เมื่อวันแม่หลังจากได้ไปสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จสุริโยทัย ที่ทุ่งมะขามหย่องแล้วก็ขับรถกลับบ้านซึ่งจะต้องผ่านเข้าไปในเกาะเมืองอีกครั้งหนึ่ง เส้นทางนี้จะผ่านทุ่งภูเขาทองซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญเป็นสมรภูมิที่บรรพบุรุษของเราต้องเสียชีวิตเพื่อปกป้องแผ่นดินดำรงไว้ซึ่งความเป็นไท เราจะมองเห็นเจดีย์ภูเขาทองเด่นชัดมาก ใกล้กับภูเขาทอง จะมีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวยเด่นสง่างามมาก เมื่อสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วก็ควรไปสักการะสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอีก คือ วัดใหญ่ชัยมงคล วัดวรเชษฐาราม ในเกาะเมือง และวัดวรเชษฐ์ นอกเกาะเมือง....สถานที่ที่กล่าวมาแล้วอยู่ในเขต อ.พระนครศรีอยุธยา เดินทางสะดวกมากครับ....
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
หมายเหตุ ตามข้อมูลของนักวิชาการส่วนหนึ่ง สันนิษฐานว่า บริเวณเจดีย์ภูเขาทองนี้คือ สถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชของพม่า..
หมายเหตุ ตามข้อมูลของนักวิชาการส่วนหนึ่ง สันนิษฐานว่า บริเวณเจดีย์ภูเขาทองนี้คือ สถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชของพม่า..
เจดีย์ภูเขาทอง อยู่ในวัดภูเขาทอง ตามประวัติเล่าว่าวัดภูเขาทองนี้สมเด็จพระราเมศวรทรงสร้างเมื่อปีพ.ศ.๑๙๓๐ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๑๑๒ เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาจึงได้สร้างอนุสาวรีย์แบบมอญไว้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ
ตอบลบวัดใหญ่ชัยมงคล วัดนี้ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ ในปี พ.ศ. ๒๑๓๕ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่าที่ ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ
ตอบลบวัดวรเชษฐารามในเกาะเมือง ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร คือ เป็นวัดที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
วัดวรเชษฐ์ นอกเกาะเมือง ตั้งอยู่นอกเมืองด้านทิศตะวันออก ก็เป็นอีกวัดหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดทั้งสองแห่งเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี เพราะลักษณะทางสถาปัตยกรรมทั้งสองก็มีอายุสมัยอยุธยาตอนกลางเช่นกัน ดังนั้นจะระบุให้ชัดเจนลงไปว่าวัดใดเป็นวัดที่ฝังพระบรมอัฐิของสมเด็จพระ นเรศวรมหาราชนั้น คงต้องหาหลักฐานกันต่อไป
.....พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช....
ตอบลบสืบเนื่องมาจากโครงการก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ณ ทุ่งภูเขาทอง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชเสาวนีย์ว่า สมควรก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ บริเวณทุ่งภูเขาทอง อันเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับทุ่งมะขามหย่อง และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นสนามรบที่สำคัญระหว่างไทยกับพม่า ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงใช้เป็นที่ตั้งรับข้าศึกนอกพระนครโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพุทธศักราช ๒๑๒๙ เมื่อ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ทรงยกกองทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกพลเข้าปล้นค่ายพม่าที่ทุ่งลุมพลี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งภูเขาทอง ทรงคาบพระแสงดาบปีนค่ายพม่าและถูกข้าศึกแทงพลัดตกโดยไม่ทรงเป็นอันตราย พระแสงดาบนี้ต่อมาเรียกว่า “พระแสงดาบคาบค่าย” จากนั้นพระองค์เสด็จไปซุ่มทัพที่ทุ่งลุมพลี เพื่อจะปล้นค่ายพระเจ้าหงสาวดี ในครั้งนี้ พระองค์ใช้พระแสงทวนแทงลักไวทำมู ทหารพม่าตายในที่รบ พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ๕ เดือน ก็ยกทัพกลับไป เนื่องจากกองทัพไทยตั้งรับอย่างเข้มแข็ง
