วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เซน


คำเซน เป็นภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีนว่า “เสี้ยง”
และเสียงกลางว่า“ฉัน” คือ “ฌาน” นั่นเอง 

นิกายนี้เจริญมาก ทั้งในยุโรป อเมริกา
เมื่อพระโพธิธรรม ท่านตั๊กม้อ ชาวอินเดีย 
จาริกไปเผยแผ่ธรรมที่เมืองจีนสมัยต้นศตวรรษที่ ๑๐

ความเป็นมาเมื่อครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ ทรงชูดอกไม้ขึ้นดอกหนึ่งท่ามกลางที่ประชุม โดยมิได้ตรัสอะไรเลย ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย เว้นแต่พระมหากัสสปะที่เข้าใจทันที
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุได้ และนิพพาน
ตถาคตมอบหมายให้แก่เธอ ณ บัดนี้ เซนจึงเคารพพระกัสสปะว่า ผู้ให้กำเนิดนิกาย ต่อมาก็สืบเนื่องกันมา ถึงพระโพธิธรรม ท่านตั๊กม้อ ลำดับที่ ๒๘
เมื่อพระโพธิธรรมจาริกมาเผื่อแผ่ธรรมที่เมืองจีนแล้ว ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าเหลียงบูฮ่องเต้
พระเจ้าเหลียงบูฮ่องเต้ ตรัสถามว่า ข้าพเจ้าได้สร้างวัดบวชพระเป็นจำนวนมาก ไม่ทราบว่าจะมีอานิสงส์มากเพียงไร ท่านตั๊กม้อ ตอบว่าไม่มีเลย เพราะกุศลกรรมเหล่านั้นเป็นวัฏฏคามี
(วัฎฎคามีกุศล แปลว่า กุศลเป็นทางสู่วัฏฏะ
กุศลนี้ สิ้นสุดกันตรงสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ในมนุษย์โลก)
ฮ่องเต้ไม่ทรงพอพระทัยจึงไม่ทรงอุปถัมภ์ พระโพธิธรรมจึงไปจำพรรษา ณ วัดเซียมลิ่มยี่ นั่งเข้าฌานหันหน้าเข้าฝาผนังอยู่ ๙ ปี ต่อมาท่านจึงได้มอบหมาย ลัทธิของท่านให้สมณะจีนตั้งเป็นนิกายเซนขึ้น เซน "ไม่ต้องอาศัยตัวอักษร ชี้ตรงไปที่ดวงจิตของมนุษย์ เห็นแจ้งในความจริงสำเร็จเป็นพุทธะ"
เซนถือว่า การบรรลุมรรคผลนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ตัวบทอักษร หรือความรู้ในด้านปริยัติแต่ต้องอยู่ที่การขัดเกลาจิตของตนเป็นสำคัญ แม้ทรงพระไตรปิฎกก็ใช้ไม่ได้ ถ้าไม่เข้าถึงปฏิบัติ
เซน มุ่งสอนให้เป็นสุขโดยเห็นว่าการหลุดพ้นโดยใช้ปัญญา ใครก็ตามเข้าใจและรู้ถึงจิตใจของตนเองว่า
เป็นอะไร เขาก็หลุดพ้นแล้ว เพราะ รู้จิต รู้ใจ ก็จะรู้ว่าตอนไหน มีกุศล มีอกุศล ไม่มีกุศล ไม่มีอกุศล แยกแยะได้ รู้การทำให้จิต ให้ใจหลุดจากอกุศล ก็หลุดจากความทุกข์ได้
เซนจึงถือปัญญาเป็นสำคัญ ใครมีปัญญา ก็เข้าถึงเข้าใจได้
ดังนั้นคนที่จะเข้าถึงเซนได้ ต้องมีปัญญบารมีมา มีการสะสมปัญญามา
ระดับหนึ่ง จึงเรียนลัดได้
===========================================
เนื่องจากระดับปัญญาคนไม่เท่ากัน บางคนเรียนลัดได้ บางคนเรียนลัดไม่ได้
ก็ปฏิบัติไปตามลำดับได้ "อนุปุพพิกถา" จงพิจารณาตนเองและเลือกให้ถูกต้องเหมาะสมกับตนเอง ก็จะทำให้ไปถึงและถูกทางได้
วิวัฏฏคามีกุศล บุญกุศลที่ให้ถึงวิวัฏฏ์ คือพระนิพพาน กุศลนี้สิ้นสุดกันที่มรรคผลและนิพพานสมบัติ
วัฎฎคามีกุศล แปลว่า กุศลเป็นทางสู่วัฏฏะ กุศลนี้ สิ้นสุดกันตรงสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ในมนุษย์โลก
การสร้างกุศลแบบวัฏฏคามี แม้จะเป็นการสร้างกุศลที่มีผลให้วนอยู่ในวัฏฏะ เพราะหวังผลตอบแทนต่อตนมากกว่าการสร้างกุศลเพื่อประดับจิต คือ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น
เพื่อจิตเป็นสมาธิแล้วก็ไปพิจารณาธรรมเพื่อหลุดพ้นต่อไป แต่ก็จัดเป็นสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูกเพียงแต่เป็นสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ เพราะหากไม่เห็นว่า บุญมีผล จะเป็นมิจฉาทิฏฐิไป
เมื่อพระพุทธองค์สอนสัตว์ ทรงสอนตามระดับอินทรีย์ พวกที่ยังก้าวล่วงความรู้สึกว่าเป็นตนไปไม่ได้ ก็ทรงสอนให้สร้างบุญกุศล ซึ่งก็คือวัฏฏคามีนี้เอง แต่ก็ทรงชี้ให้เห็นความเศร้าหมองของกาม
อานิสงส์ของการหลีกออกจากกามด้วย เมื่อสัตว์พร้อม ก็ทรงยกอริยสัจสี่ขึ้นมาตรัส เพื่อให้สัตว์เห็นทางออกจากวัฏฏะ
เรียนไปตามลำดับ
"อนุปุพพิกถา" จึงเป็นวิธีเตรียมใจ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นๆ จากง่ายไปหายาก
@@@@@@@@@@@@@@
(จาก Facebook ;
Bhuritatta Samaneri กับ ภูริทัตตา ธรรมทาน  )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น