หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แอ่วเมืองเหนือ(๑)


เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้รับภารกิจเป็น"พลขับรถ".. เดินทางไปเชียงใหม่ครับ..ตั้งชื่อบันทึกว่า"แอ่วเมืองเหนือ"คงจะไม่ถูกต้องนัก...เอาเป็นว่าขอ"แอ่ว"ไปด้วยก็แล้วกันเมื่อโอกาสอำนวย....ตั้งใจไว้คือหากมีเวลาก็จะไปเยี่ยมชม.."วัง"กับ "วัด"เก่าๆในอดีตนะครับ.....เราออกเดินทางแต่เช้ามืดไปกันเรื่อย ๆแบบสบายๆ แวะพักไปตามทาง  ประมาณเที่ยงก็ถึงเกาะคา ลำปาง ขอเก็บภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาฝากครับ....พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

สถานที่ตั้ง พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งใหม่นี้ตามประวัติศาสตร์ เคยเป็นเส้นทางเดินทัพของพระองค์ เมื่อครั้งยกทัพไปตีพม่าที่เมืองหาง ก่อนเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง และได้อัญเชิญเคลื่อนย้ายพระบรมศพจากเมืองหาง ผ่านเมืองเชียงใหม่ เมืองหริภุญชัย ข้ามเทือกเขาขุนตาล ห้างฉัตร และเกาะคา ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง สบปราบ ทุ่งเสลี่ยม สุโขทัย เข้าสู่กรุงศรีอยุธยา...พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นรูปพระองค์ท่านทรงม้าศึก รายล้อมด้วยทหารเอก ๙ นาย ทางด้านซ้ายของพระองค์มี ๖ นายคือ  เจ้าพระยาสีหราชเดโชชัย ยืนถือดาบคนแรก  คนที่สองเจ้าพระยาสุโขทัย ยืนด้านในตรงขาหลังของม้าทรง คนที่สาม พระราชมนู ยืนด้านนอกถือปืนยาว คนที่สี่ เจ้าพระยาจักรี ยืนสวมหมวกด้านในต่อจากเจ้าพระยาสุโขทัย คนที่ห้า พระชัยบุรี ยืนถือดาบและโล่ห์  คนที่หกพระยาท้ายน้ำ ยืนถือหอก...


ส่วนทางด้านขวาของพระองค์ มี ๓ นาย คนแรกคือ พระยาศรีไสยณรงค์ สวมหมวกถือดาบ คนที่สองคือ พระยาราชฤทธานนท์ ยืนถือหอก คนที่สามคือ พระอมรินทราฤาไชย ยืนถือดาบ  ..

        สำหรับผมแล้วถือว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นรูปพระองค์ท่านทรงม้าศึกกับทหารเอก ๙ นาย  พระบรมรูปของพระองค์ท่านที่ทรงม้าศึกจะมีที่อยุธยาอีกแห่งหนึ่ง...



พระบรมรูปที่วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา  ทรงประทับนั่งหลั่งทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพ


พระบรมรูปที่ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พิษณุโลก ทรงประทับยืนหลั่งน้ำทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพ



พระบรมราชานุสาวรียสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี......

....ครับหลังจากแวะสักการะพระองค์ท่านแล้ว..ก็ขออนุญาตเดินทางต่อครับ..ขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่านครับ...

ขอบคุณข้อมูล จาก FB กลุ่มจัดทำหนังสือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นครลำปาง

11 ความคิดเห็น:

  1. วิเชียร มามีเกตุ 944113 กรกฎาคม 2555 เวลา 19:53

    เอ...แล้วไอ้เสมามันไปยืนอยู่ตรงไหน...เห็นมั้ย??

