หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566

หัวใจดวงที่สอง


Cr.fwd.line

ทำไมกล้ามเนื้อน่องถึงถูกเรียกว่าเป็นหัวใจดวงที่สอง

.

ก็เพราะว่า กล้ามเนื้อน่องเป็นปัจจัยสำคัญในระบบหมุนเวียนเลือด (Circulatory System)  คล้ายกับระบบหัวใจ 

.

สมมติหัวใจบีบตัวหนึ่งครั้ง ก็จะมีพลังมากพอที่จะส่งเลือดไปทั่วร่างกาย ภายในไม่กี่วินาที ซึ่งเลือดที่มีออกซิเจนนั้นก็จะพุ่งตัวผ่านหลอดเลือดเส้นเลือดฝอยไปจนถึงทุกเซลล์ในร่างกายเพื่อที่จะส่งลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยง

.

แล้วเลือดที่ไม่มีออกซิเจนก็จะถูกส่งกลับผ่านเส้นเลือดดำไปยังหัวใจ ซึ่งก็จะผ่านปอดแล้วก็ได้รับออกซิเจนใหม่อีกครั้ง 

.

ปัญหาคือการที่จะส่งเลือดกลับไปยังหัวใจนั้น มันต้องใช้แรงดันมากกว่าการบีบตัวหนึ่งปั๊มตอนที่ส่งลงมา ซึ่งการที่จะทำให้ได้ผลดีนั้นเส้นเลือดก็จะต้องการ negative energy จากการปั๊มของหัวใจแล้วก็กระตุ้นด้วยสิ่งที่เราเรียกว่า “calf muscle pump” ก็คือการปั๊มจากกล้ามเนื้อน่องของเรา

.

พอเราเข้าใจแบบนี้แล้ว ว่ากล้ามเนื้อน่องนั้นสำคัญในการช่วยหัวใจในระบบการหมุนเวียนเลือด เราก็เข้าใจถึงความสำคัญของน่อง ที่ควรจะต้องแข็งแรง เพื่อสุขภาพที่ดี

ดูจากรูปนะคะ


Venous return หรือเลือด ที่ไม่มีออกซิเจนจากกล้ามเนื้อก็จะถูกส่งผ่านในหลอดเลือดดำกลับเข้าสู่หัวใจ จากขาและเท้า และเนื่องจากหัวใจไม่สามารถที่จะทำเองได้โดยมีประสิทธิภาพเต็มที่ก็ต้องอาศัย veno-muscular pumps ในช่วงขาและน่อง เพื่อที่จะกดดัน ส่งเลือดที่ใช้แล้วกลับขึ้นไปให้ถูกทิศทาง  ซึ่งการปั๊มก็คือจะมาจากข้อเท้าและน่อง ที่จะทำงานร่วมกัน ส่วนใหญ่ก็จะเกิดขึ้นเวลาเดินนั่นแหละค่ะ 

.

ก้าวเดิน ส้นแตะพื้น เลือดก็ไปท่วมในเส้นเลือด พอปลายเท้าเราแตะพื้น เลือดที่ pooled รออยู่ ก็ถูกส่งขึ้นไปข้างบน

.

เลือดที่ถูกส่งก็จะเข้าไปในเส้นเลือดที่กล้ามเนื้อน่องลึกหรือ soleus muscle  ซึ่งมันอยู่ข้างใต้น่องรูปหัวใจคว่ำปูดๆ ที่เรามักจะเห็นกันชัดเจน นั่นแหละค่ะ ซึ่งทางกล้ามเนื้อกลุ่มน่องลึกนี้ จะเกาะตั้งแต่ข้อเท้าจนถึงด้านหลังของเข่าเลย ยาวตลอดแนวนั้นเลยค่ะ  ซึ่งก็จะมีเส้นเลือดซึ่งใช้ในการส่งผ่านเลือดที่ถูกใช้แล้วไม่มีออกซิเจนแล้วผ่านขึ้นไปถึงเข่า  ซึ่งก็เป็นจุดนัดพบของเส้นเลือด ในช่วงขาตอนล่าง และทุกครั้งที่กล้ามเนื้อน่องเกร็งบีบตัว  กล้ามเนื้อก็จะไปกดดัน บีบตัวไล่เลือดกลับขึ้นไป 

.

แล้วเลือดก็จะถูกส่งผ่านขึ้นไปจากเข่า ไปถึงขาหนีบ ไปที่ช่วงตัวแล้วก็ขึ้นไปที่หัวใจ ซึ่งช่วงหลังก็จะไม่ค่อยยากเพราะว่าไม่ค่อยมีแรงต้านจากแรงดึงดูดของโลก เท่ากับช่วงล่างหรือช่วงน่องต้นทาง 

.

