....เพราะสัมผัสหรือผัสสะเป็นปัจจัย
หรือว่าเพราะสัมผัสหรือผัสสะมีขึ้น เกิดขึ้น จึงเกิดเวทนา จึงมีเวทนา เพราะฉะนั้น
เวทนาคือ สุข ทุกข์ หรือ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข หรือว่าเวทนาที่จำแนกออกเป็น เวทนา
๕ ได้แก่ สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ซึ่งมีอธิบายว่า
สุขก็ได้แก่สุขทางกาย ทุกข์ก็ได้แก่ทุกข์ทางกาย โสมนัสสุขทางใจ โทมนัสทุกข์ทางใจ
อุเบกขาก็คือความเป็นกลางๆ มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข มิใช่โสมนัส มิใช่โทมนัส แต่เมื่อย่อเข้าก็เป็นเวทนา ๓ ที่แสดงกันโดยมาก
คือ สุข ทุกข์ และ อทุกขมสุข มิใช่ทุกข์มิใช่สุข
เมื่อแสดงเวทนา ๓ ดั่งนี้ สุข ก็หมายถึงทั้งสุขทางกาย ทั้งสุขทางใจ ทุกข์
ก็หมายถึงทั้งทุกข์ทางกาย ทั้งทุกข์ทางใจ อทุกขมสุข มิใช่ทุกข์มิใช่สุข
ก็หมายถึงอุเบกขาเป็นกลางๆ มิใช่ทุกข์มิใช่สุขทางกายทางใจ เพราะฉะนั้น
แม้จะจำแนกเวทนาเป็น ๓ แม้จะจำแนกเวทนาเป็น ๕ ก็เป็นอันเดียวกันนั้นเอง
ก็คือหมายถึงสุข ทุกข์ และ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข เป็นกลางๆ
ที่เป็นไปทางกายบ้างที่เป็นไปทางใจบ้าง
และท่านมีแสดงขยายความออกไปอีกว่า อันสุขทุกข์ทางกายนั้น
ก็บังเกิดจากกายสัมผัส สัมผัสทางกาย คือสัมผัสสิ่งที่ถูกต้องทางกาย
ส่วนสัมผัสทางตาที่เห็นรูปต่างๆ สัมผัสทางหูที่ได้ยินเสียงต่างๆ
สัมผัสทางจมูกที่ได้ทราบกลิ่นต่างๆ สัมผัสทางลิ้นที่ได้ทราบรสต่างๆ
และสัมผัสทางมโนคือใจที่ได้คิดได้รู้เรื่องต่างๆ
ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ทางใจ..(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น