หน้าเว็บ
▼
วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563
เดินจิต
เดินจิตคืออะไร ?
คำว่าเดินจิต ก็คือการเจริญสติ
จนเข้าสู่สภาวธรรมต่างๆ
จนหลุดออกจากทุกข์ทั้งปวงได้
.
วิธีของการเดินจิตมาจากพระไตรปิฎก
ก็คือเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน
.
ลักษณะที่พระพุทธองค์ทรงสอน
จะเป็นเรื่องของการเดินสภาวธรรมต่างๆ
.
อย่างที่เรารู้จักพระสูตรหลักๆ
เช่น #อานาปานสติ16ขั้น
ก็คือการเดินเข้าสู่สภาวธรรมต่างๆ 16 ระดับ
ที่เกิดขึ้นจนหลุดออกจากทุกข์ทั้งปวง
.
หรือแม้กระทั่งใน #สติปัฏฐานสูตร
ก็เป็นบรรยายสภาวธรรม
.
หรือแม้กระทั่ง #อริยมรรคมีองค์8
สัมมาสติระลึกรู้ที่ถูกต้อง เข้าสู่
สัมมาสมาธิความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
.
สงัดจากกามและอกุศลธรรมเข้าถึงปฐมฌาน
สภาวะของปฐมฌานในพระพุทธศาสนา
ก็คือ #ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
.
ขณะที่เราทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมได้
เราจะพบว่ากามและอกุศลธรรมไม่ก่อตัวขึ้น
เป็นสภาวะปกติ มีความตั้งมั่นที่ถูกต้องอยู่
.
และก็จะทรงตรัสต่อไปว่า
เมื่อวิตกวิจารระงับไป
เหลือแต่ปีติ สุข เอกัคคตา
เข้าถึงทุติยฌาน
เป็นฌานภายในที่ผ่องใส
มีธรรมอันเอกปรากฏขึ้น
.
นั่นคือ เมื่อเราทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมได้ดี
จนเกิดความแผ่ซ่านทั่วทั้งตัว
ความแผ่ซ่านเป็นปีติที่เรียกว่าผรณาปีติ
เกิดจากความรู้สึกทั่วกาย
ปีติจะทำให้รู้สึกได้ทั่วกาย
.
ส่วนความสุขเบาสบายเกิดจากใจ
จะมีปีติแผ่ซ่านด้วย มีความสุขเบาสบายด้วย
และธรรมอันเอกคือความตื่นรู้จะเริ่มปรากฏขึ้น
ก็จะไล่สเตปไปอย่างนี้
.
จากนั้น เข้าถึงตติยฌาน
ก็ทรงตรัสไว้ว่า มีสุขด้วยนามกาย
เป็นฌานที่พระอริยเจ้าสรรเสริญว่า
เป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะมีอุเบกขา
.
สภาวะของฌานที่สาม
เพียงแค่เราอยู่กับความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปเรื่อยๆ
พอสติมีความละเอียดพอ
จะเกิดความสุขเบาสบาย
แล้วก็จะโปร่งโล่งเบาสบายขึ้นเรื่อยๆ
ความคิดปรุงแต่งหายไป
ประดุจสมองหายไป
จะเหลือแต่ความสุขเบาสบายที่ประณีตขึ้นเรื่อยๆ
.
มีแต่ดื่มด่ำกับความสุขเบาสบาย
แล้วจะรู้สึกถึงนามกายที่มันใสโปร่งเบาอยู่ภายใน
นั่นคือสภาวะของฌานที่สาม
.
ซึ่งสภาวะตรงนี้สติ สัมปชัญญะจะมีกำลังที่สูงมาก
และถ้าเราสามารถเข้าถึงจิตในจิตระดับนี้ได้
เราจะเห็นการเกิดดับของจิตในทุกๆขณะจิตได้
.
สติระดับนี้มีความละเอียดพอ
ที่จะเห็นการเกิดดับของจิตในทุกๆขณะจิตได้
.
ธรรมดาจิตมีความเกิดดับที่รวดเร็วมาก
ไม่สามารถนับได้
แต่ถ้าเราพัฒนาสติได้มีความละเอียดพอ
เราสามารถรู้เท่าทันการทำงานในทุกๆขณะจิตได้
.
แล้วจะนำไปสู่เรื่องของจิตตานุปัสสนา
รู้การทำงานของจิต ทั้งจิตตนและจิตท่าน
.
แล้วจะนำไปสู่เรื่องของวิชชาญาณต่างๆ
เรื่องของรูปนามที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
รูปนามใกล้ รูปนามไกล
รูปนามหยาบ รูปนามละเอียด
ก็สามารถรู้ได้...
