หน้าเว็บ
▼
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
เก็บมาฝากจากไลน์...
ชอบมากๆ อ่านเถอะ
อ่านแล้วรู้สึกดีมาก ๆ
คุณอนุรุธ ประธานมูลนิธิว่องวานิช ได้กรุณาส่งบทความคติธรรมดีๆ มาฝากสมาชิกและคนคุ้นเคย
ความสุขเกิดขึ้นเมื่อใด
ความสุข เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง
ความสุข ไม่ได้อยู่ที่จุดหมายปลายทางที่ไปถึง
คุณบอกกับตัวเองว่า เมื่อได้แต่งงาน และมีลูก ชีวิตของคุณก็จะดีขึ้น
แต่เมื่อคุณมีลูก และลูกของคุณยังเล็กอยู่ คุณก็เกิดความรู้สึกว่า เมื่อเขาโตขึ้น เราคงมีความสุขและสบายขึ้น
แต่เมื่อลูกโตมากขึ้น จนย่างเข้าสู่วัยรุ่น
คุณกลับรู้สึกไม่ได้ดั่งใจอีกครั้ง
และเมื่อลูก ๆ ผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นไปได้
คุณคิดว่า คุณจะมีความสุขมากขึ้น
แต่คุณกลับบอกกับตัวเองอีกว่า จะรอให้ลูก ๆ
จัดการกับตัวของเค้าเอง ให้เรียบร้อยดีเสียก่อน ก็น่าจะดีขึ้น
บางครั้ง คุณคิดว่า ถ้าคุณมีบ้าน มีรถ มีวันหยุดพักร้อนนาน ๆ และเมื่อถึงวันเกษียณอายุการทำงาน ชีวิตของคุณ น่าจะมีความสุขมากที่สุด
แต่เมื่อเกษียนแล้วก็จริง แต่ทำไมถึงยังไม่มีความสุขสักที
ความสุขของชีวิตอยู่ที่ไหนกัน ? หนอ
แท้จริงแล้ว ความสุขของชีวิต อยู่ ณ ช่วงเวลาขณะนี้ ช่วงเวลาปัจจุบันนี้ต่างหาก ไม่ต้องรอ ให้ความสุขมาหาเราในอนาคต
เราควรมีความสุข และพึงพอใจกับความสุขอยู่ในปัจจุบัน
ชีวิต ของมนุษย์ทุกคน ต้องมีสิ่งท้าทายเข้ามาอยู่ตลอดเวลา ทั้งอุปสรรคต่าง ๆ หรือบททดสอบชีวิต อันยากเข็ญ แต่ในที่สุด เราก็จะต้องก้าวผ่านไป อุปสรรคกับชีวิต เป็นของคู่กัน
ดังนั้น เป็นหน้าที่ของเรา ที่ต้องหาความสุข และความพึงพอใจ จากการเดินทางบนถนนแห่งชีวิตนี้ ซึ่งจะทำให้ชีวิตมีความสุขมากกว่า ที่จะรอให้ถึงจุดหมายปลายทางก่อน แล้วถึงจะมีความสุขได้
เริ่มหยุดพูดกับตัวเองเสียทีว่า
ถ้าฉันลดน้ำหนักได้สัก 5 กิโล ฉันถึงจะมีความสุข
ถ้าฉันได้แต่งงาน ฉันถึงจะมีความสุข
ถ้าผมได้ซื้อบ้าน ผมถึงจะมีความสุข
ถ้าผมได้เกิดเป็นลูกคนรวย ผมถึงจะมีความสุข
ถ้าคุณหยุดพูดถึงสิ่งเหล่านี้ได้ ชีวิตของคุณก็จะมีความสุข
และคุณจะรู้สึกพึงพอใจกับชีวิต
ตอบคำถาม ต่อไปนี้
1. บอกชื่อคน 3 คน ที่รวยที่สุดในโลก
2. บอกชื่อนางงามจักรวาล 3 คนล่าสุด
3. บอกชื่อ ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล 3 คนล่าสุด
4. บอกชื่อนักแสดงนำชาย 3 คนล่าสุด ที่ได้รับรางวัลออสการ์
นึกไม่ออกใช่ไหม? ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย
ไม่มีใครหรอก ที่จะจดจำคนเหล่านี้ได้ทั้งหมด
คนที่ได้รับการยกย่อง สรรเสริญ ก็ล้วนล้มหายตายจาก ไปตามกาลเวลา
รางวัลต่าง ๆ เมื่อวางไว้นาน ก็จะถูกฝุ่นจับ แม้แต่ผู้ชนะ ก็จะถูกลืมในไม่ช้า
ตอบคำถาม ต่อไปนี้
