....การเข้าถึงธรรมะ...พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้อบรมจิตนี้แหละเป็นประการสำคัญ ดังที่ตรัสสอนให้ปฏิบัติ สติปัฏฐาน สติที่พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม...สติปัฏฐาน ๔ นี้ก็เพื่อสมถะด้วย วิปัสนาด้วย...(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556
อานาปนสติ
...หายใจเข้า"พุธ"หายใจออก"โธ" ให้"รู้" ในลมหายใจเข้าออก ให้"ตื่น"ในลมหายใจเข้าออก ให้"เบิกบานในลมหายใจเข้าออก...กำหนดให้ความรู้ ตื่น เบิกบาน มาตั้งอยู่ภายในกายนี้ และให้ตั้งอยู่อย่างสงบ...กาย ใจ ก็จะสงบ เป็นอานาปานสติสมาธิ โดยมีพุทธคุณ "พุทโธ" เป็นผู้นำ..(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ตั้งสติ สติตั้ง
....ปฏิบัติอย่างไร จึงไม่เป็นทาสของตัณหา คือความดิ้นรนทะยานอยาก หรือเป็นทาสของกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ...สติตั้ง ศีลก็จะมา สมาธิก็จะมา ปัญญาก็จะมาโดยลำดับ...(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ความว่าง สงบ หลุดพ้น
...ในการปฏิบัติธรรมนั้น..ให้รู้จักศีล สมาธิ ปัญญา ..ก็ให้รู้จักที่จิตนี้เอง..และก็จะรู้ผลของการปฏิบัติ อันเป็นความว่าง อันเป็นความสงบ ...หรือเรียกว่าเป็นการหลุดพ้น...(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
อายตนะและสังโยชน์
....อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ ..ตา กับ รูป ..หู กับ เสียง..จมูก กับกลิ่น..ลิ้น กับ รส..กาย กับ สิ่งถูกต้อง..ใจ กับ เรื่องราวต่าง ๆ..เมื่อเกิดความยินดี ยินร้าย หรือ เกิดความหลงไหล..ให้รู้ว่านี่คือ สังโยชน์ เพราะจิตมีสังโยชน์ผูกพันนี่เอง....
ตั้งสติที่หน้าประตู http://www.gotoknow.org/posts/547221
วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556
มีรัก ก็มีทุกข์
"....เราเอาต้น "ความรัก " ปลูกลงไป..มันจะออกดอกเป็นดอก "โศก" ..ผลโศก ..ใบโศก.. กิ่งโศก ..ก้านโศก ...กิ่ง ใบ ดอก ผลของต้น "ความรัก" เป็น"ความโศก"....พระพุทธเจ้าใช้คำว่า อาหารมีอุจจาระเป็นผล ความรักมีความโศกเป็นผล..." พระอาจารย์นันทญาณีภิกขุนี
..มีรัก ก็มีทุกข์.. http://www.gotoknow.org/posts/546121
วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556
กายแตก..แยกธาตุ
....ให้มองเห็นสัจจะความจริงของสังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา..วิปัสนาปัญญา เป็นปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง...ปัญญาให้ได้วิมุติความหลุดพ้น...(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
(คน)รู้ใจ...
"...ความรัก.." มี" ความโศก" เป็นผล นี่คือสัจจะธรรม...(พระอาจารย์ ฯ)
วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
รู้กาย..
" ...ร่างกายนี้มีประตู ๙ ประตู..."
"....มีล้อ ๔ ล้อ..."
พระอาจารย์นันทญาณี
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ทุกข์ ๒ ชั้น....
.....กายของบุคคลนี้เปรียบเสมือนก้อนถ่าน
ที่มีไฟชาติ ไฟชรา ไฟมรณะ
ติดมาพร้อมกับการเกิด
และเผาให้บุบสลายเรื่อยไป
จนเป็นเถ้าในที่สุด ก็คือมรณะ นี้เป็นทุกข์ชั้นที่ ๑
....ถ้าก้อนถ่าน ไฟนี้วางอยู่โดยบุคคลไม่ยึดถือ
บุคคลก็ไม่ร้อน..
..แต่ถ้าบุคคล
เอาก้อนถ่านไฟนี้มากำไว้ในมือ
ไฟก็ไหม้มือทำให้เกิดทุกข์
เวทนา นี้เป็นความทุกข์อีกชั้นหนึ่งที่บังเกิดทางจิตใจ..
