หน้าเว็บ
วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566
สันต์พวงกุญแจ
Zen volunteer from Vietnam
สัตบุรุษ
สัตบุรุษรู้จักชุมชน เข้าสังคมไหนชุมชนไหน ต้องรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีของเขา ต้องรู้จักปรับปรุงตัวให้เข้ากับชุมชนนั้นหรือบริษัทนั้น เว้นแต่กรณีที่ธรรมเนียมประเพณีของเขานั้นผิดหลักศีลธรรม ไม่ต้องปรับตัวให้เลวลง อย่าไปเข้าหมู่พาลดีกว่า ถึงต้องเสียผลประโยชน์บ้าง ก็ปลอดภัย เราต้องมีหลักของตัวเองบ้าง ไม่ใช่คล้อยตามส่วนข้างมากในทุกเรื่อง
สิ่งใดที่ไม่เป็นการขัดต่อหลักศีลธรรม หรือว่าเป็นการเสียข้อวัตรปฏิบัติของตนเอง เราก็ทำตามด้วยสติปัญญา ปรับปรุงแก้ไขตัวเองเรื่อยๆ และในสิ่งใดที่จำเป็นต้องขัดกับการประพฤติของคนอื่น เช่น ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ หรือไม่คอรัปชั่นกับเขา เราก็ทำแบบอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน ว่าเราเก่งกว่าเขา เราเคร่งกว่าเขา เราเป็นคนดี เขาเป็นคนเลว เราฉลาด เขาโง่ อย่างนี้ไม่ได้ ควรถ่อมตนว่า ฉันเป็นอย่างนี้ ฉันชอบอย่างนี้ มีความสุขอย่างนี้ ขออภัยด้วย คนอื่นเขาทำอย่างไร เรื่องของเขา ช่วยเขาได้ เราก็ช่วย ช่วยไม่ได้เราก็ทำของเราเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่ว่าตนเองดีอยากให้คนอื่นเหมือนกับเราหมด ไม่ได้ผลแล้วน้อยใจ เขายังไม่พร้อม เราทำอะไรไม่ได้
พระอาจารย์ชยสาโร
******
Cr.https://www.facebook.com/photo.php?fbid=718961056925148&set=a.410133041141286&type=3&mibextid=Nif5oz
วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566
วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566
กฏแห่งกรรม
ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่
.............................
ให้เราได้พิจารณาถึงกฎแห่งกรรม
กรรมที่ทำไว้ ทำความดีไว้ก็ไม่สูญหายไปไหน
ทำความชั่วก็เหมือนกัน
ต้องตามสนองไม่ภพนี้ก็ภพใดภพหนึ่ง
เพราะฉะนั้นเราก็ควรที่จะเลือกทำแต่กรรมดีไว้
เว้นกรรมชั่ว ทำแต่กรรมดี
แล้วถ้าที่สุดเราทำจิตของเราให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกิเลส
เราก็จะพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เข้าถึงมรรคผลนิพพาน
แต่ถ้าเรายังเวียนว่ายตายเกิด มันก็อย่างนี้แหละ
คือในชีวิตเราผ่านมานี้
ทำกรรมดีกรรมชั่วมามากมาย
กรรมดีกรรมชั่วนั้นก็จะให้ผล
ชีวิตจึงมีทุกข์นานัปการ
เพราะฉะนั้นให้เราพิจารณา
มองเห็นโทษเห็นทุกข์ของการเวียนว่ายตายเกิด
ทางที่ดีเราก็หาทางพ้นทุกข์
ด้วยการทำจิตของเราให้หมดจดจากอาสวกิเลส
ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เจริญสติปัฏฐาน
โดยที่เรามีศีลเป็นบาทเป็นฐาน
แล้วก็พยายามปฏิบัติเจริญภาวนา
อบรมจิตใจตัวเองให้มีสติ สมาธิ ปัญญา
ให้เกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอด ละอาสวกิเลส
เราก็จะได้พ้นจากทุกข์
ธรรมบรรยาย ธรรมสุปฏิปันโน ๖ โฆษกะ
.............................
ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
*****
Cr.https://www.facebook.com/100050180992815/posts/pfbid02raJsFLERdRSAFyxg9QVeCHdZdWGmXySuazF3awFajAxDiL1nU9np8tXkz2gD2VLhl/?mibextid=Nif5oz
เหตุปัจจัย
คำสอนเรื่องอนัตตาชี้ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่เป็นไปตามความอยากของเรา เช่น เรายืนอยู่กลางแจ้งไม่อยากรู้สึกร้อนก็ต้องร้อนอยู่ดี ไม่อยากให้เหงื่อออก มันก็ออกอยู่ดี เป็นไปตามธรรมชาติของกาย ไม่ใช่ตามคำสั่งหรือความต้องการของเรา วางแว่นไว้ตรงไหน ไม่จำไว้ ต่อมาก็จำไม่ได้ บังคับตัวเองให้จำได้ก็ไม่ได้ผล เพราะสิ่งทั้งหลายไม่ได้อยู่ใต้การบังคับบัญชาของเรา หากเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน ผู้ไม่อยากโกรธใคร แต่ไม่เคยฝึกจิตให้รู้จักทางออกจากความโกรธ คือไม่เคยสร้างเหตุปัจจัยแห่งความไม่โกรธ ไม่ได้สิ่งที่อยากได้เมื่อไหร่ ก็คงอดโกรธไม่ได้
สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) ตามเหตุตามปัจจัย (อนัตตา) จึงไม่สามารถให้ความสุขที่แท้จริงแก่เราได้ (ทุกขัง) ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลายสามข้ออยู่ด้วยกันอย่างนี้
พระอาจารย์ชยสาโร
*****
Cr.https://www.facebook.com/photo.php?fbid=718954180259169&set=a.410133041141286&type=3&mibextid=Nif5oz
วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2566
Auld Lang Syne
เพื่อวันเวลาที่ผ่านมานะเพื่อนรัก
เพื่อวันเวลาที่ผ่านมา
เราจะยังมาร่วมกันดื่มฉลอง
ให้กับวันเวลาเก่า ๆ..."
วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566
มุทิตา
".. ยิ่งเราเปรียบเทียบชีวิตของเรากับคนอื่นมากเท่าไร เราจะรู้สึกแย่เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของเรา
..พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราฝึกปฏิบัติธรรม คือ มุทิตา คือ เมื่อเราเห็นความสุขของคนอื่นแล้วเรามีความสุข
..เราฝึกฝนสิ่งนี้ได้เราจะรู้สึกยิ่งใหญ่..."
วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566
Sara กัลยาณมิตรจากแดนไกล
วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566
มูลนิธิทานบารมี (มทบ)
objective
1. Give alms It is the giving of material things, both
consumer goods and consumption, giving money, giving the four necessities,
shelter, food, clothing, medicine for living the life of the four Buddhist
companies, and volunteers working in various fields. and build a Dhamma place for practicing
Dhamma and help the poor and needy and encountered disaster both domestically and abroad
2. Forgive alms, which is to forgive the lives of animals as alms. Help save animal lives Helping people and animals People in need of various disasters Both within the country and abroad
3. Give alms is to give knowledge as alms Give physical strength, give knowledge, give wisdom. Provide professional education Give the subject to survive from the world Provide scholarships to youth, students, and citizens both domestically and abroad.
4. Give alms, give
knowledge of the principles of the Buddha, give Dhamma, give wisdom, give
education and spread Dhamma in various forms.
Support Dhamma practice Create
Dhammadayada ordination and
ordination Give to the 4 Buddhist
communities, giving them the knowledge to survive in samsara. both domestically and abroad
5. Promote and support environmental protection. both domestically and abroad
6. Promote and support education. both domestically and abroad
7. Promote and support culture both domestically and abroad.
8. Promote, support and supervise operations. and various activities of "Baan Ruean Dham"
9.Other matters Everything related to helping humanity and animals. As the committee deems appropriate
10. Promote and
support charitable agencies. or
cooperate with other charitable organizations
11. Not related to politics in any way
12.Income from the activities of the foundation It will not be used as compensation, wages, or salaries for the directors of the foundation.
13. Not doing any fundraising to seek benefits that is contrary to the Civil and Commercial Code and the Solicitation Control Act, B.E. 2487.
(According to the announcement of the Foundation Registrar of Pathum Thani Province regarding the registration of the Thanbarami Foundation (MTB), registration number Pathum Thani 248, effective from October 16, 2023 Announced in the Royal Gazette, Volume 141, Section 51, Page 107, dated 20 June 2024.)