1. บอกชื่ออาจารย์ 3 ท่าน ที่เคยช่วยเหลือคุณ ในเรื่องการเรียน
2. บอกชื่อเพื่อน 3 คนที่ช่วยเหลือคุณ ในยามที่คุณต้องการ
3. นึกถึงคน 3 คนที่ทำให้คุณรู้สึกว่า คุณได้เป็นคนพิเศษของเขาเหล่านั้น
4. บอกชื่อคน 3 คนที่คุณอยากใช้เวลาดี ๆ ด้วย
นึกออกง่ายกว่าใช่ไหม? นั่นเป็นเพราะว่า
คนที่มีความหมายต่อชีวิตคุณ ไม่ได้เป็นคนที่ต้องเป็นคนเก่ง ที่สุด หรือ สวย หล่อที่สุด
ไม่ได้มีเงินมากที่สุด ไม่ต้องได้รับรางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะยังมีคนใกล้ตัวคุณ อีกหลายคน ที่ห่วงใยคุณ คอยให้การดูแลคุณ
และเวลาที่มีอะไรเกิดขึ้น ก็จะคอยอยู่เคียงข้างคุณ คอยปลอบโยนคุณ คอยให้กำลังใจคุณ
... ไม่มีช่วงเวลาไหน ที่จะมีความสุข
มากกว่าช่วงเวลา ณ ปัจจุบันนี้..
..จงใช้ชีวิตให้มีความสุขกับช่วงเวลาปัจจุบัน..
สูตรเกี่ยวกับบุคลิกของตัวเอง ที่ควรไปจะคู่กับสูตรสุขภาพ มีอย่างนี้
๑. อย่าเปรียบเทียบ ชีวิตของตัวเองกับคนอื่น คุณไม่รู้หรอกว่าคนที่คุณอิจฉานั้น เขามีความทุกข์ยิ่งกว่าคุณอย่างไรบ้าง
๒. อย่าคิดทางลบ เกี่ยวกับเรื่องที่คุณควบคุม หรือกำหนดไม่ได้ แทนที่จะมองโลกในแง่ร้าย, ก็ทุ่มเทกำลัง และพลังงานใ ห้กับความคิด ทางบวก ณ ปัจจุบันเสีย
๓. อย่าทำอะไร ๆ เกินกว่าที่ตัวเองจะทำได้ ...รู้ว่าขีดจำกัดของตัวเองอยู่ที่ไหน
๔. อย่าเอาจริงเอาจัง กับตัวเองนัก เพราะคนอื่นเขา ไม่ได้ซีเรียสกับคุณเท่าไหร่หรอก
๕. อย่าเสียเวลา และ พลังงานอันมีค่าของคุณ กับเรื่องหยุมหยิม หรือเรื่องซุบซิบ...นินทา... นอกเสียจากว่ามันจะทำให้คุณผ่อนคลายได้อย่างจริงจัง
๖. จงฝันตอนตื่น มากกว่าตอนหลับ
๗. ความรู้สึกอิจฉาริษยา เป็นเรื่องเสียเวลาเปล่าๆปลี้ๆ...เมื่อคิดให้ดีก็จะรู้ว่า คุณมีทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องมีแล้ว
๘. ลืมเรื่องขัดแย้งในอดีตเสีย และอย่าได้เตือนสามีหรือภรรยาคุณ เกี่ยวกับความผิดพลาดในอดีตของอีกฝ่ายหนึ่งเลย เพราะมันจะทำลายความสุขปัจจุบันของคุณ
๙. ชีวิตนี้ สั้นเกินกว่าที่เราจะไปโกรธเกลียดใคร ๆ ..จงอย่าเกลียดคนอื่น
๑๐.ประกาศสงบศึกกับอดีตให้สิ้น, จะได้ไม่ทำลายความสุขในปัจจุบันของคุณ
๑๑. ไม่มีใครกำหนดความสุขของคุณได้ นอกจากคุณเอง
๑๒. จงเข้าใจเสียว่า ชีวิตก็คือโรงเรียน คุณมาเพื่อ เรียนรู้ และ ปัญหาเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของหลักสูตรซึ่งเมื่อมาแล้วก็หายไป...เหมือนโจทย์วิชาพีชคณิต...แต่สิ่งที่คุณเรียนรู้นั้นอยู่กับคุณตลอดชีวิต
๑๓. จงยิ้มและหัวเราะมากขึ้น
๑๔. คุณไม่จำเป็นต้องชนะทุกครั้ง ที่ถกเถียงกับคนอื่น หรอก... บางครั้งก็ยอมรับว่าเราเห็นแตกต่างกันได้...เห็นพ้องที่จะเห็นต่างก็ไม่เห็นเสียหายแต่อย่างไร
แล้วเราควรจะมีทัศนคติอย่างไรต่อชุมชนและคนรอบข้าง เราล่ะ ?
