หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ธรรมนำทาง...

(ภาพจากเพจ Buddha Isara)
*****
" ผู้ที่พูดว่าศาสนาไม่เกี่ยวกับการเมืองนั้น 
เป็นผู้ที่ไม่ทราบความหมายของคำว่า ศาสนา "
"สำหรับข้าพเจ้าแล้วการเมือง
ที่ปราศจากหลักธรรมทางศาสนา
เป็นเรื่องของความโสมม
ที่ควรสละละทิ้งเสียเป็นอย่างยิ่ง  
การเมืองเป็นเรื่องของประเทศชาติ 
และเรื่องที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพของประเทศชาตินั้น 
ต้องเป็นเรื่องของผู้มีศีลธรรมประจำใจ 
เพราะฉะนั้น เราจึงต้องเอาศาสนาจักร
ไปสถาปนาไว้ในการเมืองด้วย "(มหาตมะ คานธี)
*****
( จากหนังสือ  วาทะคานธี ..โดย กรุณา - เรืองอุไร กุศลาสัย)

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

..ดี..ชั่ว..

*****
..กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนภายหลัง กรรมนั้นดี..
บุคคลทำกรรมใดแล้ว 
เดือดร้อนร้อนภายหลังกรรมนั้นไม่ดี..(พุทธพจน์)
*****
การทำดี คือ การกระทำที่ประกอบด้วยคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา ความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อ ฯลฯ
การทำชั่ว คือ การกระทำที่ไร้คุณธรรม
*****
เสียงสรรเสริญก็ไม่ใช่เครื่องวัดความดีที่แน่นอนเสมอไป 
ในหมู่โจรย่อมสรรเสริญโจรที่เก่งกล้า
อันธพาลย่อมได้รับเสียงสรรเสริญจากกลุ่มอันธพาล
บัณฑิตย่อมได้รับเสียงสรรเสริญจากหมู่บัณฑิต
แต่ได้รับเสียงติเตียนจากหมู่คนพาล
*****
(จากหนังสือ หลักกรรม ฯ วศิน อินทสระ)
*****

..Whatever karma is done and there is no suffering later, that karma is good..

What karma has a person done?

Trouble after bad karma..(Buddhist saying)

*****

Doing good is an action that involves morality such as kindness, sacrifice, generosity, etc.

Doing evil is an action without morality.

*****

Praise is not always a sure measure of goodness.

Among thieves, there is praise for the brave thief.

A gangster will receive praise from a group of gangsters.

A graduate receives praise from the group of graduates.

but received criticism from the rascals.

*****

(From the book Principles of Karma by Wasin Inthasara)
*****

*****
กิเลส กรรม วิบาก (คลิก)

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ธรรมาธิปไตย


******
" เมื่อใดที่การปกครองเกิดความชั่วร้ายขึ้น
จนถึงกับทนไม่ไหว เมื่อนั้นมนุษย์ก็ต้องยอมเสียสละ 
แม้แต่เสรีภาพส่วนตัว 
เข้าต่อสู้ด้วยวิธีการของอหิงสา "มหาตมะคานธี
" When the administration become so evil as to be intolerable , a man sacrifices personal freedom to offer non-violent resistance to it."  Mahatma Gandhi
******



วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พุทธคุณ..ธชัคคสูตร

(ภาพจากอินเตอร์เนต)

******
 เอวัมพุทธัง สะรันตานัง  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่าน
ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว  ทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธ 
                                                พระธรรมและพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ 
ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา   ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
โลมะหังโส นะ เหสสะตีติฯ    ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มี ฯ
*******

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อหิงสา

(ภาพจากอินเตอร์เนต)

" อหิงสาเป็นวิถีทางเดียวเท่านั้นที่จะนำเราสู่เอกราช
คนเราอยู่ได้ด้วยการสร้างสรรค์
มิใช่ด้วยการฆ่าผู้อื่น "...มหาตมะ คานธี....

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

"ธรรม"ทำความกล้าหาญ...


*เวสารัชชกรณธรรม* ธรรมทำความกล้าหาญ
คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า
*ศรัทธา*ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในการดีที่ทำ
*ศีล*ความประพฤติถูกต้องดีงาม ไม่ผิดศีลธรรม
*พาหุสัจจะ*ความเป็นผู้ศึกษาเล่าเรียนมาก
*วิริยารัมภะ*ปรารภความเพียร การที่ได้ลงมือทำความเพียรพยายามในกิจนั้นๆอยู่แล้วอย่างมั่นคงจริงจัง
*ปัญญา*ความรอบรู้ เข้าใจชัดเจนในเหตุผล ดี  ชั่ว ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้วินิจฉัยและรู้ที่จะจัดการ
*****
(จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม)

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กุศลมูล


*กุศลมูล ๓* รากเหง้าของกุศล ต้นตอของความดี 
*อโลภะ* ความไม่โลภ ความคิดเผื่อแผ่ , จาคะ
*อโทสะ* ความไม่คิดประทุษร้าย , เมตตา
*อโมหะ* ความไม่หลง , ปัญญา
*****
(จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม)

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

"ธรรม"ทำให้งาม...