    ตอบลบ
  2. ทหารเอกทั้ง ๙ นาย
    พระยาสีหราชเดโช
    ปรากฏนามในพระไอยการ ตำแหน่งนาพลเรือน ในกฎหมายตราสามดวงจุลศักราช ๑๑๖๖ ว่า “ออกญาศรีราชเดโชไชยอะไภยพิธียปรากรมกาหุ” ส่วนในพระราชพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา เรียกว่า “พระยาศีราชเดโช” เป็นกองหน้าในครั้งสงคราม ยุตธหัตถี พ.ศ.๒๑๓๕
    เจ้าพระยาสีหาราชเดโชชัย ยืนถือดาบในตำแหน่งคนแรกด้านซ้ายของพระหัตถ์ ท่านมีความโดดเด่นด้านการรบ เป็นกองหน้าในสงครามยุทธหัตถี
    ปรากฏนามในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ในกฎหมายตราสามดวงจุลศักราช ๑๑๖๖ ว่า “ออกญาศรีราชเดโชไชยอะไภยพิรียปรากรมภาหุ” ส่วนในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเรียกว่า “พระยาศรีราชเดโช” และได้ปรากฏตัวในเหตุการณ์ต่างๆได้แก่
    - เหตุการณ์พระยาละแวกแต่งตั้งเจ้าฟ้าทะละหะ,พระยาเดโช,พระยาราชนายก,พระยามไมตรีและพระยาแสนท้องฟ้ามาตีหัวเมืองฝั่งตะวันออกในปี พ.ศ. ๒๑๒๙ ขณะที่กรุงศรีอยุทธยามีศึกติดพันกับหงสาวดี พระยาสีหราชเดโชชัยได้รับพระราชทานกระแสรับสั่งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเขมรที่เมืองนครพร้อมด้วยพระยาศรีไสยณรงค์
    - เป็นกองหน้าในครั้งสงครามยุทธหัตถี พ.ศ.๒๑๓๕
    - ในศึกพระเจ้าแปร พ.ศ.๒๑๓๗ เป็นกองหน้าถือพล ๕,๐๐๐ คน ยกทัพไปสุพรรณบุรี
    - ในศึกตีเมืองละแวก (ครั้งที่ ๒) พ.ศ.๒๑๓๗ เป็นนายกองคุมไพร่พลล้อมเมืองละแวกทางทิศใต้
    - ในเหตุการณ์พระยาหัวเมืองเหนือก่อจลาจล ประมาฯปี พ.ศ.๒๑๔๒-๒๑๔๓ สมเด็จพระเอกทาศรถ พระอนุชาธิราช รับสั่งให้พระยาสีหราชเดโชชัยแต่งข้าหลวงไปประจำยังเมืองของพระยาหลวงเมืองน่าน,พระยาเชียงของ,พระยาพยาก,พระยาเมืองยอง,พระยาขวาและหัวเมืองทั้งหมด

