สาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก
สาเหตุของการเจ็บหน้าอกประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ สาเหตุที่เกี่ยวกับหัวใจ สาเหตุจากระบบย่อยอาหาร สาเหตุจากกล้ามเนื้อและกระดูก สาเหตุเกี่ยวกับปอด และสาเหตุอื่น ๆ โดยแต่ละสาเหตุมีรายละเอียด ดังนี้
สาเหตุที่เกี่ยวกับหัวใจ
อาการเจ็บหน้าอกที่มีสาเหตุเกี่ยวกับหัวใจนั้น ประกอบด้วย
- โรคหัวใจหรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Myocardial Infarction)
เกิดจากการที่ลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ เมื่อเลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลงก็เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดเหมือนถูกบีบรัดที่บริเวณตรงกลางหรือด้านซ้ายของหน้าอกขึ้นมาทันที แม้จะนอนพักอาการก็ไม่ทุเลาลง นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะเหงื่อออก คลื่นไส้ หายใจไม่สุด หรือรู้สึกอ่อนแรงอย่างรุนแรงร่วมด้วย - ภาวะเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด (Angina)
ภาวะนี้เป็นผลมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease: CAD) ที่มีคราบตะกรันหนาสะสมอยู่ภายในผนังของหลอดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงหัวใจ โดย คราบตะกรัน นี้จะทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง ส่งผลให้ร่างกายลำเลียงเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ จนเกิดภาวะเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยจะเกิดอาการเจ็บเหมือนถูกกดหรือบีบที่หน้าอก ซึ่งอาการนี้อาจกระจายไปที่แขน ไหล่ ขากรรไกร หรือหลัง ทั้งนี้ ผู้ป่วยมักเกิดอาการดังกล่าวเมื่อออกแรงทำกิจกรรมอย่างออกกำลังกาย ตื่นเต้น หรือรู้สึกเครียด ซึ่งอาการจะทุเลาลงเมื่อหยุดพักจากกิจกรรมดังกล่าว - ภาวะเลือดเซาะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aortic Dissection)
เกิดจากหลอดเลือดแดงที่อยู่ติดกับหัวใจหรือผนังหลอดเลือดแดงนั้นฉีกขาด หากภายในชั้นผิวของผนังหลอดเลือดนี้แยกออกจากกัน เลือดก็จะไหลทะลักเข้ามาตรงกลางชั้นผิว ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดการฉีกขาดมากขึ้น ซึ่งถือว่าอันตรายต่อชีวิต อย่างไรก็ตาม มักเกิดได้ไม่บ่อยนัก เมื่อผู้ป่วยประสบภาวะนี้ จะเกิดอาการเจ็บหน้าอกเหมือนถูกฉีกตั้งแต่คอ หลัง ไปจนถึงท้อง - โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)
ภาวะนี้เกิดจากเยื่อหุ้มที่ล้อมรอบหัวใจนั้นเกิดอาการอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแปลบตั้งแต่คอช่วงบนลงมาถึงกล้ามเนื้อไหล่ โดยอาการจะยิ่งแย่ลงเมื่อหายใจเข้าลึก ๆ กลืนอาหาร หรือนอนหงาย - กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (Myocarditis)
นอกจากจะเกิดอาการเจ็บหน้าอกแล้ว กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันอาจก่อให้เกิดอาการเป็นไข้ ปวดเมื่อย หัวใจเต้นเร็ว และมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ถึงแม้จะไม่เกิดอาการหัวใจขาดเลือด แต่อาการก็จะคล้ายโรคหัวใจ - กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (Hypertrophic Cardiomyopathy)
ผู้ที่ป่วยโรคนี้จะมีกล้ามเนื้อหัวใจที่โตหนาผิดปกติ บางครั้งนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับการลำเลียงเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทั้งนี้ อาจเกิดหัวใจวายได้หากกล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ผู้ป่วยจะเกิดอาการเจ็บหน้าอกและหายใจไม่สุดเมื่อออกกำลังกาย และอาจเวียนหัว วิงเวียน และเป็นลมร่วมด้วย - โรคลิ้นหัวใจยาว (Mitral Valve Prolapse)
โรคนี้เป็นโรคที่ลิ้นหัวใจปิดกันไม่สนิทนอกจากจะเกิดอาการเจ็บหน้าอกแล้ว ผู้ป่วยยังรู้สึกใจสั่นและเวียนหัวด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น