(ภาพจากอินเตอร์เนต)

* ขันติ* ความอดทน อดได้ทนได้เพื่อบรรลุความดีงาม
และความมุ่งหมายอันชอบ
*โสรัจจะ* ความเสงี่ยม  อัธยาศัยอันงาม
รักความปราณีตหมดจดเรียบร้อยงดงาม
*****
(จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม)
*****

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิปลาส

(ภาพจากอินเตอร์เนต)
วิปลาส หมายถึง ความรู้เห็นคลาดเคลื่อน
ความรู้เข้าใจผิดเพีัยนจากความเป็นจริง
วิปลาส มี ๓ ระดับ
*สัญญาวิปลาส* หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง
*จิตตวิปลาส* ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง
*ทิฏฐิวิปลาส* ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง
โดยเฉพาะเชื่อถือไปตามสัญญาวิปลาส
หรือจิตตวิปลาส
ฯ ล ฯ
(จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม)
******
                                 Why we are here..(คลิก)
                อิติปิโส (คลิก)



วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิบัติ


(ภาพจากอินเตอร์เนต)
        
วิบัติ หมายถึง ข้อเสีย   จุดอ่อน
ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่าง ๆ
ซึ่งไม่อำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี
แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล
ฯ ล ฯ

กาลวิบัติ หมายถึง กาลเสีย
เกิดอยู่ในสมัยที่โลกไม่มีความเจริญ
หรือบ้านเมืองมีภัยพิบัติ
ผู้ปกครองไม่ดี
สังคมเสื่อมจากศีลธรรม
มีการกดขี่เบียดเบียนกันมาก
ยกย่องคนชั่ว
บีบคั้นคนดี
ฯ ล ฯ
*****
(จาก  พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม..หัวข้อ "วิบัติ ๔ "..)

ธรรมคุ้มครองโลก (คลิก)

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

๑๔ กุมภา..มาฆะบูชา

(ภาพ เวฬุวัน ราชคฤห์ อินเดีย)

      ...พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในระหว่างจำพรรษาแรกที่นี่    พระองค์ทรงเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนและประทานอุปสมบทให้พุทธสาวกที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  เพื่อประกาศพระศาสนาต่อไป   เมื่อออกพรรษาแล้วพระพุทธองค์ได้เสด็จไปเมืองราชคฤห์ เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าพิมพิสารทรงถวายวัดเวฬุวันซึ่งถือว่าเป็นวัดแรกในพุทธศาสนา   ที่เมืองราชคฤห์นี้พระองค์ทรงได้สาวกที่สำคัญคือ พระสารีบุตร พระโมคคัญลานะและพระมหากัสปะ  ซึ่งเป็นชาวเมืองราชคฤห์
         ในระหว่างพรรษาที่ ๒ และพรรษาที่ ๓ ที่พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่เมืองราชคฤห์นี้ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ได้มีเหตุการณ์สำคัญที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุมมีองค์ ๔ คือ
         ๑.พระสาวก ๑,๒๕๐ องค์มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
         ๒.พระสาวกทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์
         ๓.พระสาวกเหล่านั้นล้วนบวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั้งสิ้น
         ๔.วันนั้นเป็นวันพระจันทร์เพ็ญเต็มดวงเสวยมาฆฤกษ์ เดือน ๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ
          พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ หรือ หัวใจพระพุทธศาสนา ซึ่งรวมคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ทั้งหมด มีใจความสำคัญดังนี้ คือ
         ๑.การไม่ทำบาปทั้งปวง
         ๒.การทำความดีให้ถึงพร้อม
         ๓.การทำจิตใจให้ผ่องใส
         วันเพ็ญกลางเดือนสามปีนี้ ตรงกับ วันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ....
               ...บุญรักษาทุกท่านครับ...




วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ธรรมคุ้มครองโลก


ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ไม่เดือดร้อน ไม่สับสนวุ่นวาย
ได้แก่
หิริ คือ ความละอายบาป ความละอายต่อการกระทำชั่ว
โอตตัปปะ คือ ความกลัวบาป ความเกรงกลัวต่อความชั่ว

(จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม)
******


วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เก็บมาฝาก...

......
(คลิกบนภาพเพื่อดูภาพขยายใหญ่ขึ้น)
......
......
......
......
......
......
......
......
......
......
.......

ขอบคุณครับ