    ตอบลบ
  3. เจ้าพระยาสุโขทัย
    ปรากฏนามในพระไอยการเก่า ตำแหน่งนาหัวเมืองฉบับอยุธยา ของหอพระสมุด วชิรญาญ ว่า “เจ้าพระยาศรธรรมาโศกราชชาติภักดีบดินทรสุรินทรฤาไชยอภัยพิธีปรากรมพาหุ เจ้าเมืองศุโขทัย” เป็นหนึ่งในสักขีพยานในพระราชพิธีหลั่งน้ำทักษิโณทก
    เจ้าพระยาสุโขทัย ยืนในตำแหน่งคนที่ ๒ ตรงกับขาหลังซ้ายของม้าทรง ท่านร่วมรบกับพระราชมนูในสงครามพระเจ้าเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒
    ปรากฏนามในอัยการเก่าตำแหน่งนาหัวเมืองฉบับอยุธยา ของหอพระสมุดวชิรญาญว่า “เจ้าพระยาศรีธรรมาโศราชชาติภักดีบดินทรสุรินทรฤาไชยอภัยพิรียบรากรมพาหุเจ้าเมืองสุโขทัย “ปรากฏตัวในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ในเหตุการณ์ต่างๆ ดังนี้
    -ปี พ.ศ.๒๑๒๘ พระเจ้านันทบุเรงมีพระราชบัญชาให้พระยาพสิมยกทัพสมทบกับพระเจ้าเชียงใหม่ลงมาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งนั้นพระยาพสิมยกลงมาแต่เพียงทัพเดียวจึงถูกทัพเรือเจ้าพระยาจักรีตีแตกพ่ายไปตั้งรับอยู่บนเขาพระยาแมน สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงมีพระราชบัญชา ให้เจ้าพระยาสุโขทัยเป็นแม่ทัพไปตีทัพพระยาพะสิมซ้ำแตกกระจัดกระจายไปถึงกาญจนบุรี
    - เป็นหนึ่งในสักขีพยานในพระราชพิธีหลั่งน้ำทักษิโณทกตั้งสีมาจารึกเพื่อเป็นราชไมตรีของกรุงศรีอยุธยา และกรุงระแวก ครั้งสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ณ ตำบลสะเกศ ในปี พ.ศ.๒๑๒๘
    - รับพระราชบัญชาให้เป็นนายทัพถือพลไปล่อทัพพระเจ้าเชียงใหม่พร้อมกับพระราชมนู ในสงครามพระเจ้าเชียงใหม่(ครั้งที่ ๒) สมรภมิป่าจิก-ป่ากระทุ่มปี พ.ศ. ๒๑๒๘
    ราชทินนาม “เจ้าเมืองสุโขทัย” ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาในนาม “พระยาสุโขทัย” ซึ่งสันนิษฐานว่าจะเป็นคนละคนกันกับ “เจ้าพระยาสุโขทัย” ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นโดยพระยาสุโขทัย ได้ร่วมทัพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชา ไปรบกับพระยาอ่อน ณ ตำบลแสนสโทง ตามคำร้องของพระศรีสุพรรมาธิราชกษัตริย์ละแวก ประมาณปี พ.ศ.๒๑๔๗