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566
จิตใจที่เบิกบาน
เราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะทำชีวิตให้ดีงามได้ ทุกคนมีสิทธิ์เสมอกันในการสร้างคุณงามความดี และเมื่อเราเห็นความงามของความดี ทั้งในตัวเองบ้าง ในกัลยาณมิตรของเราบ้าง ผู้คนรอบข้างบ้าง ก็ให้เราอนุโมทนาในความดีนั้น เชิดชูความดี และพยายามทำความดีให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป เห็นความดีที่ไหน ให้เราอนุโมทนาที่นั่น จิตใจของเราจะเบิกบานตลอดเวลา
บางทีการทำความดีของตัวเองยังจำกัดอยู่ แต่ว่าเมื่อเรายินดีและอนุโมทนาในความดีของคนอื่น เรียกว่ามันไหลมาตลอดเวลา แทนที่จะมองเพ่งโทษหาข้อบกพร่องในสิ่งต่างๆ ของคนนั้นคนนี้ ให้เรามองความดีของคนอื่น ก็จะเหมือนมีกระแสดีงามไหลรินเข้ามาในจิตใจของเราตลอดเวลา จิตใจของเราก็จะเบิกบานด้วยธรรม
พระอาจารย์ชยสาโร
*****
Cr.https://www.facebook.com/100064337808864/posts/pfbid0YghaLezrE85CTBM5neuy153iYy91n294yeCsKpgDPpJXLeF4hrZ7MfwJyp77RBjxl/?mibextid=Nif5oz
วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566
เจตนา
แนวคิดเรื่องดีเรื่องชั่วและแรงผลักดันในการทำความดีละเว้นความชั่ว เป็นสิ่งที่พบได้ในสังคมมนุษย์ทุกหนทุกแห่ง ปัญหาอยู่ที่การตัดสินว่า ‘ดี’ หรือ ‘ชั่ว’ ที่อ้างถึงคืออะไรกันแน่ ความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้เป็นอย่างไร ความดีความชั่วเป็นขั้วตรงข้ามกันสิ้นเชิงเหมือนขาวกับดำ หรือว่ามีความสัมพันธ์ซับซ้อนกว่านั้น จะมีบ้างไหมที่จำเป็นต้องทำในสิ่งไม่ดีเพื่อให้เกิดผลในทางที่ดี มีบ้างไหมที่คนทำดีเพื่อเป็นหนทางบรรลุเป้าหมายเลวร้าย ความดีความชั่วมีระดับแตกต่างกันบ้างไหม ถ้ามี เราจะใช้เกณฑ์อะไรมาจัดลำดับที่แตกต่างเหล่านี้
แน่นอนว่าข้อเขียนสั้นๆ นี้คงไม่ใช่วงอภิปรายที่อาจลงรายละเอียดในประเด็นหนักๆ เช่นนี้ได้ สิ่งที่อาตมาอยากจะกล่าวถึงในที่นี้คือ ความเข้าใจต่อการกระทำที่เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเราเห็นว่าน่าสะพรึงกลัวและชวนสลดสังเวช อาตมาเชื่อว่าในทุกๆ กรณี ผู้กระทำผิดคิดว่าตัวเองกำลังทำในสิ่งที่เชื่อว่าดีแบบใดแบบหนึ่ง หรือไม่ก็จะนำไปสู่ประโยชน์ส่วนรวม ไม่มีอะไรที่จะปลุกเร้าจิตใจคนได้มากเท่าความเชื่อว่ากำลังทำสงครามฝ่ายคุณธรรมเพื่อต่อต้านอำนาจชั่วร้ายได้อีกแล้ว
จากบทบาทคำสอนต่างๆ ทางศาสนา คงเป็นเรื่องยากที่เราจะนึกถึงโลกที่ไม่เกิดความขัดแย้งเช่นนี้ แต่อย่างน้อยที่สุดในฐานะชาวพุทธ เราเตือนสติตนเองได้ว่าเจตนาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การกระทำใดๆ ก็ตามที่มีแรงจูงใจจากความโลภ โกรธ เกลียด หรือมุ่งร้ายต่อผู้อื่น ไม่มีทางจะดีไปได้ ไม่ว่าจะมีเหตุผลหรือความเชื่อใดๆ มาประกอบ
ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ
*****
Cr.https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0gY77CYbwgvedZSoNv1rMD1b6QgTM52zHxHvH7593Ndy7C6YotvL5mi4K9C91P2Mjl&id=100064337808864&mibextid=Nif5oz
ธรรมสุปฏิปันโน
ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่
.............................