เพราะ ตัณหา อุปทานของบุคคล
จึงยึดถือธาตุขันธ์นั้นว่าเป็นตัวเรา ของเรา..
(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช).....
ธรรมะแบ่งปัน..แลกเปลี่ยนเรียนรู้ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่าน
ทุกข์สองชั้น http://www.gotoknow.org/posts/546620
วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556
แด่เธอผู้มาใหม่(จบ)
....เมื่อเราเรียนรู้อารมณ์หรือความรู้สึกเหล่านี้มากขึ้นเรื่อย ๆ เราก็จะเริ่มรู้ว่า ความจริงแล้วอารมณ์ทุกอย่างนั้นไม่คงที่ เช่น เมื่อโกรธ และเราก็รู้อยู่ที่ความโกรธนั้น ก็จะเห็นระดับของความโกรธเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อยู่ไป ๆ ความโกรธก็ดับไปเอง และไม่ว่าความโกรธจะดับหรือไม่ก็ตาม ความโกรธก็เป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีเราอยู่ในความโกรธ แม้อารมณือื่น ๆ ก็จะเห็นในลักษณะเดียวกับความโกรธนี้ด้วย..
ถึงตอนนี้ เราจะรู้ชัดว่า ร่างกายก็เป็นแค่หุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ความรู้สึกสุขทุกข์ และอารมณ์ทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้ไม่ใช่ตัวเรา เมื่อหัดสังเกตเรียนรู้จิตใจตนเองมากขึ้น คราวนี้ก็จะเห็นการทำงานของจิตใจได้ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ จนรู้ความจริงว่า ความทุกข์เป็นเพียงสิ่งที่มีเหตุทำให้เกิดขึ้นเป็นคราว ๆ เท่านั้น
เราจะพบพลังงานหรือแรงผลักดันบางอย่างในจิตใจของเรา เช่น พอเห็นผู้หญิงสวยถูกใจ พอจิตใจเกิดความรู้สึกรักใคร่พอใจแล้ว มันจะเกิดแรงผลีกดันจิตใจของเรา ให้เคลื่อนออกไปยึดเกาะที่ผู้หญิงคนนั้น ทำให้เราลืมดูตัวเอง เห็นแต่ผู้หญิงคนนั้นเท่านั้น
(เรื่องจิตเคลื่อนไปได้นี่ ถ้าเป็นคนที่เรียนตำราอาจจะงง ๆ แต่ถ้าลงมือปฏิบัติจริง จะเห็นว่า ความรับรู้มันเคลื่อนไปได้จริง ๆ ตรงกับที่พระพุทธเจ้าท่านพูดเรื่องจิตเที่ยวไปได้ไกล ไม่มีคลาดเคลื่อนแม้แต่คำเดียว)
หรือเมื่อเราเกิดความสงสัยในธรรม เราควรปฏิบัติอย่างไร ก็จะเห็นแรงผลักดันที่บังคับให้เราคิดหาคำตอบ จิตใจของเราเคลื่อนเข้าไปอยู่ในโลกของความคิด ตอนนั้นเราลืมดูตัวเราเอง เจ้าหุ่นยนต์นั้นก็ยังอยู่ เราลืมนึกถึงมันก็เหมือนกับว่ามันหายไปจากโลก ความรู้สึกต่าง ๆ ในจิตใจเราเป็นอย่างไร เราก็ไม่รู้ เพราะมัวแต่คิดหาคำตอบในเรื่องที่สงสัยอยู่นั่นเอง
หัดรู้ทันจิตใจตนเองมากเข้า ไม่นานก็จะทราบด้วยตนเองว่า ความทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร ความพ้นทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร สภาพที่ไม่มีทุกข์เป็นอย่างไร สภาพจิตใจมัีนจะพัฒนาของมันไปเองทุกอย่าง ไม่ต้องไปคิดเรื่องฌาน เรื่องญาณ หรือเรื่องมรรคผลนิพพานใด ๆ ทังสิ้น
ถึงตรงนี้ อาจจะพูดธรรมะไม่ได้สักคำ แปลศัพท์บาลีไม่ได้สักตัว แต่จิตใจพ้นจากความทุกข์ หรือมีความทุกข์ ก็ทุกข์ไม่มากและไม่นาน
ผมเขียนเรื่องนี้เป็นของฝากสำหรับผู้เริ่มสนใจศึกษาธรรมะ เพื่อบอกว่า ธรรมะ เป็นเรื่องธรรมดา ๆ เป็นเรื่องของตัวเราเอง และสามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากนัก ด้วยตัวเองอย่าพากันท้อถอยเสีย เมื่อได้ยินคนอื่นพูดธรรมะแล้วเราฟังเขาไม่รู้เรื่อง รู้แค่ว่า ทำอย่างไรเราจะไม่ทุกข์ ก็พอแล้ว เพราะนั่นคือใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา ซึ่งจำเป็นที่คน ๆ หนึ่งควรจะเรียนรู้ไว้...