    ตอบลบ
  4. พระราชมนู
    เป็นทหารเอกคู่พระทัยที่มีความสามารถมากของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปรากฎนามในพระไอยการ ตำแหน่งนาหัวเมืองในกฎหมายตราสามดวง จุลศักราช ๑๑๖๖ ว่า “หลวงราชมนูเจ้ากรมกองชนะ” ต่อมาทรงแต่งตั้งให้พระราชมนูเป็นเจ้าพระยามหาเสนาบดีศรีสมุหพระกลาโหม
    พระราชมนู ยืนถือในตำแหน่งคนที่ ๓ ด้านหน้าเจ้าพระยาสุโขทัย ท่านร่วมรบเจ้าพระยาสุโขทัยในสงครามพระเจ้าเชียงใหม่ครั้งที่ ๒
    เป็นทหารเอกคู่พระทัยที่ทีความสามารถมากของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปรากฏนามในพระอัยการตำแหน่งนาหัวเมือง ในกฎหมายตราสามดวง จุลศักราช ๑๑๖๖ ว่า “หลวงราชมณู เจ้ากรมกองชนะ” ปรากฏตัวในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาในเหตุการณ์ต่างๆดังนี้
    -ในปี พ.ศ.๒๑๒๘ พระยาสิมถูกทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่าย ทัพพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งยกมาไม่ทันกำหนดเพิ่งจะยกทัพมาถึงเมืองชัยนาท พระเจ้าเชียงใหม่สำคัญว่าทัพพระยาสิมยังไม่แตกพ่าย จึงส่งไชยกะยอสู และนันทกะยอสูลงมาที่บางพุทรา สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้พระราชมนูยกพลทหารอาสา ๓,๐๐๐ คน ไปตีทัพไชยกะยอสู และนันทกะยอสู จนแตกพ่ายขึ้นไปจนถึงทัพใหญ่ที่เมืองชัยนาท พระเจ้าเชียงใหม่เห็นดังนั้นจึงเลิกทัพกลับไปเมืองเชียงใหม่
    - พ.ศ. ๒๑๒๘พระเจ้าเชียงใหม่ได้รับพระราชบัญชาจากพระเจ้านันทบุเรง ให้ยกพลเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งเป็นการแก้ตัวในศึกคราวที่แล้ว ในสงครามพระเจ้าเชียงใหม่ครั้งที่ ๒ นี้ พระราชมนูได้รับพระราชบัญชาจากสมเด็จพระนเรศวรให้ยกพล ๑๐,๐๐๐ คนไปล่อทัพพระเจ้าเชียงใหม่แต่ไม่ยอมล่าถอย จนสมเด็จพระนเรศวรต้องส่งม้าเร็วซึ่งก็คือ จะหมื่นทิพรักษา ด้วยพระราชกระแสรับสั่ง ไปตรัสคาดโทษว่า “ถ้ายังขัดมิถอยให้นำศีรษะลงมา” พระราชมนูจึงได้ถอยทัพลง ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรใช้ยุทธวิธีตีขานบทัพพระเจ้าเชียงใหม่แตกพ่ายไป
    -ในสงครามยุทธหัตถี พ.ศ.๒๑๓๕ เป็นแม่กองคุมกองกลองชนะซ้ายขวาข้างละ ๕๐๐ คน
    เข้าร่วมรบ
    - ในศึกตีเมืองละแวก (ครั้งที่ ๑) ปี พ.ศ.๒๑๓๖ พระราชมนูได้รับพระราชบัญชาจากสมเด็จพระนเรศวรให้เป็นทัพหน้า แต่เสียทีถูกทัพเขมรตีแตกพ่ายลงมาถึงทัพหลวง สมเด็จพระนเรศวรพิโรธจะลงพระราชอาญาถึงชีวิต แต่สมเด็จพระเอกทศรถพระอนุชาธิราชทูลขอเอาไว้ โดยใช้ให้ไปตีเมืองปัตตอง (พระตะบอง) และเมืองโพธิสัตว์แทนเพื่อเป็นการไถ่โทษ ในศึกครั้งนั้นพระราชมนูตีทุ่งสองเมืองได้สำเร็จ ก่อนสมเด็จพระนเรศวรจะรับสั่งให้ยกทัพกลับพระนครฯ
    - หลังศึกตีเมืองละแวก (ครั้งที่ ๒) ในปี พ.ศ. ๒๑๓๗ สมเด็จพระนเรศวรได้โปรดฯ แต่งตั้งให้พระราชมนูเป็นเจ้าพระยามหาเสนาบดีศรีสมุหพระกลาโหม เพื่อเป็นบำเหน็จความดีความชอบ ทรงพระราชทานพานทอง น้ำเต้าทอง เจียดซ้ายขวา กระบี่ ฝวักทองและเครื่องอุปโภคต่างๆ

    ตอบลบ
  5. เจ้าพระยาจักรี
    ปรากฏนามในพระไอยการเก่า ตำแหน่งนาพลเรือน ในกฎหมายตราสามดวงจุลศักราช ๑๑๖๖ ว่า “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีอะไภยพิธีปรากรมกาหุ” เป็นปีกซ้ายทัพหลวง ในสงครามยุทธหัตถี
    เจ้าพระยาจักรี ยืนสวมมาลา ในตำแหน่งคนที่ ๔ ด้านซ้ายมือเจ้าพระยาสุโขทัย เป็นแม่ทัพเรือทำศึกกับพระยาพสิม
    ปรากฏนานในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนในกฎหมายตราสามดวง จุลศักราช ๑๑๖๖ ว่า “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษมุหนายอัครมหาเสนาบดีอะไภจพิรีปรากรมภาหุ” ปรากฏตัวในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ในเหตุการณ์ต่างๆ ดังนี้
    -ครั้งศึกพระยาพสิม พ.ศ. ๒๑๒๘ได้รับพระราชบัญชาเป็นแม่ทัพเรือคุมไพร่พลไปรับศึกพระยาพสิมที่เมืองสุพรรณบุรี ศึกครั้งนั้นทัพพระยาพสิมถูกตีแตกพ่ายไปจนถึงตำบลเขาพระยาแมน
    -เป็นปีกซ้ายทัพหลวงในสงครามยุทธหัตถี พ.ศ.๒๑๓๕ และเป็นหนึ่งในแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทัน
    - ประมาณปี พ.ศ.๒๑๔๒ เจ้าพระยาจักรีรับพระราชบัญชา ให้เป็นแม่กองคุมไพร่พลพร้อมกับเจ้าฟ้าแสนหวี ไปทำนาสร้างยุ้งฉางที่เมืองเมาะลำเลิง เพื่อใช้เป็นเสบียงในการตีหงสาวดีในครั้งนั้นพระเจ้าตองอูปลุกปั่นชาวมอญจนเกิดจลาจล เจ้าพระยาจักรีไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ สมเด็จพระนเรศวรพิโรธทรงตรัสคาดโทษไว้และเป็นแม่ทัพตีเมืองเมาะตะมะ เมื่อตีได้พระองค์จึงมีพระราชบัญชาให้เจ้าพระยาจักรีคงอยู่ ณ เมืองเมาะลำเลิง

