ลบไม่เลือน ของพระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จัทร์ศรี จนฺททีโป)
________________________________________
๑. คนดีพวกน้อย แพ้คนชั่วพวกมาก.
๒. ทำดีไม่ได้ดี เพราะยังทำไม่ถึงดี หรือทำเกินพอดี.
๓. ที่คนทำดีแล้วมักบ่นว่าไม่ได้ดี เพราะ ดีนั้น มีโทษ.
๔. บุญจะให้คุณ ต่อเมื่อผู้ให้ลืมไปแล้ว
๕. การพูดมากแก้ปัญหาใดๆไม่ได้เลย แม้กับปัญหาที่พอจะแก้ไขได้.
๖. พูดพอประมาณ ไม่เสียงาน ไม่เสียเพื่อน.
๗. การคุยสนุก หากเกินหนึ่งชั่วโมง คือการทำลายเวลาอันมีค่าของตนและคนอื่น.
๘. อย่าได้พูดอะไรเพียงเพราะเห็นว่าสนุกปาก เรื่องร้ายสงบได้ เมื่อหยุดพูดถึง
๙. พายุร้าย ทำอันตรายได้น้อยกว่าวาจาส่อเสียด ยุแหย่ ใส่ร้าย นินทากัน
๑๐.ความรักดูเหมือนหอมหวาน ความชั่วดูเหมือนเผ็ดร้อน ทั้งสองนี้ เป็นอารมณ์สุดโต่ง มีอำนาจเหมือนเราเมื่อใด จะทำลายเราอย่างเจ็บปวดที่สุด
๑๑.ความรักกับความร้ายอยู่ใกล้กันเหมือนหน้ามือกับหลังมือ รักร้อย แต่ ชังพัน
๑๒.ดีกับชั่ว เป็นอมตธรรมคู่กันก็จริง จงเว้นชั่ว เพียรดี ให้ดีเถิด
๑๓.ความสะดวกสบายมีขาย แต่ความสุข เงินซื้อไม่ได้ เพราะความสุขมิใช่เงิน.
๑๔.สมบัติ บริวาร ยศ ดูเหมือนให้สุขแก่ตน แต่ความจริง ท่านให้ไว้เพื่ออำนวยสุขแก่คนอื่น
๑๕.ทุกข์กายกับทุกข์ใจ เกี่ยวเนื่องกันเหมือน พ่อแม่ลูก นายกับลูกน้อง สมภารกับลูกวัด. ทุกส่วนเป็นอวัยวะเดียวกัน สุขทุกข์โยงถึงกันหมด แต่พ่อแม่ นาย สมภาร ได้รับความสะเทือนใจ สองเท่า.
๑๖.เมื่อมีโอกาสทำดี ต้องทำดี อย่าทำเด่น เมื่อใดทำเด่นความีจะวิ่งหนีเรา.
๑๗.เมื่อเราแยกดีชั่วออกจากกันไม่ได้ เหมือนไม่อาจแยกกายกับใจ ก็ควรเพิ่มปริมาณความดีให้มากขึ้น. ต้องเอาดีออกมาให้เขาเห็น มิใช่เอาเด่นออกมาอวด. ดีอวดได้ แต่อย่าอวดเด่นกันเลย.
๑๘.ธรรมดา ของชีวิต มีแล้วก็กลับไม่มีได้ โลกสลับกันไปมา เหมือนมืดแล้วสว่าง อย่าเสียใจหรือดีใจกับสิ่งใดให้มากนัก.
๑๙.ในทางโลก การได้มามากๆเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ในทางธรรม การสละสิ่งที่มีมากๆให้หมดไปแม้แต่สิ่งที่ละเอียดอ่อนภายในใจได้ ท่านว่าประเสริฐสุด.
๒๐.อย่าคิดว่าเราต้องได้ตลอดเวลา เราต้องเป็นผู้ชนะแต่เพียงผู้เดียว การยอมให้คนอื่นได้และชนะดูบ้าง เป็นวิธีสำคัญของการอยู่ร่วมกัน.
๒๑.ความรู้เปรียบเหมือนดาบแหลมคม ความประพฤติเหมือนคนถือดาบ มโนธรรมคือวิธีใช้ดาบนั้น. ดี ๓ ประการนี้ ต้องฝึกอบรมบ่มเพาะโดยสายเลือด
๒๒. คำพูดเป็นดาบชนิดหนึ่ง บางคนใช้ทิ่มตน และแทงคน บางกลุ่มทิ่มแทงกันเอง ทั้งๆที่รู้ว่าไม่มีใครได้ประโยชน์อะไรเลย
๒๓. ยศและตำแหน่งเป็นเครื่องประดับภายนอกเป็นอุปกรณ์สร้างบารมี มิใช่เพื่อให้โอ้อวดหรืออยู่อย่างสุขสบาย
๒๔. เราทุกคนมีชีวิตบนโลกนี้เพื่อให้ตนมีกำไร มิใช่อยู่อย่างขาดทุน. กำไรชีวิตมี ๓ อย่าง คือ กำไรเป็นทรัพย์ สินสมบัติ กำไรเป็นวิชาความรู้เกียรติยศ และกำไรคือบุญกุศล ปราชญ์ใช้สองส่วนต้นมาลงทุนในส่วนที่ ๓.
๒๕.ผู้ใหญ่มีไว้ให้อ้างอิง มิใช่เพื่อแอบอ้าง ผู้ใหญ่ดีเพราะมีผู้น้อยคอยเสนอสนอง. ผู้น้อบดีเพราะมีผู้ใหญ่คอยส่งเสริมสนับสนุน.
