เก็บมาฝากจากไลน์..
cr.ปิยสีโล ภิกฺขุ
“ปัญหา กับ ปัญญา”
เคยสังเกตไหมว่าสะกดคล้ายกัน
เวลาที่สองคำนี้อยู่ห่างจากกันเมื่อใด
ความทุกข์ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น
คนเรามักจะคิดว่าปัญหาของตัวเองใหญ่กว่าคนอื่นเสมอ
เพราะแต่ละคนต่างหมกมุ่นกับปัญหาของตัวเอง
บางคราวก็มัวแต่นั่งสงสารตัวเอง
ร้องคร่ำครวญว่าทำไมต้องมาเจออย่างนี้
ทำไมปัญหาเรามากกว่าคนอื่น
หรือทำไมคนอื่นๆ ไม่เจออย่างเราบ้าง
หากพยายามวางใจเป็นกลาง ถอนตัวออกจากการหมกมุ่นอยู่กับปัญหา
ย่อมจะเห็นความจริงว่า ทุกชีวิตต่างมีปัญหาด้วยกันทั้งนั้น
ไม่ได้มีแต่เราที่ต้องเผชิญความยุ่งยากในชีวิตตามลำพัง
ในเมื่อหลีกเลี่ยงปัญหาไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีอยู่ร่วมกับปัญหา
ให้มีความทุกข์น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
เบื้องต้นก็ต้องอดทนกับความไม่ชอบใจ
ระวังความอยากที่จะให้ปัญหานั้นสิ้นไปโดยเร็ว
เพราะความไม่ชอบและความอยากที่ว่านี้
ทำให้เกิดความทรมานเวลาที่อยู่ร่วมกับปัญหา
จากนั้นก็พยายามแก้ปัญหาในส่วนที่เราทำได้
ด้วยสติด้วยปัญญาและความรอบคอบ
หากเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ ท้ายที่สุดปัญหานั้นก็จะลุล่วงไป
แม้จะใช้เวลามากกว่าที่เราคิดก็ตาม
เวลาเจอปัญหาครั้งใด ขอให้ถือเป็นโอกาส
ถ้าเราเปลี่ยนพยัญชนะภาษาไทยเพียงตัวเดียว
'ปัญหา' ก็กลายเป็น 'ปัญญา'
หมดความยุ่งยากไป
Cr.ปิยสีโล ภิกฺขุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น