    ตอบลบ
  6. พระชัยบุรี หรือเจ้าพระยาสุรสีห์พิทัษณุวาธิราช
    เป็นทหารเอกคู่พระทัย ที่มากด้วยความสามารถและประสบการณ์ รับราชการการสนองพระเดชพระคุณด้วยความสื่อสัตย์ จงรักภักดีถึงขั้นได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่เสมอ บรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายได้รับการ โปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช เจ้าเมืองพิษณุโลก อันเป็นหัวเมืองเหนือชั้นเอก รองจากกรุงศรีอยุธยาราชธานี
    พระชัยบุรี ยืนถือโล่ ในตำแหน่งคนที่ ๕ ด้านซ้ายพระราชมนูท่านได้รับไว้วางพระราชหฤทัย เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เสมอ
    เป็นทหารเอกคู่พระทัย ที่มากด้วยความสามารถและประสบการณ์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ถึงขั้นได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่เสมอ บรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายได้รับการ โปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช เจ้าเมืองพิษณุโลกอันเป็นหัวเมืองชั้นเอก รองจากกรุงศรีอยุธยาราชธานี นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่เปรียบมิได้ พวกเราลูกหลานเผ่าไทยขอน้อมรำลึก และสักการะในคุณงามความดีของท่าน และเหล่านักรบผู้กล้า ที่มีคุณูปการต่อชาติบ้านเมืองตลอดชั่วนิรันดร์
    จากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์ พระชัยบุรี เป็นทหารเอกคู่พระทัยรุ่นแรก ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงไว้วางใจพระราชหฤทัย และนับถือน้ำใจมากที่สุด รับราชการจนมีตำแหน่งสูงสุดของเมืองพิษณุโลก เดิมชื่อ “ดวง” เป็นชาวเมือง สวางคบุรี (แขวงเมืองพิชัย) บรรรดาศักดิ์เริ่มแรกในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เป็นขุนเดชพระเวทย์แสนศึกสู้ รับราชการจนมีความชอบเป็น ออกพระชัยบุรี,พระชัยบุรี,เจ้าเมืองชัยบาดาล,พระยาชัยบูรณ์ บรรดาศักดิ์สุดท้ายคือ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช ผู้ดำรงตำแหน่ง เจ้าเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ.๒๑๓๖ ชอบอนุรักษ์ไก่ชนพันธ์เขียวพาลี และปรากฏนามในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ในกฎหมายตราสามดวง จุลศักราช ๑๑๖๖ ว่า “เจ้าพญาสุรศรีพิศมาธิราชชาติพัทยาธิเบศวราธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ เมืองพิษณุโลกเอกอุ”

