็สอนจังหวะการขยับมือใช่ไหม
เราก็ใช้การสร้างจังหวะในการเคลื่อนไหว
หนึ่ง..เป็นการบริหารไปด้วย
ทำให้เลือดลมเดินสะดวก
แล้วก็เป็นการบริหารสมองไปด้วย
ป้องกันอัลไซเมอร์
เป็นการฝึกสติ ฝึกสัมปชัญญะ
ความรู้เนื้อรู้ตัวไปด้วยนั่นเอง
นี้ก็ทำความรู้สึกตัวได้
พอฝึกไปมาก ๆ
จะเริ่มรู้สึกรับรู้ได้มากขึ้น มากขึ้นเรื่อย ๆ
แม้กระทั่งเวลากระพริบตา
รู้สึกได้ไหม? .. ได้
เวลารับประทานอาหาร
การเคี้ยว การลิ้ม ลิ้มต่าง ๆ
ก็ทำความรู้สึกตัวไป
เวลาก้ม เวลาเงย
รู้สึกได้ไหม? .. ได้
เวลาขยับต่าง ๆ การขยับเขยื้อนกาย
ทำให้เกิดความรู้เนื้อรู้ตัว
เกิดความรู้สึกตัว
.
ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
บ่ายวันที่ 25 ตุลาคม 2566
**********
Cr.https://www.facebook.com/dhammaaree
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น