๑. อย่าลืมโทรฯหาครอบครัวบ่อย ๆ
๒. จงหาอะไรดี ๆ ให้คนอื่นทุกวัน
๓. จงให้อภัยทุกคน สำหรับทุกอย่าง
๔. จงหาเวลาอยู่กับคนอายุเกิน 70 และต่ำกว่า 6ขวบ
๕. พยายามทำให้อย่างน้อย 3 คนยิ้มได้ทุกวัน
๖. คนอื่นเขาคิดอย่างไรกับคุณ ไม่ใช่เรื่องของคุณสักหน่อย
๗. งานของคุณ ไม่ดูแลคุณตอนคุณป่วยหรอก แต่ครอบครัว และ เพื่อนคุณ ต่างหากเล่าที่จะดูแลคุณ ในยามคุณมีปัญหา สุขภาพ
ดังนั้น, อย่าได้ห่างเหิน กับคนใกล้ชิดเป็นอันขาด และ ถ้าหากสามารถดำรงชีวิต ให้มีความหมายได้ , ก็ควรจะทำ ดังต่อไปนี้
๑. จงทำ และทำในสิ่งที่ควรทำให้มีความสุข
๒. อะไรที่ ไม่เป็นประโยชน์, ไม่สวย, ไม่งาม, ไม่น่ารื่นรมย์, จงทิ้ง ไปเสีย...เก็บไว้ทำไม?
๓. เวลา ย่อมรักษาแผลทุกอย่างได้
๔. ไม่ว่าสถานการณ์จะดี หรือเลวปานใด,เดี๋ยวมันก็จะเปลี่ยน
๕. ไม่ว่าคุณจะรู้สึก อย่างไร ในตอนเช้าของทุกวัน, จงลุกจากเตียง, แต่งตัว และปรากฎตัวต่อหน้า คนที่เราร่วมงาน ด้วย...ความรู้สึกที่ดี
get up, dress up and show up.
๖. คิดเสมอว่าสิ่งที่ดี ที่สุดยังมาไม่ถึง รอต่อไป
๗. ถ้าคุณยังลุกขึ้นตอนเช้าได้, อย่าลืมขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุณนับถือเสียด้วย ที่ทำให้คุณ อยู่มาได้ถึงในวันรุ่งขึ้น
๘. เชื่อเถอะว่าส่วนลึก ๆ ในใจของคุณนั้นมีความสุข เสมอ...ดังนั้นส่วนนอกของคุณทุกข์โศกไปทำไมเล่า
และสุดท้ายที่สำคัญที่สุด
" ส่งบทความที่ต่อไปให้คน ที่คุณรักและห่วงหาอาทรด้วยนะครับ.."
............
Cr.Fwd Line
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
อาลัยเพือนที่จากไป พล.ร.ท.จำรัส เผือกประพันธ์
พิธีพระราชทานเพลิงศพ พล.ร.ท.จำรัส เผือกประพันธ์
ณ ฌาปนสถานกองทัพเรือ สัตหีบ
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๒
ขอขอบคุณภาพจาก นย.๑๑
วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
รู้หลัก จักไม่หลง
รู้หลัก จะไม่หลง
จะไม่ยึดซ้อนยึด
.........
อย่าเอาความไม่ยึดมั่น
หรือความปล่อยวาง
มาเป็นข้ออ้างที่จะปล่อยปละละเลย
...