ก็ยังดี ถือว่ามีทุกข์มีปัญหาเราเข้าวัด เราก็ยังได้แก้ไข
ถ้ามีทุกข์มีปัญหาแล้วก็ไปเที่ยว
ไปเสพสุรายาเมา สิ่งเสพติด การพนัน
ยิ่งไปกันใหญ่
ได้บุญบารมี จากการให้ทานจากการรักษาศีล
แล้วก็ได้บุญจากการไหว้พระสวดมนต์
การที่เรามาวัดก็มาแสดงความเคารพอ่อนน้อม
บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้บุญ
แล้วก็ยังมาขวนขวายช่วยเหลือการงานวัด งานศาสนา
ช่วยยก ช่วยจัด ช่วยล้าง ช่วยถู ช่วยกวาด
เรากวาดที่บ้าน เราถูที่บ้าน ไม่ได้บุญ
แต่เรากวาดที่วัดได้บุญ
กวาดถูที่วัด ช่วยวัด ได้บุญ
เพราะเป็นสถานที่แหล่งของธรรม
เป็นที่ปฏิบัติธรรมผู้เจริญภาวนา
ใครได้มาเห็นสถานที่สงบ สะอาด
ได้มาใช้การบริการที่เราทำไว้ ก็เป็นบุญ
ล้างห้องน้ำห้องส้วม
คนมาใช้เป็นคนที่มีศีลมีธรรมมาใช้ ได้บุญเยอะ
มันเสียแล้วได้
เสียแรงงานไป เสียกำลังไป
แต่มันได้บุญกุศลขึ้นมา
แล้วได้มาแผ่เมตตาไหม ได้อุทิศส่วนกุศลไหม
ก็เป็นบุญทั้งนั้น
อุทิศส่วนกุศลก็เป็นบุญ
ได้โมทนาในบุญในความดีผู้อื่นที่ทำ ก็ได้บุญขึ้นมาอีก
เห็นเขาทำดี ทำบุญ คนนั้นบริจาคเท่านั้นเท่านี้
เราก็โมทนาสาธุ เราก็พลอยได้บุญไปด้วย
บางทีได้เท่า ๆ กันก็มี ถ้าเราจิตใจเต็มเปี่ยมด้วยโมทนา
หรือได้ช่วยงาน ช่วยเขาทำ
เขาทำบุญ เราช่วยในงานที่เขาทำบุญ
มันได้เหมือนกันเลย
แล้วก็ได้ฟังธรรม บุญจากการที่ได้ฟังธรรม
มีความเห็นตรงขึ้นมากขึ้น
อะไรที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ก็ได้ยินได้ฟัง
สิ่งใดได้ยินได้ฟังแล้ว ก็แจ้งชัดขึ้น
บรรเทาความสงสัย จิตใจผ่องใส
สติปัญญาเจริญขึ้น
ศรัทธาเพิ่มขึ้น มีความเห็นตรงมากขึ้น
นี่คือสิ่งที่ได้จากการที่มาวัด
แล้วก็โดยเฉพาะได้เจริญภาวนา
ได้เดินจงกรม ได้นั่งสมาธิเจริญภาวนา
มันเป็นการเสียที่ได้
เสียแรงลงไป
ความอดทน ความเหน็ดเหนื่อยยากลำบาก
ต้องอดทน ต้องพากเพียร
แต่มันได้ขึ้นมา
ได้สติ ได้สมาธิ ได้ปัญญา
แล้วก็เป็นบุญ เป็นบารมี
ได้ทานบารมี ได้สีลบารมี ได้เนกขัมมบารมี
เนกขัมมะคือการออกจากกาม ออกจากครองเรือนมา
เป็นเนกขัมมบารมี
ได้ขันติบารมีไหม
ต้องมาอดทนอดกลั้น
อย่างนั่งอยู่ขณะนี้ก็ต้องใช้ความอดทน
มันก็เป็นขันติบารมี
มีความเพียร
ปรารภความเพียรในการฟังในการประพฤติปฏิบัติ
ก็เป็นวิริยบารมีขึ้นมา
มีสัจจบารมี
เราตั้งใจจะมาบวชมารักษาศีล ก็ทำให้มันได้
ทำได้ตามนั้น เป็นสัจจะ
เป็นอธิษฐานบารมี
มีจิตมีเป้าหมายที่จะสั่งสมบารมีเพื่อความพ้นทุกข์
แล้วก็เจริญเมตตา เป็นเมตตาบารมี
เจริญอุเบกขา วางเฉย ให้อภัย
อย่างนี้เป็นบารมีที่สะสม
ถ้าเรามีบารมีที่สะสมมากขึ้น ๆ
มันถึงจะก้าวไปถึงความเต็ม แล้วก็พ้นทุกข์
อย่างผู้ที่เขาบรรลุธรรม อย่างพระจิตตหัตถะ
บวชเจ็ดครั้ง สึก ๆ บวช ๆ แล้วก็บรรลุ
เพราะบารมีท่านเต็ม
สั่งสมมาแล้วแต่อดีต ไม่ใช่ว่าไปสั่งสมเอาชาตินั้น
นี่คือสิ่งที่เราได้ เสียแล้วได้
ธรรมสุปฏิปันโน ๖ พระอนุรุทธะ
.............................
ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
*****
Cr.https://www.facebook.com/100050180992815/posts/pfbid02h9AJB9LLRexqoiGsbFN1hgR7PHhscRDHi1RhXamjnJwdbXTJDyzgqcf4WeR26nXRl/?mibextid=Nif5oz
วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566
Sara volunteer from Brazil
Sara กัลยาณมิตรจากประเทศบราซิล🇧🇷
ยามเช้าที่ซอยคุณพระ
ดูจิต..
