วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
แอ่วเมืองเหนือ(๒)
....เวียงกุมกาม เป็นเมืองที่ “พญาเม็งราย” กษัตริย์แห่งโยนกนครได้สถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของล้านนา แต่ “เวียงกุมกาม” ก็เป็นเมืองหลวงได้ไม่นาน เพราะประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี พญาเม็งรายจึงโปรดให้สร้าง “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ซึ่งมีชัยภูมิที่ดีกว่า เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ “เวียงกุมกาม” ก็ไม่สิ้นความสำคัญด้วยเป็นเมืองบริวารที่มีความใกล้ชิดกับเวียงเชียงใหม่จนถึงสิ้นราชวงค์มังราย “เวียงกุมกาม” ล่มสลายลง เพราะถูกน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อครั้งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า (พ.ศ.2101-2317) และทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมใต้ตะกอนดินจนยากจะฟื้นฟู ประกอบกับอุทกภัยครั้งนั้น แม่น้ำปิงได้เปลี่ยนร่องน้ำไม่ไหลผ่านเวียงกุมกามดังเคย “เวียงกุมกาม” จึงถูกทิ้งร้างอยู่ใต้ตะกอนดินมานับร้อยๆ ปี และชื่อของ “เวียงกุมกาม” ก็ได้เลือนหายไปจากประวัติศาสตร์ จนเชื่อกันว่า “เวียงกุมกาม” เป็นเพียง เมืองในตำนานจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2527 เมื่อหน่วยศิลปากรที่ 4 ได้ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งในเวียงกุมกาม ทำให้เรื่องราวของ “เมืองในตำนาน” แห่งนี้ปรากฏเป็นเรื่องขึ้นและจากการศึกษาค้นคว้าของนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ ทำให้เชื่อได้แน่นอนว่าโบราณสถาน ในเขตท้องที่หมู่ที่ 11 ตำบลท่าวังตาลอำเภอสารภี ซึ่งห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพียง 5 กิโลเมตรนั้น ก็คือ “เวียงกุมกาม” หรือ “เวียงเก่า” ก่อนที่จะมี “เวียงเชียงใหม่” และการล่มสลายไปเพราะอุทกภัยครั้งใหญ่ จนกลายเป็นเมืองใต้พิภพก่อนที่อาณาจักรล้านนาจะล่มสลายทำให้โบราณสถานในเวียงกุมกามมีความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งความรู้ในการศึกษาแบบแผนของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ตลอดจนวัฒนธรรมล้านนาบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นรากฐานในการศึกษาที่สำคัญของวัฒนธรรมล้านนาในยุคต่อ ๆ มา (ขอบคุณ
ป้ายกำกับ:
ท่องเที่ยว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขอบคุณครับ
ตอบลบ