...วิธีปฏิบัติ...
จงหายใจเข้า หายใจออกอยู่อย่างนี้แหละ อย่าใส่ใจกับอะไรทั้งนั้น ใครจะยืนเอาก้นขึ้นฟ้าก็ช่าง อย่าไปเอาใจใส่ อยู่แต่กับลมหายใจเข้าออก ให้ความรู้สึกกำหนดอยู่กับลมหายใจ ทำอยู่อย่างนี้แหละ
ไม่ไปเอาอะไรอื่น ไม่ต้องคิดว่าจะเอานั่นเอานี่ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น ให้รู้จักแต่ลมเข้า..ลมออก..ลมเข้า..ลมออก..พุธ เข้า โธ ออก อยู่กับลมหายใจอย่างนี้แหละ เอาอันนี้เป็นอารมณ์ ให้ทำอยู่อย่างนี้จนกระทั่งลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จัก ลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จัก ให้รู้จักอยู่อย่างนั้น จนจิตสงบ หมดความรำคาญไม่ฟุ้งซ่านไปไหนทั้งนั้น ให้มีแต่ลมเข้าลมออก ลมออกลมเข้าอยู่อย่างนั้น ให้มันเป็นอยู่อย่างนี้ ยังไม่ต้องมีจุดหมายอะไรหรอก นี่แหละเบื้องแรกของการปฏิบัติ
...เมื่อใจสงบ กายก็สบาย...
ถ้ามันสบาย ถ้ามันสงบ มันก็จะรู้จักของมันเอง ทำไปเรื่อย ๆ ลมก็จะน้อยลง อ่อนลง กายก็อ่อน จิตก็อ่อน มันเป็นไปตามเรื่องของมันเอง นั่งก็สบาย ไม่ง่วง ไม่โงก ไม่หาวนอน จะเป็นอย่างใด ดูมันคล่องของมันเองไปทุกอย่าง นิ่งสงบ จนพอออกจากสมาธิแล้ว จึงมานึกว่ามันเป็นอย่างไรหนอ แล้วก็นึกถึงความสงบอันนั้น ไม่ลืมสักที
สิ่งที่ติดตามเราเรียกว่า สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว เราจะพูดอะไร จะทำอะไร จะไปนั่น จะมานี่ จะไปบิณฑบาตรก็ดี จะฉันจังหันก็ดี จะล้างบาตรก็ดี ก็ให้รู้จักเรื่องของมัน ให้มีสติอยู่เสมอ ติดตามมันไป ให้ทำอยู่อย่างนี้...
...ฯลฯ...
(จากหนังสือ ปฏิบัติกันเถิด การนั่งสมาธิ ที่ใช้ความอดทนเป็นที่ตั้ง หลวงพ่อชา สุภัทโธ)
เมื่อเห็นผิด (คลิก)
*******
อารมณ์ของวิปัสสนา (คลิก)
*********
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น