พระพุทธองค์ทรงสอนพระสาวกฝ่ายบรรพชิตว่า เมื่อใดที่ปล่อยให้จิตหมกมุ่นกับความดำริเรื่องกาม โทสะ หรือการเบียดเบียนแม้เพียงขณะเดียว เมื่อนั้นก็จะตกหล่นไปจากคำสอนของพระองค์ สำหรับฆราวาสอาจพอเข้าใจได้ว่ามีข้อยกเว้นในข้อแรกคือกามสังกัปป์ หรือความดำริในกาม ในกรณีเช่นนี้ ควรถือศีล ๕ เป็นบรรทัดฐาน หลักที่อาจนำมาปฏิบัติได้คือ ละความหมกมุ่นกับความดำริในกามที่จะเกี่ยวข้องหรือส่งผลให้เราผิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง มาตรฐานแบบนี้อาจขยายเป็นการฝึกฝนอย่างเต็มรูปแบบในวันอุโบสถหรือระหว่างเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม
ที่สำคัญคือไม่มีข้อยกเว้นในความดำริเรื่องโทสะ หรือการเบียดเบียน ในที่นี้ มีเพียงมาตรฐานเดียวสำหรับชาวพุทธทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือฆราวาส ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความหมกมุ่น เป็นไปได้ว่าความดำริเรื่องโทสะหรือการเบียดเบียนอาจถูกกระตุ้นโดยสิ่งที่เราเห็นหรือได้ยิน คำถามอยู่ที่ว่าเราจะจัดการความคิดนั้นอย่างไร การให้พื้นที่กับความคิดเหล่านี้แม้เพียงเล็กน้อยเป็นเรื่องอันตราย
ผู้มีปัญญาหมั่นรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงในกายในจิตอยู่เสมอ ไม่ว่าจะใหญ่โตหรือเล็กน้อยเพียงใด มองเห็นความดำริในโทสะและการเบียดเบียนทั้งปวงเป็นดั่งยาพิษ และตั้งสติมั่นอยู่กับความรู้สึกตัวจนกว่าความดำริเหล่านั้นจะดับไป
ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ศิษย์ทีมสื่อดิจิทัลฯ
*****
Cr.https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0ZDphGEu7cfxZkakub8sa8jWX5XhEyuXzQqPnBkbpLxd8bpVYAT8qbzDYkcMBqsNWl&id=100064337808864&mibextid=Nif5oz
วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2566
Thank you
Cr.https://www.facebook.com/iamfearlesssoul?mibextid=ZbWKwL
วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566
บวชสึกๆๆ..เป็นอรหันต์ได้
ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่
.............................
ในสมัยพุทธกาลมีบวชสึก บวชสึก
สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้
มีนายคนหนึ่งตามวัว วัวมันหายไปทั้งวัน
พอตามมาได้ก็หิว ก็แวะเข้าวัด
วัดคงจะมีอาหารอะไรบ้าง
พระก็เลยเอาอาหารที่เหลือให้กิน
พอกินแล้วแกก็วัดนี่ดี บวชนี่ดี
ถามพระว่า
อาหารนี้วันนี้ท่านไปรับกิจนิมนต์มาหรือไร
เปล่าหรอกโยม
อาหารก็มีอย่างนี้เป็นประจำอยู่
เพราะพุทธศาสนามีผู้คนเลื่อมใสมากสมัยนั้น
นายคนนี้ก็เลยคิดว่า
เราเป็นฆราวาส เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย
กว่าจะได้อาหารกินยากลำบาก
อย่ากระไรเลย เราบวชดีกว่า
จะได้กินอาหารอิ่มหนำสำราญอย่างนี้
บวชมาเพื่อจะกินแท้ ๆ เลย
พระก็บวชให้
พอบวชไปไม่ทันไรไม่กี่วันอ้วนท้วนขึ้น
กินอาหารอิ่มหนำสำราญ มีเนื้อมีหนัง
