หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ปัญญาญาณ

 


#ความรู้ที่ได้จากญาณ 
 เรียกในภาษาปรัชญาว่า
 Intuition Knowledge

 ปรัชญาสายนี้ถือว่า 
ความรู้ที่แท้จริงต้องได้จากญาณ
เป็นประสบการณ์ตรง
ด้วยตนเองทางฝ่ายจิต
..

 ส่วนความรู้จากเหตุผลนั้นไม่แน่นอน 

ตราบใดที่บุคคล
ยังต้องใช้เหตุผล
อยู่ในการแสวงหาความจริง

 แสดงว่าเขายังไม่พบความจริง 

เมื่อได้พบความจริงแล้ว
 เหตุผลเป็นสิ่งไม่จำเป็นอีกต่อไป 
..

อนึ่ง มีความจริงอยู่มากหลาย
ที่เอาเหตุผลไปจับไม่ได้  
ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล 

แต่รู้ได้ด้วยญาณเฉพาะตน 

อย่าว่าแต่เรื่องลึกซึ้งอะไรเลย 
แม้เรื่องหยาบๆ บางเรื่อง
ก็ยังอธิบายด้วยเหตุผล
ให้ใครเข้าใจไม่ได้
..

 ตัวอย่าง ก. กินมะม่วงเปรี้ยว 
รู้สึกเปรี้ยว ข. ให้ช่วยอธิบายว่า

เปรี้ยวเป็นอย่างไร 

 ก. ก็อธิบายไม่ได้

 ต่อเมื่อ ข. รับมะม่วงไปกินบ้าง
จึงรู้ว่าเปรี้ยวเป็นอย่างไร
 หรืออย่างน้อย ข. 
ก็ต้องเคยกินมะม่วงเปรี้ยวมาก่อน

จึงสามารถเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
ในเรื่องรสเปรี้ยว
..

 เรื่องนี้ฉันใด
 เรื่องลึกซึ้งเช่นนรกสวรรค์ 
หรือโลกทิพย์ก็ฉันนั้น

 อธิบายโดยเหตุผลได้ยาก
 แต่ท่านผู้รู้แล้วเห็นแล้ว
ก็นำสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นนั้น
มาบอกเล่าแก่เราทั้งหลาย
ผู้ยังไม่รู้ไม่เห็น
 ..

ขอชี้แจงไว้ในที่นี้ด้วยว่า 

คำ Intuition ที่ใช้ในที่นี้
มีคำแปลหลายอย่าง 

มีความหมายต่างกันไป
ตามสาขาวิชานั้นๆ 

 ตัวอย่างทางจิตวิทยา
 คำนี้หมายถึงไหวพริบ 

คือความสามารถรู้ได้ทันท่วงที
ว่าเมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าอย่างนี้

ควรจะทำอย่างไร 

มีความสามารถ
ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 

 ทางจริยศาสตร์ 
คำนี้หมายถึงความรู้สึกขึ้นมาเอง
ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรไม่ควร
...

 พวก Intuitionists 
ทางจริยศาสตร์คือพวกที่ถือว่า 
ความรู้สึกของบุคคลนั่นเอง
เป็นเครื่องตัดสินทางศีลธรรม
ว่าอะไรดี อะไรชั่ว
 อะไรควร อะไรไม่ควร

 เอาความรู้สึกของเรานั่นแหละ
เป็นเครื่องตัดสิน 
ไม่ต้องเอาอะไรอื่น
มาเป็นเครื่องตัดสิน
...

 ทฤษฎีนี้มีผู้คัดค้านมากเหมือนกัน 
โดยเฉพาะพวกเหตุผลนิยม 
ตัวอย่างเช่นคัดค้านว่า 

ความรู้สึกของคนป่า 
ย่อมแตกต่างกันมาก
กับความรู้สึกของผู้มีอารยธรรมดีแล้ว 
..

เมื่อเป็นดังนี้จะเอาความรู้สึก
ของแต่ละคน
เป็นเครื่องตัดสินศีลธรรม

ได้อย่างไร  ฯลฯ
 ..

แต่ Intuition ที่ใช้ในที่นี้

หมายถึง ญาณ
เช่นปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เป็นต้นของพระพุทธเจ้า 
มีความหมายลึกซึ้งกว่าปัญญา 
ถ้าเป็นความรู้ก็เป็นความรู้เหนือสามัญ
.. 

ขอสรุปไว้ที่นี้ทีหนึ่งก่อนว่า
 ทางได้มาซึ่งความรู้นั้น
มีอยู่หลายทาง 

ทางสำคัญที่สุดซึ่งคนทั่วไป
เข้าถึงได้โดยยากก็คือทางญาณ

 ญาณเช่นนี้เกิดขึ้น
แก่ผู้บำเพ็ญสมาธิและวิปัสสนาเท่านั้น 

หาเกิดขึ้นแก่คนธรรมดาไม่
.. 

ความรู้บางอย่างเป็นวิสัย
ของประสาทสัมผัส รู้ได้ด้วยผัสสะ
 
ความรู้บางอย่าง
เป็นวิสัยของเหตุผล
 รู้ได้ด้วยเหตุผล
 
ความรู้บางอย่างเป็นวิสัยของญาณ 
รู้ได้ด้วยญาณ หรืออภิญญา (ความรู้ยิ่ง)
...

"นรก สวรรค์ บุญ บาป
ในพระพุทธศาสนา"
ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ
เพจ อาจารย์วศิน อินทสระ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น