..............................
บุญรักษาทุกท่านที่เข้ามาอ่าน....ครับ
แด่เธอผู้มาใหม่ http://navy09.blogspot.com/2013/08/blog-post_8.html
...............................
ขอขอบพระคุณข้อมูลจากหนังสือ"วิถีแห่งความรู้แจ้ง ๑" โดย นายปราโมทย์ สันตยากร/" สันตินันท์"/"อุบาสกนิรนาม" พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
แด่เธอผู้มาใหม่ (๒)
ขั้นแรก ทำใจให้สบาย ๆ อย่าเคร่งเครียด อย่าไปคิดว่าเราจะปฏิบัติธรรม แต่ให้คิดเพียงว่า เราจะสังเกตดูร่างกายของเราเองเท่านั้น สังเกตแล้วจะรู้ได้แค่ใหนก็ไม่เป็นไร เอาแค่ว่าจะเฝ้าสังเกตให้ได้เท่าที่ทำได้ก็พอ
เมื่อทำใจสบาย ๆ แล้ว ลองนึกถึงร่างกายของเรา นึกถึงให้รู้พร้อมทั้งตัวเลยก็ได้ เหมือนเรากำลังดูหุ่นยนต์อยู่สักตัวหนึ่ง ที่มันเดินได้ เคลื่อนไหวได้ ขยับปากได้ กลืนอาหารอันเป็นวัตถุเข้าไปในร่างกาย ขับถ่ายอาหารออกจากร่างกายได้
ถ้าเราเห็นหุ่นยนต์ที่ชื่อว่าตัวเรา มันทำโน่นทำนี่ไปเรื่อย ๆ เราเป็นคนดูเฉย ๆ ถึงจุดหนึ่งก็จะเห็นแจ้งประจักษ์ใจตนเองว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นวัตถุก้อนหนึ่งเท่านั้น มีความไม่หยุดนิ่ง ไม่คงที่ แม้แต่วัตถุที่ประกอบกับเจ้าหุ่นตัวนี้ ก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงไหลเข้าไหลออกอยู่ตลอดเวลา เช่น หายใจเข้า แล้วก็หายใจออก กินอาหารและน้ำแล้วขับถ่ายออก ไม่ใช่สิ่งที่เป็นก้อนธาตุที่คงที่ถาวร ความยึดถือด้วยความหลงผิดว่า กายเป็นเรา ก็จะบรรเทาเบาบางลงได้ แล้วก็จะเห็นอีกว่า ยังมีธรรมชาติที่เป็นผู้รู้ร่ายกาย อาศัยอยู่ในร่างกายนี่เอง
เมื่อเห็นชัดแล้วว่า กายนี้เป็นแค่ก้อนธาตุ ไม่คงที่ ไม่ใช่ตัวเรา คราวนี้ก็ลองมาสังเกตสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในร่างกายนี้ต่อไป เป็นการเรียนรู้เรื่องของเราเองให้ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก
สิ่งที่แฝงอยู่ในร่างกายที่เห็นได้ง่าย ๆ คือ ความรู้สึกว่าเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เฉย ๆ บ้าง เช่น เมื่อเราเห็นหุ่นตัวนี้เคลื่อนใหวไปมา ไม่นานก็จะเห็นความปวดเมื่อย ความหิวกระหาย หรือความทุกข์อย่างนั้นอย่างนี้แทรกเข้าเป็นระยะ ๆ พอความทุกข์นั้นผ่านไปทีหนึ่ง ก็จะรู้สึกสบายไปอีกช่วงหนึ่ง(รู้สึกเป็นสุข) เช่น กระหายน้ำ เกิดเป็นความทุกข์ขึ้น พอได้ดื่มน้ำ ความทุกข์เพราะความกระหายน้ำก็ดับไป หรือนั่นนาน ๆ เกิดความปวดเมื่อย รู้สึกเป็นทุกข์ พอขยับตัวเสียก็หายปวดเมื่อย รู้สึกว่าทุกข์หายไป(รู้สึกเป็นสุข)
บางคราวมีความเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะรู้ความทุกข์ทางกายได้ต่อเนื่องยาวนานขึ้น เช่น เกิดปวดฟันติดต่อกันนาน ๆ เป็นวัน ๆ ถ้าคอยสังเกต รู้ความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น ก็จะเห็นชัดว่าความปวดนั้นเป็นสิ่งที่แทรกอยู่กับเหงือกและฟัน แต่ตัวเหงือกและฟัน มันไม่ได้เจ็บปวดด้วยเลย กายเหมือนหุ่นยนต์ที่ไม่มีความเจ็บปวด เพียงแต่มีความเจ็บปวดเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฝงอยู่ในกาย
เราก็จะรู้ชัดว่า ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ หรือรู้สึกเฉย ๆ ไม่ใช่ร่ายกาย แต่เป็นสิ่งอีกสิ่งหนึ่งที่แทรกอยู่ในร่างกายและที่สำคัญ เจ้าความรู้สึกเหล่านั้น ก็เป็นสิ่งที่กำลังถูกรู้ ถูกดูอยู่เช่นเดียวกับร่างกายนั้นเอง...