เขาก็นึกไปอีกว่า เราจะบวชไปทำไม
เรามีกำลัง ไปทำมาหากินของเราดีกว่า
ก็สึกเลย
พระก็ยอม สึกก็สึก
สึกไปเลี้ยงวัวควายไม่ทันไร
ผอมอีกแล้ว อด ๆ อยาก ๆ
มาขอบวชอีก พระก็ให้บวช
เป็นอยู่อย่างนี้ บวช ๆ สึก ๆ อยู่ตั้ง ๖ ครั้ง
จนพระก็เลยตั้งชื่อว่า พระจิตตหัตถะ
ผู้ไปตามจิตตัวเอง
อยากสึกเดี๋ยวอยากบวชอยู่อย่างนั้น
บวชสึก สึกบวช อยู่ ๖ ครั้งไปแล้ว
จนภรรยาก็ตั้งครรภ์
จนในวันหนึ่งเขากลับจากทำงานมา
แล้วก็คิดว่าเราบวชดีกว่า
ก็ขึ้นบ้านจะไปเอาผ้ากาสาวพัสตร์ที่เก็บไว้ในห้อง
เห็นภรรยานอนหลับยังไม่ตื่นอยู่อย่างนั้น
น้ำลายก็ไหล นอนกรนอยู่
เขาก็พิจารณาว่า
เราเพียงยึดติดอยู่กับร่างกายของหญิงนี้
ซึ่งเหมือนกับซากศพ
ต้องให้เราต้องสึก
สึก ๆ บวช ๆ อยู่ถึง ๖ ครั้งแล้ว
เขาก็คว้าผ้ากาสาวพัสตร์พันตัวออกจากเรือน
แล้วก็บ่น ที่นี่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
ที่นี่น่าเบื่อหน่าย เป็นทุกข์
เห็นภรรยาตัวเองนอนเหมือนศพ
บ่นไป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์หนอ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
ส่วนแม่ยายซึ่งมีบ้านติด ๆ กัน
เห็นลูกเขยผลุนผลันลงจากบ้าน บ่นไปอย่างนั้น
มันเรื่องอะไรกัน
ก็มาขึ้นบ้านลูกสาว เห็นลูกสาวนอนอยู่
ตีลูกสาว ปลุกให้ตื่นขึ้นมา
มึงมัวมานอนอยู่ ผัวมึงไปแล้ว
เอาผ้าจีวรไปบวชอีกแล้ว
นางก็งัวเงียขึ้นมา
แม่ ปล่อยเถอะ ไม่ช้าเดี๋ยวก็มาอีก
ก็เห็นมาอยู่ตั้งหลายรอบ
ฝ่ายนายจิตตหัตถะเดินบ่นไป
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์หนอ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์หนอ
ปรากฏว่าสำเร็จเป็นโสดาบัน
โยมจะบ่นอะไรก็บ่นเรื่องไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เผื่อจะได้สำเร็จบ้าง
บ่นไปอย่างนี้ ก็พิจารณาสังขาร เบื่อหน่ายเหลือเกิน
สำเร็จเป็นโสดาบัน
พอไปขอบวช พระก็ไม่อยากบวชให้แล้ว
หัวเหมือนหินลับมีดแล้ว โกนหัวกันอยู่อย่างนี้
ท่านก็อ้อนวอน
บอกขอบวชอีกสักครั้งเถอะ
พระก็ยอมบวชให้
ท่านบวชแล้วท่านก็ปลีกไปปฏิบัติ
ท่านเป็นโสดาบัน ท่านก็ไปเพียรปฏิบัติ
ที่สุดท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์เลย
เป็นถึงขั้นเป็นพระอรหันต์
เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วท่านก็ไม่ได้ลาสิกขาแล้ว
ตอนนี้พระพวก ๆ ก็มาล้อ มาถาม
คุณจิตตหัตถะ ได้เวลาที่คุณจะสึกแล้วมัง
ทำไมยังเฉยอยู่เล่า
เพราะเห็นไม่กี่วันก็สึก
ท่านก็บอกว่า
ก่อน ๆ ที่ผมต้องสึกเพราะว่ายังข้องยังเกี่ยวอยู่
แต่บัดนี้ผมตัดได้แล้ว ตัดขาดแล้ว
พูดอย่างนี้มันปฏิญาณตัวเองเป็นพระอรหันต์นี่
พระก็เลยนำเรื่องนี้ไปฟ้องพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ก็ประชุมสงฆ์
เรียกพระจิตตหัตถะมาเข้าเฝ้า
แล้วพระองค์ก็รับรองให้ว่า
พระจิตตหัตถะบุตรของเรานี้
ที่ยังไปอย่างนั้นเพราะยังข้องอยู่
แต่บัดนี้เป็นผู้สิ้นแล้ว สิ้นกิเลสได้แล้ว รับรอง