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ตอบลบมหาวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชชาติไทย
พระราชนัดดา มหาวีรสตรี สมเด็จพระสุริโยทัย พระอัยยิกาเจ้า
พระโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ สมเด็จพระวิสุทธิ์กษัตริย์
พระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก ปีเถาะ พุทธศักราช ๒๐๙๘
ยามเมื่อบ้านเมืองกลียุค ข้าศึกรุกรานย่ำยีสาหัส
พุทธศักราช ๒๑๑๒ ทรงเตรียมกู้ชาติ ฝึกปรือทหารหาญชำนาญราญศึก
ประกาศอิระภาพ หลั่งน้ำทักษิโณทก ณ เมืองแคลง พุทธศักราช ๒๑๒๗
พุทธศักราช ๒๑๓๓ เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติปกครองกรุงศรีอยุธยา
กระทำการยุทธหัตถีเมื่อพุทธศักราช ๒๑๓๕ เป็นมหาวีรกรรมครั้งยิ่งใหญ่ในแผ่นดินไทย
ทรงนำทัพฝ่าฟันรุกไล่ข้าศึก ปกป้อง พระราชอณาจักรมิได้หยุดยั้ง
เสด็จสวรรคตระหว่างเดินทัพไปรบ ณ เมืองหาง เมื่อพุทธศักราช ๒๑๔๘
พระบรมเดชานุภาพแผ่ไพศาลคุ้มบ้านเมืองผาสุกสมเป็นนับร้อยปี
พุทธศักราช ๒๕๔๒
ประชาชนชาวไทย พร้อมใจกันประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์นี้เฉลิมพระเกียรติ
น้อมสักการะเป็นมิ่งขวัญเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมตราบจิรัฐติกาล
อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
ตอบลบสิงหาสน์ปรางรัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง-เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง
นิราศนรินทร์
พ.ศ.๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนองสร้างเจดีย์ภูเขาทอง ที่วัดภูเขาทอง อนุสรณ์แห่งชัยชนะต่อกรุงศรีอยุธยา
ตอบลบพ.ศ.๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล อนุสรณ์แห่งชัยชนะในการทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราช
พ.ศ.๒๕๔๒ สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทุ่งภูเขาทอง ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
การเสียกรุงครั้งแรกต่อพม่าจากข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ ไม่รู้สึกน่าอัปยศเท่าไหร่ ถึงแม้จะไม่มีศึกใน กรุงศรีฯ ก็คงไม่วายตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเพราะขณะนั้นบารมีของบุเรงนองร้อนแรงมากกกก....ส่วนกรุงแตกครั้งที่สองอ่านเกร็ดประวัติศาสตร์แล้วสยอง ในส่วนตัวลึก ๆ แล้วผมยังไม่เชื่อว่าพม่าเผาวัด เผาพระพุทธรูปเพื่อลอกเอาทองคำ ชาวพม่านับถือพุทธศาสนาเคร่งกว่าเรามาก ที่ทหารจะเอาไฟสุมพระพุทธรูปจึงไม่น่าจะเป็นไปได้...สิ่งที่น่าจะเป็นมากที่สุดก็คือ พวกคนไทยสารเลวนี่แหละที่จะเผาวัด เผาพระเพื่อจะลอกเอาทองแต่มันต้องใช้เวลามากจึงไม่ทันเก็บ พวกทหารพม่าจึงเก็บกลับไป ที่ผมเชื่ออย่างนี้เพราะเหตุการณ์เมื่อ พฤษภา ๕๓ ตอนพวกนรกเผาเวิลด์เทรดแล้วมีการปล้นสดมภ์ข้าวของจากภายในห้าง....เหตุการณ์มันจำลองให้เห็นว่าคนเลวมันทำได้ทุกอย่าง
ตอบลบเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา จาก วิกิพีเดีย........
ตอบลบจะกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา
เป็นกรุงรัตนราชพระศาสนา มหาดิเรกอันเลิศล้น
เป็นที่ปรากฏรจนา สรรเสริญอยุธยาทุกแห่งหน
ทุกบุรีสีมามณฑล จบสกลลูกค้าวาณิช
ทุกประเทศสิบสองภาษา ย่อมมาพึ่งกรุงศรีอยุธยาเป็นอัครนิตย์
ประชาราษฎร์ปราศจากภัยพิษ ทั้งความพิกลจริตแลความทุกข์
ฝ่ายองค์พระบรมราชา ครองขัณฑสีมาเป็นสุข
ด้วยพระกฤษฎีกาทำนุก จึ่งอยู่เย็นเป็นสุขสวัสดี
เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์ในใต้หล้า เป็นที่อาศัยแก่เทวาทุกราศี
ทุกนิกรนรชนมนตรี คหบดีชีพราหมณพฤฒา
ประดุจดั่งศาลาอาศัย ดั่งหนึ่งร่มพระไทรอันสาขา
ประดุจหนึ่งแม่น้ำพระคงคา เป็นที่สิเน่หาเมื่อกันดาน
ด้วยพระเดชเดชาอานุภาพ อาจปราบไพรีทุกทิศาน
ทุกประเทศเขตขัณฑ์บันดาล แต่งเครื่องบรรณาการมานอบนบ
กรุงศรีอยุธยานั้นสมบูรณ์ เพิ่มพูนด้วยพระเกียรติขจรจบ
อุดมบรมสุขทั้งแผ่นพิภพ จนคำรบศักราชได้สองพัน
คราทีนั้นฝูงสัตว์ทั้งหลาย จะเกิดความอันตรายเป็นแม่นมั่น
ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม์ จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ
คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพศ อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาฬ เกิดนิมิตพิศดารทุกบ้านเมือง
พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง
ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง ผีเมืองนั้นจะออกไปอยู่ไพร
พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี พระกาฬกุลีจะเข้ามาเป็นไส้
พระธรณีจะตีอกไห้ อกพระกาฬจะไหม้อยู่เกรียมกรม
ในลักษณ์ทำนายไว้บ่ห่อนผิด เมื่อวินิศพิศดูก็เห็นสม
มิใช่เทศกาลร้อนก็ร้อนระงม มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด
มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ
ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสาระพัด เกิดวิบัตินานาทั่วสากล
เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล
สัปบุรุษจะแพ้แก่ทรชน มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก
ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว คนชั่วจะมล้างผู้มีศักดิ์
ลูกศิษย์จะสู้ครูพัก จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า เพราะจันฑาลมันเข้ามาเสพสม
ผู้มีศีลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์ เพราะสมัครสมาคมด้วยมารยา
พระมหากระษัตริย์จะเสื่อมสิงหนาท ประเทศราชจะเสื่อมซึ่งยศถา
อาสัตย์จะเลื่องลือชา พระธรรมาจะตกลึกลับ
ผู้กล้าจะเสื่อมใจหาญ จะสาบสูญวิชาการทั้งปวงสรรพ
ผู้มีสินจะถอยจากทรัพย์ สัปบุรุษจะอับซึ่งน้ำใจ
ทั้งอายุศม์จะถอยเคลื่อนจากเดือนปี ประเวณีจะแปรปรวนตามวิสัย
ทั้งพืชแผ่นดินจะผ่อนไป ผลหมากรากไม้จะถอยรส
ทั้งแพทยพรรณว่านยาก็อาเพศ เคยเป็นคุณวิเศษก็เสื่อมหมด
จวงจันทน์พรรณไม้อันหอมรส จะถอยถดไปตามประเพณี
ทั้งข้าวก็จะยากหมากจะแพง สาระพันจะแห้งแล้งเป็นถ้วนถี่
จะบังเกีดทรพิษมิคสัญญี ฝูงผีจะวิ่งเข้าปลอมคน
กรุงประเทศราชธานี จะเกิดการกุลีทุกแห่งหน
จะอ้างว้างอกใจทั้งไพร่พล จะสาละวนทั่วโลกทั้งหญิงชาย
จะร้อนอกสมณาประชาราช จะเกิดเข็ญเป็นอุบาทว์นั้นมากหลาย
จะรบราฆ่าฟันกันวุ่นวาย ฝูงคนจะล้มตายลงเป็นเบือ
ทางน้ำก็จะแห้งเป็นทางบก เวียงวังก็จะรกเป็นป่าเสือ
แต่สิงห์สารสัตว์เนื้อเบื้อ นั้นจะหลงหลอเหลือในแผ่นดิน
ทั้งผู้คนสาระพัดสัตว์ทั้งหลาย จะสาบสูญล้มตายเสียหมดสิ้น
ด้วยพระกาฬจะมาผลาญแผ่นดิน จะสูญสิ้นการณรงค์สงคราม
กรุงศรีอยุธยาจะสูญแล้ว จะลับรัศมีแก้วเจ้าทั้งสาม
ไปจนคำรบปีเดือนคืนยาม จนสิ้นนามศักราชห้าพัน
กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์
จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์ นับวันจะเสื่อมสูญเอยฯ
จบเรื่องพระนารายณ์เป็นเจ้านพบุรีทำนายกรุงแต่เพียงเท่านี้