๒๖.คนเกียจคร้านไม่ควรได้รับรางวัลใดๆ ในชีวิต เพราะสิ่งที่เขาได้มาจากความเกียจคร้านนั้นเป็นรางวัลที่เหมาะสมแล้ว
๒๗.คนเกียจคร้านคือคนพิการ มีสมองฝ่อ มีแขนก็ด้วน มีขาก็ง่อย มีตาก็บอด มีนิ้วก็ด้วน ส่วนคนพิการจริง แม้หูจะหนวก ตาบอด ง่อยเปลี้ยเสียขา ก็ทำประโยชน์ได้ หากใจไม่พิการตาม.
๒๘. ทำตัวให้ปรากฏ ไม่อดตาย ทำตัวตามสบายจะเสียหายและอดอยาก.
๓๐. สติต้องมีให้มากกว่าสตางค์ หากสตางค์มาก แต่สติน้อย มีเรื่องให้เสียใจร่ำไป.
๓๑. ยาอายุวัฒนะของพ่อแม่ คือลูกกตัญญูรู้บุญและกตเวทีแทนคุณ. ศิษย์กับอาจารย์ก็เช่นกัน.
๓๒. เก่งคนเดียวเหนื่อยกาย เหนื่อยใจ เก่งหลายน สุขกาย สบายใจ. คนเก่งต้องมีไว้ คนดีต้องมีพร้อม.
๓๓. ขณะจิตเป็นบุญ เรากำลังมีทุนทำดี ทำพูดคิดอะไร จะไม่มีโทษภัย.
๓๔. เมื่อภรรยาเสียงดัง สามีต้องนิ่งฟัง เมื่อสามีเสียงดัง ภรรยาควรนิ่งฟัง เพื่อให้พึ่งพิงกันได้ยาวนาน.
๓๕. เมื่อเป็นลูก รักพ่อแม่มาก เมื่อมีภรรยา ก็รักภรรยามากกว่าพ่อแม่ และเมื่อมีลูก ความรักทั้งหมดรวมลงที่ลูก แต่จงรักลูกให้ถูกทาง และอย่าให้ใจห่างพ่อแม่ภรรยา
๓๖. ครอบครัวที่อบอุ่น อยู่ที่รู้จักค้ำจุนต้นโพธิ์มีชีวิต พ่อแม่คือต้นโพธิ์ของลูก
๓๗. สามัคคี กลมเกลียว ช่วยเหลือกันในคราวทุกข์ยาก ลำบาก ขัดสน เป็นยิ่งกว่าญาติโดยสายเลือด
๓๘. ความรู้สึกว่าเป็นญาติ เป็นความผ่อนคลายอบอุ่นและมั่นใจ เราควรสร้างความเป็นญาติกับคนที่เราคบ
๓๙. ถ้าใจไม่สัมพันธ์ อะไรก็ไม่สำคัญ แต่ถ้าใจสัมพันธ์ อะไรๆก็ล้วนแต่สำคัญ เพราะความสำคัญอยู่ที่ใจ
๔๐. ความดีคือความสุข ดีแท้อยู่ที่ช่วยกันทำ ถ้าทำแล้วขัดกัน แม้ทำดีก็ไม่ได้ดี เพราะไม่มีใครได้รับความสุขเลย
๔๑. ดีกับเด่นอยู่คู่กัน ดีให้คุณ ส่วนเด่นให้โทษ. เราดีเขาดีด้วย เขาดี เราดีด้วย จึงดีจริง. ดีคนเดียวเรียกเด่นดังมักเป็นภัยแก่ตัว.
๔๒. หมู่คณะอยู่ได้เพราะความสามัคคี สัญลักษณ์ความสามัคคีให้ลูกหลานดูก่อไผ่และมดแดง
๔๓. คนเกียจคร้าน แม้มีงานก็ไม่ดี เรียกว่า คนรกโลก ส่วนคนขยัน เรียกว่าคนประคองโลก ไม่มีคำว่าตกงาน
๔๔. ความทุกข์ของคนประการหนึ่ง คือ ต้องการให้คนอื่นเป็นอย่างที่ตัวเองคิด ขณะที่ตนเป็นอย่างที่คนอื่นอยากให้เป็นมิได้
๔๕. บุคลิกสำคัญไม่น้อยกว่าวิชาความรู้ บุคลิกลักษณะเป็นจุดเด่นของคน ส่วนวิชาความรู้เป็นกำลังหนุน
๔๖. วิชาและกตัญญู คือทุนสร้างชีวิต มิใช่ทรัพย์สิน เงินทอง กองมรดก
๔๗. คนส่วนใหญ่แสวงหาทรัพย์สินสมบัติ ยศศักดิ์บริวาร เพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชีวิต กระทั่งลืมความมั่นคงของจิตใจ. เศรษฐกิจจิตใจต้องเดินไปคู่กัน.
๔๘. ยาอายุวัฒนะ คือ เดิน ๑ ชั่วโมงหลังตื่นนอน และ เดินอีก ๑ ชั่วโมงก่อนอาบน้ำเข้านอน
๔๙. การเอาเยี่ยงอย่างเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องเอาดีทีละอย่าง.
๕๐. การจับปลาสองมือดี แต่ต้องจับปลาตัวเดียว สองมือ
*******
Cr.Fwd line
วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น