    ตอบลบ
  7. พระยาท้ายน้ำ
    ปรากฏนามในพระไอยการ ตำแหน่งนาหัวเมือง ในกฎหมายตราสามดวง จุลศักราช ๑๑๖๖ ว่า “ออกพญาศรีราชเดชไชยท้ายน้ำอะไภยพิธรยปรากรมภาหุ” เป็นกองหลังในสงครามยุทธหัตถี
    พระยาท้ายน้ำ ยืนถือดาบในตำแหน่งคนที่ ๖ ด้านหลังซ้าย ตรงหางม้าทรง ท่านเป็นกองหลังในสงครามยุทธหัตถี
    ปรากฏนามในพระไอยการตำแหน่งนาหัวเมืองในกฎหมายตราสามดวงจุลศักราช ๑๑๖๖ ว่า ออกพญาศรีราชเดชไชยท้ายน้ำอะไภยพิริยปรากรมภาหุ” ปรากฏตัวในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาในเหตุการณ์ต่างๆได้แก่
    -เป็นกองหลัง ในสงครามยุทธหัตถี พ.ศ.๒๑๓๔
    -ในศึกตีเมืองละแวก(ครั้งที่๒)พ.ศ.๒๑๓๗ เป็นนายกองคุมไพร่พลล้อมเมืองละแวก ทางทิศตะวันออก
    -ในศึกตีเมืองตองอู พ.ศ.๒๑๔๒ เป็นนายกองคุมไพร่พลล้อมเมืองตองอูทางทิศไต้
    -เป็นหนึ่งในข้าราชการบริหารที่ได้ตามเสด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชาธิราชไประงับเหตุพระรามเดโชและท้าวพระยาหัวเมืองเหนือก่อจลาจลกระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้าเชียงใหม่

    ตอบลบ
  8. พระยาศรีไสยณรงค์ หรือ “พระศรีถมอรัตน์”
    เป็นทหารเอกคู่พระทัยรุ่นแรกๆ ที่สมเด็จพระนเรศวร ขึ้นครองราชย์ ร่วมรบกับพระองค์หลายเหตุการณ์ หลังจากศึกยุทธหัตถีทรงตั้งให้ “พระยาศรีไสยณรงค์” ครองเมืองตะนาวศรี และพระยาศรีไสยณรงค์นี้คือ “พระศรีถมอรัตน์”
    พระยาศรีไสยณรงค์ หรือ “พระศรีถมอรัตน์” ยืนถือดาบ ทางด้านขวาพระหัตถ์ เป็นคนแรก ท่านเป็นทหารเอกรุ่นแรกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    เป็นทหารเอกคู่พระทัยรุ่นแรกๆ ที่สมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ ร่วมรบกับพระองค์หลายเหตุการณ์หลังจากศึกยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธที่แม่ทัพนายกองของพระองค์ตามเสด็จไม่ทัน หากเพราะพระมหาอุปราชมีเลือดขัติยะสูงออกมารบด้วยคำท้าของสมเด็จพระนเรศวรที่ตรัสว่า “เจ้าพี่ จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้ทำไมเชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกันให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้าที่จะชนช้างได้อย่างเราจะไม่มีแล้ว”
    พระองค์ก็คงจะสวรรคตลงกลางวงล้อม พระองค์หมายจะประหารชีวิตเหล่านั้น แต่มีพระนพรัตน์วัดป่าแก้วได้ทูลขอชีวิตไว้ พระนเรศวรจึงมีบัญชาให้แม่ทัพเหล่านั้นทำคุณไถ่โทษโดยต้องตีเมืองตะนาวศรีและทวายให้จงได้ แม่ทัพทั้ง ๖ ท่านก็สามารถเอาเมืองทั้งสองมาถวายพระนเรศวรตามพระบัญชาแก้ตัวได้ พระนเรศวรทรงตั้งให้ “พระยาศรีไสยณรงค์” ครองเมืองตะนาวศรี และพระยาศรีไสยณรงค์นี้ก็คือ “พระศรีถมอรัตน์” ราวปี พ.ศ.๒๑๓๙ กรมการเมืองกุยบุรีแจ้งเข้าไปว่า พระยาศรีไสยนรงค์เป็นกบฏ สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้ สมเด็จพระเอกาทศรถยกทัพไปปราบปราม และตั้งพระยาราชฤทธานนท์เป็นเจ้าเมืองตะนาวศรีแทน