พระก็คุยกันเรื่องนี้
คนมีบารมีที่จะเป็นพระอรหันต์
ทำไมต้องมาบวช ๆ สึก ๆ ถึงปานนี้
พระก็คุยกันวันต่อ ๆ มา
พระพุทธเจ้าเสด็จมา เห็นพระกำลังคุยกัน
ถาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอกำลังสนทนาอะไร
ข้าพระองค์กำลังสนทนาถึงพระจิตตหัตถะพระเจ้าข้า
ว่าบุคคลที่มีบารมีที่จะเป็นพระอรหันต์
แต่ทำไมต้องมาบวช ๆ สึก ๆ อยู่อย่างนี้
กิเลสเป็นของหยาบจริงหนอ
พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กิเลสเป็นของหยาบจริง
อย่าว่าแต่พระจิตตหัตถะเลย
แม้แต่บุรุษอาชาไนยอย่างเรา
ยังบวชสึก ๆ อยู่ถึงตั้ง ๖-๗ ครั้ง
พระองค์ก็ตรัสอย่างนั้น
ภิกษุทั้งหลายก็สนใจ
กราบทูลถามพระองค์เล่าเรื่องราวของพระองค์เอง
พระองค์ก็เล่าเรื่องในอดีตชาติพระองค์
พระองค์ก็เคยบวช ๆ สึก ๆ มาแล้ว
กิเลสเป็นของหยาบ
ท่านเคยบวชเป็นดาบส
สมัยนั้นไม่มีพุทธศาสนา
ก็สละเพศเอง บวชเป็นดาบส
ประพฤติวัตรปฏิบัติอยู่ในป่า ๘ เดือน
แต่พอถึงฤดูฝนมาก็สละเพศกลับมา
เอาลูกฟ่างลูกเดือยที่เก็บไว้ทะนานหนึ่ง
กับจอบเหี้ยน ๆ มาขุดดิน
โปรย ทำไร่ หว่านลูกเดือยข้าวฟ่าง
พอถึงเวลาก็เก็บเกี่ยว
แล้วก็เก็บลูกเดือยและข้าวฟ่างไว้ทะนานหนึ่ง กับจอบเหี้ยน ๆ
แล้วก็ไปบวชใหม่
พอบวชไปได้ ถึงเวลาได้ฤดูฝน
นึกถึงลูกเดือยข้าวฟ่างที่เก็บไว้กับจอบ
ก็สึกออกมาอีก มาทำไร่อีก
ก็เป็นอย่างนี้อยู่ ๖ ครั้ง
พอครั้งที่ ๖ ผ่านไป แล้วก็มาคิดว่า
เราต้องบวชสึก ๆ อยู่ถึง ๖ ครั้งแล้ว เพราะอะไร
เพราะเพียงแค่ลูกเดือยและข้าวฟ่างเพียงทะนานเดียว
กับจอบเพียงเหี้ยน ๆ เท่านี้หรือ
ทำให้เราต้องบวช ๆ สึก ๆ มา ๖ ครั้ง
อย่ากระนั้นเลย เอาไปทิ้งน้ำเถอะ
ก็เลยหอบเอาลูกเดือยข้าวฟ่างห่อผ้ามัดกับจอบไปที่ริมแม่น้ำ
หลับตา ควงจอบพ้นศีรษะแล้วก็เขวี้ยงไปในแม่น้ำ
พอถึงได้ระยะหนึ่งค่อยลืมตา
ที่ทำอย่างนั้นก็เพื่ออะไร
เพื่อจะให้จำไม่ได้ว่าเขวี้ยงมันจมไปตรงไหน
กลัวเดี๋ยวจะกลับมางมอีก ไม่ใช่อะไร
รู้ว่ามันจมตรงไหนเดี๋ยวมางม
หลับตาเขวี้ยงไปเลย
ก็เลยเปล่งว่า
ชนะแล้ว ชนะแล้ว เราชนะแล้ว
ปรากฏพระราชาซึ่งไปปราบกบฎมาหยก ๆ มาพักอยู่ ต้องการสรงน้ำ
ได้ยินเสียงผู้มากล่าวว่าชนะ ชนะแล้ว
พระราชาปกติใครมากล่าวอย่างนี้ไม่ได้
มันไม่มีใครจะมาเกินพระราชา
เราต้องเป็นผู้ชนะฝ่ายเดียว
ก็เลยเรียกตัวเข้าเฝ้า
ถามว่า ท่านมากล่าวอะไรว่าชนะ
อดีตพระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าชนะกิเลสตัวเอง
พระองค์นั้นชนะข้าศึกภายนอก
ชนะแล้วก็กลับแพ้ได้
แต่ข้าพระองค์ชนะข้าศึกภายในคือกิเลส
แล้วก็เลยแสดงธรรม
พระราชาเกิดศรัทธา สละบวชตาม
พระองค์ก็นำเรื่องนี้มาเล่าว่า
กิเลสมันเป็นของหยาบ
ขนาดพระองค์เป็นบุรุษอาชาไนย
สั่งสมบารมีที่จะเป็นพระพุทธเจ้า
ยังต้องบวช ๆ สึก ๆ ปานนั้น
ฉะนั้นโยมที่มาบวช ๆ สึก ๆ ก็ไม่แปลกอะไร
แต่ว่าเมื่อไรจะหลับตา เหวี่ยงที่เกาะติด ชนะแล้วบ้าง
ชิตังเม ชนะแล้ว
.............................
ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
*****
Cr.Fwd.line
อาสาสมัครจากต่างแดน รีน่า และ ซาร่า
โครงการสอนพูดภาษาอังกฤษ
โดยอาสาสมัครจากต่างประเทศ
รีน่า จากประเทศอังกฤษ
ซาร่า จากประเทศบราซิล
วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
ครั้งหนึ่ง การณปาลีพราหมณ์ถามสหายชาวพุทธชื่อปิงคิยานีว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระปัญญาเลิศล้ำเพียงใด ปิงคิยานีตอบว่า "ข้าพเจ้าเป็นใครกันเล่า จักอาจหาญล่วงรู้พระมหาปัญญาของพระบรมศาสดาได้ มีเพียงผู้อยู่ในระดับเดียวกับพระองค์เท่านั้นจะพึงรู้ได้"
"ช่างเป็นการสรรเสริญอันเลิศยิ่ง" การณปาลีกล่าว ปิงคิยานีจึงตอบว่า "พระบรมศาสดาได้รับการสรรเสริญจากบุคคลผู้พึงสรรเสริญ พระองค์ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"
เมื่อถูกคาดคั้นถึงเหตุแห่งความเลื่อมใสอันยิ่งในพระบรมศาสดา ปิงคิยานีตอบโดยยกอุปมา ๕ ข้อ ดังนี้
๑.เปรียบเสมือนบุคคลผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสอันเลวเหล่าอื่น ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเหล่าอื่น ฉันนั้น
๒.เปรียบเสมือนบุคคลผู้ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ พึงได้รวงผึ้ง เขาย่อมลิ้มรสหวานด้วยจิตเบิกบาน ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้วย่อมได้ความพึงพอใจ ได้ความสงบแห่งใจ ฉันนั้น
๓.เปรียบเสมือนบุคคลผู้ได้ไม้จันทน์หอม พึงได้ความชื่นใจในกลิ่นหอมอันดีอันแท้ ไม่ว่าจะสูดดมจากยอด จากลำต้น หรือจากราก ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดา ไม่ว่าจะเป็นครั้งใด ย่อมนำมาซึ่งปราโมทย์และโสมนัส ฉันนั้น
๔.เปรียบเสมือนบุคคลผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขาย่อมมลายไป ฉันนั้น
๕.เปรียบเสมือนบุคคลผู้เดินทางกลางแดดร้อนจนเหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย แล้วกระโจนลงในสระน้ำใสเย็น น่ารื่นรมย์ เขาย่อมระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงได้ ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ย่อมระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงได้ ฉันนั้น ฯ
ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ
*****
Cr.ครั้งหนึ่ง การณปาลีพราหมณ์ถามสหายชาวพุทธชื่อปิงคิยานีว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระปัญญาเลิศล้ำเพียงใด ปิงคิยานีตอบว่า "ข้าพเจ้าเป็นใครกันเล่า จักอาจหาญล่วงรู้พระมหาปัญญาของพระบรมศาสดาได้ มีเพียงผู้อยู่ในระดับเดียวกับพระองค์เท่านั้นจะพึงรู้ได้"
"ช่างเป็นการสรรเสริญอันเลิศยิ่ง" การณปาลีกล่าว ปิงคิยานีจึงตอบว่า "พระบรมศาสดาได้รับการสรรเสริญจากบุคคลผู้พึงสรรเสริญ พระองค์ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"
เมื่อถูกคาดคั้นถึงเหตุแห่งความเลื่อมใสอันยิ่งในพระบรมศาสดา ปิงคิยานีตอบโดยยกอุปมา ๕ ข้อ ดังนี้
๑.เปรียบเสมือนบุคคลผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสอันเลวเหล่าอื่น ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเหล่าอื่น ฉันนั้น
๒.เปรียบเสมือนบุคคลผู้ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ พึงได้รวงผึ้ง เขาย่อมลิ้มรสหวานด้วยจิตเบิกบาน ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้วย่อมได้ความพึงพอใจ ได้ความสงบแห่งใจ ฉันนั้น
๓.เปรียบเสมือนบุคคลผู้ได้ไม้จันทน์หอม พึงได้ความชื่นใจในกลิ่นหอมอันดีอันแท้ ไม่ว่าจะสูดดมจากยอด จากลำต้น หรือจากราก ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดา ไม่ว่าจะเป็นครั้งใด ย่อมนำมาซึ่งปราโมทย์และโสมนัส ฉันนั้น
๔.เปรียบเสมือนบุคคลผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขาย่อมมลายไป ฉันนั้น
๕.เปรียบเสมือนบุคคลผู้เดินทางกลางแดดร้อนจนเหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย แล้วกระโจนลงในสระน้ำใสเย็น น่ารื่นรมย์ เขาย่อมระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงได้ ฉันใด ผู้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาแล้ว ย่อมระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงได้ ฉันนั้น ฯ
ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ
****
Cr.https://www.facebook.com/100064337808864/posts/pfbid0kTUfHPCozpH1EPHoZGgioq8xUDaF75zQejnmm2Kt26aX7r1AzYT1p6TnH8kTakVwl/?mibextid=Nif5oz