ซึ่งอันที่จริงแล้วเน็ตเวิร์คในช่วงน่องนี้ค่อนข้างที่จะซับซ้อนมากมาย กว่าที่อธิบายเยอะ นี่พยายามทำให้เข้าใจง่ายอยู่นะคะ ประสบความสำเร็จหรือไม่ไม่รู้  แต่สรุปว่าก็จะมีเส้นเลือดทั้งเล็กใหญ่ ขนาดแตกต่างกัน อยู่ลึกตื้นต่างกัน ซึ่งก็จะใช้งานในจุดประสงค์เดียวกันก็คือส่งเลือดกลับไปที่หัวใจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยทำงานกันเป็นทีม ซึ่งไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ถ้าเผื่อว่ากล้ามเนื้อน่องของเราไม่สามารถที่จะบีบตัว ช่วยปั้มเลือดกลับขึ้นไปได้อย่างแข็งแรง ไม่ใช่แข็งแรงอย่างเดียว แต่ต้องแอคทีฟ 

.

แม่นแล้วค่ะ เมื่อเราหยุดเดิน เราก็หยุดการกระตุ้นการส่งเลือดกลับขึ้นไป ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าหัวใจจะบีบและส่งแรงกดดันไปยังเส้นเลือดเหล่านั้นได้ แต่มันก็จะช้าลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับเวลาที่เราแอคทีฟ ดังนั้นเราจึงเห็นบ่อยว่าถ้าเผื่อว่าเรานอนเฉยเพราะว่าป่วย หรือเราไม่ลุกเดินเป็นเวลานาน จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ก็จะเสี่ยงที่มีอาการเลือดค้าง หรือ blood pooling มากเข้าก็จะกลายเป็นเส้นเลือดฝอยขดคล้ายเส้นใยแมงมุม (Spider Veins) หรือหนักขึ้นไปอีกคือภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มักเกิดขึ้นบริเวณน่องนั่นแหละค่ะ หรือบางกรณีก็ขาบวม  เป็นตะคริว ถ้าเผื่อว่าเราติดนั่งติดกันทั้งวันไม่ลุกเดินไปมาเลย

.

วิธีการแก้ไข

.

ง่ายที่สุดก็ต้องลุกขึ้นมาใช้งาน ไม่ต้องกลัวน่องโตหรอกค่ะ อันที่จริงแล้วยิ่งอายุมากขึ้นกล้ามเนื้อน่องจะหดเล็กลง แล้วเราก็จะมีปัญหาในการบีบเลือดกลับขึ้นไปที่หัวใจ และเราก็มีความเสี่ยงในเรื่องของโรคที่เกี่ยวกับหัวใจมากขึ้น 


การที่กล้ามเนื้อน่องเล็กลีบลง สามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เรากินอาหารไม่เพียงพอด้วย  ดังนั้นอย่าเอาแต่อดอาหาร กินสารอาหารได้ครบไม่ต้องกลัวน่องใหญ่หรอกค่ะ กล้ามเนื้อน่องที่สมบูรณ์สวยจะตาย ดูแข็งแรง โภชนาการจึงสำคัญพอๆกับการบริหารน่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อน่องลึก ตัว soleus muscles ยิ่งต้องให้ความสำคัญที่จะทำให้มันแข็งแรงเพื่อที่จะช่วยหัวใจในการพัฒนาการส่งเลือดที่ถูกใช้แล้วกลับขึ้นไปให้ได้เร็วและแรง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของเรา มากกว่าที่จะมานั่งกลัวน่องใหญ่

.

วิธีการที่จะบริหารน่องที่ดีที่สุดก็คือการเดิน เพราะกล้ามเนื้อน่องก็จะปั๊มเลือดกลับขึ้นไปในขณะที่เราเดิน วางส้นลงไปที่พื้นกล้ามเนื้อน่องก็เกร็งถูกเทรนแล้ว ยิ่งถ้าเดินเยอะ กล้ามเนื้อน่องจะไม่แข็งแรงเป็นไปได้อย่างไร 

.

วิธีการบริหารน่องก็ไม่ต้องมากมายก่ายกองอะไรเลย เขย่งเท้าก็ได้แล้ว หรือทำท่า Calf Raises – ยืนตรงบันไดให้ส้นเลยออกมา เขย่งขึ้นช้าๆ แล้วก็กดส้นลงจนเลยขั้นบันไดลงมา  ทำซัก 10 ครั้ง  วันละกี่ครั้งกี่รอบก็ได้ค่ะ

.

ท่า Lunges ก็เป็นอีกท่าหนึ่งที่ดี ไม่ว่าจะเป็น forward , backward หรือ walking lunge รับหมดค่ะ

.

รู้จะเดินเขย่งเท้าก็ได้ซัก 100 ก้าว ถ้าเผื่อว่าง่ายไปก็ถือเวท เดินไปมา

.

แล้วก็อย่าลืมยืดเหยียดน่องด้วยนะคะ เพื่อที่จะให้กล้ามเนื้อน่องลึก มันยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ เพราะถ้ามันตึงและเกร็งไม่มีความยืดหยุ่น  มันก็ไม่กระตุ้นเส้นเลือดได้ดี เท่าที่ควร  

.

และอันที่จริงแล้วการที่กล้ามเนื้อน่องยืดหยุ่น  บางทีและบ่อยเลยมันก็ไปช่วยให้ข้อเท้าของเรามีความคล่องตัวมากขึ้น ข้อเท้าของเราก็ช่วยปั๊มได้ดีขึ้นค่ะ


โค้ชเอิน xx

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น