อย่างที่ฝึก มีเด็กเล็กๆ อายุเพียงแค่ 10 ขวบ มาฝึกด้วย
ด้วยความที่เป็นเด็ก ใจใส ฝึกง่าย
ก็ฝึกเข้าถึงสภาวะโปร่ง เบาสบายตรงนี้ ได้ดี
สติมีความละเอียด
ฝึกไม่นานก็เข้าถึงสภาวะนี้ได้อย่างรวดเร็ว
เค้าสามารถเห็นการเกิดดับของจิต
ตรงนี้เป็นสิ่งที่เรียกว่า ธรรมารมณ์
มันจะผุดมาจากใต้ลิ้นปี่
ถ้าเราเคยเรียนมา ที่เรียกว่า อภิธรรม
ที่เรียกว่าจิตเกิดที่หทัยวัตถุ
จริงๆ มันเป็นกระแสธรรมารมณ์ ที่ผุดจากใต้ลิ้นปี่ขึ้นมา
ถ้าสภาวะเรา สติมีความโปร่ง โล่ง เบาสบายได้ดี
เราจะเห็นถึงกระแสตรงนี้ ที่มันผุดออกมาได้
มันจะเป็นกระแสพลังงานที่มันผุดขึ้นมาๆๆ ในทุกๆ ขณะจิตที่เกิดขึ้นมา
ความโลภ ความโกรธ ความหลง กิเลสต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นมา จะผุดมาจากตรงนี้ทั้งสิ้น
ถ้าใครเริ่มปฏิบัติ เริ่มละเอียดขึ้น จะรู้สึกถึงกระแสการทำงานตรงนี้ได้
และตรงนี้มันสามารถในเรื่องของการเรียนรู้ ธาตุขันธ์ต่างๆ ได้ด้วย
อย่างที่สอนเด็กคนนี้ไป ก็คือ ให้เค้านำไปใช้ในการเรียน
เพราะว่า ฝึกมันสามารถดึงขันธ์ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันมาได้
เค้าก็นำไปใช้ในการสอบจริง
เวลาเค้าไปสอบจริง เค้าลืมข้อสอบ
เค้าลืมสูตร วิชาคณิตศาสตร์ที่เค้าเรียนมา
แล้วเค้าจำไม่ได้
เค้าก็อยู่ในระดับตรงนี้ เค้าสามารถเรียก ขันธ์ที่เป็นอดีต สัญญาความจำอันนั้นกลับมาใหม่ได้
ทำให้เค้าสอบได้
เพราะฉะนั้นการพัฒนาสติ เป็นประโยชน์เกื้อกูลกับชีวิตเราในทุกๆ เรื่องได้เลย
ตรงนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง รูปนามใกล้ รูปนามไกล รูปนามหยาบ รูปนามละเอียด รูปนามอดีต รูปนามอนาคต รูปนามปัจจุบัน
มันสามารถเรียนรู้ได้ทั้งหมด
ผู้ที่พัฒนาสติเข้าถึงความละเอียดระดับนี้
นอกจากจะมีความสุขที่ประณีตมากๆ แล้ว
ก็จะมีขีดความสามารถพิเศษต่างๆ ในการรับรู้จิตตน
รับรู้จิตผู้อื่น
รับรู้กระแสพลังงานต่างๆ
มันจะเป็นสิ่งที่ดีไหม ถ้าเราสามารถรับรู้กระแสคนได้ว่า คนนี้เราควรยุ่ง หรือ ควรไม่ยุ่ง
อย่างบางทีเราดูหน้า เราไม่รู้ใจ ว่าเค้าคิดดี หรือคิดไม่ดีกับเรา
แต่กระแสมันจะฟ้องเลย
กระแสจิตมันจะเป็นคลื่นพลังงานที่ส่งออกมาก่อนเลย
เราจะรู้ได้เลยว่า คนนี้เราควรยุ่ง หรือ เราไม่ควรยุ่ง
หรือ เราควรให้ความไว้วางใจอย่างไรบ้าง
เพราะฉะนั้น สติ มันเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง แล้วมันทำให้เราไปพัฒนาชีวิตเราได้เยอะมากในทุกๆเรื่อง
สติระดับนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่เกินวิสัย
เพียงแค่โยมทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปเรื่อยๆ
จะสามารถเข้าถึงสภาวะโปร่ง เบาสบายได้ในเวลาไม่นาน
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
******
Cr.Fwd.line
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น