หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มานะ...


  ...มานะ เป็นกิเลสเด่นนำเนื่องกันและคู่กันกับตัณหา เป็นแรงขับดันให้ปุถุชนทำการต่าง ๆ ก่อความขัดแย้ง ปัญหาและทุกข์นานา แม้หากรู้จักใช้ จะปลุกเร้าให้เบนมาเพียรพยายามทำความดีได้ ก็แฝงปัญหาและไม่ปลอดทุกข์ จึงต้องมีการศึกษา เริ่มแต่ฝึกวินัยให้มีศีลที่จะควบคุมพฤติกรรมไว้ในขอบเขตแห่งความสงบเรียบร้อยไม่เบียดเบียนกันแล้วพัฒนาจิตปัญญา ให้เจริญฉันทะขึ้นมาเป็นแรงขับเคลื่อนแทนที่ตัณหาและมานะ เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ ถึงจะยังมีมานะอยู่อย่างละเอียดจนเป็นพระอนาคามี ก็จะแทบไม่มีโทษภัย  จนกว่าจะพ้นจากมานะเป็นอิสระสิ้นเชิง เมื่อบรรลุอรหัตถผล ซึ่งจะเป็นอยู่ด้วยปัญญาบริสุทธิ์สืบไป..
     *****
    มานะ  :  ความถือตัว,ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เป็น สังโยชน์เบื้องสูง พระอรหันต์ จึงจะละได้
    มานะ ๓  :  ๑. มานะ ว่า "เราเท่ากับเขา "  ๒. อติมานะ ว่า "เราดีกว่าเขา" ๓.โอมานะ ว่า " เราเลวกว่าเขา "
    อธิมานะ : ความสำคัญตนเกินความจริง ความสำคัญผิด เช่น ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบในระดับหนี่ง ซึ่งที่แท้ยังเป็นปุถุชนแต่สำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์หรือพระอริยะ
    อัสมิมานะ : ความถือตัว โดยมีความยึดมั่นสำคัญหมายในขันธ์ ๕ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นตน
    มิจฉามานะ : ความถือตัวผิดโดยหยิ่งผยองลำพองตนในความยึดถือหรือความสามารถในทางชั่วร้าย
    อวมานะ : การถือตัวกดเขาลง ซึ่งอาการลบหลู่ไม่ให้เกียรติ ทำให้อับอายขายหน้า ไม่แยแส ไร้อาทร เช่น ผู้มีกำลังอำนาจที่ทำการขู่ตะคอก ลูกที่เมินเฉยต่อพ่อแม่
   สัมมานะ : การนับถือยกย่อง ให้เกียรติแก่ผู้มีคุณความดีโดยเหมาะสมอย่างจริงใจ
(ในภาษาไทย มานะมีความหมายเพี้ยนไปเป็นว่า เพียรพยายาม ขยันมุ่งมั่น )
*****
(จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต)
*****
ทำให้ไม่มีตัวเราได้..วิเศษสุด (คลิก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น