    ตอบลบ
  9. พระยาราชฤทธานนท์

    ปรากฏในพระไอยการเก่า ตำแหน่งนาหัวเมือง ฉบับของหอพระสมุดวชิรญาญ ว่า “พระราชฤทธานนท์พหลภักดี”
    พระยาราชฤทธานนท์ ยืนถือหอกในตำแหน่งด้านขวาของพระหัตถ์เป็นคนที่สอง ท่านเป็นยกบัตรในทัพพระยาศรีไสยณรงค์
    ปรากฏนามในพระไอยการเก่า ตำแหน่งนาหัวเมืองฉบับกรุงศรีอยุธยาของหอสมุทรวชิรญาณว่า “พระราชฤทธานนท์พหลภักดี” ปรากฏตัวในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาในเหตุการณ์ต่างๆดังนี้
    - ได้รับพระราชบัญชาการจากสมเด็จพระนเรศวรให้เป็นยกบัตรในทัพพระยาศรีไสยณรงค์ คุมไพร่พลไปรับทัพสมเด็จพระมหาอุปราชาที่ตำบลทุ่งหนองสาหร่ายในปี พ.ศ.๒๑๓๕
    - ประมาณ ปี พ.ศ.๒๑๓๖ รับพระราชบัญชาจากสมเด็จพระนเรศวรให้ยกพล ๕,๐๐๐ คน ไประงับเหตุวิวาทระหว่างเมืองเชียงแสนและล้านช้าง เมื่อพระยาหลวงเมืองแสนแม่ทัพล้านช้างทราบข่าวจึงยกทัพกลับไป พระยาราชฤทธานนท์จึงให้พระรามเดโชอยู่ช่วยราชการพระเจ้าเชียงใหม่ ณ เมืองเชียงแสน ตามพระราชกระแสรับสั่งของสมเด็จพระนเรศวร
    - ประมาณปี พ.ศ.๒๑๓๘ กรมการเมืองกุยบุรีแจ้งเข้าไปว่า พระยาศรีไสยณรงค์ (ในขณะนั้นเรียกพระยาตะนาวศรี) เป็นกบฏสมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดฯ ให้สมเด็จพระเอกาทศรถ ยกทัพไปปราบปรามและตั้งพระยาราชฤทธานนท์ เป็นเจ้าเมืองตะนาวศรีแทน

    ตอบลบ
  10. พระอมรินทรฤาไชย
    เจ้าเมืองราชบุรี เปรียนเสมือนทหารช่างของสมเด็จพระนเรศวร ปรากฏนามในพระไอยการเก่าตำแหน่งนาหัวเมือง ฉบับอยุธยา ของหอพระสมุดวิรญาญว่า “ออกพระอมรินทรฤาไชยออกพระราชบุรีย์”
    พระอมรินทร์ฤาไชย เจ้าเมืองราชบุรี ยืนถือดาบในตำแหน่งด้านขวาของพระหัตถ์ เป็นคนที่สาม ท่านเปรียบเสมือนช่างของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    เจ้าเมืองราชบุรี เปรียบเสมือนทหารช่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปรากฏนามในพระอัยการเก่าตำแหน่งนาหัวเมืองฉบับอยุธยาของหอพระสมุดวิรญาณว่า “ออกพระอมรินทรฤาไชย ออกพระราชบุรี” พระอมรินทรฤาไชยได้รับพะราชบัญชาจากสมเด็จพระนเรศวรให้จัดกำลังพล ๕๐๐ คนซุ่มเป็นกองโจร ก่อกวนทัพสมเด็จพระมหาอุปราชา ซึ่งยกทัพผ่านมาทางด่านเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี โดยรื้อสะพานทางเดินทัพของข้าศึกทางด้านหลังในปี พ.ศ.๒๑๓

    ตอบลบ
  11. สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคต ณ ตำบลทุ่งดอนแก้ว เมืองหลวงหรือเมืองห้างหลวงหรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง ขณะกรีฑาทัพไปตีเมืองนายและกรุงอังวะขณะมีพระชนมพรรษาได้ 50 พรรษา รวมระยะเวลาในการครองราชย์ได้ 15 ปี สมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชาจึงเสด็จขึ้นครองราชย์..สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชสมภพ พ.ศ. 2098(ค.ศ.1555)

    ตอบลบ