ถัดจากนั้น เรามาเรียนรู้เรื่องราวของตัวเองให้ละเอียดมากขึ้น คือคอยสังเกตให้ดีว่า เวลาที่เกิดความทุกข์ขึ้นนั้นจิตใจของเรามันจะเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจตามมาด้วย เช่น หิวข้าวแล้วจะโมโหง่าย เหนื่อยก็โมโหง่าย เจ็บไข้ก็โมโหง่าย เกิดความใคร่แล้วไม่ได้รับการตอบสนองก็โมโหง่าย ให้เราหัดรู้เท่าทันความโกรธที่เกิดขึ้นในเวลาที่เผชิญกับความทุกข์...
ในทางกลับกัน เมื่อเรา้้เห็นของสวยงาม ได้ยินเสียงที่ถูกใจ ได้กลิ่นหอมถูกใจ ได้ลิ้มรสที่อร่อย ได้รับสิ่งสัมผัสร่างกายที่นุ่มนวล มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ได้คิดถึงสิ่งที่พอใจ เราจะเกิดความรักใคร่พึงพอใจในสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส และได้คิดนึกนั้น ก็ให้รู้เท่าทันความรักใคร่พอใจที่เกิดขึ้น พอเรารู้จักความโกรธหรือความรักใคร่พอใจแล้ว เราก็สามารถรู้จักกับอารมณ์อย่างอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ความลังเลสงสัย ความอาฆาตพยาบาท ความหดหู่ใจ ความอิจฉาริษยา ความคิดลบหลู่ผู้อื่น ความผ่องใสอิ่มเอิบของจิตใจ ความสงบในจิตใจ ฯลฯ........(ยังมีต่อ)
แด่เธอผู้มาใหม่ (จบ) http://navy09.blogspot.com/2013/08/blog-post_6608.html
ขอบพระคุณข้อมูลจากหนังสือ"วิถีแห่งความรู้แจ้ง ๑ " โดยนายปราโมทย์ สันตยากร/"สันตินันท์"/" อุบาสกนิรนาม" พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
แด่เธอผู้มาใหม่
เรื่องเรียบง่ายและธรรมดา ที่เรียกว่า ธรรมะ
เป็นการยากที่เราจะเห็นได้ว่า ธรรมะเป็นเรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่สุด เพราะภาพลักษณ์ของศาสนา หรือของธรรมะ ที่เรารู้จักนั้น ดูอย่างไรก็ไม่ธรรมดาเลย เริ่มตั้งแต่ภาษาที่ใช้ เต็มไปด้วยภาษาบาลี มีศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะมากมาย แค่ทำความเข้าใจศัพท์ก็ยากนักหนาแล้ว
พอรู้ศัพท์แล้วลงมือศึกษาตำราจริง ๆ ก็พบความยากอีกคือ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มีมากมายเหลือเกินและตำราที่พระรุ่นหลังมาท่านเขียนไว้มีอีกมากมาย
บางทีพอท่านพอใจที่จะลงมือปฏิบัติ ก็มีปัญหาอีกว่า สำนักปฏิบัติมีมากมาย ทุกสำนักบอกว่าแนวทางของตนถูกตรงที่สุดตามหลักมหาสติปัฏฐาน บางทีก็ทับถมสำนักอื่นหน่อย ๆ ว่าสอนไม่ตรงทาง
ความยากลำบากนี้ พบกันทุกคนครับ ทำให้ผมต้องนั่งถามตนเองว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะศึกษาธรรมได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องรู้ศัพท์บาลี หรือไม่ต้องอ่านหนังสือ หรือเข้าสำนักปฏิบัติใด ๆ เลย
ความจริงธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ เป็นเรื่องง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ดังที่ผู้ได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ มักจะอุทานว่า " แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า ธรรมที่ทรงแสดงเหมือนดังเปิดของคว่ำให้หงาย " ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไรนักที่ผู้ฟังจะรู้สึกเช่นนั้น ก็เพราะผู้ฟังเอง เกิดมากับธรรม อยู่กับธรรม จนตายไปกับธรรม เป็นแต่นี้มาแต่ไรแล้ว เพียงแต่มองไม่เห็นว่า ธรรมได้แสดงตัวอยู่ที่ใหน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงชี้แนะก็สามารถรู้เห็นตามได้โดยง่าย
