... สติปัฏฐานทั้ง ๔ ก็คือตั้งสติ คือความระลึกได้หรือความระลึกรู้ไว้ ในกาย
ในเวทนา ในจิต และในธรรม
ในมหาสติปัฏฐานสูตรได้รวบรวมข้อที่พึงพิจารณาในกายไว้
ก็คือ ข้อว่าด้วยลมหายใจเข้าออก ข้อว่าด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ยืนเดินนั่งนอน
ข้อว่าด้วยสัมปชัญญะความรู้ตัว ในความเยื้องกรายอิริยาบถทั้ง ๔ นี้
และอิริยาบถประกอบทั้งหลาย ข้อว่าด้วยกายนี้จำแนกออกเป็นอาการทั้งหลายมี ผม ขน
เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ข้อว่าด้วยธาตุ ๔ ดินน้ำไฟลม ข้อว่าด้วยป่าช้า ๙ คือพิจารณาศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
แยกออกเป็น ๙ ข้อ ตั้งต้นแต่ศพที่ตายแล้ววันหนึ่งสองวันสามวันเป็นต้นไป
จนถึงเป็นกระดูกผุป่น
ตั้งสติ พิจารณาเวทนา ก็คือตั้งสติกำหนดเวทนา
ความรู้เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ทั้งที่เป็นสามิสคือมีกิเลสเป็นเครื่องล่อให้เกิดขึ้น
ทั้งที่เป็นนิรามิสคือไม่มีกิเลสเป็นเครื่องล่อ หรือเป็นเครื่องนำให้เกิดขึ้น
ตั้งสติ พิจารณาจิต ก็คือตั้งสติกำหนดดูจิตใจนี้
ที่มีราคะความติดใจยินดี หรือปราศจากราคะความติดใจยินดี ที่มีโทสะหรือปราศจากโทสะ
ที่มีโมหะความหลงหรือปราศจากโมหะความหลง เป็นต้น
ตั้งสติ พิจารณาธรรม ก็คือตั้งจิตกำหนดดู
ธรรมะทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในจิต ตั้งต้นแต่กำหนดดูนิวรณ์ทั้ง ๕ คือกิเลสที่เป็นเครื่องกั้นจิต
บังเกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต มีกามฉันท์ความพอใจรักใคร่อยู่ในกาม พยาบาทความมุ่งร้ายปองร้ายเป็นต้น
กำหนดดูขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ กำหนดดูความเกิดของขันธ์ ๕ ความดับของขันธ์ ๕ ...(สมเด็จพระญาณสังวร)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น