ที่เห็นง่ายๆ ก็คือ
คนที่เอาความไม่ยึดมั่นขึ้นมายึดไว้
แล้วไม่ทำอะไร ไม่เอาอะไร
แล้วก็บอกว่าฉันไม่ยึดมั่น
แต่เขาไม่รู้ตัวว่าเขาทำไป
ตามความไม่ยึดมั่นที่เอามายึดไว้
คือเป็นเพียงความยึดมั่น
ในความไม่ยึดมั่นเท่านั้น
เป็นความยึดมั่นซ้อนเข้าไปอีก
ความไม่ยึดมั่นที่แท้นั้น
เป็นไปเองด้วยปัญญา
ไม่ต้องเอาความไม่ยึดมั่นขึ้นมายึดไว้
...
เพราะฉะนั้น
อย่าปล่อยวางเพียง
ด้วยความไม่ยึดมั่นที่ยึดถือเอาไว้
และอย่าเอาความปล่อยวาง
มาเป็นข้ออ้างที่จะปล่อยปละละเลย
เพราะอันนั้นไม่ใช่
ความปล่อยวางอะไรเลย
แต่เป็นความประมาทแท้ๆ
จากหนังสือเรื่อง
คนไทยไม่ใจแคบ
แต่ระวังไว้: อย่าให้ปัญญาแคบ
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๕
หน้า ๕๐ – ๕๒
สามารถอ่านหนังสือเพิ่มเติมได้ที่
http//book.watnyanaves.net/index.php?floor=case-study
จะไม่ยึดซ้อนยึด
.........
อย่าเอาความไม่ยึดมั่น
หรือความปล่อยวาง
มาเป็นข้ออ้างที่จะปล่อยปละละเลย
...
ที่เห็นง่ายๆ ก็คือ
คนที่เอาความไม่ยึดมั่นขึ้นมายึดไว้
แล้วไม่ทำอะไร ไม่เอาอะไร
แล้วก็บอกว่าฉันไม่ยึดมั่น
แต่เขาไม่รู้ตัวว่าเขาทำไป
ตามความไม่ยึดมั่นที่เอามายึดไว้
คือเป็นเพียงความยึดมั่น
ในความไม่ยึดมั่นเท่านั้น
เป็นความยึดมั่นซ้อนเข้าไปอีก
ความไม่ยึดมั่นที่แท้นั้น
เป็นไปเองด้วยปัญญา
ไม่ต้องเอาความไม่ยึดมั่นขึ้นมายึดไว้
...
เพราะฉะนั้น
อย่าปล่อยวางเพียง
ด้วยความไม่ยึดมั่นที่ยึดถือเอาไว้
และอย่าเอาความปล่อยวาง
มาเป็นข้ออ้างที่จะปล่อยปละละเลย
เพราะอันนั้นไม่ใช่
ความปล่อยวางอะไรเลย
แต่เป็นความประมาทแท้ๆ
จากหนังสือเรื่อง
คนไทยไม่ใจแคบ
แต่ระวังไว้: อย่าให้ปัญญาแคบ
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๕
หน้า ๕๐ – ๕๒
สามารถอ่านหนังสือเพิ่มเติมได้ที่
http//book.watnyanaves.net/index.php?floor=case-study
วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
คติธรรม
เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันอังคาร ที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม ความว่า
“ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว พุทธบริษัททุกหมู่เหล่าพึงระลึกถึงและกระทำสักการบูชาพระรัตนตรัยเป็นกรณีพิเศษ เนื่องด้วยเป็นวันคล้ายวันประกาศพระศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธัมมจักกัปวัตนสูตรเป็นพระปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ กระทั่งมีผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม ขอประทานอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา จึงบังเกิดพระรัตนตรัยครบองค์ ๓
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงการปฏิเสธส่วนที่สุดโต่งสองทาง คือการประกอบตัวให้พัวพันด้วยกามสุขทั้งหลายทางหนึ่ง และการฝืนตนให้ได้รับความทุกข์ทรมานอีกทางหนึ่ง พร้อมกำหนดแนวทางดำเนินชีวิตโดยทางสายกลาง แสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความดับทุกข์ คืออริยมรรคมีองค์ ๘
ในอริยอัฏฐังคิกมรรคดังกล่าวนั้น มีข้อปฏิบัติสำคัญเพื่อความพ้นทุกข์ประการหนึ่ง ซึ่งเราทั้งหลายพึงพินิจพิจารณาให้ถ้วนถี่ พร้อมน้อมนำมาเป็นวิถีปฏิบัติประจำชีวิต ได้แก่ ‘สัมมาวาจา’ ที่แปลว่า การเจรจาชอบ