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเข้าทรงถึงพร้อมด้วยความรอบรู้ สามารถอธิบายธรรมอันยุ่งยากซับซ้อนให้ย่นย่อเข้าใจง่าย สามารถขยายความธรรมอันย่นย่อให้กว้างขวางพอเหมาะแก่ผู้ฟัง ทรงปราศจากอุปสรรคทางภาษา คือสามารถสื่อธรรมด้วยภาษาทีึ่ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย ๆ ไม่เหมือนผู้ศึกษาและสอนธรรมจำนวนมากในรุ่นหลัง ที่ทำธรรมะซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวและแสนธรรมดา ให้กลายเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน และไกลตัวเสียเหลือประมาณ จนเกินความจำเป็นเพื่อความพ้นทุกข์และสั่งสอนด้วยภาษาที่ผู้ฟังไม่สามารถเข้าใจได้โดยง่าย
แท้ที่จริงแล้วธรรมะเป็นเรื่องใกล้ตัว ใกล้จนถึงขนาดที่เรียกว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเราเอง และขอบเขตของธรรมะก็มีเพียงนิดเดียว คือ ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดความทุกข์
ถ้าจะศึกษาธรรมะ ก็ศึกษาลงไปเลยว่า " ความทุกข์อยู่ที่ใหน เกิดขึ้นได้อย่างไร และดับไปได้อย่างไร " และความสำเร็จของการศึกษาธรรมะ อยู่ที่ปฏิบัติจนเข้าถึงความพ้นทุกข์ ไม่ใช่เพื่อความรอบรู้รกสมอง หรือเพื่อความสามารถในการอธิบายแจกแจงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร
แท้จริงแล้ว ความทุกข์ของคนเราอยู่ในกายในจิตของตนนั่นเอง สนามศึกษาธรรมะของเรา จึงอยู่ที่กายที่จิตนี้แหละ แทนที่เราจะเที่ยวเรียนรู้ออกไปภายนอก ก็ให้เราย้อนเข้ามาศึกษาอยู่ในกายในจิตของเรานี้แหละ วิธีการก็ไม่มีอะไรมากขอเพียงให้หัดสังเกตกายและจิตของเราเองให้ดี เริ่มต้นง่าย ๆ จากการสังเกตร่างกายก่อนก็ได้.....(ยังมีต่อ).....
แด่เธอผู้มาใหม่(๒) http://navy09.blogspot.com/2013/08/blog-post_2230.html
แด่เธอผู้มาใหม่(จบ) http://navy09.blogspot.com/2013/08/blog-post_6608.htmlขอบพระคุณข้อมูลจากหนังสือ"วิถีแห่งความรู้แจ้ง ๑ " โดยนายปราโมทย์ สันตยากร/"สันตินันท์"/" อุบาสกนิรนาม" พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ย่างไปทางนี้จะได้ไม่ต้องเสียเวลา
" เส้นที่หนึ่งไปนรก...เส้นที่สองไปเป็นเปรต อสูรกาย.. เส้นที่สามไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน..เส้นที่สี่ไปเป็นมนุษย์...เส้นที่ห้าไปสวรรค์...เส้นที่หกไปพรหมโลก...และเส้นที่เจ็ดไปนิพพาน..."
พระธรรมธีรราชมหามุนี
....บางส่วนบางตอนของพระธรรมเทศนา โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี หัวข้อ "ย่างไปทางนี้จะได้ไม่ต้องเสียเวลา"http://youtu.be/jaRNKFxO5fE
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)