...ฯลฯ...
ดุลยภาพของจิตใจ
ภายในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
...ฯลฯ...
...คนเรานี้ต้องประสบโลกธรรม คนที่อยู่ในโลกนี้ไม่มีใครพ้นโลกธรรมไปได้ โลกธรรมคืออะไร ก็คือได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ มีแปดอย่างแยกเป็นสองด้าน ฝ่ายที่น่าชอบใจเรียกว่า อิฏฐารมณ์ กับฝ่ายที่ไม่น่าชอบใจเรียกว่า อนิฏฐารมณ์
ฝ่ายที่น่าชอบใจเรียกว่า อิฏฐารมณ์ ก็คือ ได้ลาภ ได้ยศ สรรเสริญ และมีความสุข
ฝ่ายที่ไม่น่าชอบใจเรียกว่า อนิฏฐารมณ์ ก็คือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์
การที่เราอยู่ในโลกนี้ ท่านบอกว่า ต้องรู้เท่าทันว่าเป็นธรรมดาที่เราต้องเจอโลกธรรมเหล่านี้ จะเจอมากหรือเจอน้อยก็ต้องเจอบ้างละ ไม่มีใครสามารถหลีกพ้นไปได้โดยสิ้นเชิง ทีนี้ข้อสำคัญก็คือว่าจะปฏิบัติต่อมันอย่างไร ถ้าวางตัวต่อมันไม่ถูกแล้วก็จะเกิดปัญหาแน่นอน
การวางตัวถูกต้อง ก็คือ การรักษาดุลยภาพทางด้านจิตใจไว้ ถ้าไม่รักษาดุลยภาพจิตใจไว้ให้ได้ ไม่ว่าทางดีหรือทางเสียก็เสีย ถ้าทางเสียก็ยุบ พอได้ก็ฟู พอเสียหรือเสื่อมลาภก็ยุบ พอได้ยศก็ฟู พอเสื่อมยศก็ยุบ คนทั่วไปม้กเป็นอย่างนี้
..........
ทีนี้ถ้าปฏิบัติถูกต้องจะเป็นอย่างไร ถ้าปฏิบัติถูกต้องก็กลายเป็นว่า ทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นผลดีแก่ชีวิตขึ้นมา เช่น คนได้ลาภ พอได้ลาภก็รู้ทันว่า นี่เป็นโลกธรรม เป็นสิ่งที่มีอยู่ในโลกเป็นธรรมดา เมื่อเราได้ ก็คือเหตุปัจจัยมาประกอบกันประจวบพอดี ทำให้เป็นผลดีแก่เรา เราก็ควรใช้ลาภ ใช้เงินใช้ทองนี้ให้มันเป็นประโยชน์ หรือถ้าได้ยศ ก็ถือโอกาสใช้ยศให้เป็นประโยชน์ เป็นโอกาสที่จะสร้างสรรความดี
.........
ในทางตรงข้าม พอพบความเสื่อมเสีย พบโลกธรรม ฝ่ายที่ไม่น่าพอใจ เกิดเสื่อมลาภ เสียเงินเสียทอง หรือเสื่อมยศขึ้นมา ก็รู้ทันอีกนั้นแหละว่า นี่แหละ ถึงคราวที่เราเจอบ้างแล้วนะ อ้าว มันเป็นบททดสอบเรา เอาละ ให้มันรู้ไป เราเจอมันแล้วเป็นอย่างไร เอาเป็นบททดสอบ ถ้ามองในแง่เป็นบททดสอบ เราก็ปรับตัวปรับใจได้ ดูซิว่าเราเข้มแข็งมั่นคงพอไหม
...ฯลฯ....
(บางส่วนของ ธรรมกถา ดุลยภาพสาระสุขภาพและความสมบูรณ์ พระพรหมคุณาภรณ์(ประยุทธ์ ปยุตฺโต) จากหนังสือ งานบุญกลุ่มขันธ์ห้า เดือน ธันวาคม ๒๕๕๓)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น