ในสังคมที่มีบุคคลหลายหมู่คณะอยู่ร่วมกัน มีผู้คนเจรจาติดต่อกันผ่านอุปกรณ์การสื่อสารอันรวดเร็ว และง่ายดายขึ้นนั้น ย่อมทำให้ ‘วจีทุจริต’ หรือการประพฤติชั่วทางวาจาปรากฏขึ้นอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ คำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด และคำเพ้อเจ้อเหลวไหล ล้วนเป็นต้นเหตุใหญ่ของความวิวาทบาดหมาง ความขุ่นเคือง และความคลางแคลงใจกัน
เพราะฉะนั้นจึงขอสาธุชนทุกท่าน อาศัยดิถีอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาที่มาบรรจบถึง เป็นโอกาสทบทวนจิตใจและตั้งปณิธานว่าจะดำเนินชีวิตด้วย ‘ปิยวาจา’ พูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมาะสำหรับกาลเทศะ เพื่อความผาสุกร่มเย็นของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมประเทศชาติสืบไป
ขออานุภาพแห่งคุณความดีที่ท่านทั้งหลายร่วมกันบำเพ็ญ จงเป็นเครื่องกางกั้นสรรพพิบัติภัย อันอาจก่อให้เกิดความแตกแยกร้าวฉาน ขอคุณธรรมประจำใจสาธุชน จงดลบันดาลความสมัครสมานสามัคคีให้บังเกิดในบ้านเมืองไทย เพื่อความร่มเย็นสถาพรภายใต้ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป ตลอดกาลนาน เทอญ.”
“ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว พุทธบริษัททุกหมู่เหล่าพึงระลึกถึงและกระทำสักการบูชาพระรัตนตรัยเป็นกรณีพิเศษ เนื่องด้วยเป็นวันคล้ายวันประกาศพระศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธัมมจักกัปวัตนสูตรเป็นพระปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ กระทั่งมีผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม ขอประทานอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา จึงบังเกิดพระรัตนตรัยครบองค์ ๓
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงการปฏิเสธส่วนที่สุดโต่งสองทาง คือการประกอบตัวให้พัวพันด้วยกามสุขทั้งหลายทางหนึ่ง และการฝืนตนให้ได้รับความทุกข์ทรมานอีกทางหนึ่ง พร้อมกำหนดแนวทางดำเนินชีวิตโดยทางสายกลาง แสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความดับทุกข์ คืออริยมรรคมีองค์ ๘
ในอริยอัฏฐังคิกมรรคดังกล่าวนั้น มีข้อปฏิบัติสำคัญเพื่อความพ้นทุกข์ประการหนึ่ง ซึ่งเราทั้งหลายพึงพินิจพิจารณาให้ถ้วนถี่ พร้อมน้อมนำมาเป็นวิถีปฏิบัติประจำชีวิต ได้แก่ ‘สัมมาวาจา’ ที่แปลว่า การเจรจาชอบ
ในสังคมที่มีบุคคลหลายหมู่คณะอยู่ร่วมกัน มีผู้คนเจรจาติดต่อกันผ่านอุปกรณ์การสื่อสารอันรวดเร็ว และง่ายดายขึ้นนั้น ย่อมทำให้ ‘วจีทุจริต’ หรือการประพฤติชั่วทางวาจาปรากฏขึ้นอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ คำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด และคำเพ้อเจ้อเหลวไหล ล้วนเป็นต้นเหตุใหญ่ของความวิวาทบาดหมาง ความขุ่นเคือง และความคลางแคลงใจกัน
เพราะฉะนั้นจึงขอสาธุชนทุกท่าน อาศัยดิถีอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาที่มาบรรจบถึง เป็นโอกาสทบทวนจิตใจและตั้งปณิธานว่าจะดำเนินชีวิตด้วย ‘ปิยวาจา’ พูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมาะสำหรับกาลเทศะ เพื่อความผาสุกร่มเย็นของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมประเทศชาติสืบไป
ขออานุภาพแห่งคุณความดีที่ท่านทั้งหลายร่วมกันบำเพ็ญ จงเป็นเครื่องกางกั้นสรรพพิบัติภัย อันอาจก่อให้เกิดความแตกแยกร้าวฉาน ขอคุณธรรมประจำใจสาธุชน จงดลบันดาลความสมัครสมานสามัคคีให้บังเกิดในบ้านเมืองไทย เพื่อความร่มเย็นสถาพรภายใต้ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป ตลอดกาลนาน เทอญ.”